เมื่อต้นปีมีเรื่องครึกโครม ด้วยถ้อยแถลงธนาคารไทย ว่าด้วยแผนการอันตื่นเต้น “กลับหัวตีลังกา” สะท้อนภาพการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ธนาคารกับสังคมไทย มิติเชื่อมโยงวิถีชีวิตทำงานแห่งยุคสมัย
(1)
ทีมผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ แถลงข่าวครั้งใหญ่ครั้งนั้น(เมื่อ22 มกราคม 2561) “ผ่ายุทธศาสตร์ไทยพาณิชย์ ‘Going Upside Down’ (กลับหัวตีลังกา)” หัวข้อข่าวโดยธนาคารไทยพาณิชย์เองสร้างความตื่นเต้นไม่น้อย
สิ่งที่ผู้คนความสนใจอย่างมาก เป็นบางตอนของแผนการ 3 ปี “เป้าหมายการมีเครือข่ายสาขาเหลือเพียง 400 แห่ง จากปัจจุบันที่มีอยู่ที่ 1,170 สาขา ที่สำคัญ ตั้งเป้าจำนวนพนักงานไว้ที่ 15,000 คน จากปัจจุบันทั่วประเทศมีมากถึง 27,000 คน”
ในเวลานั้นถือเป็นเรื่องและประเด็นที่จับต้องได้มากที่สุดของถ้อยแถลงข้างต้นเลยทีเดียว แม้แต่สื่อยักษ์ใหญ่แห่งญี่ปุ่น (Asian Nikkei Review) ก็ให้ความสนใจด้วย นำเสนอขยายมิติให้น่าสนใจยิ่งขึ้นด้วยการเปรียบเทียบกับธนาคารญี่ปุ่น โดยระบุว่า ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขามากกว่าธนาคารยักษ์ใหญ่แห่งญี่ปุ่น –Bank of Tokyo Mitsubishi UFJ ถึง 1.5 เท่า อ้างสถิติ ณ สิ้นปี 2560 ธนาคารไทยพาณิชย์มีสาขา 1,153 แห่ง ขณะที่ Bank of Tokyo Mitsubishi UFJ มีเพียง 766 แห่ง (สาขาในญี่ปุ่น) ทั้ง ๆ ที่ประเทศญี่ปุ่นมีประชากรมากถึง 127 ล้านคนขณะที่ไทยมี 69 ล้านคน
แต่สิ่งควรสนใจเพิ่มเติม ซึ่งสื่อญี่ปุ่นไม่กล่าวถึง ผมจึงหาข้อมูลมาให้
Bank of Tokyo Mitsubishi UFJ เป็นธนาคารใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และใหญ่เป็นอันดับ 8 ของโลก มีเครือข่ายสำนักงานนอกประเทศญี่ปุ่น ประมาณ 80 แห่ง ณ สิ้นปี 2559 มีรายได้ 49 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือมากกว่า 1.5 ล้านล้านบาท) มีกำไร 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (หรือมากกว่า 2.5 แสนล้านบาท) ซึ่งมากกว่าธนาคารไทยพาณิชย์หลายเท่านัก อ้างจากข้อมูลตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยระบุว่า ณ สิ้นปี 2559 ระบุว่า ธนาคารไทยพาณิชย์มีรายได้รวม 164,055 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 47, 612 ล้านบาท
ปฎิเสธไม่ได้ว่า เรื่องราวข้างต้น เชื่อมโยงทั้งระบบธนาคารไทย สะท้อนภาพอย่างชัดเจน ว่าด้วยความ “เทอะทะ” ตกทอดมาพร้อมๆกับตำนานความยิ่งใหญ่ ในพัฒนาการช่วงรุ่งเรือง ตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม เป็นต้นมา
ยุทธศาสตร์ธุรกิจเติบโต ในยุคธนาคารเป็น “แกนกลาง”สังคมธุรกิจไทย เป็นฐานการเงินของกลุ่มธุรกิจอิทธิพลดั้งเดิม(เครือข่ายธุรกิจซึ่งก่อตั้งมาตั้งแต่ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง) เพื่อการสร้างอาณาจักรธุรกิจให้ขยายอย่างกว้างขาง ดังดาวบริวาร แผนการเพิ่มสาขาดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งการเพิ่มสาขาในต่างจังหวัดอันเป็นกฎกติกาของทางการอย่างสำคัญในขณะนั้น กับการเปิดสาขาเป็นการทั่วไป อย่างตั้งใจเพื่อการระดมเงิน ตามยุทธศาสตร์ขยายอาณาจักรธุรกิจในช่วงเวลานั้น
แม้ว่าต่อมาธนาคารไทยต้องเผชิญปัญหา ผ่านช่วงเวลาอันเลวร้าย ต้องปรับตัวเอง ทว่า “ความเทอะทะ”ดังกล่าวข้างต้น ดูเหมือนไม่ได้ถูกแตะต้อง
แนวคิดและแผนการปรับตัวพุ่งเป้ามายังสาขาธนาคารในบางระดับ บางมิติ เกิดขึ้นครั้งแรกเมือว่า2 ทศวรรษที่แล้ว เรียกว่าการปรับกระบวนการบริการสาขา หรือreengineering (ช่วงปี 2536-2537) ริเริ่มโดยธนาคารกสิกรไทย ยุคบัณฑูร ลำซ่ำ สร้างแรงกระตุ้นวงการธนาคารให้ตื่นตัวระดับหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นการปรับตัวของธุรกิจไทยไปสู่มาตรฐานสากล พยายามทำความเข้าใจในเรื่องประสิทธิภาพ แต่ยังไม่ไปไกลถึงขั้นนี้
ครั้นเมื่อเผชิญวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540 ธนาคารไทยได้รับผลกระทบอย่างมาก ด้วยโฉมหน้าธุรกิจธนาคารในสังคมไทยเปลี่ยนไปอย่างไม่หวนกลับ อันเนื่องมาด้วยการล้มลงของธนาคารไทยหลายแห่ง พร้อม ๆกับการมาของเครือข่ายธนาคารระดับภูมิภาคและระดับโลก เป็นปรากฏการณ์ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ตั้งแต่ยุคก่อตั้งธนาคารไทยช่วงหลังสงครามโลกครั้งสอง ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารแห่งแรกของไทย ซึ่งมีประสบการณ์ในยุคธนาคารอาณานิคมครอบงำสังคมไทย นั้นก็ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่จางหายไปจากความทรงจำ
แผนการปรับตัวระบบธนาคารไทยได้รับการตอบสนองมากขึ้น ธนาคารไทยพาณิชย์เอง กับ change program กระบวนการในการเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานใหม่ เปิดฉากเมื่อปลายปี 2544 ในยุคผู้นำผู้บริหารคนสำคัญไม่ได้มาจาก “สายสัมพันธ์ดั้งเดิม” ตามโมเดลที่เป็นมา ดูเหมือนแผนการปรับตัวดังว่าซึ่งมีขึ้นทั้งระบบ จะได้ผลพอสมควร
ผมเองเคยเสนอว่า ช่วงปี 2542-2547 ธนาคารเป็นธุรกิจไทยซึ่งค่อย ๆ กลับมาตั้งหลัก ธนาคารเป็นกลุ่มธุรกิจไทยมีความสามารถในการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับโลกมากที่สุด ภายใต้กระบวนการต่อเนื่องว่าด้วยการปรับโครงสร้าง ปรับตัวทางธุรกิจ ตามกระแสตามแรงกดดันใหม่ๆซึงเชื่อว่ากำลังจะเกิดขึ้น โดยเฉพาะความพยายามเข้าถึงลูกค้ารายย่อยมากขึ้น พูดถึงแบรนด์ธนาคารมากขึ้น
ภาพนั้นปรากฏที่สาขาธนาคาร ซึ่งยังเป็นทีที่ลูกค้าส่วนใหญ่เข้าถึง ธนาคารไทยยังต้องลงทุนเพิ่มขึ้นเพื่อปรับโฉมสาขาให้ทันสมัย ทั้งรูปแบบและเพิ่มเติมเทคโนโลยี่ใหม่ๆที่เกี่ยวกับการบริการ
ว่าด้วยแผนการใหญ่ล่าสุด ธนาคารไทยพาณิชย์ “กลับหัวตีลังกา” จึงถือว่าเป็นเป็นยุทธศาสตร์สำคัญ สะท้อนความพยายามปรับตัวครั้งใหญ่ เชื่อว่าจะสร้างกระเพื่อมทั้งระบบธนาคารไทย เป็นความพยายามครั้งใหญ่ครั้งแรก ลงลึก แตะต้องปัญหารากฐานระบบธนาคารไทยอย่างแท้จริง
ว่าไปแล้วแผนการดังกล่าวเกิดขึ้นกับธนาคารทั่วโลกมานานแล้ว ดังกรณีธนาคารญี่ปุ่นที่เกิดขึ้นในช่วงไกล้เคียงกัน (Japan’s staff–heavy banks downsize and turn to technology for survival : JAPAN TIMES, FEB 12, 2018)ให้ภาพไว้อย่างชัดเจน ถึงสิ่งที่เรียกว่า “ลดขนาด”(downsize) ซึ่งย่อมเกี่ยวข้องการปรับลดสาขาและจำนวนพนักงานอย่างไม่ต้องสงสัย
สื่อญี่ปุ่นข้างต้นรายงานว่าถึงสาเหตุไว้อย่างจับต้องได้ ธุรกิจหลัก (core business) ธนาคารญี่ปุ่นกำลังเผชิญปัญหาพื้นฐานด้วยช่องว่างอัตราดอกเบี้ย (interest margins) ระหว่างเงินกู้และเงินฝากที่แคบลงมาก ๆ ส่งผลให้ผลประกอบการธนาคารใหญ่ 5 แห่ง (Japan’s five big banks) ตกต่ำลงอย่างมาก โดยเฉพาะกำไรลดลงถึง 22.4% ในช่วงครึ่งปีหลังปีที่ผ่านมา ดังนั้นจึงปรับตัวตามที่เป่นไปด้วยไปเจาะจงไปทีลดจำนวนพนักงานธนาคารลงในขจำนวนที่นัยยะสำคัญ
ปรากฎการณ์ธนาคารระดับโลก ปรับตัวเข้ากับเปลี่ยนแปลง ซึ่งผันผวนทีเดียวในช่วง2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้มีการปรับตัวมาตลอด มาเป็นละลอก การปรับลดสาขาหรือจำนวนพนักงาน อย่างขนานใหญ่ในคราวเดียว จึงดูไม่ได้เป็นไปยย่างฮวบฮาบ ครึกโครม ดังแผนการธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศไว้ ประหนึ่งเพิ่งตระหนักถึงปัญหาใหญ่ที่เผชิญอยู่
“สถานการณ์การแข่งขันที่เข้มข้นของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ และการไหลบ่าเข้ามาของธุรกิจ platform ระดับโลกที่กำลังจะกลายเป็นคู่แข่งสำคัญของธุรกิจธนาคาร …กอปรกับการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปิดรับการใช้เทคโนโลยีอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้การบริการทางการเงินของธนาคารพาณิชย์ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก” อาทิตย์ นันทวิทยา ผู้บริหารธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวไว้ขณะนั้น
อย่างไรก็ตาม ผ่านไปเกือบปี ความเป็นไป(โปรดพิจารณาข้อมูลประกอบ) ยังคงเป็นไปความเป็นไปต่อไป แสดงว่า ธนาคารไทยพาณิชย์กับยุทธศาสตร์ “กลับหัวตีลังกา” เป็นไปไม่ง่ายนัก
สาขาธนาคารทั้งระบบ
(จำนวน)
พฤศจิกายน 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560 2561
5,443 5,733 5,947 6,154 6,387 6,669 6,951 7,055 7,001 6,798 6,734
สาขาธนาคารพาณิชย์ไทย
(จำนวน)
พฤศจิกายน 2560 2561 +-
กรุงเทพ จำกัด (มหาชน) 1,165 1,163 -2
กรุงไทย จำกัด (มหาชน) 1,122 1,120 -2
ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) 1,170 1,109 -61
กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) 1,028 987 -41
กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) 663 664 +1
ธนชาต จำกัด (มหาชน) 526 515 -11
ทหารไทย จำกัด (มหาชน) 434 416 -18
ยูโอบี จำกัด (มหาชน) 153 152 -1
แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) 133 132 -1
ไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน) 132 209 +77
ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน) 88 84 -2
ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) 60 60 —
เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน ) 67 66 -1
ไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน) 22 22 —
รวมทั้งระบบ 6798 6734 –64
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
หมายเหตุ ตัวเลขทั้งระบบ รวมทั้งธนาคารซึ่งมีสาขาแห่งเดียว และสาขาธนาคารต่างประเทศ
(2)
อย่างที่ว่าไว้ ธนาคารมี“พัฒนาการช่วงรุ่งเรือง ตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม” มีความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้คนทำงานประจำสำนักงานอันโอ่อ่า น่าเสือมไส เป็นยุคต้นมนุษย์เงินเดือนกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่า White collar
ช่วงเวลานั้น สำนักงานใหญ่ธนาคารพาณิชย์ไทย อาคารอันโดดเด่น เป็นสัญลักษณ์ที่จับต้องได้และเชื่อมโยงกัน ความเป็นไปเปิดฉากขึ้นบนถนนสีลม ถือเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ของกรุงเทพฯ มีพลังแรงดึงดูดอย่างมากมายในช่วงทศวรรษ2520-2530 จนเรียกกันว่า “วอลล์สตรีตของกรุงเทพฯ”
ทั้งนี้จุดกระแสโดยการเกิดขึ้นอาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารแห่งใหม่ๆ เริ่มจาก “อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารกสิกรไทยแห่งใหม่ เป็นอาคารสูง9ชั้น ทำการก่อสร้างสำเร็จ เปิดทำการในปี2510 นับเป็นอาคารสำนักงานของธุรกิจขนาดใหญ่แห่งแรกบนถนนสายนี้”(จากหนังสือ บัญชา ลำซ่ำ ชีวิตและผลงาน 2535)
จากนั้นตามมาด้วยการปรากฏขึ้นของความทันสมัยเป็นละลอก อาคารสูงต่าง ๆผุดขึ้น ตั้งแต่โรงแรมดุสิตธานี(2513) อาคารสำนักงานธุรกิจแห่งใหม่ๆ อาทิ อาคารเกษมกิจ สูง10ชั้น (2512) และอาคารบุญมิตร สูง12 ชั้น (2517) และได้เดินหน้าเข้าสู่ระยะรุ่งเรืองอย่างมากถึงระดับหนึ่ง เมื่อมีการเกิดขึ้นสำนักงานใหญ่ธนาคารใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บนถนนสีลม นั่นคือ ธนาคารกรุงเทพ(2525) สำนักงานใหญ่ที่สูงที่สุดในเวลานั้น ด้วยการลงทุนที่สูงมาก ๆ เกือบๆ1,000ล้านบาท “ เป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ไทย อันเป็นธุรกิจของภาคเอกชน”(จากหนังสือ ชิน โสภณพนิช2453-2531)
ช่วงเวลาคาบเกี่ยวและต่อเนื่องกัน เมือมองผ่านปรากฎการณ์อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคาร ความเคลื่อนไหวนั้น ยังคงแสดงสัญลักษณ์ว่าด้วยบทบาทอันโดดเด่นผุดในย่านสำคัญๆต่าง ๆในกรุงเทพฯ ประหนึ่งเป็นสัญญานการเติบโตของธุรกิจธนาคาร มีส่วนผลักดันให้ความทันสมัยของเมืองหลวง ขยายตัวกว้างออกไปๆ ไม่ว่ากรณีสำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ โดดเด่นขึ้นบนถนนเพชรบุรี(2514) และ ธนาคารกสิกรไทยเองขยายตัวอย่างมาก จนต้องเปิดสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ให้ใหญ่โตมากขึ้นอีก บนถนนพหลโยธิน(2520) แทนที่สำนักงานใหญ่แห่งเดิม
แม้กระทั่งช่วงหลังๆ มาไกลอีกกว่า2ทศวรรษ ช่วงคาบเกี่ยวก่อนและหลังวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ(2540) อาคารสำนักงานใหญ่ธนาคารใหญ่ คงแสดงสัญลักษณ์นั้นอยู่ ไม่ว่า อาคารสนักงานใหญ่แห่งใหม่ธนาคารไทยพาณิชย์อันโดดเด่น ย่านรัชโยธิน และอาคารสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ธนาคารกสิกรไทย สูงตระหง่านริมฝั่งเจ้าพระยา ย่านราษฎร์บูรณะ
จุดเปลี่ยนครั้งสำคัญเกิดขึ้น เมื่อเผชิญวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งร้ายแรง ระบบธนาคารไทยได้ผลกระทบ อย่างรุนแรงทีเดียว
ภาพใหญ่เศรษฐกิจไทยในเวลานั้น สะท้อนความเปราะบางและอ่อนแอที่สุดช่วงหนึ่งในประวัติศาสตร์ พิจารณาจากดัชนีเศรษฐกิจสำคัญ–ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ติดลบเป็นครั้งแรก 2 ปีต่อเนื่อง(เท่าที่มีการจัดระบบข้อมูล) จาก -2.8 (ปี 2540) และ -7.6 (ปี 2541) (ข้อมูลเปิดเผยโดย ธนาคารแห่งประเทศไทย) ดัชนีสำคัญอีกมิติสะท้อนผ่าน ดัชนีตลาดหุ้นไทยเข้าสู่ภาวะซบเซา คงอยู่ในระดับต่ำมาก ๆ เฉลี่ยประมาณ 400 จุด ต่อเนื่องติดต่อมา 4 ปีเต็ม (ช่วงปี 2542 จนถึงสิ้นปี 2545) ถือเป็นภาวะตกต่ำของตลาดหุ้นไทยช่วงยาวนานอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน เป็นที่ทราบกันดีว่าธนาคารพาณิชย์ไทยทุกแห่ง(เวลานั้นมี14 แห่ง) ล้วนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหุ้น
ภาพที่ชัดเจนคือการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ผลกระทบเชิงทำลายรากฐานธุรกิจเดิม โครงสร้างใหม่ทางเศรษฐกิจและสังคมธุรกิจไทย รวมทั้งระบบธนาคารไทยเอง เปิดให้ภาพอย่างชัดเจนในช่วงปี 2541-2549
ข้อมูลจำเพาะตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งเชื่อว่าจะให้ภาพกว้างๆได้ เมื่อพิจารณาขอ้มูลหมวดธุรกิจธนาคารโดยเปรียบเทียบกับหมวดธุรกิจอื่น ๆ ดูจะสอดคล้องกัน และสะท้อนแนวโน้มใหม่ที่ควรสนใจ
ข้อมูลประกอบการหมวดธุรกิจธนาคาร พิจารณาเปรียบเทียบปี 2538 กับปี 2543(พิจารณาข้อมูล) ให้ภาพที่เป็นจริงอย่างนั้น ในปี 2538 อันเป็นช่วงเศรษฐกิจไทยเฟื่องฟูอย่างมาก ทั้งระบบธนาคารพาณิชย์ไทย มีรายได้รวมกันถึง 492,550 ล้านบาท มีกำไรรวมกันถึง 70,656 ล้านบบาท (อ้างจากหนังสือข้อสนเทศบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ 2539 จัดทำโดยบริษัทบริการข้อมูลผู้จัดการหรือเอ็มไอเอส) ครั้นมาถึงปี 2543 เมื่อผลประทบอันรุนแรงจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจมาถึงอย่างเต็มที่ ปรากฏว่า รายได้ธนาคารทั้งระบบ ได้ลดลงไปอย่างมาก เหลือเพียง 293,693 ล้านบาท และประสบการขาดทุนรวมกันถึง 10,287 ล้านบาท
ธนาคารไทยทั้งระบบประสบภาวะขาดทุนครั้งใหญ่ในปี 2543 แต่นั้นถือเป็นครั้งสุดท้าย หลังจากนั้นมา ผลประกอบการรวมกัน มีกำไรตลอดมา แม้ว่าพิจารณาจากรายได้ ในช่วงเกือบๆ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ธนาคารทั้งระบบจะเติบโตไม่มาก เมื่อเปรียบเทียบกับอีกหลายธุรกิจ ว่าหมวดธุรกิจพลังงาน หมวดธุรกิจพาณิชย์ และหมวดธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม
ภาพนั้นสะท้อนความเป็นไปค่อนข้างซับซ้อน พิจารณาเฉพาะข้อมูลธุรกิจ ดูบทบาทและความสำคัญของธนาคารค่อยๆลดลง ท่ามกลางสังคมธุรกิจไทยที่เติบโต ขยายฐาน มีธุรกิจอย่างหลากหลายมากขึ้น ขณะอีกด้านในช่วง2ทศวรรษหลังวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ ธนาคารผู้อยู่รอดสามารถกลับมาตั้งหลักได้ ด้วยผลประกอบการที่ดีขึ้น( พิจารณาข้อมูลประกอบ) ดูเหมือนว่าช่วงนั้นจะเป็นสภาวะใหม่ที่น่าสนใจ ช่วงเวลาการปรับตัวระบบธนาคารไทยเป็นไปอย่างเฉื่อยเนือย
มีข้อมูลอีกด้านที่ซ่อนอยู่(โปรดพิจารณาข้อมูล-จำนวนพนักงานธนาคาร) ให้ภาพต่อเนื่องดูมั่นคงพอสมควรว่าระบบธนาคารไทยยังเป็นฐานสำคัญของผู้คนทำงานกลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มซึ่งมีอิทธิพลต่อภาพรวม ต่อความเป็นทางสังคม ในฐานะคนทำงานผู้ผ่านการศึกษาอย่างดี มีความรู้ มีความชำนาญเฉพาะด้าน จากการประเมินคร่าวๆ จากตัวเลขที่มีอยู่ในช่วง5ปีที่ผ่านมา( 2555-2559) ธนาคารไทยไทยมีผู้คนกลุ่มใหญ่อยู่ในระบบ ถึงมากกว่า150,000คน ในช่วงเวลาดังกล่าวมีจำนวนค่อยๆเพิ่มขึ้นด้วย อาชีพเกี่ยวข้องกับธนาคาร คงเป็นที่ ๆต้องการ เป็นที่รองรับของคนรุ่นใหม่ ผู้เพิ่งจบการศึกษา กลุ่มใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งของสังคมไทย
ภาพนั้นค่อยๆเปลี่ยนไปบ้าง เป็นไปตามทิศทาง และแนวโน้ม สัมพันธ์กับความเป็นไปของธุรกิจธนาคาร ผู้คนในสังคม ผู้คนซึ่งแสวงหางานทำ จะค่อยๆออกห่างจากธุรกิจธนาคารมากขึ้น ๆ แนวโน้มมาจากแรงขับเคลื่อนของธนาคารเองด้วยเช่นกัน เช่น กรณีธนาคารกรุงเทพ แม้ไม่ได้ปรับลดจำนวนสาขาลงอย่างชัดเจน แต่ได้พยายามลดจำนวนพนักงานลงอย่างต่อเนื่อง จากตัวเลขของธนาคารเอง(Investor Presentation For 3Q18 )ระบุว่ามีการลกจำนวนำนักงานลงอย่างช้า ๆประมาณ2000คนในช่วง3ปีที่ผ่านมา(จาก 27,142 คนในปี2558 เป็น 25,137 คนในใตรมาสที่3ปี 2561) เชื่อว่าทิศทางและแนวโน้มนั้นจะกลายเป็นปรากฎการณ์ทั่วไป
ภาพนั้นจะชัดเจนมากขึ้นๆ มีผลกระทบเชิงโครงสร้างทางสังคมมากขึ้น เมื่อการปรับตัวของธนาคารไทยเข้าสู่ระดับที่อ่อนไหว ดังภาพสะท้อน กรณีธนาคารไทยพาณิชย์ กับแผน“กลับหัวตีลังกา”
ผลประกอบการธนาคารช่วงสำคัญๆ
(ล้านบาท)
รายได้ กำไร/-ขาดทุน
ปี 2538(14) 492,550 70,656
ปี2543(14) 293,693 –10,287
ปี2560(11) 917,797 186,651
ทีมา รวบรวมจากข้อสนเทศตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
หมายเหตุ ตัวเลขใน() หมายถึงจำนวนธนาคาร
จำนวนพนักงานธนาคาร
(คน)
ปี ธนาคารขนาดใหญ่ ธนาคารขนาดกลาง ธนาคารขนาดเล็ก เฉลี่ย
(4แห่ง) (3แห่ง) (7แห่ง) (14แห่ง)
2555 20,383 11,062 2,307 9,348
2556 21,638 11,022 2,402 9,745
2557 22,876 11,352 2,563 10,250
2558 23,387 11,890 2,528 10,494
2559 23,823 12,034 2,510 10,641
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย