Digital TV

กสทชปรากฏการณ์ Digital TV กับสังคมไทย เป็นเรื่องท่าตื่นเต้นอีกเรื่องหนึ่งที่กำลังเกิดขึ้น   ในเชิงธุรกิจแล้ว เป็นเรื่องโอกาสและการสร้างสรรค์อย่างน่าสนใจ อย่างน้อยก็มีสีสันมากกว่าเรื่อง 3G

 

เชื่อกันว่าภายในปีนี้ สังคมไทยจะมีทีวีใหม่อีก48 ช่อง โดยระบบใหม่จะทำให้จอสีเหลี่ยมตามอาคารบ้านเรือนทั่วประเทศ มีความสามารถมากขึ้นกว่าเดิมอย่างมหัศจรรย์ จากเทคโนโลยี่ที่พัฒนาไปไกลในขั้นสำคัญ จาก analog  สู่ digital

เทคโนโลยี่สำคัญเกี่ยวกับทีวีมีความคมชัดสูง (High Definition) ทีวีระบบสามมิติ (3D) ทีวีลักษณะโต้ตอบ (Interactive) เช่น VDO-on-Demand และทีวีเคลื่อนที่ (TV-on-Mobile) ไปจนถึงเป็นส่วนหนึ่งของการบริการทางการเงิน เพื่อตอบสนองกับวิถีชีวิตสังคมสมัยใหม่ ที่มีความสัมพันธ์กับSocial technology และ social media อย่างแนบแน่น

ผู้บริโภค

ผมค้อนข้างมีความเห็นสวนทางกับกระแสทั่วไป เกี่ยวกับความกังวล ว่าด้วยสังคมไทยจะต้องใช้เวลามากพอสมควรในการปรับตัวเข่ากับ Digital TV   เช่นเดียวกับบางประเทศ

ผมเชื่อว่าสังคมไทยมีความอ่อนไหวกับกระแสโลกอย่างน่าทึ่ง  โดยเฉพาะสังคมเมืองและหัวเมือง  ปรากฏการณ์เหล่านั้นเกิดขึ้นมาแล้ว  โดยเฉพาะปรากฏการณ์เกี่ยวกับสินค้าไลฟ์สไตล์ และเชื่อมโยงกระแสสังคม      การเปลี่ยนผ่านระบบสู่ Digital TVมิใช่เรื่องเทคโนโลยี่ หากเป็นกระแสสังคม ซึ่งบังเอิญความพยายามเปลี่ยนผ่านระบบนี้ในสังคมไทย เกิดขึ้นท่ามกลางเปลี่ยนผ่านของหลายประเทศทั่วโลก   ภายใต้การพัฒนาเทคโนโยลี่หรือระบบ Digital TVระดับโลก อยู่ในระยะที่สุกงอมเพียงพอด้วย ถือเป็นจังหวะทีมีโมเมนตัมที่แรงพอจะทำให้สังคมไทยตื้นเต้นและถูกกระชากเข้าสู่กระแสอันเชี่ยวกรากได้ไม่ยาก

ในภาพกว้าง Digital TV ยังมีพลังเสริมนอกจากตัวมันเองด้วย   เพราะการเปลี่ยนผ่านระบบอยู่ท่ามกลางกระแสของการตื่นตัววิถีชีวิตสมัยใหม่ เชื่อมโยงโดยเฉพาะกับ smart phoneกับ social media กลายเป็นระบบที่หลอมรวมอย่างน่าตืjนเต้น มีพลังมากขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

ผู้ประกอบการ

โอกาสมาจากความเท่าเทียมอ้างอิง

หนึ่ง–การเปิดประมูล Digital TVมีความแตกต่างกับการประมูลใบอนุญาต 3G อันอื้อฉาวมากทีเดียว     การประมูลใบอนุญาตสื่อสารไร้สาย 3G  เป็นการจัดระบบผลตอบแทนของรัฐใหม่ มีความต่อเนื่องจากระบบสัมปทานเดิม  ให้มีชัดเจน และ(ดูเหมือน)เท่าเทียมมากขึ้น     จากโครงการสัมปทานเดิมที่มีลักหลั่น แต่ความเป็นไป เท่าที่จับต้องและติดตาม ผลที่ออกมาเป็นการสร้างความเข้มเข้มต่อเนืองเฉพาะให้กับกลุ่มธุรกิจเดิม  ส่วนการประมูลใบอนุญาต Digital TV มีแนวคิดพื้นฐาน มาจากความจำเป็นต้องเปลี่ยนระบบทั่วทั้งสังคมจาก Analog  สู่  Digital โดยหวังว่าหลังจากการเปลี่ยนผ่านระบบในมิติทางสังคมเป็นไปอย่างสมบูรณ์แล้ว จึงจะตา,มาด้วยแนวคิดพื้นฐานว่าด้วยการจัดระบบ ผลตอบแทนของรัฐ  อันเนื่องมาจากผู้ประกอบดาร Digital TV ทุกรายจะเข้ามาอยู่ในระบบมาตรฐานว่าด้วยผลตอบแทน และการกำกับของรัฐ

สอง—การลงทุน Digital TV เป็นโครงการใหม่ตั้งแต้ต้น แม้จะมีการมองว่า เป็นความต่อเนื่องจากสัมปทานทีวีเดิมอยู่บ้าง แต่เนื่องจากระบบทีวีเดิมส่วนใหญ่ไม้ได้อยู่ภายใต้ subscriber base เช่นสื่อสารไร้สาย    ความต่อเนื่องของฐานผู้ชมเดิม จึงเป็นเรื่องความสามารถของการบริการจัดการมากกว่า การส่งต่อความได้เปรียบที่เป็นทุนเดิม

การลงทุน Digital TV ใช้เงินน้อยกว่าระบบสื่อสารไร้สาย  แม้ว่านักวิเคราะห์บางรายระบุ การลงทุน Digital TVใช้เงินในระดับพันล้านบาทขึ้นไป อาจเป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาของผู้ประกอบการรายเล็ก พิจารณาจากตรรกะพื้นๆอาจเป็นความจริง แต่สังคมธุรกิจไทยยุคใหม่ ได้สร้างผู้ประกอบการจำนวนมากที่มีความสามารถในการระดมทุนระดับพันล้านบาทอย่างมากมาย โดยเฉพาะกลุ่มลงทุนหน้าใหม่ที่ไม่ใครรู้จัก กลุ่มนักลงทุนเหล่านี้ไม่เพียงอยู่ในเมืองหลวง หากอยู่ตามหัวเมืองด้วย ทั้งนี้ยังรวมไปถึงกลุ่มลงทุนรายเล็กๆหลายราย ที่สามารถรวมตัวกันเข้ามาสู่เวทีทีเปิดกว้างได้ด้วย

นี่คือปรากฎการณ์ใหม่และโอกาสใหม่ที่เปิดขึ้นอย่างเท่าเทียมมากขึ้น ซึ่งแตกต่างจากบริบทเดิม ของการเกิดขึ้นผู้ธุรกิจทีวีผู้ยึดครองตลาดไว้อย่างเหนียวแน่นในปัจจุบัน  ผู้ประกอบเก่าล้วนมาจากระบบอุปถัมภ์ มาจากการฉกฉวยโอกาสที่ถูกเปิดอย่างปกปิด   ตำนานการเกิดขึ้นของทีวีช่อง 3และช่อง7   เป็นเรื่องเฉพาะกรณีมากๆ อย่างทีเข้าใจกันดีอยู่แล้ว

–โอกาสมาจากความชุลมุน

ธุรกิจทีวีของไทยกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ    เป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน ทับซ้อน  และต่อเนื่อง  ทั้งมีกระบวนการหลอมรวมกันอย่างสับสน ระหว่างทีวีเดิม(Free TV) ทีวีบอกรับ (Pay TV) จากระบบสัมปทาน   ทีวีดาวเทียม และ Digital TV

ในความสับสนและซับซ้อน นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มักมองไปที่ความได้เปรียบของผู้ประกอบกรายใหญ่รายเดิม  ขณะที่ผมมองว่าเป็นโอกาสของรายใหม่ด้วยเช่นกัน   มาจากฐานความเชื่อของตนเองที่ว่า  รายใหญ่รายเดิมต้องมีแรงเฉื่อยในการพยุงรักษาและเคลื่อนย้ายโครงสร้างเดิมสู่โมเดลธุรกิจใหม่ รายเก่ามักอ้างอิงประสบการณ์เดิมที่เชื่อว่าเป็นสูตรสำเร็จ  กรณีการแข่งขันช่วงชิงลิขสิทธิ์ฟุตบอลPremier league    ที่ต้องตกอยู่รายใหม่ –CTH   หรือความจำเป็นของ True Visionในเครือธุรกิจยักษ์ใหญ่ซีพี จำต้องร่วมมือกับรายเล็กโนเนมอย่าง PSI   คงไม่เกินเลยหากจะสรุปว่า การเกิดขึ้นอย่างโดดเด่นของCTH และ PSI มาจากสมมติฐานที่ว่าโอกาสมาจากความชุลมุน

–การสร้างสรรค์ใหม่

ผมเชื่อว่า ในสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ  อันเองมาจากการพลิกโฉมหน้าของอุตสาหกรรม เทคโนโลยีและธุรกิจ  นอกจากจะมีการปรากฏตัวขึ้นของผู้มาใหม่ ผู้แข่งขันรายใหม่  ทีมาจากทั้งธุรกิจข้างเคียงหรือธุรกิจอื่นๆแล้ว  ยังปรากฏขึ้นของโมเดลธุรกิจใหม่ๆที่ไม่สามารถคาดเดาได้อย่างชัดเจนด้วย

เทคโนโลยี่และการประยุกต์      Digital TV เป็นเทคโนโลยีระดับโลกที่มีผู้คนสามารถเข้าถึง อย่างไม่จำกัด ท่ามกลางการพัฒนา แม้ว้าจะไปไกลมากแล้ว แต่ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การประยุกต์เทคโนโลยี เป็นเรื่องความคิดสร้างสรรค์ เป็นเรื่องการศึกษาบทเรียนซึ่งกันและกันในระดับโลก ฐานของเทคโนโลยีและการประยุกต์ เป็นพื้นฐานของโอกาสใหม่ของผู้คนที่ติดตามอย่างใกล้ชิดและศึกษาอย่างลึกซึ้ง   โดยสามารถนำมาใช้กับสังคมที่มีบุคลิกเฉพาะของท้องถิ่นได้อย่างดี

วงจรและแง่มุมทางธุรกิจ   Digital TV เป็นระบบที่มีห่วงโซ่ในหลายมิติ ทั้ง Digital TVเองมีหลายด้าน ในฐานะ Platform provider  และ Content provider    ทั้งนี้อาจรวมไปจนการเปลี่ยนผ่าน การหลอมรวมและการเชื่อมต่ออย่างสร้างสรรค์ ระหว่างระบบทีวีหลากหลายในประเทศด้วย

ระฆังเริ่มโหมโรงแล้ว

 

———————————————————————————————————–

 

ประเทศสำคัญ กับการเปลี่ยนผ่านสู่ Digital TV

 

ประเทศ                  เริ่มทดลอง                      เริ่มต้น                    เสร็จสิ้น

 

Germany                                                       2545                        2551

 

France                       2548                            2553                        2554

 

Italy                           2548                            2551                         2555

 

Japan                         2546                            2554                         2555

 

United Kingdom        2541                           2550                          2555

 

Australia                    2544                            2553                          2556

 

United States              2541                           2552                          2558

 

ตีพิมพ์ครั้งแรก ประชาชาติธุรกิจฉบับวันที่  15 กุมภาพันธ์ 2555

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: