เอสซี แอสเสท

บริษัทนี้ผู้คนกำลังให้ความสนใจเป็นพิเศษมากขึ้น  ด้วยความเชื่อมโยงกับปาร์ตี่ลิสต์อันดับหนึ่งของพรรคการเมืองใหญ่ ในฐานะคาดกันว่าคู่แข่งคนสำคัญ จะเป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนต่อไป  

ที่สำคัญเป็นบริษัทในตลาดหุ้นไทย  ถือเป็นกิจการแห่งสำคัญแห่งเดียวก็ว่าได้  อาจกล่าวได้ว่าถือหุ้นใหญ่โดยครอบครัว  ทักษิณ  ชินวัตร  โดยสามารถดำเนินกิจการต่อเนื่องอย่างเป็นปกติตลอดช่วงของความไม่ปกติทางการเมืองไทยตั้งแต่ปี2549เป็นต้นมา

 ที่มา

บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น เริ่มต้นมาตั้งแต่เป็นกิจการที่สะสมที่ดินหรือบริหารจัดการเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์อย่างไม่เป็นทางการ ท่ามกลางการขยายตัวของธุรกิจสื่อสารเมื่อสองทศวรรษแล้ว

ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2532 เดิมชื่อบริษัท เอฟ เอฟ พี จำกัด ซึ่งต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท โอเอไอ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด เนื่องจากมีการ เปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นเป็นครอบครัวพันตำรวจโททักษิณและคุณหญิงพจมาน ชินวัตร และได้เปลี่ยนเป็น บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2546”ข้อมูลทางการของบริษัทเองระบุเอาไว้ (http://www.scasset.com )

ในช่วงนั้นธุรกิจสื่อสารของทักษิณ ชินวัตร อยู่ในช่วงเริ่มเต้น และเติบโตไปอย่างมาก โดยไม่มีใครสนใจมากนัก

ปี2533บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด ได้รับอนุญาตจาก องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ปัจจุบัน คือ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (ทีโอที)) ให้ดำเนินการติดตั้งและให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบเซลลูลาร์ 900 ตามสัญญาร่วมการงานแบบบีทีโอ (BTO: Build-Transfer-Operate) เป็นระยะเวลา 20 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้ขยายเวลาของสัญญาร่วมการงานเป็น 25 ปี สิ้นสุดปี 2558”  (ข้อมูลจาก http://www.ais.co.th  ) ในปีเดียวกันนั้นกิจการหลักโดยเฉพาะ ชินคอร์ป(ตอนนั้นคือชินวัตรคอมพิวเตอร์) เข้าตลาดหุ้น   ปีต่อมา(2534 )บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด ได้รับอนุญาตจากกระทรวงคมนาคมให้เป็นผู้จัดสร้าง จัดส่ง และให้บริการดาวเทียมสื่อสารโดยมีอายุ 30 ปีคุ้มครองสิทธิภายในเวลา 8 ปี  และปี2535 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (AIS) เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

อาจเป็นไปได้ว่ามีความจำเป็นต้องจัดการบริษัทเกี่ยวข้องให้เป็นระบบมีมากขึ้น ทั้งแง่ความสัมพันธ์ทางบัญชี หรือในแง่โอกาสในการซื้อทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม ตามสูตรของผู้ประกอบการไทย  โดยถือว่าอสังหาริมทรัพย์เป็นทรัพย์สินสำคัญในการประกอบการ ภาพสะท้อนความสำเร็จทางธุรกิจข่างเคียงกับธุรกิจหลัก ก็คือการสะสมอสังหาริมทรัพย์ไว้  ถือเป็นสินทรัพย์ที่อ้างอิงของระบบธนาคารยุคนั้น บางคนว่าเป็นการจัดการระบบบัญชีบริษัทในตลาดหุ้นให้ดูสมดุล  ด้วยการนำกำไรไปซ่อนไว้ในทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ หรือในอีกแง่หนึ่งเป็นการลงทุนในระยะปานกลาง ก็แล้วแต่

เอาเข้าจริงแล้ว เอสซี แอสเสท เริ่มต้นธุรกิจพัฒนาที่ดินอย่างจริงจังไม่กี่ปีมานี้

“มีการปรับโครงสร้างเพื่อให้บริษัทฯมีการประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์อย่างครบวงจร โดยได้เพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 710 ล้านบาท เป็น 2,564 ล้านบาท เพื่อเข้าไปซื้อหุ้นของบริษัท โอเอไอ แอสเสท จำกัด บริษัท อัพคันทรี่ แลนด์ จำกัด และบริษัท วี.แลนด์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด จากครอบครัวชินวัตร ต่อมาได้แปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัดและเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 93.6 ล้านหุ้น หรือ 936 ล้าน บาท ทำให้มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้นเท่ากับ 3,500 ล้านบาท และได้เข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2546”( อ้างแล้วข้างต้น)  ถือเป็นช่วงผ่านระยะความยากลำบากทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงก่อนหน้านั้นมาแล้ว และอยู่ในช่วงที่ดีของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรในเทอมแรก( ปี 2544-2548 )

จุดเปลี่ยน

ในช่วงความผันแปรทางการเมือง ในยุคปลายรัฐบาลทักษิณและพรรคพวก และก่อนรัฐบาลอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ  หากพิจารณาจากดัชนีผลประกอบการของเอสซีแอสเซท อาจถือว่าไม่มีผลกระทบต่อกิจการแห่งนี้

อีกมิติหนึ่งอาจเป็นช่วงผ่านของการขายหุ้นกิจการสื่อสารทั้งมวลของตระกูลชินวัตรออกไป  ต่อเนื่องมาถึงช่วงกระบวนยึดทรัพย์โดยรัฐบาลคณะรัฐประหาร   อาจถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแยกทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวกับข้องกับกิจการสื่อสารของตระกูลนี้ออกจากกันให้มีความชัดเจนมากขึ้น  อีกประการหนึ่งแต่เดิมมีความเชื่อกันว้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หรือเอสซี แอสเซ้ท จะกลายเป็นกลุ่มธุรกิจใหม่อีกกลุ่มหนึ่งของกลุ่มชินคอร์ป แต่เมื่อมีการขายหุ้นครั้งใหญ่    จึงกลายเป็นว่ากิจการทีเป็นรูปเป็นร่าง และเปิดเผยต่อสาธารณะชนมากที่สุด  ของตระกูลชินวัตร  เป็นเพียงกิจการสำคัญที่เหลือยู่

ในเชิงการบริหารธุรกิจการมุ่งโฟกัสการบริหารกิจการสำคัญ ย่อมสามารถคาดหมายความสำเร็จได้ระดับใดระดับหนึ่ง

ความสำคัญ

เอสซี แอสเสท เป็นเพียงกิจการเดียวในตลาดหุ้นที่เปิดเผย มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นโดยตระกูลชินวัตร โดยบุตรชาย-หญิงและอดีตภรรยาของทักษิณ ชินวัตรถือหุ้นรวมกันมากทีเดียว   ถือว่าเป็นกิจการหนึ่งในตลาดหุ้นที่สัดส่วนมาจากกลุ่มเดียวในจำนวนมาก    จนรายงานของบริษัทเองต้องให้ความเห็นว่าเป้นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของกิจการไว้

วามเสี่ยงจากการมีกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหญ่   บริษัทฯมีกลุ่มครอบครัวชินวัตรถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 61.79 ของจำนวนหุ้นสามัญซึ่งถือเป็นกลุ่ม ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สามารถควบคุมเสียงของที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้เกือบทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งตั้ง กรรมการ หรือการขอมติในเรื่องอื่นที่ต้องใช้คะแนนเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ยกเว้นเรื่องที่กฎหมาย หรือข้อบังคับบริษัทฯกำหนดให้ต้องได้รับเสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ดังนั้นผู้ถือหุ้นรายอื่นจึงไม่อาจ สามารถรวบรวมคะแนนเสียงเพื่อตรวจสอบและถ่วงดุลเรื่องที่ผู้ถือหุ้นใหญ่เสนอได้”อ้างจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2552  บริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

เป็นที่เข้าใจกันดีว่า ก่อนหน้านี้ธุรกิจกลุ่มชินคอร์ปที่สำคัญที่สุด  คือเอไอเอส เนื่องจากมีความสามารถในการประกอบการมากที่สุด  ความจริงข้อนี้มิใช่เพียงแต่ทักษิณ ชิรนวัตร เข้าใจเช่นนั้น ผู้คน และ คู่แข่งในทุกๆมิติในวงกว้าง ได้ประเมินกิจการนี้ไว้อย่างสูง  และประเมินอย่างสูงขึ้นไปอีกเมื่อขายหุ้นออกไป

ในแง่การบริหารธุรกิจและความเชื่อของทักษิณ ชินวัตรเอง สะท้อนมาถึงการวางตำแหน่งและบทบาทของน้องสาวคนสุดท้องด้วย—ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 

หลังจากสะสมประสบการณ์พอสมควรในทำงานทางธุรกิจ(8ปีในธุรกิจมีเดีย จากธุรกิจสมุดหน้าเหลือง จนถึงกิจการขายโฆษณาคั่นรายการในทีวีบอกรับ) ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จึงก้าวขึ้นเป็นกรรมการผู้อำนวยการเอไอเอส ในปี 2545(โดยมีประสบการณ์ในตำแหน่งรองกรรมการผู้อำนวยการอาวุโสด้านงานบริการมาก่อน 3 ปี) ด้วยวัยเพียง36ปี เอไอเอสถือเป็นกิจการสำคัญที่ทำรายได้มากที่สุดในกลุ่มชินคอร์ป    และกำลังผ่านจากยุคการลงทุนขนานใหญ่ขยายเครือข่าย สู่ยุคของการบริการลูกค้าเพื่อรักษาธุรกิจสื่อสารไร้สายอันดับหนึ่งไว้ ในขณะนั้นมีลูกค้ามากกว่า13 ล้านราย 

แต่ในที่สุดเมื่อจำเป็นต้องขายกิจการสื่อสานทั้งยวงไปหมดแล้ว  ในปี2549 ยิ่งลักษณ์ ชินวัตรก็ก้าวผ่านจากกิจการแสนล้านบาทมาสู่กิจการระดับพันล้าน

อย่างไรก็ตามก็ถือว่ามีความสำคัญอยู่มากอยู่ดี

ธุรกิจสามัญ

จะด้วยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม การเปลี่ยนผ่านจากธุรกิจสื่อสารไร้สายมาสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มีความหมายเชิงสังคมบ้างเหมือนกัน

การเปลี่ยนผ่านจากธุรกิจอิทธิพลขนาดใหญ่ ที่ต้องอาศัยเงินจำนวนมาก ผ่านกลไกระบบสัมปทาน เส้นสายและอำนาจ สู่ธุรกิจสามัญ  ขนาดเล็กและกลางที่ใครๆเข้ามาได้ จากธุรกิจที่เชื่อกันว่ามีศักยภาพในการสร้างผลประโยชน์อย่างมหาศาล สู่ธุรกิจที่เผชิญความเสี่ยงเป็นปกติ   พิจารณาจากข้อมูลตลาดหลักทรัพย์ฯ กิจการในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ก่อสร้างมีมากถึง111รายจากทั้งหมด473รายรวมกันทุกกลุ่มอุตสาหกรรม โดยมีธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (หมวดย่อยในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ก่อสร้าง) 62รายมากกว่าหมวดอื่นๆทุกกลุ่ม แต่มีความสามารถสร้างยอดขาย (ในปี 2553) ไม่ถึง 10% ของทุกบริษัทในตลาดหุ้นรวมกัน

ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในตลาดหุ้นมีกิจการหลากหลายตั้งแต่ผู้ถือหุ้นอยู่ในกลุ่มราชวงศ์(บริษัทสัมมากร) และสำนักงานทรัพย์สินฯ(อาทิ บริษัทคริสเตี่ยนี่และนีลสัน  โดยถือหุ้นผ่านบริษัททุนลดาวัลย์)  จนถึงโอกาสที่เปิดกว้างพอสมควรสำหรับรายใหม่ ที่ควรกล่าวถึงกลุ่มพฤษภาของทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ที่เจาะกลุ่มตลาดล่าง จากธุรกิจขนาดเล็ก พัฒนาขึ้นอย่างน่าสนใจ  สร้างรายได้มากกว่า 2 หมื่นล้านบาทในปีที่แล้ว จากภูมิหลังคนธรรมดาในสังคมไทย กลายมาเป็นบุคคลที่รูจักกันกว้างขวางขึ้น ในฐานะมีทรัพย์สินในตลาดหุ้นมากที่สุดรายหนึ่ง (คำนวณจากการเปิดเผยข้อมูลที่ตนเองถือหุ้นในสัดส่วนที่มาก กับราคาหุ้นของบริษัท) ทั้งนี้ยังไม่รวมกิจารนอกตลาดหุ้นอีกจำนวนมาก  โดยเฉพาะรายเล็กๆที่เกิดจากการจัดสรรทีดิน  การสร้างตึกแถว 2-3 คูหา ริมถนน   โดยพื้นฐานสำคัญแล้ว กิจการธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ไทย ถือเป็นที่มีการแข่งขันสูง ด้วยคูแข่งในตลาดจำนวนมาก จึงถือว่ามีความสามารถเติบโตเป็นธุรกิจขนาดกลางๆ และไม่สามารถเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ควบคุมตลาดได้เช่นบางธุรกิจ

จากธุรกิจที่ต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจเทคโนโลยี่ ความเข้าใจในการจัดการและระบบริหารที่ซับซ้อน สู่ธุรกิจพื้นฐานที่มีมานาน   มีกลไกและระบบ ซึ่งสามารถเข้าใจได้ไม่ยาก  เช่นที่ศอฉ.เคยศึกษาทำความเข้าใจมาแล้ว

 “ในเดือนพฤษภาคม 2553 ซึ่งเกิดเหตุการณ์รุนแรงจากความขัดแย้งทางการเมือง บริษัทฯ ถูกผลกระทบจากคำสั่งห้ามการทำธุรกรรมทางการเงินของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ทางบริษัทฯ ได้เข้าชี้แจงข้อมูลต่อ ศอฉ. โดยทันที และ สามารถผ่านเหตุการณ์ดังกล่าวมาได้ด้วยดีและดำเนินงานได้ตามปกติ จากการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้องและโปร่งใสมาโดยตลอด บริษัทฯ สามารถชี้แจงและให้ข้อมูลแก่ ศอฉ.ในทุกเรื่อง และรวมถึงได้มีการชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้อง อันได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า สถาบันการเงินและพนักงาน รับทราบ และได้รับความเข้าใจและให้การสนับสนุนด้วยดีจากทุกฝ่ายส่วนหนึ่งของรายงานผู้ถือหุ้น จากรายงานประจำปี2553

ทุกวันนี้ สังคมไทย มองว่า ธุรกิจสื่อสารไร้สายยังอยู่ในกระแสแห่งอำนาจ  อันสั่นสะเทือนไปทั่วเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะกรณี 3G   ขณะที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศก็ดำเนินไปอย่างปกติ และสามัญ เช่นเดิม แม้ว่า ความจริงกลไกลและผู้เล่นในตลาดนี้หลากหลาย และซับซ้อนมากกว่าเดิม โดยเฉพาะบทบาทของนักลงทุนต่างชาติ

แม้ว่าเอสซีแอทเสท ในช่วงปี2546-2553 จะมีผลประกอบการเติบโตสูงกว่าตลาดมาตลอด แต่ก็เป็นที่คาดการณ์ได้ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าเป็นธุรกิจสำคัญธุรกิจเดียวที่เหลือ (ภายใต้สปอร์ตไลท์สังคมธุรกิจ) และให้ความสำคัญ ความสำคัญในการลงทุนและพัฒนาจึงมีมากขึ้น ก็แค่นั้น ส่วนความสำเร็จในการประกอบการว่าไปแล้วคงต้องดูกันยาวๆ แม้ว่าตอนนี้ถือว่ามีผลประกอบการทีดีพอสมควร แต่สังคมธุรกิจไทย (รวมทั้งผู้ทรงอิทธิลพบางคน บางกลุ่ม) มิได้ตื่นเต้นและหวาดวิตกกับความเป็นไปของบริษัทนี้

ประวัติศาสตร์บอกว่าธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยเผชิญความเสี่ยง โอกาส การปรับตัว การล่มละลาย และรุ่งเรือง  เกิดขึ้นและแปรผันเป็นช่วงๆไปตามสถานการณ์ ที่สำคัญสังคมธุรกิจไทยเข้าใจและยอมรับความผันแปรที่ว่านี้ ซึ่งว่าไปแล้วคือกฎแห่งธรรมชาติของธุรกิจ  ซึ่งใช้ได้กับอีกหลายมิติ

อำนาจและการเมือง มักเป็นเช่นนี้ด้วย

ผลการดำเนินการบริษัท เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น(ล้านบาท)

ปี                                     2553      2552     2551     2550        2549        2548         2547       2546

สินทรัพย์รวม                14,191    10,855   9,053      8,521       8,309       8,130        7,756      6,194

รายได้รวม                      6,630      4,749    4,032    3,504       1,987       1,635        1,706     1,020

กำไรสุทธิ                        1,152             764        650         632          334          432            422        284

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: