ความผันแปรและวิกฤติทางสังคม มักเป็นภาพสะท้อนสะเทือนภาพย่อยของสังคมเสมอ ในยุคชุมพล ณ ลำเลียง วิกฤติการณ์และโอกาสครั้งใหญ่ของเอสซีจีไม่ได้เกิดขึ้นครั้งเดียวเท่านั้น
ในช่วง 14 ตุลาคม 2516 – 6 ตุลาคม2518 ถือเป็นช่วงหัวเลี้ยวตัวต่อของสังคมไทย ความผันแปรทางการเมืองมีความเชื่อมโยงกับการเคลื่อนไหวของสาธารณะชนอย่างกว้างขวางเป็นครั้งแรกๆของสังคมไทย เอสซีจีในฐานะธุรกิจขนาดใหญ่ และผลิตสินค้าถือเป็นดัชนีทางเศรษฐกิจหนึ่งของประเทศ กำลังอยู่ในของความพยายามปรับตัวตั้งใหญ่ใน 2ประเด็น
หนึ่ง-ความพยายามเปลี่ยนผ่านจาการบริหารจากชาวเดนมาร์กซึ่งเป็นตำนานความสำเร็จและยิ่งใหญ่ ไปสู่ยุคคนไทย
สอง-ความพยายามปรับองค์กรให้มีความยืดหยุ่นกับการแสวงหาโอกาสใหม่ที่กว้างขึ้น ด้วยการนำ “คนนอก”ผู้มีประสบการณ์หลากหลายในกิจการต่างประเทศ เข้ามาผสมประสานกับ “คนใน” ซึ่งมีพื้นฐานจากวิศวกร ก่อให้เกิดความสับสนและไม่ลงตัวอยู่ระยะหนึ่ง
ทั้งสองกรณีต้องการเวลาในระยะผ่านพอสมควร ช่วงเวลาแห่งความสับสนและความผันแปรของภาพรวมเศรษฐกิจและสังคม สำหรับเอสซีจีแล้ว เป็นช่วงปรับตัวและรอคอยโอกาสที่เหมาะสมทีเดียว
แม้ว่าเอสซีจี เผชิญกับปัญหาพื้นฐานที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง การกำหนดเราคาสินค้าปูนซีเมนต์เพื่อความสมดุลของผลประประกอบการได้ ไม่สามารถทำได้อย่างต้องการเช่นที่เคยเป็นมาได้ ความจริงเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นมาแล้วในยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครองในช่วงปี 2475 แต่ก็พยุงราคาตัวรอดมาได้ (หากมีโอกาส จะขออรรถาธิบายเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ) แต่ในช่วงนี้มีปัญหาหนักกว่า เอสซีจีต้องประสบปัญหาขาดทุนเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ในปี 2518
การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เกี่ยวข้องเอสซีจีโดยตรงเสมอ และอีกครั้งที่สำคัญในช่วงปี2516 กรรมการหลายคนต้องออกจากตำแหน่ง ไปดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะ สัญญา ธรรมศักดิ์(นายกรัฐมนตรี) บุญมา วงศ์สวรรค์(รัฐมนตรีคลัง) และโอสถ โกศิน(รัฐมนตรีอุตสาหกรรม) ทั้งที่ความจริงแล้ว กรรมการหรือผู้บริหารของเอสซีจีในอดีตหลายคน มีความสัมพันธ์ทางการเมืองในมิติที่จับต้องได้ทำนองนี้มาเสมอ แต่ที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือสถานการณ์ทางการเมืองทีสาธารณชนโดยเฉพาะ นักศึกษา ปัญญาชน และผู้ใช้แรงงานพยายามเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจัง สร้างประเด็นทางการเมืองโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมและที่เปิดกว้างมากขึ้น การแสดงออกวิพากษ์วิจารณ์ว่าด้วย เรื่องการผูกขาดของธุรกิจขนาดใหญ่บางธุรกิจ เป็นกระแสหนึ่งที่รุนแรงพอสมควรในเวลานั้น แม้ว่ารัฐบาล ว่ากันว่ามิได้มาจากระบบประชาธิปไตยเต็มใบ(ในช่วงเวลานั้นมีรัฐบาล สัญญา ธรรมศักดิ์ รัฐบาลเสนีย์ และคึกฤทธิ์ ปราโมช) และความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปมัยกับเอสซีจี ยังต้องดำเนินนโยบายอย่างชัดเจนครั้งสำคัญ ในความพยายามกำกับราคาสินค้าซีเมนต์ มิให้มีขึ้นราคาตามที่เคยเป็น
ชุมพล ณ ลำเลียง อยู่ในสถานการณ์นั้น ในปีที่เอสซีจีขาดทุนครั้งแรก ไม่เพียงเป็นนักการเงินที่เข้าใจสถานการณ์ เขาอยู่ท่ามกลางผู้คนที่มีบทบาทของสังคมไทยจากนั้นมา ถือเป็นครั้งแรกอยู่ท่ามกลางสังคมวงใน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์และความสำคัญของบทบาทในเวลาต่อมา เช่นเดียวกับมีบทบาทสนับสนุนในบทสรุปที่สำคัญของเอสซีจี ความพยายามสร้างแนวทางใหม่อย่างชัดเจน ในการแสวงโอกาสที่กว้างขวาง ไม่ยึดเพียงการผลิตสินค้าซีเมนต์ ซึ่งกำลังกลายเป็นสินค้าการเมืองมากขึ้น ถูกท้าทายในเรื่องการผูกขาด หรือการแข่งขันน้อยรายมากขึ้น
ผลพวงสงครามเวียดนาม
เรื่องราวสยามคราฟต์มีคำอรรถาธิบายมากมาย มักกล่าวถึงความสำเร็จของการบริหารสมัยใหม่ ถือว่าเป็นหน้าฉากสำคัญของเอสซีจีในยุคมืออาชีพคนไทย แต่อีกมิติหนึ่ง ความสำเร็จนั้นมิได้มาโดยง่ายเลย กระบวนการลองผิดลองถูกนับสิบปีทีเดียว และคนที่มีบทบาทอย่างสำคัญต่อเนื่อง คือ ชุมพล ณ ลำเลียง ในฐานะผู้รู้เรื่องราวการเงินอย่างดี บทบาทการวิเคราะห์ปัญหากิจการ และวางแผนงานเข้าแก้ไขปัญหากิจการ จากฐานทางการเงิน กลายเป็นเรื่องสำคัญของเอสซีจีตั้งแต่นั้นมา อย่างไรก็ตามในภาพกว้างเรื่องราวของสยามคราฟต์ พัฒนาจากผลพวงของบทบาทสหรัฐฯในสงครามเวียดนามด้วย
สยามคราฟต์เกิดขึ้นการการสนับสนุนของสถาบันการเงินสหรัฐฯ และบริษัทขายเครื่องจักรจากสหรัฐฯในกระบวนลงทุนในพื้นที่ใหม่ในอาณาบริเวณส่วนขยายของสงครามเวียดนาม เพราะเป็นโครงการที่ได้สนับสนุนจากรัฐ และเป็นการผลิตกระดาษเพื่อทำถุงบรรจุซีเมนต์ เอสซีจีจึงเข้ามาเกี่ยวข้องตั้งแต่ต้นในฐานะผู้ถือหุ้นข้างน้อย ปัญหากิจการไม่เพียงเกิดจากการบริหารจัดการที่เป็นบทสนทนามากที่สุดในบรรดาการอ้างความสำเร็จของผู้บริหารเอสซีจีรุ่นก่อน แต่ความจริงอาจเกี่ยวข้องกระแสการถอนตัว การปรับแผนของนักลงทุนสหรัฐฯและจากกลุ่มโลกตะวันตกอื่น ในช่วงหลังการพ่ายแพ้ในสงครามเวียดนาม รวมทั้งกระแสการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และการปรับตัวครั้งใหญ่ของธุรกิจในโลกตะวันตก ไม่เพียงสยามคราฟต์เท่านั้น เอสซีจีเข้ายึดครองกิจการอื่นๆในทำนองเดียวกันในเวลาเต่อมาด้วย เช่น กิจการสุขภัณฑ์ของ Amitage Shank (UK) ยางรถยนต์ Firestone (US) และแบตเตอรี Chloride (UK) เป็นต้น สะท้อนภาพการปรับแผนและถอนการลงทุนของธุรกิจระดับโลกอย่างจำแนก จากประเทศไทยหรือภูมิภาคนี้
เอสซีจี เข้ามาเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหากิจการ สยามคราฟต์ ตั้งแต่ปี 2518 ใช้เวลาอีกนับสิบปี กว่ากิจการจะต่อยอดสร้างเป็นกลุ่มธุรกิจกระดาษครบวงจรอย่างชัดเจน ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้าสู่ธุรกิจอื่นๆ ไม่อยู่กรอบของการควบคุมการตั้งราคา เช่นปูนซีเมนต์ อีกต่อไป
มาจากญี่ปุ่น
สังคมไทยหลังสงครามเวียดนามถือเป็นช่วงการปรับตัวครั้งใหญ่ จากความต่อเนื่องของการผนวกระบบเศรษฐกิจไทยครั้งแรกๆเข้ากับระบบเศรษฐกิจโลก เผชิญความผันแปรจากวิกฤติการณ์น้ำมันติดต่อกันหลายครั้ง สินค้าเกษตรส่งออกของไทยราคาตกต่ำ วิกฤติการเงินในต่างประเทศ ลามมาถึงไทย ทั้งปัญหาครั้งใหญ่ของสถาบันการเงิน และตลาดหุ้นไทย ที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ได้ไม่นาน ผลกระทบขยายวงจากภาคเศรษฐกิจไม่ใช่การผลิตโดยตรง ลามไปถึงภาคผลิต ส่งผลให้อุตสาหกรรมไทยทั้งระบบ ซึ่งเพิ่งก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างไม่นานนัก ต้องถูกบังคับให้ปรับตัวครั้งใหญ่ ในที่สุดรัฐบาลต้องลดค่าเงินบาท ซึ่งถือเป็นการใช้ยาแรงครั้งแรกๆของระบบเศรษฐกิจไทย
เอสซีจี นอกจากขาดทุนครั้งแรกในปี2518 แล้ว จากนั้นสามารถประคองตัวผ่านวิกฤติการณ์ช่วงหนักหนาสำหรับสังคมธุรกิจไทยมาได้อย่างดี การปรับตัวด้วยมาตรการการเงินพอสมควร เมื่อเผชิญผลกระทบการลดค่าเงินบาท ในฐานะมีเงินกูต่างประเทศในสัดส่วนค่อนข้างมาก
คำถามที่ควรตอบอีกครั้ง ทำไมเอสซีจี จึงเอาตัวรอดจากสถานการณ์นั้นได้ แล้วสามารถก้าวผ่านจากวิกฤติการณ์ มาแสวงหาโอกาสครั้งใหญ่ในเวลาต่อจากนั้น
คงต้องยอมรับเบื้องต้นว่า เอสซีจีในยุคคนไทย คงไม่มียุคไหนเช่นยุคนั้น เป็นทีรวมของผู้บริหารระดับกลางขึ้นไป ผู้มีความสามารถ มีประสบการณ์จำนวนมาก เป็นภาพที่ชัดเจน เด่นออกมาจากวงการธุรกิจไทยส่วนใหญ่ อยู่ในภายใต้การบริหารระบบครอบครัวอย่างเข้มข้น และเพิ่งเข้าใจบางระดับถึงความสำคัญของการบริหารจัดการสมัยใหม่ เมื่อเผชิญช่วงวิกฤติการณ์นั่นเอง ที่สำคัญเป็นพิเศษมีนักการเงินคนสำคัญอยู่ในภาคอุตสาหกรรม แทนที่อยู่ภาคการเงินเหมือนคนอื่นๆ ชุมพล ณ ลำเลียง อยู่ในเอสซีจี ภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสมและต่อเนื่อง แม้ว่าเมื่อศึกษาจากอดีต มีข้อต่อสำคัญของสถานการณ์เอสซีจีในยุคเดนมาร์กในทำนองเดียวกัน โดยไม่พิจารณาปัจจัยหนึ่ง–พลังอันน่าเชื่อว่ามีพลังเป็นพิเศษของผู้ถือหุ้นแล้ว มักปรากฏผู้บริหารมีความสามารถแตกต่างกันไป ตามช่วงเวลาและสถานการณ์ที่แตกต่างกัน หลายช่วงผู้บริหารเดนมาร์กเป็นนักการเงิน เช่นเดียวกัน นี่คงเป็นบทเรียนอีกบทหนึ่งที่สำคัญไม่ใคร่พูดถึง บางช่วงบางตอนของเอสซีจีในยุคเดนมาร์ก
อีกมุมหนึ่ง เอสซีจี มีความความสัมพันธ์กับระบบการเงินไทยมากขึ้น หลังจากผ่านระยะการปรับตัวของระบบธนาคารไทยในช่วงต่อเนื่องกัน โดยเฉพาะธนาคารไทยพาณิชย์ยุคหลังปี 2520 กองทุนเติบโตขึ้น มีความสามารถในการประกอบการมากขึ้น ว่าไปแล้ว ถือว่าอยู่ในแผนการต่อเนื่องและสอดประสานกับเอสซีจีในการปรับโครงสร้างธุรกิจครั้งใหญ่ ด้วยนำมืออาชีพมีความรู้ประสบการณ์เข้ามาบริหารธนาคารเก่าแก่ที่สุด อนุรักษ์นิยมที่สุด คนหนึ่งในนั้นคือ ธารินทร์ นิมมานเหมินทร์ ต่อมาเขามีบทบาทมากขึ้น พร้อมๆกับมีความสัมพันธ์ทางยุทธ์ศาสตร์กับเอสซีจีมากขึ้น ในฐานะคนรุ่นเดียวกันกับ ชุมพล ณ ลำเลียง เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยืดหยุ่นทางการเงินของเอสซีจีมีมากขึ้น ทั้งนี้ยังมีธนาคารกสิกรไทย ธนาคารมีความก้าวหน้าอีกแห่งหนึ่ง คอยสนับสนุนไม่มากก็น้อย ในฐานะมีผู้ความสัมพันธ์กับเอสซีจีทั้งในแง่บุคคลและโครงสร้างการถือหุ้นและการจัดการ ในฐานะบัญชา ล่ำซำ เป็นกรรมการเอสซีจี ตั้งแต่ยุคปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ต่อเนืองมา นอกจากนี้รัฐบาล โดยเฉพาะมาจากความคิดและผลงานของอดีตผู้จัดการใหญ่เอสซีจีคนหนึ่งเอง(สมหมาย ฮุนตระกูล) ก่อตั้งสถาบันการเงินเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมไทย ( ไอเอฟซีที )ขึ้นเป็นการเฉพาะ และเป็นทีรู้กันว่าลูกค้ารายใหญ่รายหนึ่ง คือเอสซีจี
ตอนนั้น เอสซีจี เป็นภาพองค์กรธุรกิจที่ดีมาก ในฐานะผู้ถือหุ้นเป็นสถาบันสำคัญของประเทศ และเป็นองค์กรธุรกิจที่มีภาพพจน์และเชื่อว่ามีความสามารถในการบริหารในระดับสูง
วิกฤติการณ์ระดับโลก มิเพียงประเทศไทยเท่านั้น ต้องเผชิญและปรับตัว ญี่ปุ่นก็เผชิญปัญหาและแรงบีบคั้นในทำนองเดียวกัน ในฐานมีการลงทุนในเมืองไทยมากพอสมควรโดยเฉพาะในระยะใกล้เคียงกับกระแสตะวันตกในช่วงสงครามเวียดนาม หลังสงครามยังลงทุนต่อ และแนวโน้มมากขึ้น จากนั้นจึงตามมาด้วยยุทธ์ศาสตร์ใหม่ ย้ายแหล่งผลิตไปยังตลาดผู้บริโภคมากขึ้น ตลาดไทยเป็นฐานของญี่ปุ่นอย่างมั่นคงแล้ว ถือเป็นเป้าหมายการขยายลงทุนที่มีความสำคัญอันดับต้นๆในภูมิภาคนี้ ความจำเป็นในการแสวงหาผู้ร่วมทุนที่เหมาะสมมีมากเป็นพิเศษ และคาดเดากันว่าญี่ปุ่นซึ่งมี Trading company ของบรรดาเครือข่ายยักษ์ใหญ่ฝั่งตัวในเมืองไทยมายาวนานนั้น มองเห็นตัวเลือกสำคัญได้ไม่ยาก ทั้งนี้พร้อมด้วยสายสัมพันธ์พิเศษ เป็น”สะพานเชื่อม”อย่างบังเอิญและน่าทึ่ง – สมหมาย ฮุนตระกูล ในฐานะนักเรียนเก่า มีความสัมพันธ์ที่ดีกับญี่ปุ่น เคยเป็นทั้งผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ และเอสซีจีมาก่อน ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีคลังคนสำคัญ ตลอดช่วงรัฐบาลเปรม ติณสูลานนท์ด้วย
การลงทุนของญี่ปุ่นในส่วนเกี่ยวอุตสาหกรรมพื้นฐาน มักร่วมทุนกับเอสซีจี (ส่วนกิจการอื่นๆอีกบางส่วน ร่วมมือกับธนาคารไทยพาณิชย์) โดยเฉพาะเอสซีจีดูเป็นภาพกว้าง กระจัดกระจาย แต่ในที่สุดจากภาพย่อยนั้น ได้ก่อตัวเป็นภาพใหญ่ที่สำคัญของอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์ อุตสาหกรรมใหญ่ในระบบเศรษฐกิจไทย ต่อมาได้ตระหนักว่าอยู่ภายใต้ยุทธ์ศาสตร์ของอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่นซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมทีทรงอิทธิพลในระดับโลกแล้ว
ขณะที่เอสซีจีได้ผ่านช่วงการบริหารใช้เงินกู้ต่างประเทศเป็นหลัก ไปสู่ยุทธ์ศาสตร์การร่วมทุน ถือเป็นยุทธ์ศาสตร์ในการใช้เงินคนอื่นๆ ลงทุนขยายกิจการอย่างขนานใหญ่ และต่อเนื่อง ภายใต้ยุทธ์ศาสตร์การร่วมทุนนี้ บทบาทการวางแผน การวิเคราะห์โครงการ การบริหารร่วมทุน ในฐานะผู้ร่วมทุนที่ไม่มีเทคโนโลยีของตนเอง เอสซีจีจึงมุ่งที่การบริหารการเงิน และบุคคล
หากมองโฟกัสไปยัง ชุมพล ณ ลำเลียง ในช่วงนั้น ได้เรียนรู้เทคนิค และมีประสบการณ์การบริหารเงินอย่างช่ำชอง นำไปประยุกต์อย่างหลากหลายกรณี โดยเฉพาะในยุทธ์ศาสตร์การขยายกิจการจากอย่างต่อเนื่อง จากสินทรัพย์ระดับพันล้านบาท พุ่งเป็นแสนล้านบาท ภายในช่วงสองทศวรรษเท่านั้น แต่อย่างไรบทบาทของเขา ยังจำกัดในเชิงปฏิบัติการ อาจถือว่าเป็นบทบาททางเทคนิค สนับสนุนยุทธ์ศาสตร์ ซึ่งเอสซีจีมักมิใช่เป็นผู้กำหนดอย่างแท้จริง หรือจะกล่าวอีกนัย เป็นยุทธ์สาสตร์แบบตั้งรับ
การขยายกิจการด้วยยุทธ์ศาสตร์ รอคอยโอกาส รอผู้เสนอให้เลือกนั้น แม้เป็นโอกาสที่หากยากมากสำหรับกิจการทั่วไปในประเทศไทย บ่อยครั้งผู้บริหารเอสซีจี แสดงออกถึงความภาคภูมิใจในทางทางการเติบโตและอาณาจักรธุรกิจยิ่งใหญ่ได้ด้วยวิธีนี้
หากไม่มีเหตุการณ์ ปี 2540 คงคิดเช่นนั้นไปอีกนาน
เช่นเดียวกับ ชุมพล ณ ลำเลียง ถือเป็นการสะสมประสบการณ์ในระยะผ่าน ไปสู่บทใหม่ในฐานะผู้บริหารอุตสาหกรรมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย พร้อมด้วยยุทธ์ศาสตร์และทางเลือกของตนเองอย่างแท้จริงในเวลาต่อมา
ยุคต่อไป คือยุคเอสซีจี เรียนรู้จะมียุทธ์ศาสตร์ของตนเอง แต่มิได้หมายความว่า เป็นหลักประกันความสำเร็จทางธุรกิจ