Japan Connection
ว่าด้วยโอกาส สายสัมพันธ์ และเทคโนโลยี ก่อเป็นพลังใหม่ๆทางธุรกิจ
หากจะกล่าวถึง กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี(Gulf Energy) โดยไม่กล่าวถึงสารัชถ์ รัตนาวะดี ผู้ก่อตั้ง และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ก็คงไม่ได้ จุดตั้งต้นว่าด้วยบทบาทสำคัญบุรุษผู้นี้ เป็นเรื่องที่มีที่มาเชื่อมโยงกัน
เท่าที่มีในประวัติผู้บริหารที่แจ้งต่อสาธารณะชน ผ่านรายงานประจำปี(บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จํากัด (มหาชน) ) ข้อมูลที่ย้อนไปไกลที่สุด คือเขามีตำแหน่งเป็นกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กัลฟ์ อิเล็คตริก จํากัด (มหาชน) ในช่วงปี2537 – 2559
กัลฟ์ อิเล็คตริก ตั้งขึ้นเมื่อปี2537 วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาธุรกิจการผลิตไฟฟ้า เข้ากับจังหวะเวลาตามแผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจพลังงานไฟฟ้า(ดังที่กล่าวในตอนที่แล้ว) กับการก่อเกิดโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) และ ผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย (SPP)
กัลฟ์ อิเล็คตริก เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ EGCO (ก่อตั้งปี2535 เข้าตลาดหุ้นปี2538 ) บริษัทซึ่งถือหุ้นใหญ่โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) กับ Electric Power Development Co.,Ltd. แห่งญี่ปุ่นหรือเรียกกันว่า J-POWER และ บริษัท มิตรพาวเวอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด กิจการในประเทศไทยของ Mitsui Group แห่งญี่ปุ่น ในสัดส่วน 50/49/1 ตามลำดับ
ในเวลานั้น ถือว่า สารัชถ์ รัตนาวะดี นักบริหารรรุ่นใหม่ ในวัยราว ๆ 30ปี เพิ่งมีประสบกาณ์ทำงานไม่นาน ยังไม่มีใครรู้จักมากนัก หลังจากจบการศึกษาปริญญาตรีด้นวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมโยธา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย และ Master of Science in Engineering, University of Southern California
จุดตั้งต้นสารัชถ์ รัตนาวะดี มาตั้งหลักที่ กัลฟ์ อิเล็คตริก เป็นมาอย่างไรไม่แน่ชัด แต่ที่สำคัญมีความหมายอย่างมาก เป็นฐานแห่งสายสัมพันธ์ทางธุรกิจอันมั่นคงและต่อเนื่องในเวลาต่อมา ทั้งกับ กฟผ. J-POWER และ Mitsui
Electric Power Development Co., Ltd. หรือ J-POWER กิจการด้านพลังงานยักษ์ใหญ่แห่งญี่ปุ่น ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี2495 เข้ามามีบทบาทในประเทศไทย มีความสัมพันธ์กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต(กฟผ.) ครั้งแรก ในโครงการเขื่อนศรีนครินทร์ กาญจนบุรีในปี2510 ต่อเนื่องมาจนถึงโครงการลำตะคลอง นครราชสีมา ในปี2533 (อ้างจากhttps://www.jpower.co.jp/english/company_info/history/)
พัฒนาการเป็นไปอย่างซับซ้อนพอประมาณ จากกัลฟ์ อิเล็คตริก จนมาถึงกัลฟ์เจพาวเวอร์ (Gulf JP) ก่อตั้งขึ้นในปี2550 เริ่มต้นเป็นกิจการย่อยซึ่งถือหุ้น100%โดย J-POWER ก่อนมาเป็นกิจการร่วมทุนในสัดส่วน 60/40กับกัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ในปัจจุบัน
“ดําเนินโครงการโรงไฟฟา 9 โครงการ ประกอบด้วยโครงการโรงไฟฟ้า IPP ก๊าซธรรมชาติ 2 โครงการ ได้แกโครงการโรงไฟฟา ตั้งอยู่ที่สระบุรี และโครงการโรงไฟฟา ตั้งอยู่ที่อยุธยา และโครงการโรงไฟฟ้าSPP ก๊าซธรรมชาติ 7 โครงการ ตั้งอยู่ที่สระบุรี อยุธยา ฉะเชิงเทรา ระยอง และปทุมธานี มีกําลังการผลิตไฟฟ้า ติดตั้งรวมทั้งสิ้น 4,236.6 เมกะวัตต์ โดยโครงการทั้งหมดเปิดดําเนินการเชิงพาณิชย์แล้วระหวางปี 2556-2558” (อ้างข้อมูลของกัลฟ์เอนเนอร์จี)
ส่วนMitsui เครือข่ายธุรกิจยักษ์ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งแห่งญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า keiretsu มีกิจการหลายแขนงในประเทศไทย รวมทั้งมีส่วนร่วนในแผนพัฒนาการโรงไฟฟ้าเอกชน โดยเฉพาะความร่วมมือกับ J-POWER และ กัลฟ์เอนเนอร์จี โดยรับผิดชอบออกแบบงานวิศวกรรม-จัดหา-ก่อสร้าง (Engineering-Procurement-Construction) อย่างโครงการโรงไฟฟ้ารายย่อย(SPP)ของ GulfJP ที่กล่าวถึงข้างต้น มีMit-Power (Thailand) กิจการหนึ่งของ Mitsuiในประเทศไทยเป็น EPC Contractor ตั้งแต้ต้น ทั้งนี้ Mit-Power (Thailand) โดยได้เลือกผู้รับเหมาก่อสร้างอีกทอดหนึ่ง เป็นกิจการเครือข่าย Toyo แห่งญี่ปุ่น อะไรทำนองนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างกัลฟ์เอนเนอร์จี กับ Mitsui แห่งญี่ปุ่น พัฒนาต่อมาเป็นกิจการร่วมทุน ในนาม Gulf MP และ IPD ในสัดส่วน 70/30
Gulf MP “ดําเนินโครงการโรงไฟฟา SPP ก๊าซธรรมชาติ 12 โครงการตั้งอยู่ที่ ระยอง ปราจีนบุรี อยุธยา สระบุรี และนครราชสีมา มีกําลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งรวม 1,563.4 เมกะวัตต เปิดดําเนินการเชิงพาณิชย์ระหวางปี 2560-2562” ส่วนIPD “ดําเนินโครงการโรงไฟฟ้า IPP ก๊าซธรรมชาติ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการโรงไฟฟ้า ตั้งอยู่ที่ชลบุรี และโครงการโรงไฟฟ้า ตั้งอยู่ที่ระยอง มีกําลังการผลิตไฟฟาติดตั้งรวม 5,300.0 เมกะวัตต คาดวาจะเปิดดําเนินการเชิงพาณิชย์ระหวางปี 2565-2567” (อ้างไว้แล้ว)
สารัชถ์ รัตนาวะดี มีภูมิหลังและประสบการณ์อย่างผสมผสาน มีส่วนผสมบางสิ่งบางอย่างที่ลงตัว และน่าสนใจ
หากพิจารณาในแง่กว้างๆอย่างที่มักมองกัน เขามีพื้นฐานทางสังคมจากครอบครัวทหาร สะท้อนเครือข่ายสายสัมพันธ์อันมั่นคงของสังคมไทย ประสานกับอิทธิพลนักการเมือง(ฝ่ายภรรยา) จึงเชื่อกันว่าเป็นปัจจัยให้เข้าถึงและข้ามผ่านกลไกอำนาจรัฐ ในช่วงเปลี่ยนผ่านต่าง ๆในช่วง 2ทศวรรษที่ผ่านมา
จากประสบการณ์อ้างอิงข้างเคียง ช่วงเปลี่ยนผ่านธุรกิจพลังงาน จากดั้งเดิม(ธุรกิจเหมืองแร่ของครอบครัวภรรยา)สู่กระแสใหม่ๆ มองเห็นความเป็นไป แนวโน้ม และพัฒนาการทางเทคโนลยี ด้วยประสบการณ์อันเข้มข้น ผ่านรัฐวิสาหกิจไฟฟ้าอันทรงอิทธิพลของไทย จนถึงความเคลื่อนไหวเครือข่ายธุรกิจไฟฟ้าระดับโลกโดยเฉพาะบทเรียนจากญี่ปุ่น
สารัชถ์ รัตนาวะดี มีประสบการณ์ในธุรกิจโรงไฟฟ้า ในฐานะมืออาชีพ เกือบๆ2ทศวรรษ ก่อนจะมาก่อตั้งกิจการตนเองอย่างจริงจังในปี2550 กิจการซึ่งอ้างอิงกับเครือข่ายธุรกิจระดับโลก พัฒนาการไปตามจังหวะก้าว จากกิจการร่วมทุนที่ถือหุ้นข้างน้อย(กรณีJ-POWER ) สู่กิจการซึ่งถือหุ้นข้างมาก(กรณีMitsui) เพียงแค่นั้นได้สร้างรากฐานธุรกิจอย่างสำคัญ ให้ก้าวสู่เวทีเทียบเคียงกับผู้มีอิทธิพลและผู้มาก่อน (โปรดพิจารณา ข้อมูลจำเพาะ)
จุดพลิกโฉมหน้าครั้งสำคัญ คือ การนำกิจการเข้าตลาดหุ้นในปี2560
ข้อมูลจำเพาะ
ดัชนีทางการเงินบางตัว
(ล้านบาท)
ปี 2560 2561 2562 2563
BANPU : บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน)
สินทรัพย์ 268,751.37 274,317.40 257,588.81 281,647.62
รายได้ 98,861.10 114,845.46 90,048.43 72,929.82
กำไร 7,900.24 6,693.73 -552.86 -1,786.32
EGCO : บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)
สินทรัพย์ 200,332.54 206,427.81 208,522.60 214,437.69
รายได้ 32,286.17 38,174.19 41,055.02 37,782.97
กำไร 11,818.28 21,072.88 13,059.24 8,733.03
RATCH : บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)
สินทรัพย์ 94,224.83 101,251.90 100,229.43 112,132.25
รายได้ 42,861.17 40,348.07 39,251.70 34,921.65
กำไร 6,106.70 5,587.60 5,963.28 6,286.68
BGRIM : บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน)
สินทรัพย์ 89,240.84 100,636.04 121,692.80 130,695.88
รายได้ 31,669.20 37,044.83 44,421.39 44,337.67
กำไร 2,126.71 1,862.81 2,331.15 2,174.76
GULF: บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)
สินทรัพย์ 100,651.94 123,668.66 134,277.54 245,580.51
รายได้ 4,547.40 17,479.01 30,343.36 33,370.44
กำไร 3,451.42 3,028.13 4,886.56 4,282.11
ที่มา ข้อสนเทศ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย