บางกอกแลนด์

บทเรียนความสามารถในการปรับตัว ท่ามกลางสถานการณ์ผันแปรและยากลำบาก ของกลุ่มธุรกิจน้อยรายที่มีโอกาสหลายครั้งในสังคมไทยในช่วงครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาย่อมน่าสนใจ  ความพยายามสร้างโอกาสและความอยู่รอด มาพร้อมกับโมเดลและบทเรียนใหม่ๆสำหรับสังคมธุรกิจไทยเสมอ

บางกอกแลนด์ ถือเป็นกิจการที่มีรากฐานธุรกิจมาค่อนข้างยาวนาน ด้วยความเชื่อมโยงกับประสบการณ์อย่างหลากหลาย  ทั้งประเภทธุรกิจที่สัมพันธ์กันกับเครือข่ายธุรกิจที่กว้างขวางในระดับภูมิภาค ในฐานะรากเหง้าชาวจีนโพ้นทะเล  โดยเฉพาะในบางช่วงสำคัญ สะท้อนให้เห็นให้ความสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างตลาดหุ้นไทยกับตลาดหุ้นฮ่องกง

บางกอกแลนด์เป็นภาพสะท้อนปัจจุบันของธุรกิจไทยกลุ่มหนึ่งที่มีพื้นฐานธุรกิจทั้งในฮ่องกงและเมืองไทยมาตั้งแต่เมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว กับคนสองรุ่นที่ถือว่าเป็นผู้มาใหม่สองช่วงที่มีความพยายามอย่างไม่ลดละ

อึ้ง จือ เม้ง

เรืองราวคนๆนี้เกี่ยวข้องกับธนาคารไทยแห่งหนึ่งที่มีปัญหามากที่สุด ในฐานะเป็นเจ้าของธนาคารเพียงช่วงหนึ่ง ในช่วงที่เขาเผชิญปัญหา จึงไม่สามารถรักษาเอาไว้ได้

ธนาคารนครหลวงไทยก่อตั้งขึ้น 2484 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผลัดเปลี่ยน ความเป็นเจ้าของและอำนาจบริหารกันมากที่สุดก็ว่าได้ ตามยุคการเมืองเมืองไทย ตั้งแต่คณะราษฎร กลุ่มถนอม-ประพาส จนถึงช่วงวิกฤติการณ์ครั้งใหญ่ของสังคมไทย

อึ้ง จือ เม้ง (NG CHUE MENG   ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น WONG CHUE MENG) หรือมงคล กาญจนพาสน์ เป็นคนแต้จิ๋วประเภทเสื่อผืนหมอนใบ เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย โดยยึดอาชีพหลัก ในการค้าขายนาฬิกา เป็นเอเยนต์นาฬิกาญี่ปุ่น เมื่อสะสมความมั่งคั่งระดับหนึ่ง เขาดำเนินธุรกิจ ด้วยกลยุทธ์สองขาเหมือน ๆ OVERSEA CHINESE ทั่วไปในขณะนั้น คือขาหนึ่งดำเนินธุรกิจที่เมืองไทย อีกขาหนึ่งปักหลักที่ฮ่องกง

ในเมืองไทยเขามีพันธมิตรทางธุรกิจคนสำคัญคือ ชวน รัตนรักษ์ เข้าถือหุ้นในกิจการธนาคาร 2 แห่ง คือธนาคารกรุงศรีอยุธยา และธนาคารนครหลวงไทย ต่อมาเขาก็เริ่มธุรกิจที่ดิน อึ้งจือเม้งเป็นต้นคิด ตั้งแต่ประมาณปี 2512 โดยร่วมทุนกันตั้งบริษัทสยามประชาคาร ซื้อที่ในซอยเสนานิคม เตรียมสร้างหมู่บ้านจัดสรรแห่งแรกของเมืองไทย

ยังไม่ได้ทันได้ดำเนินการในปี2516 วิกฤติการณ์ทางการเมืองทำให้กลุ่มถนอม-ประพาสเสื่อมอำนาจลง พวกเขาประเมินสถานการณ์เชิงลบ มงคล กับชวน ก็มีอันต้องแยกทางธุรกิจแบ่งสมบัติกัน ชวน รัตนรักษ์กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ในขณะที่มงคลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ธนาคารนครหลวงไทย โดยบริษัทสยามประชาคารก็ตกอยู่ในการครอบครองของชวน รัตนรักษ์ไป

อย่างไรก็ตามอึ้งจือเม้งก็แอบจัดตั้งบริษัทกรุงเทพธราดล (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นบางกอกแลนด์) เพื่อดำเนินโครงการบ้านจัดสรรในปีเดียวกันนั้น

ขณะนั้นในฮ่องกง นอกจากมีกิจการโรงงานผลิตนาฬิกาชื่อ STELUX ซึ่งมีหุ้น 6% ใน BULOVA WATCH COMPANY ในสหรัฐอเมริกา เขาเป็นเจ้าของธนาคารขนาดเล็กชื่อ HONGKONG METROPOLITAN BANK (โดยซื้อมาจากอุเทน เตชะไพบูลย์) ที่สำคัญยังมีกิจการอสังหาริมทรัพย์ในนาม MAIHON ENTERPRISES ซึ่งเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ฮ่องกง

อึ้ง จือ เม้ง โชคไม่ค่อยดี ธุรกิจในเมืองไทยประสบปัญหาเนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำ จนถึงภาวะไม่แน่นอนทางการเมืองในช่วงปี 2516 เขาจึงกันไปทุ่มเทสร้าง ฐานธุรกิจในฮ่องกง ธุรกิจในเมืองไทยของเขาจึงหดตัว และดูเงียบ ๆ ไป

ดูเหมือนเขามีความสุขในฮ่องกงเพียงประมาณ 4 ปี เค้าแห่งความยุ่งยากจึงเกิดขึ้น ในช่วงปี 2520-21 STELUX จำเป็นขายหุ้น 6% ของ BULOVA ในราคา 50 ล้านเหรียญฮ่องกงเพื่อแก้ปัญหาการขาดทุน ไม่เพียงเท่านี้จำเป็นต้องขายหุ้นของเขาทั้งหมดใน HONGKOKNG METROPOLITAN BANK ให้กับ BANK OF CREDIT AND COMMERCE INTERNATIONAL ในราคา 120 ล้านเหรียญฮ่องกง

ที่สำคัญในปี 2521 FILOMENA LIMITED ในเครือแคเรียนของ จอร์จตัน ได้เข้าซื้อกิจการ MAI HON ENTERPRISES ซึ่งกล่าวกันว่าอึ้ง จือ เม้ง สามารถทำกำไรได้ไม่น้อยกว่า 300 ล้านเหรียญฮ่องกง

จากนั้นเศรษฐกิจฮ่องกงตกต่ำสุดขีด แคเรียนเฟื่องไม่นานก็มีอันเป็นไปและภาวะตกต่ำในฮ่องกงได้ส่งผลบกระทบมาถึงเมืองไทยด้วย

ธนาคารนครหลวงไทยมีปัญหาหนี้สิน กิจการพัฒนาที่ดินดำเนินไปอย่างติด ๆ ขัด ๆ ห้างสรรพสินค้าเมโทร สมบัติอีกชิ้นหนึ่งของอึ้ง จือ เม้ง ก็ไม่ราบรื่นอย่างที่คิด

การแก้ปัญหาธนาคารนครหลวงไทยยืดเยื้อพอควร ในเวลาเดียวกันชื่อของมงคล กาญจนพาสต์ ก็ค่อย ๆ เลือนหายไปในความทรงจำของผู้คน  พร้อมๆกับตระกูลมหาดำรงกุล เข้ามาแทนที่ในธนาคารนครหลวง คาดกันว่า ในช่วงวิกฤติการณ์ตลาดหุ้นฮ่องกง อึ้งจือเม้ง ได้ขายหุ้นให้กลุ่มมหาดำรงกุล

พวกมหาดำรงกุล เป็นจีนไหหลำ แซ่ก่าว มีพี่น้องสำคัญที่มีบทบาทในแวดวงธุรกิจ3คน ดิเรก หรือ ก่าว โล พก ดิลก หรือ ก่าว โด ลก และชัยโรจน์ หรือก่าว โด เจ็ง พวกเขาอพยพมาจากเกาะไหหลำ ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง

พวกเขาเริ่มชีวิตด้วยความลำบากเฉกเช่นจากจีนโพ้นทะเลทั่วไป  จนมารู้จักกับอื้อ จือเม้ง  และเรียนรู้ธุรกิจนาฬิกา   ตั้งแต่ เป็นช่างซ่อม จนถึงเป็นเจ้าของร้านและในที่สุดมีโรงงานผลิตชิ้นส่วนนาฬิกา

บุคคลที่พวกเขาลืมไม่ได้คือ อื้อ จือเม้ง หรือมงคล กาญจนพาสนต์ ซึ่งเป็น Role model ทั้งธุรกิจ นาฬิกา ไปจนถึงเข้าสู่ธรกิจธนาคาร     เมื่อพวกเขาเป็นเจ้าของธนาคารนครหลวงไทย ได้อย่างไม่มีใครคาดคิด แต่เพียงเวลาไม่มีกี่ปี สัญญาณของความยุ่งยากเกิดขึ้นด้วยสาเหตุไม่ชำนาญธุรกิจธนาคารหรือ ใช้เงินธนาคารไปกับ ธุรกิจครอบครัว มากไป ธนาคารแห่งนี้จึงเป็นธนาคารกลุ่มแรกๆที่มีปัญหา และธนาคารชาติคิดแทรกแซง เค้าแห่งความยุ่งยาก เกิดขึ้นตั้งแต่ในปี 2525 เหตุการณ์ยืดเยื้อนับสิบปีก่อนธนาคารชาติจะเข้าควบคุมธนาคารไปในที่สุด

 อนันต์ กาญจนพาสน์

อนันต์ กาญจนพาสน์(หรือ WONG CHONG PO) เป็นบุตรชายคนโตของอึ้ง จือ เม้ง เขาผ่านประสบการณ์การศึกษาด้านบริหารธุรกิจจากสวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนของผู้ผลิตนาฬิการะดับโลกในช่วงที่ครอบครัวของเขามุ่งมั่นในธุรกิจนี้ จากนั้นมาถือว่าเขามีบทบาทอย่างเงียบๆในการบริหารกิจการในกิจการครอบครัวตลอดมา ในช่วง   STELUX รุ่งโรจน์ราวปี2514-2520ไมว่าการซื้อหุ้น BULOVA หรือ HONGKOKNG METROPOLITAN BANK      เขามีส่วนด้วยเสมอ ทั้งเป็นกรรมการผู้จัดการทั้ง STELUX ในฮ่องกง และ บางกอกแลนด์ ในประเทศไทย  รวมทั้งBULOVA  USA  และ HONGKOKNG METROPOLITAN BANK

แผนการใหญ่มาพลิกฟื้นธุรกิจในเมืองไทยอีกครั้ง  หลังจากผ่านวิกฤติการณ์ในฮ่องกงช่วงหนึ่ง ย่อมมองโลกดีมากๆ  ทั้งนี้มาจากประเมินว่าสถานการณ์ในเมืองไทยในการเติบโตของตลาดหุ้นไทย

ในช่วง 16ปีก่อนหน้านั้น บางกอกแลนด์ มิได้ดำเนินกิจการอสังหาริมทรัพยเป็นเรื่องราวนัก นอกจากมีเปิดโครงการบ้านจัดสรรบ้าง เป็นระยะๆ ทยอยซื้อที่ดินจนได้ที่แปลงใหญ่ติดต่อกันแถวแจ้งวัฒนะกว่า4000 ไร่ในปลายปี 2532 บางกอกแลนด์ได้เริ่มขึ้นอย่างคึกคักด้วยการเพิ่มทุนจากเดิม 200 ล้านบาท รวดเดียว 4 ครั้งในเวลาเพียงปีเศษ เป็น 6000 ล้านบาท

อนันต์ กาญจนพาสน์ประกาศโครงการเมืองทองธานี เป็นแนวคิดใหม่ในการสร้างโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ด้วยการผนึกประสบการณ์สามส่วนเข้าด้วยกัน  หนึ่ง-อุตสาหกรรม สอง-อสังหาริมทรัพย์ และสาม-การค้าปลีก  เมื่อสามสิ่งรวมอยู่ในตัวผม คือการประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย เป็นอุตสาหกรรมจริงๆ มีการผลิตนับหมื่นนับแสนยูนิต ขายให้ผลิต หรือผู้ขายปลีก เขาเคยอรรถาธิบายธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โมเดลใหม่ของเขาเอาไว้ในช่วงนั้น

นั่นหมายความว่า การลงทุนครั้งแรกของโครงการเมืองทองธานีต้องใช้เงินอย่างมากมายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทย  ตอนนั้นคาดกันว่าในช่วงปี 2535-2537 จะต้องลงทุนเพื่อสร้างระบบสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมจนถึงการก่อสร้างอาคารที่ขายไปแล้วไม่น้อยกว่าสามหมื่นล้านบาท

แผนการของอนันต์และบางกอกแลนด์อิงกับตลาดหุ้นไทยในช่วงขาขึ้น(บางกอกแลนด์เข้าตลาดหุ้น กลายเป็นหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในตลาดทันที่ ในต้นปี 2535) ในเวลานั้นอย่างเต็มที่

นั่นคือการระดมเงินในหลายรูปแบบทั้งผ่านการขายหุ้นเพิ่มทุน  ออกใบรับรองสิทธ์(WARRANT) ในตลาดหุ้นไทย รวมทั้งการออกหุ้นก็แปลงสภาพ (EXCHANGABLE BOND) ผ่านกลไกตลาดทุนต่างประเทศ ด้วยเงินสกุลต่างประเทศว่าจะเป็นดอลลาร์สหรัฐ และ ฟังก์สวิส   รวมกันเป็นเงินกว่าสองหมื่นล่านบาท ถือเป็นดีลที่ใหญ่มากๆในเวลานั้น

ความสามารถในการะดมทุถนจำนวนมาก ย่อมเชื่อมโยงกับแผนการอันสวยหรูนั้นคือความพยายามเชื่อมโยงกับระบบขนส่งมวลชนขนาดใหญ่   จากความพยายามเข้าร่วมโครงการรถไฟฟ้ามหานคร แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จนที่สุดจบลงเพียงการเชื่อมต่อทางขึ้นลงของโครงการทางด่วน

วิกฤติการณ์ตั้งเค้าขึ้นก่อนปี2540 ส่งผลกระทบธุรกิจตอสังหาริมทรัพย์เป็นหน้าด่าน   ถือเป็นธรรมชาติธุรกิจที่อ่อนไหวกับสถานการณ์มากที่สุดธุรกิจหนึ่ง   ส่งผลอย่างสำคัญต่อบางกอกแลนด์ในประเด็นที่พื้นที่ฐาน คือยอดขายไปเป็นไปตามเป้าหมาย

ปัญหาของกิจการขนาดใหญ่ทีมีความพร้อม และมองโลกในแง่ดีเกินไปกับปัญหาพื้นที่ฐานที่แยกจะแก้ไข อย่างไรก็ตามต้องยอมรับว่าประสบการณ์อันเชี่ยวกรำของอนันต์ กาญจนพาสน์ แม้ดูมีบุคลิกนักธุรกิจฮ่องกง แต่สามารถเข้าใจอำนาจในสังคมไทยอย่างดี  ย่อมพลิกสถานการณ์อย่างน่าตื้นเต้นทีเดียว

–2538 รัฐบาลมีมติให้บางกอกแลนด์ สร้างศูนย์กีฬา และศูนย์สื่อสารมวลชน เพื่อการแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที 13 บริษัทลงทุนประมาณ 3000ล้านบาท ทั้งนี้ทางด่วนจะมีทางขึ้นลงที่เมืองทองธานี

–ปลายปี 2539 ต่อต้นปี 2540 บางกอกแลนด์ขายพื้นที่เป็นสำนักงานหน่วยงานกระทรวงกลาโหม มูลค่าเกือบ 300 ล้านบาทามในช่วงเวลาเดียวกันหน่วยงานราชการหลายแห่งได้ย้ายที่ทำการมาแถวถนนแจ้งวัฒนะ

ท่ามกลางความหวังที่ไม่มาก มาพร้อมกับภาระหนี้สินที่มาจากพร้อมกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ของสังคมไทย โดยเฉพาะกับต่างประเทศจำนวนมากประมาณสองหม่นล้านบาท ทั้งนี้ยังไม่รวมหุ้นกู้แปลงสภาพที่ถึงกำหนดคืนอีกหลายพันล้านบาทในปี 2540-1

หลังจากปลายปี 2541 การแข่งขันกีฬาเอเชี่ยนเกมส์ครั้งที่ 13 ที่จัดขึ้นที่ประเทศไทย อิมแพ็ค เมืองทองธานี สร้างโดยบริษัท บางกอกแลนด์ เพื่อสนับสนุนการแข่งขันครั้งสำคัญนั้น มีความพยายามพัฒนามาเป็นศูนย์แสดงสินค้าและบริการขนาดใหญ่

บริษัทยังทุ่มเทความสามารถอย่างต่อเนืองในธุรกิจศูนย์การค้าและศูนย์ประชุมของกลุ่มบริษัท และหลีกเลี่ยงการทำโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกร้องข้อผูกมัดทางการเงินที่เข้มงวด ส่วนหนึ่งของรายงานประธานกรรมการ (อนันต์ กาญจนพาสน์) ในรายงานประจำปี31 มีนาคม 2554ของบางกอกแลนด์ นอกจากสะท้อนยุทธ์ศาสตร์ธุรกิจสำคัญที่แตกต่างเดิมอย่างสิ้นเชิงแล้ว ถือเป็นการสรุปบทเรียนครั้งสำคัญด้วย

เท่าที่อ่านรายงานประจำปีฉบับนี้ ผู้บริหารบางกอกแลนด์มีมุมมองธุรกิจในเชิงระมัดระวังมากขึ้น  ขณะเดียวกันในความพยายามในการแกปัญหากิจการมีอย่างต่อเนื่อง มีความหวังมากขึ้นว่าไม่นานจากนี้  กิจการจะเข้าสู่ภาวการณ์พ้นจากภาระที่แบกมานานเมื่อวิกฤติการณ์ครั้งล่าสุด

ถือเป็นบทเรียนที่ควรศึกษา ว่าด้วยคนสองรุ่นในสถานการณ์ที่แตกต่างกัน  ระหว่างยุคสงครามเวียดนาม กับยุคโลกาภิวัฒน์ เป็นบทเรียนของผู้มีประสบการณ์ที่ส่งทอดกัน  และพยายามรักษาโอกาสไว้  ต้องยอมรับว่าน้อยรายนักในสังคมธุรกิจไทยทีมีโอกาสเช่นนี้

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: