
ผู้เล่นสำคัญ( 2)

หากเปรียบเทียบกันแล้ว ตอนก้าวขึ้นตำแหน่งรัฐมนตรีคลังนั้น ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ มีความมั่นใจมากกว่ากรณ์ จาติกวณิช มากนัก ถ้าเปรียบเทียบกับ ธารินทร์หรือแม้กระทั่ง ปิ่น จักกะพาก ดูเหมือนเขามีประสบการณ์ทำงานในธุรกิจคล้ายคลึงกันในต่างประเทศ เมื่อพิจารณาอย่างกว้างๆทั้งธารินทร์ และปิ่น มีมิติที่กว้างขวางกว่า แต่ในสาระสำคัญบางมุมมีความแตกต่างกันพอสมควร ผมเชื่อว่าอาจทำให้กรณ์ จาติกวณิช มีมุมมองและยุทธ์ศาสตร์ที่ยืดหยุ่น อ่านเพิ่มเติม “กรณ์ กับ ธารินทร์ (3)”
“สำหรับด้านการเงิน ผมบรรลุเป้าหมายที่เคยตั้งเอาไว้แล้วตั้งแต่ 5 ปีก่อนหน้า ตอนที่ผมขายหุ้นของบริษัทให้กับธนาคารเจพีมอร์แกนเชส หลังจากนั้นผมเพียงแต่สะสมเงินเดือนที่ต้องบอกว่า “สูงมาก” ในตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของธนาคารเจพีมอร์แกนเชส ประเทศไทย” กรณ์ จาติกวณิช กล่าวไว้ในหนังสือประวัติของเขาตอนหนึ่ง อ่านเพิ่มเติม “กรณ์–ผู้มีโอกาสหลังวิกฤติการณ์ปี2540”
เขาทั้งสองก็คือเป็นคนไทยไม่กี่คนมีProfileการศึกษาที่ดีเยี่ยม และก็เป็นเพียงไม่กี่คนที่เริ่มต้นทำงานในกิจการต่างประเทศ สำหรับสังคมไทยแล้วถือเป็นการเริ่มต้นสร้างประสบการณ์ที่ดี
จากประสบการณ์นั้น เอื้อประโยชน์อย่างมาก ในการกลับมาทำงานในเมืองไทย กรณ์ จาติกวณิช ดูเหมือนจะโชคดีมากกว่า ในการทำงานที่โลดโผน ตื้นเต้น และ ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว ขณะที่ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ นั้น นับว่ามีประสบการณ์ ในการทำงานที่เชี่ยวกรำมากกว่ามาก อย่างไรก็ตาม โอกาสของเขาทั้งสองเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อกันอย่างน่าสนใจ อ่านเพิ่มเติม “กรณ์ กับ ธารินทร์(2)”
กรณ์ จาติกวณิช เป็นนักการเมืองไทยคนหนึ่ง เชื่อว่าจะมีอิทธิพลต่อสังคมมากขึ้นในฐานะผู้มีบุคลิกที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันมีบทบาทสำคัญในการบริหารเศรษฐกิจไทย จากความคาดหวังไม่มาก สู่ความคาดหวังมากขึ้น หลังจากกลายเป็น “จุดขาย” รัฐบาลประชาธิปัตย์ เมื่อนิตยสารการเงินของอังกฤษ (The Banker Magazine) ยกเป็น Finance Minister of the Year 2010 – Global and Asia-Pacific