เอสซีจี กับ เอสบีเอส

 (3)ดีลAstraZeneca

ยุทธศาสตร์พลิกผัน ว่าด้วยแผนการใหม่ มักมากับจังหวะและโอกาสอย่างคาดไม่ถึง แต่ก็มีที่มาที่ไป

เรื่องราว สยามไปโอไซแอนซ์ (Siam Biosciences  หรือ SBS) เป็นไปอย่างเงียบๆเกือบๆทศวรรษ เป็นความเงียบอย่างคาดไม่ถึง  ก่อนจะมาปะทุเป็นเรื่องราวใหญ่โต  อาจคาดไม่ถึงเช่นกัน

เอสบีเอส ก่อตั้งปี2552  เปิดตัวครั้งแรกๆในวงกว้าง เมื่อนายกรัฐมนตรีไทย มาเยือนราว 8ปีถัดมา(พฤษภาคม 2560) ขณะที่ความเป็นไปในเชิงธุรกิจ ถือว่ายังอยู่ในขั้นเริ่มต้น ข้อมูลผลประกอบการช่วงที่ผ่านมา2556-2562)ให้ภาพธุรกิจใหม่อย่างแท้จริงเช่นนั้น เมื่อเทียบเคียงบทเรียนศตวรรษ เอสซีจี  แม้เอสบีเอสเป็นอุตสาหกรรมแบบแผนใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ใช้เทกโนโลยีสมัยใหม่ ที่เรียกกันว่าCapital-intensive  แต่ที่แตกต่าง เป็นการบุกเบิกธุรกิจใหม่  ใช้เวลาค่อนข้างมากกับการวิจัยและพัฒนา(R&D) แสวงหาพันธมิตรธุรกิจระดับโลกเป็นไปค่อนข้างจำกัด ในภาพใหญ่ๆ จึงใช้เวลามากกว่าที่คาด

เอสบีเอส ประสบภาวะขาดทุนมาตลอด ดั้งแต่ก่อตั้ง รวมๆกันใน7ปีที่ผ่านมา (2556-2562)กว่า500ล้านบาท ขณะมีรายได้อย่างจริงจังหลังจากก่อตั้งถึง 4ปี   ซึ่งรวมกันแล้ว(2559-2562)ถือว่าไม่มากไม่ถึง 400ล้านบาท( อ้างและประมวลข้อมูล -กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์)

ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี2564 เป็นต้นไป ตัวเลขจำเพาะข้างต้นบางอย่าง จะเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด โดยเฉพาะฐานรายได้  เมื่อSBS พลิกโฉมหน้าใหม่ทางธุรกิจ  ด้วยดีลใหญ่อันฮือฮา  สร้างความประหลาดให้กับสังคมวงกว้างพอสมควร

โดยเฉพาะผู้คนซึ่งไม่อาจทราบว่า สังคมไทยกับการผลิตวัคซีนใช้เองภายในประเทศ เป็นเรื่องใหม่และเพิ่งจะตื้นตัวกันไม่นาน ผู้คนซึ่งอาจสนใจเอสบีเอส บางแง่มุมเป็นพิเศษ ไม่ว่ากรณีความช่วยเหลือด้วยงบของรัฐ ขณะเดียวกันมีความคาดหวังเกินจริง คล้อยตามผู้คนในกลไกรัฐไปด้วย

ไทม์ไลน์สำคัญเปิดฉากขึ้นเมื่อวิกฤติการณ์COVID-19มาถึง มีดีลกับAstraZeneca เมื่อตุลาคม 2563

เรื่องราวเกี่ยวเนืองตอนสำคัญข้างต้น ไม่เพียงสะท้อนความสัมพันธ์ ความสำคัญ เชื่อมโยงกันระหว่างเอสซีจีกับเอสบีเอส  หากควรขยายความให้มากกว่าที่เคยรับรู้กัน

โดยเฉพาะขยายความต่อจากตอนที่แล้วที่ทิ้งท้ายไว้ “กรรมการเอสบีเอส อีกคน-ชลณัฐ ญาณารณพ มีเรื่องราวที่น่าสนใจ ในฐานะเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เอสซีจี ต่อจากอภิพร ภาษวัธน์(2548-2562)  ในช่วงเวลานั้น SCG-Oxford Centre of Excellence in Chemistry (CoE) ก่อตั้งขึ้น(2555) จะเรียกว่าชิ้นส่วนหนึ่งในความบังเอิญอย่างไรก็แล้วแต่  ได้มีส่วนนำมาสัมพันธ์กับAstraZeneca

ชลณัฐ ณาณารณพ  ในช่วงคาบเกี่ยวในตำแหน่งผู้นำกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์เอสซีจี(2548-2562)ที่ว่าไว้ มีบทบาทกว้างขึ้นด้วย ทั้งในเอสบีเอส ในฐานะกรรมการ(ตั้งแต่ปี2559)  และก้าวขึ้นเป็นรองผู้จัดการใหญ่เอสซีจี(2560-2562) ด้วย เมื่อเกษียณในวัย60ปี ยังคงบทบาทต่อเนื่องไม่ขาดตอน โดยเข้ามาเป็นกรรมการเอสซีจี(ตั้งแต่ปี 2563)

ว่าไปแล้ว ชลณัฐ ณาณารณพ  เป็นหนึ่งไม่กี่คน ในเอสซีจียุคหลัง จากผู้บริหารก้าวสู่ตำแหน่งกรรมการ นับจากชุมพล ณ ลำเลียง ( ผู้จัดหารใหญ่ 2536-2548)และ กานต์ ตระกูลฮุน(ผู้จัดการใหญ่ 2548-2558) ทั้งนี้ยังถือได้ว่าเป็นกรณีพิเศษ  ชลณัฐ ญาณารณพเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์เอสซีจีก็ว่าได้ ที่มาจากตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่

ภูมิหลังของเขาพอจะมีความเชื่อมโยงกับดีลใหญ่ข้างต้น ในฐานะนักเรียนอังกฤษใช้เวลาที่นั่นรวมกันราว ๆ10ปี  ตั้งแต่เข้าโรงเรียนประจำระดับมัธยมปลาย (Rydal School) ในแคว้นเวลส์ ศึกษาจนจบปริญญาตรี Environment Chemical Engineering จาก Salford University  มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งใน Manchester (2525) และกลับมาเมืองไทย ทำงานสถาบันสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยช่วงสั้นๆ ก่อนกลับไปเรียนต่อปริญญาโท Chemical Engineering ณ Imperial College กรุงลอนดอน (จบปี 2527)

แล้วเริ่มต้นชีวิตทำงานแทบจะทันที(2528) ที่เครือซิเมนต์ไทย( หรือเอสซีจี ปัจจุบัน) จัดอยู่ในทีมเล็ก ๆ3-4คนแรก ยุคต้นๆธุรกิจเคมีภัณฑ์ “เป็นช่วงเวลาการสะสมประสบการณ์สำคัญ โดยเฉพาะมีส่วนร่วมการเจรจาหาผู้ร่วมทุนระดับโลก มีส่วนร่วมในตัดสินใจว่าจะเลือกใช้เทคโนโลยี ตั้งแต่สร้างโรงงานเคมีภัณฑ์แห่งแรก” เขาเคยกล่าวไว้ทำนองนั้น

ในยุคของเขา ธุรกิจเคมีภัณฑ์เอสซีจีถือเป็นกลุ่มธุรกิจครบวงจร ธุรกิจหลักที่ใหญ่ที่สุด และมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ สู่ปลายน้ำอย่างน่าสนใจ ในกรณีหนึ่งเกี่ยวข้องกับกับดีลใหญ่อย่างคากไม่ถึง เป็นความร่วมมือกับOxford University ภายใต้ SCG-Oxford Centre of Excellence(CoE) กลายเป็นแบรนด์สำคัญหนึ่ง- CIERRA™ “ในช่วงชลณัฐ ญาณารณพ  เป็นผู้จัดการใหญ่เอสซีจีเคมีคอลส์ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ล่าสุดเกี่ยวเนื่อง CIERRA™ พัฒนาโดยCoE .เปิดตัวครั้งสำคัญในงาน K Fair  เมื่อปี2559” เรื่องราวบางตอนบันทึกไว้ในCoE (http://scgcoe.chem.ox.ac.uk/ ) งานแสดงนวัตกรรมพลาสติกและยางที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่ว่านั้น มีขึ้นเมืองดุสเซลดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี  ได้ปรากฏเป้นข่าวใหญ่ของเอสซีจีเคมีคอลส์ด้วยเช่นกัน

“ ไฮไลท์นวัตกรรมสินค้า เอสซีจี เคมิคอลส์ ที่นำมาจัดแสดง… ที่ใช้ชื่อว่า  Cierra ™ (เซียร์ร่า) นวัตกรรมสารพิเศษที่นำไปใช้ในสินค้า  หลากหลายประเภท …พัฒนาเป็น Barrier film ป้องกันออกซิเจนและความชื้นได้ดี เป็นทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ หรือนำไปพัฒนาเป็น Flame Retardant สารหน่วงไฟที่รบกวนการสันดาป ทำให้การจุดติดไฟและลามไฟช้าลง หรือพัฒนาเป็น Anti-Microbial สารช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อรา” ข้อความบางส่วนตัดทอน เพื่อขยายความเข้าใจ ว่าด้วยความร่วมมือSCG-Oxford ข้างต้นให้เป็นรูปธรรมขึ้น

บุคคลสำคัญของCoE คือ Professor Dermot O’Hare  ผู้เคยเว้นวรรคการสอนและวิจัย(sabbatical year )ที่Oxford มาเมืองไทยศึกษางานที่เอสซีจีเคมีคอลส์(2558) และเคยนำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจนั้น ต่อสมเด็จพระเทพฯ (สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี)  ณ  สถานทูตอังกฤษ ในกรุงเทพ(2559)

ข่าวสารภายใน(Oxford University ) กล่าวถึงดีลCOVID-19 Vaccine (ตามข่าวเอสซีจี12 ตุลาคม2562 ) อย่างมีสีสันและมีรายละเอียดเกี่ยวข้องกับ Professor Dermot O’Hare   ผู้อำนวยการ CoE   ในฐานะผู้มีบทบาทสำคัญมาก ในการช่วยเจรจาอย่างแข็งขัน“…และด้วยความช่วยเหลือและสนับสนุนของ Sir John Bell , Regius Professor of Medicine และDr. Phil Clare, Deputy Director Research Services จึงจัดให้มีการประชุมอย่างกว้างขวางในประชาคม Oxford หลายครั้ง จนผลสำเร็จ เป็นความร่วมมือระหว่างเอสซีจี รัฐบาลไทย AstraZeneca และสยามไบโอไซเอนซ์ ในการผลิตOxford COVID-19 vaccine ในประเทศไทย ซึ่งมีศักยภาพจัดส่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ข่าวว่าไว้ทำนองนี้

เรื่องราวธุรกิจบางเรื่อง  บางกรณี อาจมีการตีความกว้างจนเกินไป

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: