นักเรียนสหรัฐอเมริกา

RELATED STORIES

Profile-นักเรียนสหรัฐอเมริกา

นักเรียนสหราชอาณาจักร

ชนชั้นนำของไทยเข้าถึงระบบการศึกษาอเมริกัน อย่างเป็นเรื่องเป็นราว ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่1 ในยุคสหรัฐกำลังเติบโตทางเศรษฐกิจ ในฐานะประเทศที่ได้ประโยชน์จากสงครามโลกโดยตรง ในขณะที่อังกฤษ อยู่ในภาวะหลังสงคราม ประสพความยากลำบากในหลายด้าน อ่านเพิ่มเติม “นักเรียนสหรัฐอเมริกา”

Profile-นักเรียนสหรัฐอเมริกา

ประสงค์ สุขุม เป็นบุตรคนโตพระพิศาลสุขุมวิท  ซึ่งถือว่าเป็นผู้สืบทอดความคิดสำคัญ่ในเรื่องการศึกษาของตระกูลสุขุมต่อเนื่องมาจากเจ้าพรัยายมราชได้อย่างดี   เขาเกิด 17 มกราคม 2473 ผ่านการศึกษาอย่างดีตามแบบฉบับของชนชั้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มจากโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน จากนั้นไปเรียนระดับมัธยมที่Philips Exeter Academy ในราวปี2485 หลังจากบิดาของเขาอาจจะเป็นคนไทยคนแรกที่เข้าโรงเรียนนี้เมื่อปี2460  จากนั้นสุขุมเข้าเรียนเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาตรีที่ Darthmouth College  แล้วตามด้วยMBA Harvard University  ซึ่งเป็นรุ่นที่สอง(คนแรกของไทยหรือรุ่นแรกได้แก่ ไกรสีห์ นิมมานเหมินทร์) ของไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่2  รุ่นๆเดียวกัน เรณู สุวรรณสิทธิ์  และประชัน คุณะเกษม อ่านเพิ่มเติม “Profile-นักเรียนสหรัฐอเมริกา”

เครือเจริญโภคภัณฑ์ในมุมของฮาร์วาร์ด

 หมายเหตุ

Harvard Business School ได้ศึกษาธุรกิจของซีพี และเขียนเรื่องราวเป็นกรณีศึกษาไว้ เนื้อหาจากนี้ไปก็คือ ข้อความที่เรียบเรียงบางส่วนมาจากเอกสารกรณีศึกษาซีพี ซึ่งมีขึ้นในราวปี 2535 ถือเป็นยุคข้อต่อของการเปลี่ยนแปลงซีพีได้อย่างดี  เอกสารชิ้นนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535

สภาพทั่วไปของกิจการ และความเป็นมา

Operating Groups

ซีพีมีธุรกิจอยู่ทั้งหมดแปดกลุ่มคือ การเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เมล็ดพืช และปุ๋ย การค้าระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเคมี การค้าส่ง และค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์ โดยแต่ละกลุ่มมีผู้บริหาร ที่เป็น แกนนำคือ President และเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน ตำแหน่งเหล่านี้มีการผลัดเปลี่ยนกันเป็นระยะ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์กรและบุคลากร ในขณะที่กิจกรรมการดำเนินการของกลุ่มขยายตัวด้านกว้างครอบคลุมอุตสาหกรรมหลากหลายแขนง ทั้งหมดนี้มีหลักการนำทางเดียวกันคือ การผนวกประสานในแนวดิ่ง (Vertical integration) และเป็นรูปแบบหลัก ที่ซีพีพัฒนาขึ้นมาใช้ในการสร้างความมั่งคั่งในประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าจะเป็นหลักการกว้างๆ แต่สามารถสรุปแนวทางได้ดังต่อไปนี้ อ่านเพิ่มเติม “เครือเจริญโภคภัณฑ์ในมุมของฮาร์วาร์ด”

ธนินท์ เจียรวนนท์ หาโรงเรียนให้ลูก

 

ศุภชัย เจียรวนนท์

 เกิด 24 มีนาคม 2510

 การศึกษา

ประถมศึกษา โรงเรียนสมถวิล, พิพัฒนา, Taipei American School ไต้หวัน (ป.3),

เซนต์ดอมินิค

มัธยมศึกษา, อัสสัมชัญ (ม.1-3), The Shipley School

(เกรด 9), Dwight-Englewood School (3 ปี)

อุดมศึกษา B.A. (Finance) Boston University 2532

อ่านเพิ่มเติม “ธนินท์ เจียรวนนท์ หาโรงเรียนให้ลูก”

อุตสาหกรรม”ครบวงจร”ของซีพี

ซีพีจึงได้ขยายเข้าไปในอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว ด้วยการเริ่มผลิตวัตถุดิบสำหรับทำอาหารสัตว์ ทำฟาร์มเพาะเลี้ยงลูกไก่ สร้างโรงงานแปรรูปอาหาร และเนื้อไก่ ในกระบวนการนี้ ซีพีได้นำอุปกรณ์ใหม่ทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อผลิตไก่แช่แข็งคุณภาพสูง เทคโนโลยีตัวนี้เรียกว่า เทคโนโลยี IQF หรือ Individual Quick Freezing ซึ่งทำได้ด้วยความร่วมมือจากบริษัทเทรดดิ้ง เฟิร์มของญี่ปุ่น

ธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ทุ่มเทความพยายามในการผลิตอาหารสัตว์ในประเทศ เนื่องจากเขาคาดการณ์ว่า จะเป็นธุรกิจที่โตเร็ว ด้วยความต้องการเนื้อไก่ และหมูในประเทศมีมากขึ้น จากทำการศึกษา ตลาด การขนส่ง และเทคโนโลยี การผลิตอย่างดีแล้ว ปี 2511 ธนินท์จึงตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์โดยใช้ชื่อว่า บริษัทเจียรวนนท์ จำกัด (บริษัทถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัทกรุงเทพอาหารสัตว์ จำกัด ในปี 2514) โรงงานตอนนั้น นับได้ว่าเป็นโรงงาน ที่ทันสมัยแห่งแรกของประเทศ อย่างไรก็ตามช่วงปี 2512-2520 รัฐบาลให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์แบบทันสมัยผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จนเป็นเหตุให้คู่แข่ง อย่างศรีไทยปศุสัตว์ และเบทาโกรเริ่มเข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ กลุ่มซีพีรับมือกับการท้าทายครั้งนี้ด้วยยุทธ์ศาสตร์สำคัญ 2 ประการนั่นคือ ทำให้สถานภาพของอุตสาหกรรมโรงงานอาหารสัตว์มั่นคงขึ้น ด้วยการผลิตในปริมาณมากๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ในอีกด้านหนึ่ง ที่ทำก็คือ ใช้ระบบการผลิตแบบครบวงจรกับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก อ่านเพิ่มเติม “อุตสาหกรรม”ครบวงจร”ของซีพี”