ความเคลื่อนไหวบางอย่างเป็นไปได้ ท่ามกลางวิกฤติการณ์ COVID–19


กรณีต่อเนื่อง บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)หรือ GULF (19 เมษายน 2564) ประกาศคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (tender offer) บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ INTUCH ในราคา 65 บาทต่อหุ้น ตามกระบวนการกระทบถึงบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ ADVANC โดยเสนอซื้อในราคา 122.86 บาทต่อหุ้น “มีหน้าที่ต้องทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ ตามหลักเกณฑ์ Chain Principle” ทั้งนี้ข้อสนเทศตลาดหลักทรัพย์ฯ ระบุว่า INTUCH ถือหุ้นใหญ่ที่สุดใน ADVANC ถึง 40.5%
ดูไปแล้วGULF มีเป้าหมายหลักอยู่ที่INTUCH ด้วยดำเนินแผนการกว้านซื้อหุ้นมาเป็นระยะ ๆ จนถึงหมุดหมายสำคัญ -28 มกราคม 2564 สามารถเข้าถือหุ้น INTUCH ได้ในสัดส่วนถึง15%
และแล้ว จึงมาถึงบทสรุป เมื่อแผนการและกระบวนการtender offer สิ้นสุด(5 สิงหาคม 2564) GIULF สามารถซื้อหุ้นเพิ่มในจำนวนที่น่าสนใจ จนกลายเป็นถือหุ้นใหญ่ INTUCH ได้ในสัดส่วนถึง 42.25% ขณะที่ต่อมา(16สิงหาคม2564) กรณีADVANC ก็มาถึงบทสรุปเช่นกัน แต่GULF ได้ซื้อเพิ่มมาเพียงเล็กน้อยอย่างไม่มีนัยยะสำคัญ
อันที่จริงแผนข้างต้น พอจะเห็นเค้าลางบทสรุปมาก่อนหน้าแล้ว
เมื่อ INTUCH นำเสนอ “ความเห็นของกิจการเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (แบบ 250-2) และรายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระต่อคำเสนอซื้อหลักทรัพย์”(19 กรกฎาคม 2564) ต่อ กลต.และตลาดหลักทรัพย์ฯ และมีการแก้ไขเพิ่มเติมในเวลาต่อมา( 27กรกฎาคม 2564) มีสาระสำคัญฟันธง “ราคาเสนอซื้อเป็นราคาที่เหมาะสมและมีความสมเหตุสมผล”
ขณะที่ADVANC นำเสนอ(มาในวันเดียวกัน INTUCH )ด้วยความเห็นที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง “ควรปฏิเสธคำเสนอซื้อหุ้นสามัญของผู้ทำคำเสนอซื้อ” มีบทขยายความขออ้างอิงไว้
“ เนื่องจากการประเมินมูลค่าปัจจุบันของกิจการด้วยวิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิของกระแสเงินสด (Discounted Cash Flow Approach – DCF) ซึ่งเป็นวิธีประเมินมูลค่าที่มีความเหมาะสม เนื่องจากสามารถสะท้อนผลประกอบการในอนาคตภายใต้แผนธุรกิจและสมมติฐานต่าง ๆ ที่มีความสมเหตุสมผล พบว่าช่วงราคายุติธรรมของหุ้นของบริษัทฯ อยู่ในช่วง 214.00 – 234.00บาทต่อหุ้น ซึ่งราคาเสนอซื้อที่ 120.93 บาทต่อหุ้น ต่ำกว่าราคายุติธรรมดังกล่าว จึงเป็นราคาที่ไม่เหมาะสม”
ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่สำคัญเท่ากับความเห็นผู้ถือหุ้นทรงอิทธิพลที่สุด- Singtel Group แห่งสิงคโปร์
SINGAPORE TELECOMMUNICATIONS LIMITED ได้แสดงท่าทีครั้งสำคัญ (Stock Exchange Announcements) ในเวลาไม่นานเกินรอ ในหัวข้อ Tender Offer for securities of Intouch and AIS ในฐานะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์หรือ SGX (30 กรกฎาคม 2564) เปิดฉากเน้นกรณีADVANC เป็นพิเศษนพิเศษ็ซึ่งSingtel เรียก AIS “Singtel believes that the AIS Tender Offer significantly undervalues the fair value of AIS. Therefore, Singtel does not intend to accept the AIS Tender Offer in respect of any of its AIS share” เป็นความเห็นสอดคล้องกันที่ADVANC นำเสนอไว้ข้างต้น ทั้งระบุชัดว่า ในฐานะผู้ถือหุ้นจะไม่รับข้อเสนอดังกล่าว
ที่สำคัญย้ำอย่างหนักแน่นว่า Singtel มีมุมมองทางธุรกิจระยะยาว( long-term outlook) คงพันธะต่อเนื่องกับทั้งสองบริษัท ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งในยุทธศาสตร์ธุรกิจ เพิ่งประกาศไว้ไม่นาน “Singtel’s continued commitment to Intouch and AIS is aligned with the four pillars laid out in the Group’s strategic reset announced on 27 May 2021 to capture untapped digital growth in the 5G era”
ปัจจุบัน(ข้อมูล ณ 23/02/2564) Singtel ถือหุ้น INTUCH (ผ่าน SINGTEL GLOBAL INVESTMENT PTE. LTD ในสัดส่วน 21% ขณะที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับสองในADVANC (ผ่าน SINGTEL STRATEGIC INVESTMENTS PTE LTD. ในสัดส่วน 23.32
“Singtel Group คือกลุ่มธุรกิจชั้นนำในเอเชีย ด้านเทคโนโลยีสื่อสาร ให้บริการระบบสื่อสาร และบริการดิจิทัล ครอบคลุมทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย อาฟริกาและสหรัฐอเมริกา โดยมีผู้ใช้บริการMobile มากกว่า 753ล้านราย ใน21ประเทศ รวมทั้งสิงคโปร์ ออสเตรเลีย อินเดีย อินโดนิเชีย ฟิลิปปินส์ ไทยและอาฟริกา” เรียบเรียงจาก Investor factsheet Jun 2021
Singtel เข้ามาเมืองไทย ด้วยดีลอันอื้อฉาว ผ่านTemasek Holding กิจการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์(ถือหุ้นใหญ่ในSingtelอีกทอดหนึ่ง) เมื่อ15ปีที่แล้ว (2549) “บรรลุข้อตกลงกับตระกูลชินวัตร…ซื้อหุ้นในบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (ชื่อขณะนั้นของ INTUCH) จำนวน 1,487.7 ล้านหุ้น หรือ 49.6% ของหุ้นทั้งหมด ในราคาหุ้นละ 49.25 บาท รวมเป็นเงิน ทั้งสิ้น 73.3 พันล้านบาท” แสดงให้เห็นว่า เวลาผ่านไป ราคา(ซื้อขาย)INTUCH สูงขึ้น(จากเดิม)พอสมควร
หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือน (มีนาคม 2549) Singtelได้บรรลุความสำเร็จในการเสนอซื้อหุ้น(tender offer)หADVANC ต่อผู้ถือหุ้นรายย่อยในตลาดหุ้นเสร็จเรียบร้อย ถือว่าเป็นแผนสำคัญต่อเนื่องจากการซื้อกิจการชินคอร์ป ตามกระบวนการที่ควรเป็นอย่างที่GULFทำในปัจจุบัน แต่บทสรุปออกมาแตกต่างกัน GULF บรรลุผลตามแผนในระดับหนึ่งเฉพาะINTUCH เท่านั้น
มิถุนายน2551 ผู้บริหารSingtelคนสำคัญ เข้าดำรงตำแหน่ง ประธานกรรมการบริหารINTUCH (ซึ่งก็คือชินคอร์ป ในเวลานั้น) ถือเป็นเปลี่ยนถ่ายอำนาจบริหารอย่างแท้จริงตั้งแต่นั้น ส่วนกรณีGULF เชื่อว่า คงมีส่วนร่วมในการบริหารอยู่บ้าง อย่างน้อยในคณะกรรมการบริษัท แต่อย่างไรเชื่อว่าบทบาทSingtel อย่างที่เป็นมาเมื่อ13ปีที่แล้ว คงยังไม่เปลี่ยนแปลง
อันที่จริงGULF อาจไม่ได้คิด ไม่ได้ดำเนินแผนการเช่นเดียวกับSintel เช่นเมื่อ15ปีที่แล้ว เป็นไปได้ในทำนองสอดคล้องกับความเห็นบางตอนที่ปรึกษาอิสระของINTUCCHกล่าวไว้ (ความเห็นของกิจการเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ (แบบ 250-2) และรายงานความเห็นของที่ปรึกษาทางการเงินอิสระต่อคำเสนอซื้อหลักทรัพย์-19 กรกฎาคม 2564)
“..ผู้ทำคำเสนอซื้อประกอบธุรกิจในอุตสาหกรรมที่ต่างกัน บริษัทฯ(หมายถึงINTUCH) ประกอบธุรกิจด้านเทคโนโลยี สื่อ และโทรคมนาคม ในขณะที่ผู้ทำคำเสนอซื้อประกอบธุรกิจด้านพลังงาน ส่งผลให้มีข้อจำกัดในการประเมินผลประโยชน์ทางธุรกิจที่มีโอกาสเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเข้าร่วมธุรกิจของผู้ทำคำเสนอซื้อ บริษัทฯ และผู้ทำคำเสนอซื้ออาจมีการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญในการดำเนินธุรกิจระหว่างกัน เพื่อพัฒนาธุรกิจร่วมกันในอนาคต..”
และอาจสอดคล้องกับแผนการของGIULF และสารัชถ์ รัตนาวะดี ด้วยก็ได้ ดังตำนานการก่อตั้งและเติบใหญ่ของGULF ผมเคยสรุปไว้
“สารัชถ์ รัตนาวะดี มีประสบการณ์ในธุรกิจโรงไฟฟ้า ในฐานะมืออาชีพ เกือบๆ2ทศวรรษ ก่อนจะมาก่อตั้งกิจการตนเองอย่างจริงจังในปี2550 กิจการซึ่งอ้างอิงกับเครือข่ายธุรกิจระดับโลก พัฒนาการไปตามจังหวะก้าว จากกิจการร่วมทุนที่ถือหุ้นข้างน้อย(กรณีJ-POWER ) สู่กิจการซึ่งถือหุ้นข้างมาก(กรณีMitsui) เพียงแค่นั้นได้สร้างรากฐานธุรกิจอย่างสำคัญ ให้ก้าวสู่เวทีเทียบเคียงกับผู้มีอิทธิพลและผู้มาก่อน”(บางตอนจากเรื่อง “กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ปะทุ” )
GIULF และสารัชถ์ รัตนาวะดี กำลังเปลี่ยนผ่าน ตามจินตนาการธุรกิจที่กว้างขึ้น คงจะต้องใช้เวลาบ้าง เพื่อการสั่งสมประสบการณ์ใหม่ๆที่จำเป็น โดยเฉพาะศึกษาบทเรียนจากSingtel
แต่บางเรื่อง ไม่จำเป็นต้องใช้เวลา ผลแห่งดีลข้างต้น เกมในตลาดหุ้นจึงเร้าใจมากขึ้น