โฉมหน้าผู้บุกรุก(2)

อาจจะถือเป็นครั้งสำคัญธุรกิจไทยมีความกล้าหาญอย่างมาก ในการก้าวเข้าสู้โลกยุคใหม่ โดยออกจากเปลือกหอย ด้วยพยายาม ศึกษาบทเรียน พยายามประยุกต์ครั้งใหญ่  หากมองในมุมนี้   “ผู้มาใหม่” เหล่านี้ ได้สร้างแรงบันดาลใจและมาตรฐานสังคมธุรกิจใหม่ อย่างที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ควรประเมิน “คุณค่า”นี้อย่างจริงจังด้วย

ในกระบวนการความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจไทยกับโลกมีมากขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนนั้น เป็นความสัมพันธ์หลายระดับ หลายกลุ่ม ธุรกิจไทยย่อมได้เรียนรู้ มีประสบการณ์ในหลายด้าน  รวมทั้งเผชิญแรงบีบคั้น และสร้างแรงบันดาลใจ ในความพยามแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ อย่างกว้างขวางด้วย

เรื่องราวของดำริห์ แห่งยุนิคอร์ดและ ชาญ อัศวโชคแห่งอัลฟาเทคฯ มีมิติที่เชื่อมโยงกับแนวคิดข้างต้น

8 ปีแห่งการต่อสู้ของบริษัทยูนิคอร์ดในเกมธุรกิจระดับโลก แม้จะจบลงด้วยความพ่ายแพ้อย่างราบคาบ   ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนั้น อัลฟาเทคฯ ความพยามต่อสู้เพื่อรากฐานการผลิตอุตสาหกรรมอิเล้คทรอนิคส์ขนาดใหญ่ในเมืองไทย ภายใต้ความสัมพันธ์ในหลายมิติกับธุรกิจระดับโลก แม้บทแรกจะจบลงอย่างน่าผิดหวัง     แต่บทเรียนและความพยายามครั้งนั้น ยังมีชีวิต ทั้งสะท้อนบริบททางเศรษฐกิจของไทย และทิศทางใหม่ของธุรกิจไทยด้วย

หนึ่ง-ภาพสะท้อน จุดเริ่มต้นยุคเศรษฐกิจไทยเติบโต มาจากพึงพาการส่งออก ทั้งสินค้าเกษตรพื้นฐานและแปรรูป ไปจนถึงการรับจ้างผลิตสินค้าอิเล็คทรอนิคส์

ยูนิคอร์ดเริ่มต้นด้วยการผลิตสัปปะรดกระป๋องส่งออกให้โดยขายสินค้าไม่มีแบรนด์ให้กับธุรกิจรายใหญ่ในสหรัฐฯ ในช่วง 5-6 ปีแรก จากนั้นมองเห็นการการเติบโตของตลาดสินค้าปลาทูน่ากระป๋องในตลาดสหรัฐฯจึงกระโดดข้าสู่ธุรกิจใหม่ ภายใต้ความสัมพันธ์กับผู้ขายสินค้าให้ยักษ์ใหญ่ พร้อมๆกับการแข่งขันกับรายใหญ่อื่นๆในตลาดสหรัฐฯด้วย

ถือเป็นการเริ่มต้นยุคใหม่ของยูนิคอร์ด ภายใต้การบริหารของดำริห์ ก่อนนันทเกียรติ ผู้มีประสบการณ์ การบริหารการค้าเกษตรส่งออก

ในขณะที่ชาญ อัศวโชค ผู้ใช้ชีวิตช่วงต้นส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ในSilicon Valleyอาณาบริเวณที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของโลกใหม่ทางธุรกิจ ในช่วงธุรกิจใหม่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จากเทคโนโลยี่คอมพิวเตอร์และการสื่อสารมาบรรจบกัน ขณะเดียวมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างความจำเป็นในการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยี่อย่างรวดเร็ว กับการบริหารต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ตามแนวคิด Global Village อาศัยเครือข่ายการผลิตที่มีแรงงานราคาถูกในประเทศเกษตรกรรมเดิม

สอง-ภายใต้ความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตกับผู้ขายสินค้านั้น    และกฎระเบียบการค้าของสหรัฐฯที่เรียกว่า Anti-Damping    สินค้าปลาทูน่ากระป๋องจากไทยถูกกีดกันทางการค้า กรณียูนิคอร์ดถูกเล่นงานด้วยการใช้กฎหมาย Anti-Damping เป็นกรณีแรกๆที่คูแข่งขันทางการค้าในสหรัฐฯตอบโต้คูแข่งที่มาจากภายนอกอย่างรุนแรง แรงบีบคั้นสำคัญมากนี้ ทำให้ดำริ ห์ และยูนิคอร์ดมีความพยายามกระโดดข้ามก้าวใหญ่เป็นเจ้าของกิจการในสหรัฐฯเสียเองเลย

ชาญ อัศวโชคนอกจากเป็นผู้เชี่ยวชาญการเงินและการบริหารกิจการของสหรัฐฯแล้ว เขายังเป็นชาวอาเซียที่เชื่อว่าจะสามารถบริหารกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์ได้ดี ในประเทศไทย ในฐานะผู้นำเทคโนโลยี่จากSilicon Valleyมาผลิตด้วยแรงงานราคาถูก ในเวลานั้นเครือข่ายการผลิตในอุตสาหกรรมเหล่านี้ขยายตัวอย่างมากในภูมิภาค รวมทั้งพัฒนารูปแบบเครือข่ายอย่างซับซ้อนมากขึ้น ในเวลาเดียวกันประสบการณ์ประมาณ7-8 ปีของเขาในประเทศไทย เชื่อว่าเขาเป็นเพียงคนไทยไม่กี่คนที่เข้าใจธุรกิจนี้ในมิติต่างๆ โดยเฉพาะมีความสามารถในการปรับตัวเท่ามกลางความผันแปรของอุตสาหกรรมนี้ได้อย่างดี

กรณีดำริและชาญ ดูเหมือนจะสวนทางกันแต่ก้อยู่ในบริบทเดียวกัน

สาม-ในช่วงนั้นกิจการอย่างยูนิคอร์ดสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินระดับโลกในหลายระดับ ตั้งแต่บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน  เงินกู้ต่างประเทศ  รวมทั้งสินเชื่อก้อนใหญ่จากธนาคารไทย  ทั้งนี้อิงกับความสามารถของกิจการ  โดยอิงกับความรุ่งโรจน์ของกิจการส่งออกปลาทูน่ากระป๋องของไทยในเวลานั้นด้วย  ที่สำคัญไม่แพ้กัน ยูนิคอร์ดต้องเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐาน  ผ่านกระบวนการเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย

การจดทะเบียนในตลาดหุ้นไม่เพียงต้องเปิดเผยข้อมูลทางการเงินของบริษัท(ทีถือว่ามีมาตรฐานสูงกว่ากิจการนอกตลาดหุ้นโดยทั่วไป) แล้ว ที่สำคัญกว่านั้นสามารถระดมเงินมาใช้ในกิจการได้ ในกรณีของยูนิคอร์ดคือการใช้เงินจากตลาดหุ้นเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการซื้อ  Bumble Bee Seafood Inc กิจการผลิตและจำหน่ายปลาทูกระป๋องรายใหญ่ที่สุดในสหรัฐ (รวมทั้งเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าที่ได้รับการยอมรับในตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างดีด้วย) ถือเป็นดีลบุกเบิกครั้งใหญ่ของธุรกิจไทยในระดับโลก

ชาญ อัศวโชคมองเห็นโอกาสในฐานะผู้จะเริ่มต้นเป็นผู้ประกอบการใหม่ โดยอาศัยความรู้และเครือข่ายที่มีอยู่ เขาตั้งกิจการของตนเองขึ้นมา –บริษัทอัลฟาเทคฯ เพื่อเข้าซื้อกิจการของผู้ผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อิเลคทรอนิคส์ของสหรัฐฯในประเทศไทย ในช่วงที่ธุรกิจนี้ในโลกมีความผันแปรมากขึ้น    แผนการเริ่มต้นที่ดูดีจะเป็นไปไม่ได้   หากเขาไม่นำบริษัทอัลฟาเทคฯเข้าระดมเงินทุนจากตลาดหุนไทย ซึ่งถือเป็นกุญแจสำคัญไปสู่ความสำเร็จที่ดี

ต่อจากนั้น เพื่อสร้างหลักประกันของโอกาสทางธุรกิจทีมองไปไกลและใหญ่มากทีเดียว  ชาญมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจไทยกับธุรกิจโลกอย่างดีในฐานะความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตชิ้นส่วนหรือสินค้าพื้นฐานกับเจ้าของเทคโนโลยีหรือผู้สินค้ามูลค่าสูง  นั่นคือความพยายามแสวงหาผู้ร่วมทุนรายใหญ่ของโลก  นั่นคือ ทีมาของการร่วมทุนกับ Texas Instrument (TI) ธุรกิจยักษ์ใหญ่ด้านอิเล้คทรอนิคส์ของสหรัฐฯ (ปัจจุบัน TI มีเครือข่ายการผลิตทั่วภูมิภาคเอเชีย) จากจุดนี้ในฐานกิจการในตลาดหุ้นที่ผลประกอบการที่ดี ดูมีอนาคต ด้วยมีดีลที่ดีกับกิจการระดับโลก ไม่เพียงอัลฟาเทคฯสามารถระดมทุนจากตลาดหุ้นได้เพิ่มเท่านั้น ยังเป็นฐานในการขยายโอกาสในการลงทุนขนาดใหญ่ด้วยเงินกู้ก้อนใหญ่กู้จากระบบธนาคารทั้งในแลต่างประเทศ

แม้ว่าปรากฏการณ์ยูนิคอร์ด เกิดขึ้นด้วยมุมมองเชิงสร้างสรรค์เพียงสั้น ๆไม่นานจากนั้นมีแต่ปัญหา อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยมีประสบความสำเร็จในตลาดไทยมาช้านาน ขยับตัวตามกระแสนี้ด้วย ออกแสวงโอกาสทางธุรกิจภายนอกกันมากขึ้น ไม่ว่าเครือซิเมนต์ไทย(เอสซีจี )หรือ ดุสิตธานี

แม้ว้าเวลาต่อมาผู้เดินตามเหล่านั้นหลายราย มักจะประสบปัญหาเช่นเดียวกัน  แต่จากนั้นมามีอีกบางรายที่สามารถใช้บทเรียนในอดีต  เดินทางต่อไปอย่างมั่นคงพอสมควรในปัจจุบัน ที่สำคัญคือ บริษัทบ้านปู และไทยยูเนียน

สำหรับชาญ อัศวโชค ถือว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ และเชื่อมั่นในอุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิคส์อย่างมาก  ด้วยความพยายามอย่างมากมายจากนั้น แม้ว่าอัลฟาเทคฯมีอันเป็นไปหลังจาก  Texas Instrument ถอนตัว ไป หรือแม้ว่าตนเองต้องกลายเป็นบุคคลล้มละลายไปด้วย แต่ยังพยายามทุกวิถีทางที่จะเริ่มต้นธุรกิจทำนองเดียวกันอีกครั้ง

ความเชื่อมั่นในห่วงโซ่ความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจไทยกับธุรกิจโลกในระดับลึกตามแนวคิดของชาญ  ควรจะถือว่าเป็นทิศทางที่น่าสนใจ เชื่อว่าความพยายามจากนี้ไม่ว่าชาญ อัศวโชค(ไม่นานมานี้ เมื่อพิจารณาจากความเคลื่อนไหวของเขา  อุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิคส์มีการเคลื่อนย้ายบางระดับไปสู่จีนแผนดินใหญ่)หรือใครก็ตาม เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จ หรือสร้างเรื่องราวขึ้นมาได้ ไม่ว่าเป็นระยะหนึ่งที่สั้นหรือยาวก็ตาม

บทสรุป บทเรียนและสถานการณ์ล่าสุดของ” ผู้บุกรุก” จะอรรถาธิบายในโอกาสต่อไป

 

 

เหตุการณ์สำคัญ

ยูนิคอร์ด-อัลฟาเทคฯ

 2521

ก่อตั้ง บริษัท ยูนิคอร์ด อินเวสท์เมนท์ (ประเทศไทย) ผลิตสับปะรดกระป๋องที่อำเภอบ้านบึง ชลบุรี

 2522

ชาญ อัศวโชค มาทำงานในเมืองไทยในฐานะผู้บริหาร Honeywell ในฐานะผู้นำเทคโนโลยีอิเล็คทรอนิคส์จากSilicon Valleyมาผลิตด้วยแรงานราคาถูกของไทย ต่อมาย้ายไปAT&T

2527

เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท ยูนิคอร์ด” มุ่งผลิตปลาทูน่ากระป๋องมากกว่า ผักผลไม้ เพราะใกล้มหาชัย แหล่งใหญ่ของอาหารทะเล  โดยดำริห์ ก่อนนันทเกียรติ เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรการผู้อำนวยการ พร้อมกับเพิ่มทุนครั้งใหญ่ เป็น 200 ล้านบาท

2531

ชาญ อัศวโชค จัดตั้งบริษัทอัลฟาเทคฯ เพื่อดำเนินการผลิตชิ้นส่วนอิเล้คทรอนิคส์ เพื่อป้อนตลาดใหญ่ในSilicon Valley   ในสหรัฐ ฯ หลังจากทำงานในฐานะลูกจ้างของบริษัทสหรัฐฯในธุรกิจเดียวกันทั้งในสหรัฐฯและไทยมาแล้วมากว่า 15 ปี

2532

บริษัท ยูนิคอร์ด เข้าซื้อ Bumble Bee Seafood Inc ในสหรัฐฯ ด้วยมูลค่า 269 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 67, 00 ล้านบาทในขณะนั้น

2533

บริษัท ยูนิคอร์ด จำกัด (มหาชน) ได้จดทะเบียน ในตลาดหุ้นไทย ด้วยทุนจดทะเบียน 700ล้านบาท

2534

บริษัท ยูนิคอร์ด เพิ่มทุนจดทะเบียนครั้งใหญ่ เป็น2,800 ล้านบาท ด้วยการขายหุ้นจำนวนมากให้สาธารณะชนเพื่อระดมเงินไปใช้หนี้ธนาคารในการซื้อ Bumble Bee Seafood Inc

2536

บริษัทอัลฟาเทคอีเลคโทนิค จำกัด (มหาชน) เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น

2537

บริษัทอัลฟาเทคฯ เข้าชื้อกิจการ AT&T (เครือข่ายธุรกิจยักษ์ใหญ่ในสหรัฐฯ) ผู้ผลิตอุปกรณ์โทรศัพท์ในประเทศไทย มูลค่าประมาณ200 ล้านบาท เพื่อเป็นฐานการผลิต และสินทรัพย์สำคัญของกิจการในตลาดหุ้น

2538

ดำริห์ ก่อนันทเกียรติ ปลิดชีพตัวเอง

ชาญ อัศวโชค และ บริษัทอัลฟาเทคฯ ทำสัญญาร่วมทุนกับ Texas Instrument (TI) ในแผนการสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่านอิเล็คทรอนิคส์ชนิดใหม่ที่ เป็นแนวโน้มใหม่และเป็นที่ต้องการของSilicon Valleyถือว่าเป็นส่วนหนึ่งตามแผนการขายเครือข่ายการผลิตในภูมิภาคนี้ของ TI โดยมีธนาคารทั้งไทยและต่างประเทศร่วมกันให้เงินกู้ Syndication loan     จำนวนนับหม่นล้านบาท

2540

บริษัท ยูนิคอร์ดขาย Bumble Bee Seafood Inc ทิ้งเพื่อลดภาระหนี้สิน ทั้งๆที่ขาดทุนจากราคาที่ซื้อมามากกว่า100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

TexasInstrument (TI) ถอนตัวจากการร่วมทุนกับอัลฟาเทคฯ

 2541

ยูนิคอร์ดถูกเพิกถอนออกจากตลาดหุ้นไทย

2542

อัลฟาเทค ถูกเพิกถอนออกจากตลาดหุ้นไทย

 

 มติชนสุดสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2554

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: