เกษตรโลกาภิวัฒน์

มีบางคนว่าเกษตรกรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ท้องถิ่นกับความล้าหลัง แต่ผมกลับคิดว่าเป็นกิจกรรมที่มีลักษณะระดับโลก(World-class) อย่างแท้จริง

เกษตรกรรมในความพยายามอรรถาธิบายในบทความนี้ มี่ใช่เพียงอาชีพ หากเป็นวิถีชีวิตของผู้คน ในระดับชุมชนมีทีกิจกรรมและการผลิตเชื่อมโยงกับธรรมชาติ ผลผลิตของชุมชนเกษตร มีความหมายมากกว่า สินค้าเกษตรพื้นฐานอย่างที่เข้าใจ ว่าเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ข้าง ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถือเป็นพืชที่ได้รับการยกย่องเป็นพืชเศรษฐกิจ  หากรวมถึงผลผลิตที่มาจากธรรมชาติ หรือการผลิตที่ใช้วัตถุดิบหรือกระบวนการการเชื่อมโยงกับวิถีชีวิตชุมชนที่ว่านั้น ไม่ว่าจะเป็น เครื่องจักรสาน งานหัตถกรรม  ไปจนถึง งานเครื่องปั้นดินเผา

ตำนานการค้าระดับโลกก่อนยุคโลกาภิวัฒน์ที่ยิ่งใหญ่ทั้งหลาย เป็นเส้นทางการค้าสินค้าเกษตรที่มีสินค้าคุณค่าเฉพาะตัวของแต่ละท้องถิ่น เคลื่อนไปอีกท้องถิ่นหนึ่ง โดยเฉพาะ  เส้นทางเครื่องเทศ   เส้นทางสายไหม หรือเส้นทางสายชา

สังคมยุโรปในยุคกลางซึ่งเป็นสังคมมี่เจริญมากกว่าที่อื่นๆในโลก  ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสังคมมีไลฟ์สไตล์ในการบริโภค     สินค้าจากชุมชนเกษตรจากตะวันออกหลายชนิด ได้รับการยอมรับจากสังคมนั้นเป็นสินค้าชั้นสูง ไม่เพียงเป็นความต้องการพื้นฐาน หากเป็นสินค้าที่แสดงสถานะของผู้บริโภคด้วย

สินค้าระดับโลกแท้จริงมิใช่สินค้าที่ชนิดเดียวกันทีใช้กันทั้งโลก ผลิตด้วยเทคโนโลยี และมาตรฐานเดียวกัน นั่น เป็นเพียงเข่าในอยู่ในห่วงโซ่หนึ่งของการผลิตสินค้าระดับโลกของคนอื่นเท่านั้น  หากเป็นสินค้าที่คงคุณค่าของท้องถิ่น มีเอกลักษณ์  มีสถานะโดดเด่นในโลก นั้นคือสินค้าระดับโลก   ผมยังไม่มองเห็นสินค้าใดของสังคมไทยที่มีฐานะอย่างโดดเด่นเช่นนั้น หากสินค้านั้นไม่เชื่อมโยงกับวิถีชุมชนและเกษตรกรรม

ยุคต้นของการค้าระหว่างประเทศของไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาหรือรัตนโกสินทร์ตอนต้น สินค้าเกษตรของไทยเป็นที่ต้องการของต่างประเทศ  ความรุ่งเรื่องทางเศรษฐกิจของไทยในยุคนั้นพึงพิงการส่งออกสินค้าเกษตร   ความสำคัญของสินค้าเกษตรในตลาดโลก กับความต้องการที่มีอยู่เสมอ เป็นแรงผลักดันสำคัญ ในการพัฒนาเพื่อผลิตสินค้าในมิติของการเพิ่มผลผลิต เป็นเพียงมิติเดียว

การเพิ่มผลิตเพื่อตอบสนองคงวามต้องการ เพื่อรายได้ในการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ผลักดันให้สินค้าเข้าสู่วันวนของของสินค้าที่เรียกว่าการผลิตชั้นเดียว( Monoculture)  หรือเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโมเดลที่เรียกว่า East Asia Economic Model (EAEM)

“EAEM เป็นยุทธ์ศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งประกอบด้วยคุณสมบัติสำคัญ 2 ประการคือ เงินลงทุนสูงและ การพึ่งเงินลงทุนจากต่างประเทศโดยตรงในแง่ของการค้ารวมทั้ง สายสัมพันธ์ด้านการลงทุนที่มีกับตลาดโลก โดยประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก ส่วนใหญ่รวมทั้งไทยได้ยอมรับเอา EAEM มาปฏิบัติตามตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1970 และต้นทศวรรษ 1980”

“ประเทศแถบเอเชีย-แปซิฟิก ล้วนอยู่ในธุรกิจของป้อนสินค้าจากโรงงานผลิต สินค้าที่เป็นผลิตผลทางการเกษตรและทรัพยากรธรรมชาติป้อนตลาดโลก โดยระดับราคาระหว่างประเทศของสินค้าเหล่านี้ ส่งผลโดยตรงต่อผลตอบแทนของบริษัทในเอเชีย และอัตราค่าจ้างของแรงงานเอเชีย จากกลไกดังกล่าวนี้ เมื่อมองในแง่ของซัปพลาย จะเห็นว่า กำลังผลิตส่วนเกินนี้สื่อความหมายว่า ราคาที่ลดต่ำจะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าป้อนตลาดโลกของผู้ผลิตเอเชีย มองในแง่ดีมานด์จะเห็นว่า การเปลี่ยนแปลงของดีมานด์โดยฉับพลันจะส่งผลต่อความผันผวนของราคาอย่างรุนแรง มากกว่าการส่งผลต่อปริมาณสินค้าที่ต้องการ เพราะบริษัทผู้ผลิตย่อมขายสินค้าได้มากขึ้นในภาวะที่ราคาสูงขึ้น และขายได้มากขึ้นอีกในภาวะที่สินค้าราคาตกต่ำลง

ผลในท้ายที่สุดคือ เงื่อนไขทางการค้าของเอเชีย-แปซิฟิก ย่ำแย่ลงทุกครั้งที่ดีมานด์ของตลาดโลกที่มีต่อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตผลการเกษตร หรือสินค้าโภคภัณฑ์ขั้นปฐมภูมิตกต่ำลง สิ่งนี้แหละที่เป็นตัวอธิบายเรื่องความหายนะแห่งวงจรของสงครามราคา” (ส่วนหนึ่งจากผลงานวิจัยของ Morgan Stanley Dean Witter ในหัวข้อเรื่อง Asia/Pacific Economics โดย Daniel Lian เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2544)

สำหรับซีพีนั้น โมเดลธุรกิจดูจะแตกต่างออกไปพอสมควร

ซีพีพยายามแสวงหาและเรียนรู้จากตะวันตะวันตก  ไม่ว่าเทคโนโลยีและโนวฮาว  การบริหารจัดการ   และเงินลงทุน ขณะเดียวกันพยายามควบคุมวงการผลิตการผลิตในขั้นตอนต่างๆของตนเอง  มองเกษตรกรรมเป็นวงจรการผลิตเชิงอุตสาหกรรม

แต่อย่างไรก็ตามโมเดลนี้ประสบความสำเร็จในประเทศกำลังพัฒนา สังคมต้องการการผลิตอาหารเพื่อป้อนคนส่วนใหญ่ของสังคมให้เพียงพอ การผลิตอาหารเพื่อตอบสนองความจำเป็นพื้นฐานของสังคมเหล่านั้น ถือเป็นพื้นฐานความสำเร็จของซีพีในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา(โดยเฉพาะกับประเทศจีน ในปัจจุบัน  โปรดอ่านบทความที่แยกต่างหาก  ห่วงโซ่อุปทาน  มังกร” ในประเทศจีน )

ส่วนการพัฒนาสินค้าจากโรงงานของซีพี ซึ่งไม่ใช่ชุมชนเกษตรในความหมายที่ผมว่าข้างต้น จะพัฒนาตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่หลากหลายมากขึ้น   พัฒนาสินค้าสะท้อนคุณค่าและรากเหง้าของสังคมแหล่งกำเนิดอย่างประเทศไทย    พัฒนาคุณค่าสินค้าบางชนิดให้มีคุณมากขึ้นในตลาดโลกตามโมเดลยุคกลาง  เป็นโจทก์ขั้นสูงต่อไปสำหรับซีพี

เรื่องเกี่ยวเนื่อง

เกษตรสองกระแส

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: