e Corporate archive

 “ระบบข้อมูลประวัติศาสตร์เครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG  มีคุณค่าหลายมิติ   เป็นระบบฐานความรู้ นำเสนอบทเรียนที่มีคุณค่าในอดีต มาเชื่อมต่อกระบวนการการสร้างองค์กรความรู้ในปัจจุบัน  เป็นการเคลื่อนย้ายความรู้ในอดีตสู่ปัจจุบัน เป็นกระบวนการเคลื่อนย้ายความรู้ที่เป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคลให้เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าขององค์กร   ระบบฐานข้อมูลซึ่งเข้าถึงได้อย่างสะดวกทั้งในแง่เวลาและสถานที่  สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบนำเสนอ   และสร้างคุณค่าเพิ่มอย่างยืดหยุ่นและหลากหลาย”

สรุปความส่วนหนึ่งของข้อเสนอในการจัดทำระบบข้อมูลประวัติศาสตร์เครือซิเมนต์ไทย    ปี 2550

ในฐานะนักเขียนเรื่องราวธุรกิจ ผมมักได้รับข้อเสนอให้เขียนเรื่องราวต่างๆอยู่เสมอ  โดยเฉพาะประวัติศาสตร์องค์กรธุรกิจที่มีความเป็นมายาวนาน และบุคคลสำคัญๆใสังคมธุรกิจ

กับสิ่งที่ท้าทายเหล่านี้   ผมมักจะใส่ใจในความหมาย ในสองมิติ

ประการแรก   หากผมจะนำเสนอเรื่องราวเหล่านั้นโดยใช้ชื่อตนเอง   ผมต้องเชื่อเช่นนั้นด้วย   หากใช้เพียงทักษะและประสบการณ์ ก็ยินดีจะรับงานเช่นกัน  หากเห็นว่ามีเวลาและสามารถทำได้ตามที่ตกลงกัน

ประการที่สอง  ผมมักเสนอว่า การนำเสนอประวัติศาสตร์ในรูปแบบหนังสืออย่างที่ทำกัน   เป็นเพียงมิติหนึ่ง ของสิ่งที่ผมเรียกว่าHeritage management  model   เป็นข้อเสนอในโมเดลใหม่ งานในเชิงคุณค่า ที่ตื่นเต้น และเร้าใจมากกว่า

อย่างไรก็ตาม การนำเสนอประวัติศาสตร์ มีหลายระดับ จากง่าย สู่ซับซ้อน จากงานเล็กๆ จนถึงงานใหญ่

ผมโชคดีที่วงการธุรกิจยอมรับเงื่อนไขข้างต้น    แม้บางครั้งติดปัญหาเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัด  และหลายกรณี ก็ไม่ลงตัว

งานสำคัญงานหนึ่ง ถือเป็นงานใหญ่ ขอยกเป็นตัวอย่าง คือการศึกษาประวัติศาสตร์เครือซิเมนต์ไทย หรือ SCG ซึ่งใช้เวลาดำเนินการกว่าสองปี

Concept

โมเดลการทำงาน  กรณ๊ SCG  มาจากการศึกษาแนวคิด บทเรียน หลายกรณีในระดับโลก

แนวคิดสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ ตามโมเดลดังกล่าว เป็นเรื่องจริงจังมากขึ้นของกิจการระดับโลก   บทสรุปหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ  การศึกษาประวัติศาสตร์ดังกล่าว มีแรงบันดาลใจและเป้าหมายอย่างชัดเจน  เพื่อเชื่อมโยงกับอุดมคติ บทเรียน และ ยุทธ์ศาสตร์ ในอดีตเข้ากับปัจจุบัน

ผมเคยกล่าวในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงของเSCGว่า  แนวความคิดและบทเรียนของกิจการต่างๆทั่วโลก(ตามที่ปรากฏในภาพ) มิใช่เรื่องที่จะเชื่อหรือไม่ หากเป็นงานจะต้องทำให้เกิดขึ้นสำหรับองค์การธุรกิจสำคัญๆในประเทศไทย

Case study

บริษัทไทยที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน สนใจในเรื่องนี้ ในมิติ  “สิ่งที่จำต้องได้” มักจะมุ่งไปที่ หนังสือ (เบื้องต้น) และ พิพิธภัณฑ์(เรื่องใหญ่) กรณีหลัง ในความหมายกว้างๆที่มีสิ่งของ และเอกสารจำนวนหนึ่ง โดยให้ความสำคัญกับอาคารสถานที่และการออกแบบภายใน หรือการแสดงเป็นภาพกว้างตามแนวคิดของ Event organizer 

ในขณะที่ธุรกิจระดับโลก ให้ความสำคัญในการจัดการกับ “เอกสาร”หรือ “หลักฐานทางประวัติศาสตร์”มากเป็นพิเศษ  ดังนั้นแนวทางจึงเริ่มต้นจาก หอจดหมายเหตุบริษัท(Corporate archive) โดยมีการบริหารจัดการให้ความสำคัญมากพอสมควร  ทั้งนี้ในระยะหลังๆมีความพยายามสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น  ขณะเดียวกัน เปิดโอกาสให้สาธารณะชนและชุมชนภายในองค์การมีส่วนร่วมมากขึ้น

แนวทางประการหนึ่ง  สำหรับธุรกิจที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานในต่างประเทศ คือความพยายามสร้างเป็นระบบข้อมูลมากขึ้น สร้างช่องทางในการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ข้อมูลให้มากขึ้น  โดยเฉพาะผ่านSocial media

SCG  Case

“สิ่งที่สนใจและตื่นเต้นเป็นพิเศษระหว่างการศึกษาประวัติศาสตร์ SCG คือการค้นพบคุณค่าเอกสารเก่าซึ่งเกือบถูกทำลายไป   เอกสารได้ถูกเก็บไว้อย่างดีพอสมควรในยุคผู้จัดการใหญ่ชาวเดนมาร์ก(2456-2517) เอกสารนับหมื่นชิ้นเหล่านั้น  เป็นเอกสารทางธุรกิจ ตั้งแต่ บันทึกการประชุมกรรมการ   สัญญาทางธุรกิจ จดหมายติดต่อระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ หรือธุรกิจกับราชการ  

เรื่องราวเบื้องหลังการศึกษาเอกสารทรงคุณค่า คือการใช้เวลา และความพยามอย่างมากในการศึกษาข้อมูลข้างเคียง เพื่อทำความเข้าใจเอกสารเก่า มีทั้งภาษาและความหมายบางอย่างแตกต่างจากปัจจุบัน   มีโอกาสได้เชื่อมโยง ข้อมูล ให้ภาพที่ใหญ่ขึ้นบางระดับ ว่าด้วยภาพความเป็นไปสังคมธุรกิจไทย สังคมไทยและความเคลื่อนไหวระดับภูมิภาค แม้กระทั่งความเคลื่อนไหวในระดับโลกที่มีเชื่อมโยงกับสังคมไทย”

สำหรับกรณี SCG   หลังจากศึกษาแนวคิดสองข้อข้างต้นอย่างถี่ถ้วน ได้พยายามแสวงหาแนวทางของตนเอง

มิติแรก พยายามนำเสนอ(เขียนและค้นคว้า)สร้างคุณค่าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ให้มีความเชื่อมโยงกับปัจจุบันมากที่สุด

อาคารเกลียวหมู (อดีต)จุดลำเลียงปูนซีเมนต์ทางน้ำ จากคลองเปรมประชากร สู่แม่นำ้เจ้าพระยา (ปัจจุบัน) หอจดหมายเหตุุ

มิติที่สอง   ไม่เพียงเป็นข้อความ(text)หรือหนังสือเท่านั้น ที่สำคัญคือการสร้างระบบข้อมูลมัลติมีเดียเพื่อการเข้าถึงสะดวก และใช้ประโยชน์ในทันที หรือที่เรียกว่าeArchive มิใช่รอในการดำเนินในรูปแบบหอจดหมายเหตุเสร็จสิ้นเสียก่อน(หอจดหมายเหตุ ได้จัดทำในเวลาต่อมา)   ขณะเดียวไม่รีบร้อนนำเสนอในรูปพิพิธภัณฑ์  ด้วยเชื่อว่าท “คุณค่าเนื้อหา”ยังต้องพัฒนาอีกมาก โดยเฉพาะงานค้นคว้าวิจัย เพื่อประโยชน์วงกว้าง

ผมเชื่อว่า ภาพกว้างๆ ได้นำเสนอข้างต้น(ภาพนำเสนอด้านบน) กับเค้าโครงประวัติศาสตร์(ภาพนำเสนอด้านล่าง)ผู้อ่านผู้สนใจคงเข้าใจได้ระดับหนึ่งในเชิงแนวความคิด ส่วนรายละเอียด ไม่ขอกล่าว ณ ที่นี่    เนื่องด้วยข้อมูลส่วนหนึ่งเป็นทรัพย์สินที่มีค่าของSCG ซึ่งไม่ประสงค์จะให้เปิดเผยในวงกว้างในเวลานี้

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: