ทิศทางปี2553/4(3)Sustainable Development

  

เอสซีจีพยายามแสดงบทบาทผู้นำแนวทางธุรกิจที่คลาสสิก ได้อย่างน่าสนใจ  การพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ขยายจินตนาการสู่ภาคธุรกิจแล้ว กำลังจะกลายกระแสหนึ่งที่ได้รับการตอบสนองกว้างขวางขึ้น   แม้ว่าจะมีพื้นฐานจากประสบการณ์ในช่วงเกือบศตวรรษทีผ่านมา แต่ก็คงต้องใช้เวลาเรียนรู้ ตีความ และปรับตัวพอสมควร

ดัชนี 

งานใหญ่– Thailand Sustainable Development Symposium 2010   จัดขึ้นโดยเครือซิเมนต์ไทยหรือเอสซีจีเมื่อไม่นานมานี้ ( 18 ตุลาคม ) คึกคักมากทีเดียว  แม้ว่าผู้ร่วมงานส่วนหนึ่งเป็นผู้บริหารของเอสซีจีเอง แต่ผู้คนแวดวงธุรกิจไทยอีกจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ  เอสซีจีถืองานนี้เป็นจุดเริ่มต้นรณรงค์ยุทธ์ศาสตร์ใหม่–  แนวทางการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืนอย่างแข็งขัน  และถือโอกาสโฆษณาความสำเร็จ กรณีเอสซีจีได้รับการจัดอันดับให้เป็นองค์กรชั้นนำด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน จาก Dow Jones Sustainability Indexes หรือ DJSI เพียงรายเดียวในประเทศไทย

ดัชนีนี้( DJSI) เริ่มต้นเมือปี  2542  เกิดจากความร่วมมือระหว่างเจ้าของฐานข้อมูล  Dow Jones Indexes  และระบบข้อมูลข้องบริษัทการลงทุน SAM  (บริษัทลงทุนเฉพาะทาง ให้ความสำคัญกับกิจการที่มีแนวทางพัฒนาอย่างยั่งยืน  สำนักงานอยู่ทีZurich Switzerland  ) เพื่อเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับผู้จัดการกองทุนในการบริหารการลงทุน ในกิจการชั้นนำทั่วโลก DJSI (Dow Jones Sustainability Indexes) เป็นดัชนีชี้วัดการเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในด้านการบริหารธุรกิจที่มีมิติความสัมพันธ์กับสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นอัตราอ้างอิง กับบริษัทชั้นนำอื่น ๆในโลก (ศึกษารายละเอียดจาก www.sustainability-index.com  )

“สำหรับวิธีประเมิน  ด่าวโจนส์จะคัดเลือกบริษัทในตลาดทุนทั่วโลกที่เป็นผู้นำด้านพัฒนาอย่างยั่งยืน จากประมาณ 2,500 ราย เพื่อคัดเลือกให้เหลือ 10% ซึ่งจะได้รับเชิญให้เป็นสมาชิก DJSI   พร้อมทั้งจัดอันดับกลุ่มที่คะแนนสูงสุดเป็น 3 ระดับคือ Gold, Silver และ Bronze เอสซีจีได้รับเชิญเป็นสมาชิกตั้งแต่ปี 2547 และได้รับการประเมินอยู่ในระดับ Gold Class กลุ่ม Building Materials & Fixtures   3 ปีติดต่อกัน (2551-2553)”   ข้อมูลล่าสุดของเอสซีจีเองให้รายละเอียด       

ว่ากันว่าปีนี้ เอสซีจีมีเป่าหมายและมีความหวังว่า จะเป็นอันดับหนึ่งในกลุ่มซึ่งเรียกว่า Super sector   ซึ่งมีความสับสนในเรื่องนี้พอสมควร  

เมื่อวันที่  9  กันยายน  ก่อนThailand Sustainable Development Symposium 2010  DJSI ประกาศว่า เอสซีจีเป็น super sector  2010/2011ของกลุ่ม Construction & Materials  จากนั้นเพียงเดือนเดียว( 8ตุลาคม)ก็แถลงข่าวว่ามีความจำเป็นต้องประเมินข้อมูลใหม่   และแล้ววันที่  4  พฤศจิกายน    DJSI ประกาศทบทวนอันดับใหม่(มีผลถึงวันที่ 20 ธันวาคม ) ปรากฏว่า  Panasonic Electric Works Co. Ltd  แห่งญี่ปุ่นเป็น super sector  2010/2011 ในกลุ่มเดียวกันนั้นแทนที่เอสซีจี

“แม้จะเป็นความสับสนของ DJSI เอง   ไม่เกี่ยวกับเอสซีจี  เอกสารการแถลงข่าวของเอสซีจีจึงเสนอสับสนอยู่บ้าง  แต่ก็ถือว่าเสียหน้าบ่างเหมือนกัน ตรงที่เป็น Super sector เพียงเดือนเดียว”วงในคนหนึ่งระบุ

ทิศทางใหม่ 

จุดเริ่มต้นที่ควรกล่าวถึงมาจาก1992 Earth Summit หรือThe United Nations Conference  On Environment and Development (UNCED) โดยมีนักธุรกิจชาวสวิสคนหนึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงจัดกลุ่มธุรกิจ (Business Council for Sustainable Development (BCSD)) ขึ้นมาก่อนหน้า เพื่อสรรหาตัวแทนเข้าร่วมประชุมสุดยอดครั้งสำคัญครั้งนั้น

ถือว่าเป็นครั้งแรกก็ว่าได้ ปัญหาสิ่งแวดล้อมยกขึ้นเป็นปัญหาระดับโลกในมิติต่างๆ  ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ    ป่าไม้  และความหลากหลายทางชีวภาพ   ร่วมทั้งพยายามเชื่อมโยง ปัญหาเหล่านี้ กับกลุ่มคน องค์กร และระบบต่างๆอย่างกว้างขวางครั้งแรก ตั้งแต่ ภาครัฐ ระบบการเมือง  ไปสู่ภาคเอชน และร่วมทั้งภาคธุรกิจ ธนาคาร การเงิน ภาคบริการจนถึงอุตสาหกรรมด้วย   แนวคิดการพัฒนาอย่างยังยื่นในจินตนาการของธุรกิจระดับโลกเริ่มจับต้องมากขึ้น   ด้วยการนำไปตีความ ขยายวง เชื่อมโยงเข้ากับบริบทเฉพาะของตนเองอย่างจริงจังต่อจากนั้น

ในการประชุมครั้งนั้น ผมในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน ซึ่งเพิ่งเปิดหน้าข่าวสิ่งแวดล้อมขึ้นครั้งแรกในสื่อสิงพิมพ์ประเทศไทย  ได้ส่งนักข่าวไปสังเกตการณ์การประชุมครั้งนั้นด้วย   ผมยังจำได้ดีว่า นักข่าวรุนใหม่ของผมพยายามตีความเชื่อมโยงมิติสิ่งแวดล้อมเข้ากับธุรกิจไทยอย่างเต็มที่  เช่นเดียวกันผมยังเก็บของฝากที่ระลึกทำด้วย Feldspar ติดป้ายว่า RIO92 BRASILไว้อย่างดี

 จากนั้นอีก 3 ปี World Business Council for Sustainable Development (WBCSD)   ก็เกิดขึ้น   ต่อมาเป็นองค์กรของภาคธุรกิจระดับโลกที่มีผู้บริหารสูงสุดเข้าร่วมอย่างเอการเอางาน มีสมาชิประมาณ200 ราย โดยการรับเชิญ ประเทศไทยมีเพียง เอสซีจี และปตท.เท่านั้นที่เป็นสมาชิก (ศึกษารายละเอียดจาก   www.wbcsd.org )

ในงาน Thailand Sustainable Development Symposium 2010     กานต์ ตระกูลฮุน ผู้จัดการใหญ่เอสซีจี บรรยายข้อหัวที่เป็นหัวใจของงานได้ดี เชื่อว่าสามารถสร้างแรงจูงใจผู้ฟังอย่างมาก   ว่าด้วยทิศทางใหม่ของธุรกิจไทย อันสืบเนืองมาจากความเสี่ยงและความท้าทายใหม่  ถือเป็นปัญหาและแนวโน้มระดับโลก   มาจากปัจจัยสำคัญหลายประการ  หนึ่ง-การเติบโตของประชากรในประเทศกำลังพัฒนาและการขยายตัวของเมืองอย่างรวดเร็วภายใต้ทรัพยากรที่จำกัด   สอง-ภูมิอากาศเปลี่ยนกระทบต่อสังคมมากขึ้น  สาม- กฎกติการะดับโลกโดยเฉพาะในภาคธุรกิจว่าด้วยเรื่องนี้เข้มงวดมากขึ้น  สี่-สื่อและสาธารณะชนมีอิทธิพลในยุคปัจจุบัน ให้สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างมาก  และห้า-นักลงทุนระดับโลกให้ความสำคัญมากขึ้นในกิจการที่มีแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน(หากสนใจเพิ่มเติมดู  Presentation เรื่อง “Building Sustainable Business — Challenges and Opportunities” ได้จาก  www.scg.co.th/sdsymposium  )

บทเรียนเอสซีจี

การยกระดับและตีความจาก DJSI ให้กว้างขึ้นเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องละเอียดอ่อนพอสมควร

การพัฒนาอย่างยั่งยืนในแนวทางการบริหารธุรกิจ พยายามสร้างสมดุลในภาพกว้างระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม การตีความและความเข้าใจเชิงประยุกต์ของแนวทางนี้ระหว่างนักลงทุนระดับโลก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย( Stakeholder) ย่อมมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง

เช่นเดียวกับความพยามอ้างอิงดัชนีระดับโลก สำหรับกิจการขนาดใหญ่เป้าหมายของนักลงทุนระดับโลก   มิใช่ภาพสะท้อนสังคมไทยโดยรวม หรือแม้ เอสซีจีกับปตท. กำลังเดินหน้าในเรื่องนี้ไปในแนวทางเดียวกัน ก็ควรจะมีมิติที่แตกต่างกัน ผมเองไม่แน่ใจนักว่าดัชนีระดับโลกนี้ จะสามารถตอบคำถามสำคัญ ทีเชื่อมโยงกับ”ผู้มีส่วนส่วนเสีย”ในสังคมได้ทั้งหมดหรือไม่

DJSI จัดเอสซีจียังอยู่ในกลุ่มชั้นนำ  ถือว่าอยู่ในระดับเดียวกับกิจการใหญ่ระดับโลก    ในระดับSuper sector ที่เอสซีจีตั้งเป้าอย่างสูงไว้นั้น ปรากฏว่าไม่มีบริษัทจากสหรัฐฯเลยแม่แต่บริษัทเดียว   ส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป (ปี2010/2011     มีถึง 12 รายจากทั้งหมด19 ราย) ขณะที่บริษัทญี่ปุ่น 2 ราย สิ่งที่เป็นประเด็นก็คือ ธุรกิจสหรัฐฯยังจะต้องปรับตัวพอสมควรกับมาตรฐานใหม่นี้ เช่นเดียวกับเอสซีจีที่ยึดถือโมเดลการบริหารของบริษัทอเมริกันอย่างเข้มข้นในช่วงที่ผ่านมา โดยหันเหออกจากศึกษาแนวทางของบริษัทญี่ปุ่นไปบ้าง 

จากนี้ไปบทเรียนที่น่าสนใจในเรื่อง Sustainable Development ของยุโรปจะมีอิทธิพลต่อเอ้ซีจีมากขึ้น ผู้บริหารภายใต้การนำของกานต์ ตระกูลฮุน จะมีแนวคิดในเชิงบริหารที่เปิดว้างและสมดุลมากขึ้น

เท่าที่ผมอ่านรายงานการประเมินกลุ่มธุรกิจที่อยู่ในฐานผู้นำ—super sector-ตาม   DJSI นั้น มีความเชื่อมโยงอย่างจำกัดและเฉพาะเจาะจงพอสมควร โดยเฉพาะ Panasonic Electric Works แห่งญี่ปุ่น ซึ่งเป็น super sector ของ Construction and Materials ถือว่าเป้นกลุ่มเดียวกับเอสซีจี ณวันที่ตีพิมพ์ต้นฉบับนี้

ด้านเศรษฐกิจ ว่าด้วย บรรษัทภิบาล (Corporate Governance)   นโยบายการต่อต้านผูกขาดทางธุรกิจ (Antitrust Policy   ) การบริหารวิกฤติการณ์และความเสี่ยง (Risk and Crisis Management) และบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า (Costomer Ralationship Management)

ด้านสิ่งแวดล้อม  ว่าด้วยการบริหารจัดการเพื่อลดผลกระทบภูมิอากาศ(Climate Strategy) ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) การบริหารจัดการการขนส่ง (Transport and Logistics) อย่างมีประสิทธิภาพ   และการทำงานรายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม (Environmental Reporting)

ด้านสังคม   มาตรฐานสำหรับคู่ค้า( Standard for suppliers) และการพัฒนาความสามารถและคุณภาพชีวิตของพนักงาน (Human Capital Development)   และการสร้างจูงใจและรักษาพนักงานที่มีความสามารถ (Talent Attraction and Retention

ผมเดาเอาว่า จุดเด่นของเอสซีจีมี 3 ประเด็นสำคัญในดัชนี DJSI   ซึ่งได้คะแนนสูงกว่าหัวข้ออื่นๆ อยู่ในระดับเดียวกับ Super sector แต่ก็มีบริบทและเรื่องราวน่าสนใจนอกเหนือจาก Chart หรือ Diagram

ด้านเศรษฐกิจ —   การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า(Costomer Ralationship Management) ประสบการณ์และเรื่องราวที่น่าทึ่งของระบบความสัมพันธ์กับผู้แทนการค้าในอดีตที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ยุคเมื่อราว 3-4 ทศวรรษที่แล้ว    และโดดเด่นขึ้นมากในยุคอมเรศ   ศิลาอ่อน ดูแลการตลาด ถือเป็นจุดแข้งของเอสซีจีมายาวนาน บทวิเคราะห์ของนักลงทุนต่างชาติมักจะให้ความสำคัญเรืองนี้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันสถานการณ์เปลี่ยนไปมาก ความสัมพันธ์ผู้แทนจำหน่าย เป็นเพียงมิติเดียว ในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อนี้เอสซีจีกำลังโลดเล่นเข้าสู่ตลาดผู้บริโภคโดยตรงมากขึ้น

 ด้านสิ่งแวดล้อม–  การบริหารจัดการการขนส่ง (Transport and Logistics) เป็นเรื่องเด่นอีกเรื่องนี้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจากยุคสร้างระบบความสัมพันธ์กับผู้แทนจำหน่าย โดยเฉพาะในยุค จรัส ชูโต เป็นผู้ดูแลงานด้านปฏิบัติการ (สมัยนี้เรียกว่า Logistics) เป็นผลงานโดดเด่นจนขึ้นเป็นผู้จัดการใหญ่ในเวลาต่อมา ต้องยอมรับว่ายุคต่อมามีการพัฒนาระบบนี้พอสมควร โดยเฉพาะยุคหลังวิกฤติการณครั้งใหญ่ เพื่อสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ผมก็ยังไม่แน่ใจมีความสัมพันธ์หรือมีดัชนีใด บ่งชี้โดยตรงต่อ”สิ่งแวดล้อม”อย่างเด่นชัด

ด้านสังคม–การพัฒนาความสามารถและคุณภาพชีวิตของพนักงาน (Human Capital Development)  เป็นพัฒนาการต่อเนื่องยาวนาน มาจากมาตรฐานของยุโรป ตั้งแต่ยุคผู้จัดการชาวเดนมาร์ค  โยจัดระบบอย่างดีในยุคมืออาชีพคนไทย   นักวิเคราะห์ต่างชาติสนใจดัชนีนี้มักจะอยู่ที่งบลงทุน ด้านการพัฒนาบางด้านในจุดเริ่มต้น โดยเฉพาะการฝึกอบรมอย่างขนานใหญ่ ถือว่าเอสซีจีให้น้ำหนักมากที่สุดในบรรดาธุรกิจไทย ทว่าความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาบุคคลหรือสวัสดิการที่ดี กับความสามารถในภาคปฏิบัติที่เป็นเลิศอย่างเป็นจริง หรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องมีดัชนีอย่างชัดเจน  ผมยังมองว่าผู้บริหารระดับกลางเอสซีจี อยู่ในระดับมาตรฐานทั่วไปเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น

ดูเหมือนเอสซีจีอ้างอิงจากยุคมืออาชีพไทย(ราวปี 2515-2535) ถือเป็นจุดสูงสุดทั้งความสำเร็จทางธุรกิจและได้รับการยอมรับในฐานะองค์กรธุรกิจชั้นนำยุคใหม่อย่างแท้จริง

เส้นทางสายใหม่ของเอสซีจีวันนี้ แม้จะอาศัยรากฐานเดิม(จะโดยเข้าใจหรือไม่ก็ตาม) แต่ยังคงทอดยาวไปข้างหน้า อีกพอสมควรทีเดียว

พัฒนาการสำคัญยุคกานต์ ตระกูลฮุน

กรกฎาคม 2547 ขึ้นดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการใหญ่

สิงหาคม 2547 การจัดงาน “Innovation: Change for Better Tomorrow”

ปลายปี 2548 เผยแพร่โฆษณาทีวีชุดใหม่สำหรับเครือข่ายทีวีระดับภูมิภาค โดยมีกานต์ ตระกูลฮุนอยู่ในโฆษณาชิ้นนี้แทนชุมพล ณ ลำเลียง ถือเป็นการโฆษณาชุดใหม่ต่อเนื่องจากปี 2547 โดยใช้สโลแกนว่า dedicated to the sustainable growth of ASEAN

มกราคม 2549 ดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่

มีนาคม 2549 เริ่มใช้ชื่อ Siam Cement Group เป็น SCG โดยมีคำว่า Siam Cement Group เล็กลง ด้วยการโฆษณาทางหน้าหนังสือพิมพ์รายวันหลายฉบับ  ถือเป็นการทำ branding ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเครือซิเมนต์ไทย ตามเป้าหมายในการขึ้นเป็น regional leader

กลางปี 2551   ประกาศแผนสร้างองค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน ผ่านกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม ทุ่มงบวิจัยและพัฒนา 6,000 ล้านบาท ใน 5 ปี เพื่อมุ่งสู่ผู้นำธุรกิจในอาเซียน

มีนาคม 2552    ตีตราผลิตภัณฑ์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เปิดตัวฉลาก “SCG eco value”ซึ่งจัดทำขึ้น เพื่อรับรองนวัตกรรมสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างมูลค่าให้แก่ผู้บริโภค และผู้ใช้บริการ โดยแสดงถึงความพยายามอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พฤษภาคม  2552   เปิดตัว Green Elephant Building โดยการปรับปรุงอาคารสำนักงานของ SCT ให้เป็น “Green Elephant Building” ด้วยงบประมาณ 12 ล้านบาท ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าลงได้ถึง 40% และได้รับการรับรองให้เป็นอาคารอนุรักษ์พลังงานดีเด่น “ฉลากทอง” จากกระทรวงพลังงาน เป็นรายแรกของประเทศ

ตุลาคม2553 Thailand Sustainable Development Symposium 2010

ซึ่งจัดขึ้นโดยเอสซีจี เพื่อแลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน เกิดเป็นเครือข่ายความร่วมมือของภาคส่วนต่าง ๆ และมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างธุรกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน    ในงานนี้ถือโอกาสแถลงข่าว เอสซีจีได้รับ Dow Jones Sustainability Index (DJSI) Gold Class ในกลุ่ม Building Materials & Fixtures ติดต่อกันเป็นปีที่3 ด้วย

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: