ซีพี-เอสซีจี บทเรียนการลงทุนในตะวันตก

ซีพีตั้งโรงงานอาหารสัตว์ที่โปรตุเกสและตุรกีตั้งแต่ปี 2528 ด้วยเป้าหมายในความพยายามเข้าสู่ตลาดยุโรปที่มีกำลังซื้อ กำลังขยายใหญ่ เมื่อตลาดร่วมยุโรปกำลังเกิดขึ้น   จนถึงวันนี้เป้าหมายสำคัญนั้นยังไม่บรรลุ

กิจการอาหารสัตว์ เป็นวงจรสำคัญในระบบธุรกิจครบวงจรของซีพี จึงเริ่มต้นก่อนอื่น  แต่ในที่สุดการลงทุนทั้งโปรตุเกสและสเปนก็ไม่รอด เหลือเพียงตุรกีเท่านั้นที่ยังอยู่และขยายกิจการออกไปอย่างดี  แต่อย่างไรก็ตามตุรกียังไม้ได้เข้าเป็นสมาชิกตลาดร่วมยุโรป

 มีการสรุปบทเรียนกันว่า ระบบธุรกิจครบวงจรของซีพีนั้นไม่เหมาะกับประเทศมีการพัฒนาระบบโลจิสติกส์  การค้าและการตลาด ในขั้นดี อย่างประเทศโปรตุเกส(อ้างจาก CP Group: From Seeds to ‘Kitchen of the World’” INSEAD EURO-ASIA CENTER 2002)  

 แต่สำหรับประเทศอิสลามอย่างตุรกี กลับตรงข้าม  ปีที่แล้วกิจการในตุรกีประสบความผลสำเร็จอย่างดี มียอดขายกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท กำไรประมาณพันล้านบาท 

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร( CPF) ในฐานะแกนของกลุ่มอาหารของซีพี แสดงผลกไรมากกว่าหนึ่งหมืนล้านบาท สูงขึ้นกว่าเดิมมาก โดยมีการอธิบายไว้ด้วยว่า มาจากผลประกอบในตุรกีด้วย

TileCera ก่อตั้งปี2533 เป็นกิจการร่วมทุนระหว่างเอสซีจีและบริษัท Stilgress ผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกอิตาลี ด้วยสัดส่วนถือหุ้น 80/20 เข้าไปลงทุนธุรกิจกระเบื้องเซรามิกในสหรัฐอเมริกา ทั้งเรื่องการผลิต เเละจัดจำหน่าย เนื่องจากเล็งเห็นว่าประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดขนาดใหญ่อันดับ 5 ของโลก

ปีเดียวกันนั้นก็ส่ง ผู้บริหารคนไทยคนแรกไปดูแลกิจการในต่างประเทศ  เริ่มตั้งแต่การก่อสร้างโรงงานซึ่งกินเวลานานถึง 2 ปี ระหว่างนั้นได้เรียนรู้ความเป็นจริงของตลาดที่ไม่เป็นไปตามแผนการเดิม จึงมีการปรับเปลี่ยนกลางคัน จากจะผลิตสินค้าในลักษณะที่เป็น Mass ซึ่งเป็นสินค้าสินค้านำเข้าราคาถูก ไปผลิตสินค้าที่มีตลาดเฉพาะราคาสูงแทน จึงต้องเผชิญอุปสรรคในเรื่องของความพร้อมของกำลังคน และเทคโนโลยี

ความพยายามหา Partner เป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากบริษัทอิตาลี ถือว่ามีเทคโนโลยีการผลิตสินค้าตลาดบน ถือว่าการลงทุนผลิตในสหรัฐฯ แข่งขันกับกระเบื้องนำเข้าจากอิตาลี   อย่างไรก็ตามก็ได้ บริษัท Fin floor ประเทศอิตาลีมาร่วมทุน ในฐานะผู้ชำนาญการด้านเทคโนโลยีการผลิตและการพัฒนาบุคลากร และได้รับสิทธิการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของกลุ่ม Fin floor แต่ผู้เดียว

 TileCera มีปัญหาเรื่องการผลิตมาโดยตลอด หลังจากวิกฤตทางการเงินในปี 2540 สถาบันทางการเงินที่ปล่อยเงินกู้ได้ตัดสินใจเรียกคืนเงินกู้ทั้งหมด  TileCera ต้องประสบปัญหาอย่างหนัก ขณะนั้นเอสซีจีเองก็มีปัญหา จึงตัดสินใจขายกิจการ

กิจการประสบปัญหาขาดทุนต่อเนื่องมาอีก   ต้องใช้เวลาปีกว่าๆ  สุดท้ายก็ได้ขายกิจการให้กับFlorim (สหรัฐอเมริกา) บริษัทในเครือ Florim Italy ซึ่งเป็นผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกชั้นนำในอิตาลี ในปี 2543

บทเรียนสำคัญในกรณีนี้ ก็คือ  แนวการบริหารงานกิจการต่างประเทศ จะต้องเป็นไปทางเดียวกับทั้งกับยุทธ์ศาสตร์และการบริหารของเอสซีจี    โดยเฉพาะต้องผลิตสินค้าสำหรับตลาดในระดับเดียวกับตลาดในเมืองไทย

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: