ห้างญี่ปุ่นผันแปร

เรื่องราวห้างโตกิวในไทย สะท้อนความเป็นไป ห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่น หลายแง่หลายมุม

หัวข้อข่าวที่น่าสนใจเมือปลายปีที่แล้ว(ต้นเดือนพฤศจิกายน 2561  “ห้างสรรพสินค้า ‘โตคิว ‘ ปิดสาขาพาราไดซ์ พาร์ค ศรีนครินทร์” ตามมาด้วย “ห้างสรรพสินค้าโตคิว พาราไดซ์ พาร์ค ศรีนครินทร์ ที่เปิดให้บริการในปี 2558 ได้ประกาศปิดสาขาในเดือนมกราคม 2562” ประกาศทางการของห้างครั้งแรก ไม่ได้แสดงเหตุผลใด ๆอย่างที่ควร  แต่หลังจากนั้นมีข่าวเผชิญปัญหาการขาดทุนตลอดมา

ในฐานะนักสังเกตการณ์คนหนึ่ง ใคร่มองปรากฏกาณ์นั้น ในมุมที่กว้างขึ้น

ห้างโตกิว(Tokyu Department Store) เข้ามาเมืองไทยแล้ว34ปี ปักหลักที่เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ ใจกลางย่านจับจ่ายใช้สอยแห่งกรุงเทพฯ  ก่อนจะแผนการเปิดสาขาใหม่อีกแห่งที่พาราไดซ์ พาร์ค ศรีนครินทร์ในอีก3 ทศวรรษต่อมา(ปี2558) เชื่อกันว่าเป็นการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างรอบคอบ ทั้งยึดโมเดลธุรกิจค่อนข้างอนุรักษ์นิยม การร่วมทุน(สัดส่วน 50 : 50)  กับ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) เจ้าของเอ็มบีเคเซ็นเตอร์และพาราไดซ์ พาร์ค ศรีนครินทร์   ในเวลานั้นประกาศแผนการคึกคักพอสมควร ด้วยเงินลงทุนขั้นต้น 400 ล้านบาท

ความพลิกผัน เปลี่ยนแผน  เกิดขึ้นกับห้างสรรพสินค้าโตคิว พาราไดซ์ พาร์ค ศรีนครินทร์ ในช่วงเวลาเพียง4ปี จึงเป็นกรณีน่าสนใจมากๆ

ในภาพกว้าง ห้างญี่ปุ่นกับสังคมไทยม มีเรื่องมีราว มีสีสันไม่น้อย

เริ่มต้นตั้งแต่ Daimaru เข้ามาเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว(ปี 2507) สาขาแรกในย่านราชประสงค์  ประสบความสำเร็จด้วยดี อ้างอิงกับกระแสและการเติบโตสินค้าญี่ปุ่นในสังคมไทย โดยเฉพาะ รถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้า  จึงตามมาด้วยสาขาที่ 2 ย่านพระโขนงเ(ปี 2524) แต่ไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่ควร ต้องตัดสินใจปิดตัวลงในอีก 6ปีถัดมา  ขณะที่Daimaru สาขาแรกต้องเผชิญปัญหา ด้วยทำเลและคู่ค้าที่เปลี่ยนแปลง   เป็นเรื่องดราม่าพอสมควร ตอนสุดท้ายมาจบลงที่เดียวกับโตคิว คือพาราไดซ์ พาร์ค   ขณะนั้นเป็นเสรีเซ็นตอร์ แต่แผนธุรกิจไม่เป็นอย่างที่คาด ในที่สุด Daimaru ถอนตัวจากเมืองไทยอย่างสิ้นเชิงในช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ (ปี 2543) และในเวลาต่อมาเสรีเซ็นเตอร์เอาตัวไม่รอดเช่นกัน ได้ขายกิจการให้กับกลุ่มเอ็มบีเค และสยามพิวรรธน์ แล้วได้ปรับโฉมเป็น พาราไดซ์พาร์ค (ปี 2553)

อีกกรณีหนึ่งควรกล่าวถึง  Yaohan ห้างญี่ปุ่นที่มีแผนธุรกิจเชิงรุกอย่างที่ห้างญี่ปุ่นไม่เคยทำ ขยายกิจการอย่างมากมายในต่างประเทศ  รวมทั้งเปิดตัวในเมืองไทยในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นเมื่อปี 2534  และแล้วก็ต้องปิดตัวลงเมื่อเผชิญวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเอเชียในอีก 6ปีถัดมา ไม่เพียงเฉพาะในเมืองไทย Yaohan ทั้งหมดต้องล้มละลาย และขายกิจการ กิจการในญี่ปุ่นและเอเชียได้กลายมาเป็นของ ÆON  เจ้าของกิจการ hypermarket  และ supermarket ซึ่งมีแบรนด์ JUSCO และ MaxValu ส่วนในเมืองไทย JUSCO  เชื่อว่ามีภาพพจน์ไม่ค่อยดีนัก จึงทั้งปรับโมเดลธุรกิจและเปลี่ยนชื่อเป็นMaxValu

มองในมิติสำคัญ  Tokyu กับการปรับเปลี่ยนแผนอย่างพลิกความหมายพอสมควรเพียงช่วงเวลา 4  ปี ถือเป็นกรณีที่มีความเฉพาะเจาะจงอย่างมาก ๆ

เป็นที่ดูตื่นเต้นและย้อนแย้งพอสมควร ขณะที่ Tokyuประกาศปิดสาขา   Takashimaya ห้างดังญี่ปุ่นอีกแห่งหนึ่ง กำลังเปิดตัวครั้งแรกในเมืองไทย

Takashimaya ห้างสรรพสินค้ายักษ์ใหญ่แห่งญี่ปุ่นซึ่งก่อตั้งมายาวนานกว่า 180 ปี “โดยยกห้างระดับพรีเมียมแบบ Fullscale จากญี่ปุ่นมาเปิดตัวสาขาในเมืองไทยเป็นครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า Siam Takashimaya   ณไอคอนสยาม (ICONSIAM) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2561” เรื่องราวเป็นกระแสอย่างคึกโครม

ในบรรดาห้างญี่ปุ่นในเมืองไทยนั้น ดูไปแล้ว Tokyu มีลักษณะเฉพาะมากกว่าห้างอื่น ๆ

ปัจจุบันกรุงเทพฯเป็นที่ที่อยู่ห้างญี่ปุ่น(ในทีนี้ อ้างเฉพาะ Department Store ) 3 แห่ง  นอกจาก Tokyu (เอ็มบีเคเซ็นเตอร์) กลายเป็นห้างที่อยู่มานานที่สุด  Isetan(เซ็นทรัลเวิล์ด) ตามมาเปิดในเมิองไทยปี 2535และ รายล่าสุด Takashimaya เพิ่งเปิดตัว

เท่าที่ติดตาม พบว่า Takashimaya  กับ Isetan   ดำเนินธุรกิจห้างสรรพสินค้าอย่างโฟกัส ทั้งมีเครือข่ายในต่างประเทศอย่างมีนัยยะสำคัญ

  Takashimaya ก่อตั้งร้านเสื้อผ้าในเมืองเกียวโต เมื่อปี ค.ศ. 1831… ตลอด180 ปี และดำรงไว้เป็นวิถีปฏิบัติของบริษัท ซึ่งกลายมาเป็นตัวตนของเรา จวบจนปัจจุบัน ณ ปัจจุบัน มีทั้งหมด 19 สาขาในประเทศญี่ปุ่น และอีก 3 สาขาใน สิงคโปร์ เซี่ยงไฮ้(สาธารณะรัฐประชาชนจีน) และ เวียดนาม รวมถึง Siam Takashimaya   สาขากรุงเทพมหานคร ร่วมกับโครงการไอคอนสยาม ที่จะเป็นสาขาล่าสุด(อ้างจาก https://www.siamtakashimaya.co.th/about)   โดยระบุ แผนการขยายสาขาต่างประเทศไว้ด้วย เริ่มจากสาขาแรกในต่างประเทศ ทาคาชิมายะ สิงคโปร์ เปิดในปี ค.ศ. 1993 Takashimaya เป็นผู้เช่าหลัก ในศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางถนนสายหลักออร์ชาร์ด  ปีค.ศ. 2012 เปิดสาขาที่เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน และในปี 2017 ได้เปิดสาขาที่ 3 โฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้เช่าหลักในศูนย์การค้า ไซ่ง่อน เซ็นเตอร์”

ขณะที่ Isetan  ก่อตั้งในปี 1886 เปิดสาขาแห่งแรกที Shinjuku ต่อมาได้ขยายสาขาในเมืองสำคัญทั่วญี่ปุ่น รวมทั้งได้ขยายสาขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากเมืองไทยแล้ว ก็มีอีกหลายเมืองในประเทศมาเลเซีย อีกหนึ่งในสิงค์โปร์ และจีนแผ่นดินใหญ่อีก 3 แห่ง

ทว่าห้างญี่ปุ่นต้องเผชิญความผันแปรพอสมควร  อันเนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ โดยเฉพาะในช่วงทศวรรษ20  ต้องมีการควบรวม  ปรับโครงสร้างกิจการ ทั้งมีการปิดสาขาหลายแห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ   กรณี Isetan ได้ควบรวมกิจการกับ Mitsukoshi กลายเป็นผู้เล่นรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น มีการปิดสาขาไปหลายแห่ง เช่นในฮ่องกง  ลอนดอนและเวียนนา   ขณะที Takashimaya มีความพยายามจะควบกิจการเหมือนกัน แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

Tokyu นั้นมีโครงสร้างธุรกิจที่แตกต่างกับทั้ง Takashimaya และ Isetan อย่างมาก ๆ

Tokyu Department Store มีสาขาไม่กี่แห่งในญี่ปุ่น ส่วนเครือข่ายในต่างประเทศ ก็มีเฉพาะเมืองไทยเท่านั้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากอยู่ในเครือข่ายธุรกิจอันหลากหลาย ภายใต้ชื่อ Tokyu Group    กลุ่มธุรกิจที่เริ่มต้นกับธุรกิจหลัก ดำเนินกิจการรถไฟเชื่อมโยงกับเมืองหลวง -โตเกียวกับพื้นที่รอบนอก แผนการธุรกิจอื่น ๆจึงตามมา ด้วยอ้างอิงและต่อยอดจากธุรกิจหลักอย่างหลากหลาย ไม่ว่า ธุรกิจก่อสร้าง ขนส่ง พัฒนาอสังหาริมทรัพย์   ค้าปลีก สื่อสาร สันทนาการ และเกี่ยวกับกิจกรรมทางวัฒนธรรมและอื่น ๆ

เมื่อเป็นเช่นนี้ธุรกิจค้าปลีก  โดยเฉพาะห้างสรรพสินค้าจึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งในภาพที่ใหญ่มาก ๆ

โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับ Tokyu Construction กิจการก่อสร้างยักษ์ใหญ่ซึ่งดำเนินกิจการในเมืองไทยมานานพอสมควร ด้วยผลงานโครงการใหญ่ๆ  อย่าง การสร้างระบบรถไฟฟ้าใต้ดินสายสำคัญในกรุงเทพฯ “สายเฉลิมรัชมงคล ความยาว 21 กิโลเมตร มีสถานีใต้ดิน18 แห่ง เปิดดำเนินมาแล้วเมื่อปี 2547 …”( http://www.tokyu-con.co.th)   ยังระบุด้วยว่า มีบทบาทโครงการถนนวงแหวนอุตสาหกรรม ที่น่าสนใจ โครงการดังกล่าวได้กู้เงินธนาคารญี่ปุ่น(Japan bank for International Cooperation หรือJBIC ) ด้วย นอกจากนี้ยังร่วมมือบริษัทก่อสร้างยักษ์ใหญ่ของไทย ก่อตั้งบริษัทร่วมทุน Ch.KarnchangTokyu Construction  ซึ่งมีผลงานมากมาย (หากสนใจ ดูจาก http://www.chtokyu.co.th )

กรณี Tokyu กับการปิดสาขาห้างสรรพสินค้าชานเมืองกรุงเทพฯ ย่อมสะท้อนบางสถานการณ์ที่แตกต่าง สะเทือนจังหวะก้าวธุรกิจค้าปลีกไทยไม่น้อย

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: