ชฎา วัฒนศิริธรรม(นามสกุลเดิม กฤษณมะระ) บุตรีของพระยาไชยยศสมบัติ นักบัญชีคนแรกที่จบการศึกษาจากอังกฤษ หลังจากเธอจบการศึกษาจากChelterham Ladies College แล้วสามารถสอบเข้าเรียนที่Cambridge University จนได้ทั้งปริญญาตรีและโทด้านเศรษฐศาสตร์ จากนั้นไปเรียนปริญญาโทอีกใบจากสหรัฐฯ จากWilliams College เริ่มทำงานทันทีที่ธนาคารแห่งประเทศไทยในปี2510 มีอายุงานเพียง8ปี จึงลาออกมาอยู่ธนาคารไทยพาณิชย์ที่บิดาของเธอร่วมก่อตั้ง อยู่ที่นี่นานถึง24ปีก่อนจะก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการเมื่อปี2542
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย(หม่อมเจ้าวิวัฒนไชย ไชยันต์)
2442 เกิดเมื่อ29 เมษายน
2454 ศึกษาระดับประถม Torquay Preparatory School, U.K
2456 ระดับมัธยม Cheltenham College ,U.K
2459 ระดับอุมศึกษา Diploma, Oxford and Cambridge Universities
Magdalene College, Oxford University B.A (2nd Honours ) in History
2462 Ecole des Sciences Politiques, Paris, France
2473 ดำรงตำแหน่งอธิบดี กรมศุลกากร
2478 ดำรงตำแหน่งอธิบดีสรรพากร
2485-2489 ผู้อำนวยการธนาคารชาติ(เชื่อเดิมของธนาคารแห่งประเทศไทย)
2491 ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
2491-2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
เตช บุนนาค
2486 เกิดเมื่อ25 พฤศจิกายน บิดา ตุล มารดาจันทร์แจ่ม
2492 เริ่มศึกษาระดับประถม โรงเรียนราชินีล่าง
2495 ศึกษาระดับมัธยมต้น วชิราวุธวิทยาลัย
2497ศึกษาระดับมัธยมปลาย Malvern College
2502 ศึกษาระดับอุดมศึกษาKing’s College,CambridgeUniversity, England ,B.A(Hons),M.A.
2508 ศึกษาระดับปริญญาเอก St.Anthony’s College ,Oxford University/England/D.phil.
2512 รับราชการ กระทรวงการต่างประเทศ อยู่นาน44ปี จนเกษียณ ดำรงตำแหน่งเอกอัคราชทูตหลายประเทศ รวมทั้งปลัดกระทรวงด้วย
พรเสก กาญจนจารี เป็นโมเดลของการสร้างบุคลากรยุคทศวรรษ1960ที่เข้มข้นมากทีเดียว ดูประหนึ่งเป็นโมเดลเดียวกับชนชั้นนำในรัชการที่5 โดยพรเสกถูกส่งไปเรียนที่อังกฤษตั้งแต่อายุประมาณ10ขวบ เรียนตั้งแต่ประถม(Preparatory School) ที่Little Appley Schoolจน(2504-2507)ถึงระดับมัธยมศึกษาที่Rugby School(2507-2512) รวมเป็นเวลาถึง8ปีเต็ม ก่อนจะข้ามไปเรียนที่สหรัฐจนจบปริญญาโท(University of Pennsylvania)อีก7ปี ก่อนจะมาทำงานในกลุ่มซิวเนเชั่นแนลในปี2519 พรเสกแต่งงานกับบุตรสาวคนเล็กของบรรเจิด ชลวิจารณ์ อดีตผู้บริหารธนาคารสหธนาคาร บุตรสาวคนเล็กๆของเขา สาลีวรรณ เคยเข้าศึกษาในโรงเรียนมัธยมที่อังกฤษ Upper Shine School ในปี2511(ต่อมาในปี2528 โรงเรียนนี้เปลี่ยนชื่อเป็นRyde School with Upper Chine อันเกิดจากการรวมกิจการโรงเรียนสองแห่งเข้าด้วยกัน) ซึ่งเป็นโรงเรียนเดียวกับพี่สาวของพรเสก (เมวดี กาญจนจารี)
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เกิด 22 กันยายน 2495 บิดาได้แก่ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุขุมาภินันท์ พระโอรสในจอมพลสมเด็จพะบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์พินิต นับเป็นสมาชิกราชวงศ์ที่มีฐานะดีมาก เช่นเดียวกับหม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสภณกุล ซึ่งมารดาเป็นสมาชิกราชสกุลบริพัตรด้วย ทั้งสองจึงมีโมเดลการศึกษาเดียวกัน คือเข้าเรียนโรงเรียนประจำที่อังกฤษตั้งแต่เรียนจบประถมศึกษาปีที่4 สุขุมพันธ์ เข้าเข้าระดับประถมที่Cheam School ในปี2506 โรงเรียนแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่อยู่ที่เมืองเล็กๆ Headly ใกล้ Newbury ซึ่งอยู่ใต้กรุงลอนดอน อยู่ระหว่างรอยต่อ Hampshire/Berkshire border บนเนื้อที่ 64 เอเคอร์ ที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ใหญ่ โรงเรียนกินนอนแห่งนี้มีอายุเก่าแก่นับร้อยปี ที่ซึ่งเจ้าฟ้าชายฟิลิปและเจ้าฟ้าชายชาร์ลเคยเรียนที่นี่ ปัจจุบันมีคนไทยเรียนอยู่ 2 คนเท่านั้น คนหนึ่งนั้นก็คือลุกสาวของพรพรรณ ก่อนันทเกียรติ ภรรยาม้าย ของดำริ ก่อนันทเกียรติผู้รับช่วงดูแลยูนิคอร์ดเพื่อใช้หนี้
จากนั้นเข้าเรียนระดับมัธยมที่Rugby School ก่อนจะเข้าOxford University ในปี2514 โดยจบปริญญาตรีและโท ด้านปรัชญาการเมืองและเศรษฐศาสร์ เท่านั้นยังไม่พอยังข้ามไปเรียนปริญญาโทด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่สหรัฐ จากGeorgetown University ด้วย จากนั้นก็เริ่มชีวิตเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย(2523-2539) ก่อนจะเข้าสู่วงการเมือง
ชนินท์ โทณวนิก ข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนที่อังกฤษในช่วงเดียวกับที่โรงแรมดุสิตธานี โรงแรวที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพเปิดดำเนินการ เป็นโรงแรมที่สูง23ชั้น มีห้องพักกว่า500ห้อง อันเป้นความพยายามของชนัถต์ ปิยะอุย มารดาของเขา และจากนั้นธุรกิจโรงแรมของคนไทยกก็เปิดตำนานหน้าใหม่ขึ้น ชนัตถ์ แต่งงานกับ ปวิต โทณวนิช บุตรชายพระยาโทณวนิกมนตรี อดีตรัฐมนตรีคลังยุคจอมพลป.พิบูลสงคราม มีบุตรชายหญิง3คน โดยชนินท์ เป็นบุตรคนโต
หลังจากเข้าศึกษาจบปริญญาโทจากBoston University มารับราชการสอนหนังสือที่จุฬาฯ อยู่พักหนึ่งก่อนจะมาช่วยกิจการมารดา จากนั้นกลุ่มโรงแรมดุสิตธานีก็เติบโตต่อเนื่องมา ขยายกิจการในช่วงเศรษฐกิจเติบโต และขายกิจการในช่วงวิกฤติ แต่ดุสิตธานีก็ยังอยู่
จาก”หนังสือหาโรงเรียนให้ลูก” 2548