กลุ่มสหพัฒน์(2)โมเดลทางธุรกิจ

หลายคนถามถึงภาพลักษณ์กลุ่มสหพัฒน์   ผมขอยอมรับว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายนักในการอรรถาธิบาย

“เครือสหพัฒน์ เริ่มต้นมาจากการนำสินค้าต่างประเทศ มาจำหน่าย ต่อมาได้พัฒนา เป็นผู้ผลิตสินค้าและเป็นตัวแทนจำหน่าย อีกทั้งยังได้ร่วมทุนกับต่างประเทศในการผลิตสินค้าและบริการ ปัจจุบันเครือสหพัฒน์เติบใหญ่จนเป็นเครือบริษัทของคนไทย ที่ใหญ่ที่สุดรายหนึ่ง มีบริษัทในเครือกว่า 200 บริษัท และมีสินค้าและบริการเป็นที่รู้จัก หลากหลายกว่า 30,000 รายการ จากกว่า 1,000 แบรนด์ที่จำหน่ายในประเทศและส่งออกไปทั่วโลก  สินค้าส่วนใหญ่ผลิตโดยตรงจากโรงงานในสวนอุตสาหกรรมของเครือทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ สวนอุตสาหกรรม ศรีราชา( ชลบุรี)   กบินทร์บุรี (ปราจีนบุรี) และ ลำพูน รวมพื้นที่ถึง 6,000 ไร่  โดยมีพนักงานทั่วประเทศ รวมกันกว่า 100,000 คน” นี่คือภาพกว้างๆที่มองโดยสหพัฒน์เอง(รายละเอียดเพิ่มเติม  อ่านใน www.sahapat.co.th) อ่านเพิ่มเติม “กลุ่มสหพัฒน์(2)โมเดลทางธุรกิจ”

บทเรียนสหพัฒน์(1) ช่วงก้าวกระโดด

ผมไม่ทราบว่า บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา จะพูดถึงพัฒนาการ กลุ่มธุรกิจสหพัฒน์อย่างไรในปาฐกถาครั้งสำคัญ ในสุดสัปดาห์นี้

กลุ่มธุรกิจนี้เกิดขึ้นและเติบโตหลังสงครามโลกครั้งที่สอง มีพัฒนาการที่น่าศึกษา โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านสำคัญ   ในช่วง30 ปีแรก ถือว่าเป็นยุคก้าวกระโดด จากนั้นมาเป็นช่วงการสร้างระบบ และขยายตัวตามโมเมนตัมทางธุรกิจ

 จุดเปลี่ยนสำคัญอย่างมีสีสันและตื้นเต้น   ถือเป็นบุคลิกและวงจรสำคัญ ของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ ไลฟ์สไตล์ มักจะเกิดขั้นเป็นระยะๆ   สำหรับสหพัฒน์ในยุคหลังๆมานี้ ดูเหมือนยังไม่มาถึง แม้ว่าบางคนจะมองว่าการกำเนิดของแบรนด์ไทย — bsc มีความสำคัญมากในยุค บุณยสิทธิ์ โชควัฒนา แต่ยังต้องติดตามผลต่อไป

ผมเพียงหวังว่า มุมมองของผมจากนี้ จะช่วยให้การฟังบทเรียนจากปากของคนไม่ค่อยจะแสดงต่อสาธารณะชนนัก  น่าสนใจขึ้น ไม่มากก็น้อย อ่านเพิ่มเติม “บทเรียนสหพัฒน์(1) ช่วงก้าวกระโดด”