ปตท.ในวงจรใหม่

ยังไม่ทันต้นฉบับจะตีพิมพ์(ปกติเขียนล่วงหน้า 1สัปดาห์) อาการเปรียงปร้างของการประทะกันของ “รายใหญ่”ที่ผมวิเคราะห์ว่าจะเกิดนั้น (อ่าน เรื่องของ“รายใหญ่”  ) มันเกิดขึ้นเร็วว่าที่คิด ที่สำคัญไม่ได้เกิดขึ้นจากการขยายเครือข่ายค้าปลีกปะทะกันทั่วราชอาณาจักรซึ่งเป็นมองข้ามชอร์ต หากเกิดขึ้นที่ประชุมของคณะรัฐมนตรีในกรุงเทพฯนี่เอง

ในที่สุด ปตท.. คู่แข่งขันรายสำคัญในการเสนอซื้อเครือข่ายค้าปลีก—Carrefour  มีอันต้องถอนตัวไป อย่างไม่เต็มใจนัก

เอกสารข่าวที่ปตท.แจกจ่ายสื่อมวลชนเกี่ยวกับการตัดสินใจถอนตัวมีความสำคัญมาก  โดยเฉพาะให้ภาพใหญ่ในเรื่องยุทธ์ศาสตร์ค้าปลีกของปตท. มีความชัดเจนและมุ่งมัน จากจุดเริ่มต้นอย่างจริงจังเพียง3 ปีมานี้ (ขอให้กลับไปอ่านคำแถลงของปตท. “PTTRM จะไม่เข้าร่วมประมูลซื้อกิจการห้างคาร์ฟูร์ )

อีกประเด็นหนึ่ง แนวคิดของบทความครั้งก่อน   ว่าด้วยแรงปะทะของรายใหญ่ในธุรกิจค้าปลีก ที่สำคัญในบรรดาคู่แข่งรายสำคัญนั้นบางราย เป็นพันธมิตรของปตท.ในขณะนี้  “เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของ ปตท. หลายราย มีความเห็นว่า ปตท. ไม่ควรเข้าไปประมูลแข่งขันในครั้งนี้ ดังนั้น ปตท. จึงจะแจ้งให้บริษัท PTTRM ไม่เข้าร่วมในการประมูลดังกล่าวต่อไป” ข้อสรุปของเอกสารแถลงข่าวของปตท.  ผมเชื่อว่ายังสะท้อนเรื่องราว และเชื่อมโยงตามแนวคิดข้างต้นได้

กรณีนี้ขยายใหญ่มากขึ้นอย่างไม่น่าเชื่อ ผู้นำประเทศออกแสงดความเห็น   ที่ประชุมรัฐมนตรีมีการพูดถึงกัน

“นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จะร่วมประมูลซื้อห้างสรรพสินค้าคาร์ฟูร์ ว่า กระทรวงพลังงานชี้แจงว่าไม่มีนโยบาย และคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ปตท.ก็บอกว่าไม่ได้มีนโยบายในเรื่องนี้ และโดยหลักของรัฐคือ.ต้องยึดตามรัฐธรรมนูญว่าจะไปประกอบกิจการอะไรแข่งขันกับเอกชนไม่ได้ ยกเว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็น” อ้างจากประชาชาติออนไลน์ วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553   (www.prachachat.net )

“นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานชี้แจงต่อที่ประชุมว่า การซื้อคาร์ฟูร์คงจะยุติ และไม่มีการผลักดันต่อไปแล้ว เพราะอาจจะถูกมองว่าภาครัฐไปทำธุรกิจแข่งกับภาคเอกชน” อ้างมาจากทีเดียวกัน

 บทสนทนาข้างต้น  ยังไม่มีน้ำหนักหรือตรรกะเพียงพอที่จะเชื่อเช่นนั้น ผมยังคิดว่าเป็นเพียงปรากฏการณ์ผิวน้ำ

บางกระแสข่าวบอกว่ารัฐมนตรีคลังวิ่งเต้นกรณีนี้ด้วยตนเอง ผมไม่ค่อยเชื่อนักว่ารัฐมนตรีจะสนใจงาน Routine มากกว่าความพยายามแสวงหาหลักการพื้นฐาน  มีกระบวนการอย่างเป็นเรื่องเป็นราว กำหนดเป็นแนวนโยบาย     ผมค่อนข้างมั่นใจว่ามีความเป็นไปได้  หากอาศัยความรู้ข้ามสาขาของคนสองคนที่เรียนPPE (วิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์) จาก Oxford  จะสามารถเข้าถึงจุดเริ่มต้นของบทสรุป  ว่าด้วยบทบาทที่ควรจะเป็นของปตท.ได้ โดยเฉพาะไม่ใช่เพียงประเด็นที่ว่า  ดำเนินธุรกิจแข่งขันกับเอกชน”  แต่ต้องรวมประเด็น การกีดกั้นเอกชนออกจากการแข่งขัน”ด้วย เมื่อประเด็นเหลานี้ตกแตก เป็นกรณีศึกษา   จะสามารถสร้างเป็นบรรทัดฐานของการดำเนินกิจการของหน่วยงานประเภทเดียวนี้ ได้อีกหลายแห่ง   หน่วยงานเหล่านั้นดูเหมือนมีเป้าหมายเดียวกัน  และกำลังพยายามจะเดินตามรอยความยิ่งใหญ่ของปตท.ด้วยกันทั้งนั้น   บางทีกรณีการประมูล3G ยังเดินหน้าไม่ได้ อาจจะมีปัจจัยหนึ่ง มาจากแนวคิดและความพยายามยึดโมเดลของปตท.ด้วย

หากปตท.อธิบายปรากฏการณ์ในครม. ว่า เป็นเพียงความแคลื่อนไหวของ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของ ปตท.” เท่านั้นก็คงพอฟังได้ โดยเฉพาะกรณีที่ว่ากระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ ต้องการให้นำผลกำไรมาปันผลต่อผู้ถือหุ้น แทนที่นำเงินจำนวนมากนั้นไปซื้อกิจการ   เป็นเรื่องปกติของการบริหารบริษัททั่วไป หรือจะให้เหตุผลที่ดีกว่านั้น รัฐมนตรีคลังอาจกล่าวว่า ปตท.ไม่ควรลงทุนด้วยเงินจำนวนมากกับธุรกิจที่มิใช่ Core business ซึ่งมีความเสี่ยงมากในฐานะเป็นธุรกิจทีมีแข่งขันสูง   ควรจะโฟกัส Core businessในฐานะเป็นผู้นำตลาดและมีกลไกพิเศษควบคุมการแข่งขันไว้ด้วย

ว่าไปแล้ว ปตท.ดำเนินธุรกิจค้าปลีกในตลาดแข่งขันเสรีและข้ามสายพันธุ์อย่างเข้มข้นมาแล้วอย่างน้อย3 ปีแล้ว โดยเฉพาะเริ่มต้นจากการซื้อเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันของ Conoco Phillips แห่งสหรัฐอเมริกา ในสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยไม่ใคร่มีคนสนใจนัก

ปี2550 เป็นปีแห่งความวุ่นวายทางการเมืองของไทย    ภายใต้การบริหารของรัฐบาลมาจากการรัฐประหาร   การยุบพรรคการเมืองใหญ่ที่ชนะการเลือกตั้ง   ราคาน้ำมันสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และค่าเงินบามทก็แข้งค่ามากด้วย   เป็นช่วงเดียวที่ปตท.เติบโตอย่างมาก ไมว่าด้วยผลประกอบการที่ดีเยี่ยมและการข้าสู่ธุรกิจใหม่ ธุรกิจที่แข่งขันโดยตรงกับ “รายใหญ่” อย่างเอสซีจีโดยเฉพาะ—อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ครบวงจร  ต้องฝ่าแรงเสียดทาน  และลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก เรื่องการซื้อสถานีบริการน้ำมัน ด้วยเงินประมาณ 7 พันล้านบาท จึงกลายเป็นเรื่องเล็ก

ConocoPhillips กิจการพลังงานครบวงจรถือเป็นกิจการของเอชนทีใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก   ให้ฐานอยู่ที่   Houston  สหรัฐอเมริกา  ให้ความสำคัญธุรกิจค้าปลีกพอสมควร ด้วยมีเครือข่ายหลาย Brand อาทิConoco   , Phillips 66 และ Union 76      ConocoPhillips เข้ามาดำเนินธุรกิจสถานีบริการในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2536    ด้วยการเปิดสถานีบริการน้ำมันJet โดยมีร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) –Jiffy   ถือเป็นโมเดลสถานีบริการน้ำมันทันสมัย   กลายเป็นผู้กำหนดทิศทางใหม่ของสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทย ตามมาด้วยการปรับโฉมกันเป็นการทั่วไปครั้งใหญ่

ปตท.ซื้อสถานีบริการConocoPhillips เฉพาะในประเทศไทยจำนวน147 แห่ง   ด้วยการตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ดำเนินการเฉพาะสถานีบริการในส่วนนี้   ส่วนที่เหลืออีกนับพันแห่งดำเนินโดยหน่วยงานอื่น ในช่วงเวลานั้นได้เริ่มกระบวนการปรับปรุงสถานีบริการดั้งเดิมนั้นด้วย

กระบวนการพัฒนาสถานีบริการของปตท.เป็นการรวมพลังจากพันธมิตรทางธุรกิจ  แนวคิดเชื่อมโยงธุรกิจค้าปลีก  มิใช่เรื่องใหม่   ปตท.ร่วมมือกับ7-Eleven***(เครือข่ายค้าปลีกที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ของกลุ่มซีพี)มาระยะหนึ่งแล้ว ในบรรดาสถานีบริการประมาณ1,100แห่ง(ไม่รวมเครือข่าย Jiffy )  มีร้านค้า7-Eleven อยู่มากกว่า 820  แห่ง  สำหรับ7-Eleven แล้วถือว่าเป็นเครือข่ายจำนวนพอสมควรที่ดำเนินการด้วยตนเอง(ไม่ใช่เครือข่ายของผู้รับแฟรนไชส์ ) จากเครือข่ายทั้งหมดประมาณ5,500 แห่ง   ถือว่าในเครือข่าย7-Eleven ในสถานีบริการของปตท.มีความสำคัญพอสมควร

เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ว่า เมื่อสถานีบริการใหม่พร้อมด้วยรานสะดวกชื้อทั้งรูปแบบและเครือข่ายใหม่– Jiffyเกิดขึ้น   มีความเป็นไปได้มากขึ้นว่า ปตท.กำลังเดินหน้าขยายเครือข่ายของตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง คงจะให้ความสำคัญในโมเดลสถานีบริการใหม่    ขณะเดียวปตท.-Jiffy ได้มีการปรับปรุง พัฒนาขึ้นอย่างตั้งใจ อย่างครึกโครม พัฒนาร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ ตามแนวคิด“More than just a C-Store” หรือ “เราให้คุณมากกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไป” จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เป็นการเผชิญหน้ากับ7-Eleven โดยตรง

การขยายครือข่ายมากขึ้น และการเกิดขึ้นของสถานีบริการแบบใหม่     ไม่เพียงจะถือจุดเริ่มต้นที่ปตท.เริ่มสร้างอาณาจักรธุรกิจค้าปลีกของตนเองย่างจริงจังเท่านั้น  ยังมีความพยายามสร้างพันธมิตรรายสำคัญใหม่ๆด้วย   เมื่อปลายปีที่แล้ว(กันยายน 2552) ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก หรือ PTTRM ผู้บริหารเครือข่ายสถานีบริการใหม่ (PTT-Jiffy) ได้ทำสัญญากับบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัดบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล โดยกิจการในเครือเซ็นทรัล จะมาเป็นผู้บริหารการจัดซื้อสินค่าในเครือข่ายของ Jiffy ทั้งหมด

บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต   โดยเฉพาะTops Market, Tops Super และ Tops Deli ถือว่าเป้นกลุ่มธุรกิจไทยที่มีประสบการณ์และโนวฮาวในเรื่องค้าปลีกมากที่สุดก็ว่าได้    สำหรับปตท.ถือเป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นหนึ่งแสดงถึงความมุ่งมัน ในการเรียนรู้และพัฒนาธุรกิจค้าปลีก   โดยหวังว่ากลุ่มเซ็นทรัลจะสามารถบริหารจัดซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ Jiffy ทุกแห่งในปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการวางรากฐานรองรับการขยายกิจการในอนาคต

เป็นเรื่องบังเอิญ ทั้งซีพี และเซ็นทรัล  ล้วนคู่แข่งในความพยายามซื้อกิจการ Carrefour      แม้ว่าซีพีจะไม่มีลุ้นในรอบสุดท้าย แต่มิได้หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อซีพี

ส่วนกลุ่มไทยเจริญของเจริญ สิริวัฒนภักดี จะมีหุ้นในปตท.มากน้อยเพียงใด  หรือเป็นคู่ค้าระดับระดับหนึ่ง ผมไม่มีข้อมูล   รู้แต่ว่าบุคคลสำคัญๆในสังคมไทย ล้วนถือหุ้นในปตท.ด้วยกันทั้งนั้น  เช่นเดียวกับโครงสร้างธุรกิจขนาดใหญ่เช่นปตท. ย่อมมีคู่ค้าทั้งรายย่อยรายใหญ่จำนวนมาก ซ่อนอยู่ในวงจรใดวงจรหนึ่ง  ถ้าเป็นเช่นนั้นจริง  เบอร์ลียุตเกอร์กิจการในเครือไทยเจริญ คู่แข่งรายสำคัญของเกมนี้  อาจถือว่าเป็น“ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ” ของปตท.ด้วย

ว่าไปแล้วในความหมายกว้าง ในฐานะบรรษัทภิบาล  ผู้บริหารควรให้สำคัญกับ “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” มากขึ้น         ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Stakeholders หมายถึงบุคคล องค์กร ชุมชน และระบบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกิจการโดยรวม ว่าไปแล้วหมายถึงตั้งแต่พนักงาน ลูกค้า ผู้ถือหุ้น คู่ค้า ชุมชน และระดับสังคม สามารถกล่าวรวมได้อย่างกว้างขวาง   แต่ความจริง ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างแท้จริง ไม่ว่ากรณีใด รวมทั้ง ปรากฏการณ์แรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ที่ปตท.  ล้วนมาจากกลุ่มอิทธิพลเพียงบางกลุ่ม ของคำนิยามอันสวยหรูนั้น

ปตท.ได้เขาสู่วงจรใหม่ที่น่าสนใจ    ในฐานะกิจการที่เติบโต  กิจการที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาเซียน และมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจอย่างมากด้วย  ยิ่งเมื่อปตท.ใหญ่มากขึ้น  ย่อมมี “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ” ทั้งจำนวนและอิทธิพลมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น อย่างไม่คาดถึง

 

***

ปี2546 จัดตั้งบริษัทรีเทล บิสสิเนส อัลไลอัล จำกัด   บริหารร้านสะดวกซื้อ 7-Ele ven ที่ปตท.เป็น  Franchisee และรับจ้างบริหารสถานีบริการปตท. โดยปตท.ถือหุ้น49% ซีพีและทิพยประกันภัย ถือหุ้น31% และ  20% ตามลำดับ

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: