ป้ายกำกับ: ธนินท์ เจียรวนนท์
7-Eleven กับ Makro (1)
เรื่องราว 7-Eleven กับ Makro มีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์ธุรกิจใหม่ของซีพี ทั้งจุดเริ่มต้น ความผันแปร ลงหลักปักฐาน มาจนถึงยุคหลอมรวมผนึกพลังครั้งใหญ่ ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้และปรับตัว กว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมา อ่านเพิ่มเติม “7-Eleven กับ Makro (1)”
สยามพิวรรธน์(2)
ความร่วมมือทางธุรกิจ ระหว่างสยามพิวรรษน์ กับเครือซีพี ในโครงการใหญ่นับหมื่นล้านบาท ได้จุดกระแสความสนใจหลายแง่มุม ในเชิงบริหารธุรกิจแล้ว ยุทธศาสตร์ของสยามพิวรรษน์ซึ่งผู้คนรับรู้อย่างจำกัด ย่อมได้ความรับสนใจเป็นพิเศษ อ่านเพิ่มเติม “สยามพิวรรธน์(2)”
ซีพีเอฟ


สิ่งที่ควรเป็นได้เกิดขึ้นแล้วอย่างสำคัญ เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF กำลังก้าวเป็นบริษัทระดับโลกอย่างจริง จัง ดูสอดคล้องอย่างยิ่งกับ Forbes Asia ยกย่องธนินทร์ เจียรวนนท์เป็น Businessman of the Year ขณะเดียวกันมีบางบริบทที่เกี่ยวข้อง ควรอรรถาธิบายให้กว้างขวางขึ้นด้วย อ่านเพิ่มเติม “ซีพีเอฟ”
ธนินท์ กับ เจริญ
หากไม่ได้เขียนตอนนี้ เรื่องราวชุดว่าด้วยเจริญ สิริวัฒนภักดี คงจบอย่างไม่สมบูรณ์ และก็คงน่าเสียดายที่ไม่ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ อันน่าทึ่งระหว่างพัฒนาการ กับแรงขับเคลื่อนของผู้ทรงอิทธิพล ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของสังคมเกษตรไทย อ่านเพิ่มเติม “ธนินท์ กับ เจริญ”
ธนินท์ เจียรวนนท์
หากถามผมว่า ผู้นำนักธุรกิจคนใด แสดงบทบาทเชิงตัวแทน การปรับตัวของธุรกิจไทย ในช่วง3-4ทศวรรษสำคัญที่ผ่านมาได้อย่างน่าทึ่ง ก็คงยกให้ ธนินท์ เจียรวนนท์
บทบาท
บางทีการศึกษาเรื่องราวของคนๆหนึ่ง จากข้อมูลพื้นๆ(ส่วนใหญ่เป็นสถิติหรือข้อมูลประวัติบุคคลสั้นๆ) ก็อาจจะมีมิติที่ลึกซ่อนอยู่ แม้ว่าผมจะติดตามเรื่องราวของธนินท์ เจียรวนนท์ มานาน เมื่อกลับมาพิจารณาข้อมูลพื้นๆ ก็ยังพบเรื่องราวที่น่าสนใจ
ธนินท์ เจียรวนนท์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปซีพีในวัยเพียง 25ปีเท่านั้น แม้ว่ามีการวิเคราะห์กันว่า ในการบริหารธุรกิจครอบครัว พี่ชายสามคน ย่อมมีอำนาจตัดสินใจมากกว่า โดยเฉพาะพวกเขามีบทบาทในการสร้างกิจการมาก่อน อย่างไรตาม บทบาทในตำแหน่งนี้มีความสำคัญมากน้อยขึ้นอยู่กับ การแสดงบทบาทของเขาเอง ผมคาดว่าจากประสบการณ์ในสหสามัคคีค้าสัตว์ และบทบาทในการบริหารงานอย่างแข็งขันด้วย ธนินท์ จึงเป็นผู้บริหารที่ได้รับการยอมรับพอสมควร แม้ว่ามีอายุน้อยที่สุดคนหนึ่ง ไม่เพียงมองจากซีพี ถือเป็นกิจการที่เติบโตพอสมควรในเวลานั้น หากในระดับสังคมธุรกิจไทยด้วย อ่านเพิ่มเติม “ธนินท์ เจียรวนนท์”
อิทธิพลซีพี
ผมตื่นเต้นเสมอ เวลาเขียนถึงเครือเจริญโภคภัณฑ์(Charoen Pokphand Group –CP Groupเรียกกันจนติดปากแล้ว ซีพี) ในช่วง30 ปีในฐานะนักเขียนเรื่องราวธุรกิจ ผมคิดว่า ซีพีคือธุรกิจ ทีมีความสำคัญและทรงอิทธิพล ต่อสงคมไทย อย่างต่อเนื่อง และนับวันจะมากขึ้นด้วย
คนที่คิดว่ารู้จักซีพีดี ก็คงติดตามพัฒนาการอย่างกระชั้นชิดมากทีเดียว ภาพเครือธุรกิจที่มีพลวัตรและซับซ้อน มากกว่าที่คิดไว้ โดยเฉพาะหลังวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่เมื่อปี 2540 ผมยังนึกไม่ออกว่า มีกลุ่มธุรกิจไทยกลุ่มใด สามารถแสวงโอกาสใหม่ๆได้อย่างซีพี อ่านเพิ่มเติม “อิทธิพลซีพี”
เครือเจริญโภคภัณฑ์ในมุมของฮาร์วาร์ด
หมายเหตุ
Harvard Business School ได้ศึกษาธุรกิจของซีพี และเขียนเรื่องราวเป็นกรณีศึกษาไว้ เนื้อหาจากนี้ไปก็คือ ข้อความที่เรียบเรียงบางส่วนมาจากเอกสารกรณีศึกษาซีพี ซึ่งมีขึ้นในราวปี 2535 ถือเป็นยุคข้อต่อของการเปลี่ยนแปลงซีพีได้อย่างดี เอกสารชิ้นนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535
สภาพทั่วไปของกิจการ และความเป็นมา
Operating Groups
ซีพีมีธุรกิจอยู่ทั้งหมดแปดกลุ่มคือ การเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เมล็ดพืช และปุ๋ย การค้าระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเคมี การค้าส่ง และค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์ โดยแต่ละกลุ่มมีผู้บริหาร ที่เป็น แกนนำคือ President และเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน ตำแหน่งเหล่านี้มีการผลัดเปลี่ยนกันเป็นระยะ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์กรและบุคลากร ในขณะที่กิจกรรมการดำเนินการของกลุ่มขยายตัวด้านกว้างครอบคลุมอุตสาหกรรมหลากหลายแขนง ทั้งหมดนี้มีหลักการนำทางเดียวกันคือ การผนวกประสานในแนวดิ่ง (Vertical integration) และเป็นรูปแบบหลัก ที่ซีพีพัฒนาขึ้นมาใช้ในการสร้างความมั่งคั่งในประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าจะเป็นหลักการกว้างๆ แต่สามารถสรุปแนวทางได้ดังต่อไปนี้ อ่านเพิ่มเติม “เครือเจริญโภคภัณฑ์ในมุมของฮาร์วาร์ด”
ธนินท์ เจียรวนนท์ หาโรงเรียนให้ลูก
ศุภชัย เจียรวนนท์
เกิด 24 มีนาคม 2510
การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนสมถวิล, พิพัฒนา, Taipei American School ไต้หวัน (ป.3),
เซนต์ดอมินิค
มัธยมศึกษา, อัสสัมชัญ (ม.1-3), The Shipley School
(เกรด 9), Dwight-Englewood School (3 ปี)
อุดมศึกษา B.A. (Finance) Boston University 2532
อ่านเพิ่มเติม “ธนินท์ เจียรวนนท์ หาโรงเรียนให้ลูก”
อุตสาหกรรม”ครบวงจร”ของซีพี
ซีพีจึงได้ขยายเข้าไปในอุตสาหกรรมอย่างเต็มตัว ด้วยการเริ่มผลิตวัตถุดิบสำหรับทำอาหารสัตว์ ทำฟาร์มเพาะเลี้ยงลูกไก่ สร้างโรงงานแปรรูปอาหาร และเนื้อไก่ ในกระบวนการนี้ ซีพีได้นำอุปกรณ์ใหม่ทันสมัยเข้ามาใช้ เพื่อผลิตไก่แช่แข็งคุณภาพสูง เทคโนโลยีตัวนี้เรียกว่า เทคโนโลยี IQF หรือ Individual Quick Freezing ซึ่งทำได้ด้วยความร่วมมือจากบริษัทเทรดดิ้ง เฟิร์มของญี่ปุ่น
ธนินท์ เจียรวนนท์ ได้ทุ่มเทความพยายามในการผลิตอาหารสัตว์ในประเทศ เนื่องจากเขาคาดการณ์ว่า จะเป็นธุรกิจที่โตเร็ว ด้วยความต้องการเนื้อไก่ และหมูในประเทศมีมากขึ้น จากทำการศึกษา ตลาด การขนส่ง และเทคโนโลยี การผลิตอย่างดีแล้ว ปี 2511 ธนินท์จึงตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตอาหารสัตว์โดยใช้ชื่อว่า บริษัทเจียรวนนท์ จำกัด (บริษัทถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็น บริษัทกรุงเทพอาหารสัตว์ จำกัด ในปี 2514) โรงงานตอนนั้น นับได้ว่าเป็นโรงงาน ที่ทันสมัยแห่งแรกของประเทศ อย่างไรก็ตามช่วงปี 2512-2520 รัฐบาลให้การสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตอาหารสัตว์แบบทันสมัยผ่านคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) จนเป็นเหตุให้คู่แข่ง อย่างศรีไทยปศุสัตว์ และเบทาโกรเริ่มเข้ามาแข่งขันในธุรกิจนี้ กลุ่มซีพีรับมือกับการท้าทายครั้งนี้ด้วยยุทธ์ศาสตร์สำคัญ 2 ประการนั่นคือ ทำให้สถานภาพของอุตสาหกรรมโรงงานอาหารสัตว์มั่นคงขึ้น ด้วยการผลิตในปริมาณมากๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ในอีกด้านหนึ่ง ที่ทำก็คือ ใช้ระบบการผลิตแบบครบวงจรกับอุตสาหกรรมสัตว์ปีก อ่านเพิ่มเติม “อุตสาหกรรม”ครบวงจร”ของซีพี”