ระบบการเงินไทย:ภาพใหญ่ภาพใหม่

ภาพการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีผลกระทบกว้าวงขวาง  บางภาพมิได้เห็นอย่างชัดเจนในทันที   

นี่อาจจะเป็นครั้งแรกๆ  ภาพใหญ่ของระบบการเงินในประเทศไทย  แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างพลิกผันอย่างชัดเจนมากขึ้นๆในระยะทศวรรษที่ผ่านมา  หลังวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญ

ความเห็นของหน่วยงานสำคัญของรัฐให้ภาพไว้อย่างน่าสนใจ และเป็นความเข้าใจพื้นฐาน  “ด้วยในระบบเศรษฐกิจเสรี ระบบการเงินเป็นกลไกสำคัญยิ่งในการจัดสรรทรัพยากรระหว่าง ภาคเศรษฐกิจ จากผู้ที่มีเงินออมไปยังผู้ที่ต้องการเงินทุน ซึ่งจะก่อให้เกิดการลงทุน การผลิตและ การจ้างงาน อันเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตและมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ ระบบสถาบันการเงินที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยส่งเสริมหน้าที่ของระบบการเงินให้สามารถ ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น” คำอรรถบายภาพอย่างสั้นและได้ชัดและได้ใจความของธนาคารแห่งประเทศไทย ผู้กำกับดูแลระบบการเงิน(คัดมาจากบทความ  ระบบการเงินไทย 3 เมษายน 2551 โดยอ้างว่า คัดย่อจาก ธาริษา วัฒนเกส. “การเปิดเสรีและเสถียรภาพของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย.” (เอกสารวิจัยส่วนบุคคลตามหลักสูตร การป้องกันราชอาราจักรภาครัฐ เอกชน และการเมือง รุ่นที่ 3 ประจำปีการศึกษาพุทธศักราช 2548-2549)

บทความที่อ้างข้างต้นได้ให้ภาพความเปลี่ยนแปลง และความพยายามผลักดันการเปลี่ยนแปลงสำคัญไว้ด้วย

ระบบการเงินของประเทศไทยมีลักษณะเป็น Bank-Based โดยธนาคารพาณิชย์ และเป็นกลุ่มที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจมากกว่าในระบบ Market-Based อย่างไรก็ดี สืบเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ประเทศไทยได้พัฒนาตลาดการเงินต่าง ๆ ให้มีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ เพื่อเพิ่มแหล่งเงินทุนและทางเลือกในการลงทุนของภาคเอกชน อีกทั้งยังป้องกันผลกระทบจาก การพึ่งพาธนาคารพาณิชย์มากเกินไป

บทบาทที่เพิ่มขึ้นของตลาดทุนยังเป็นแรงผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์ปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้วย โดยการขยายบริการเพื่อรองรับพัฒนาการของตลาดทุน เช่น การออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่เพิ่มขึ้น และการประกอบธุรกิจจัดการกองทุน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อให้ธนาคารพาณิชย์พัฒนาศักยภาพด้านการแข่งขัน เพิ่มทางเลือกในการลงทุน และลดความเสี่ยงด้านการเงินให้แก่ทั้งภาคการเงิน ภาคธุรกิจ และประชาชน ตลอดจนเพิ่มฐานรายได้ของธนาคารพาณิชย์ประเภทค่าธรรมเนียม นอกเหนือจากรายได้หลักด้านดอกเบี้ย กล่าวได้ว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากความได้เปรียบของขนาด (Economy of Scale) และใช้ประโยชน์จาก การต่อยอดธุรกิจ (Economy of Scope) ได้ดีขึ้น

มีประเด็นสำคัญที่ควรเน้นในสองด้าน

หนึ่ง—บทบาทธนาคารดั้งเดิมกำลังถูกกดดันให้มีการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งมีโอกาสเพิ่มบริการต่างๆอย่างครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะขยายบริการให้ครบวงจรเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยครอบคลุมไปยังตลาดทุนโดยตรง ดังที่ได้กล่าวมาบ้างแล้วในบทที่หนึ่ง   ขณะเดียวกันธนาคารต้องเผชิญแรงกดดันจากการแข่งขันมากขึ้น นับวันตลาดทุนขยายตัวมากขึ้น โดยมีคู่แข่งขันหน้าใหม่รายสำคัญ ๆไม่ใช้ระบบธนาคารเดิม

สอง-ด้านผู้ใช้บริการทั้งผู้ออมและผู้ลงทุน(ตามนิยามของบทความธนาคารแห่งประเทศไทย)  มีทางเลือกมากขึ้น

ระบบการเงินใหม่สร้างทางเลือกและโอกาสให้กับผู้คนหลากหลายมากขึ้นกว่ายุคระบบธนาคารครอบครัวก่อนหน้านั้น นี่อาจจะเป็นบทสรุปหนึ่งของภาพใหญ่ภาพใหม่ที่น่าสนใจ

ภาพที่ใหญ่ขึ้นยังมีอีกภาพหนึ่ง ถือเป็นบทสรุปที่เร้าใจมากขึ้นด้วย

เครือข่ายธนาคารระดับโลกมีพื้นที่และโอกาสในประเทศไทยอย่างมากมายอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นับตั้งแต่หลังจากยุคอาณานิคมเมื่อศตวรรษที่แล้ว ขณะที่ธนาคารไทย มีแรงบันดาลใจก้าวพ้นพรมแดนตัวเองด้วยเครือข่ายที่พยายามสร้างขึ้นยังเป็นไปอย่างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเปรียบเทียบระบบธนาคารชั้นนำในภูมิภาคเดียวกัน

ธนาคารไทยเริ่มต้นอย่างจริงจังหลังสงครามโลกครั้งที่2 ในช่วงธนาคารอาณานิคมถอนตัวออกจากเมืองไทย ภายใต้ยุทธ์ศาสตร์ส่งเสริมกิจการไทย และมองธนาคารเป็นตัวแทนหรือชิ้นส่วนสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทยที่ควรได้รับการปกป้อง คุ้มครอง โดยอ้างอิงกับความมั่นคงของระบบเศรษฐกิจ และการดูแลเงินของสาธารณชน ธุรกิจธนาคารกลายเป็นแกนกลางของสังคมธุรกิจไทย เป็นโมเดลทางธุรกิจที่ผู้คนไผ่ฝันและพยายามเข้าสู่   แต่ในที่สุดระบบคุ้มครองธนาคารไทยดำเนินมาราวครึ่งศตวรรษก็พังทลายลง

ในช่วงแห่งความเข้มแข้งนั้น ระบบธนาคารไทยเกือบทั้งหมด เป็นธนาคารพาณิชย์ที่ดำเนินกิจการในประเทศไทย โดยถือหุ้นใหญ่ และบริหารโดยคนไทย  แม้จะมีความผันแปร และมีปัญหากิจการบ้าง แต่รัฐก็เข้าโอบอุ้ม ขณะที่ธนาคารต่างชาติมีเพียงสาขา (ขณะนั้นรัฐไทยให้ธนาคารต่างชาติแต่ละแห่ง ดำเนินกิจการในประเทศไทย อย่างมากที่สุดก็คือทำหน้าที่เป็นสาขาธนาคารเพียงหนึ่งแห่งเท่านั้น)  ส่วนหนึ่งเป็นธนาคารเก่าแก่ในยุคอาณานิคมแต่ถูกลดทอนบทบาท บางส่วนได้ข้ามาในฐานะเป็นธนาคารของระบบเศรษฐกิจใหม่ที่มีอิทธิพลต่อเมืองไทยในช่วงตั้งแต่สงครามเวียดนามเป็นต้นมา โดยเฉพาะธนาคารจากสหรัฐฯ และญี่ปุ่น

จากข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยล่าสุด แสดงสถาบันการเงินไว้อย่างครบด้วน( แต่ในที่ขอยกเป็นฐานอ้างอิงเฉพาะที่มีความสำคัญ) สะท้อนภาพชัดเจน บทบาทเครือข่ายธนาคารต่างชาติมีมากขึ้นในสังคมไทย

ทั้งนี้หากลงรายละเอียด  ดังที่ผมเคยเสนอมาบ้าง เฉพาะในส่วนที่เรียกว่าธนาคารพาณิชย์ไทย  อาจแบ่งเป็น 4 ประเภท หนึ่ง—ถือหุ้นและบริหารโดยคนไทย สอง—ธนาคารร่วมทุนมีธนาคารต่างชาติร่วมถือหุ้นไม่เกินกึ่งหนึ่งด้วย และธนาคารต่างชาติมักจะมีบทบาทในการบริหารพอสมควร (โมเดลนี้ก็คือเป้นครั้งแรกที่เกิดขึ้นระบบธนาคารไทยเช่นเดียวกัน) สาม—ธนาคารที่ถือหุ้นใหญ่และบริหารโดยเครือข่ายธนาคารต่างชาติ (รัฐไทยอนุญาตให้ธนาคารต่างชาติ ดำเนินกิจการธนาคารพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ)

ในความยายามขยายเครือข่ายของระบบธนาคารระดับโลก พัฒนามาจากบทบาทสนับสนุนเครือข่ายลูกค้าหรือธุรกิจที่มาจากฐานเดียวกัน สู่ยุทธ์ศาสตร์ใหม่ขยายเครือข่ายลูกค้าใหม่  พรมแดนใหม่   ไม่จำกัดเฉพาะลูกค้ารากฐานเดิมอีกต่อไป

ในระดับภูมิภาคธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารในสิงคโปร์ มาเลเซีย  และจีน  มีเป้าหมายชัดเจน  ระบบธนาคารเป็นกลไกขับเคลื่อนแนวทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค สอดรับกับแนวทางการเปิดเสรีในเขตเศรษฐกิจอาเซียนทีกำลังจะทำงานอย่างเต็มที่ไม่ช้านี้

ส่วนระบบธนาคารไทยดั้งเดิม ทำงานด้วยยุทธ์ศาสตร์อย่างคับแคบ เป้าหมายใหญ่เพียงเพื่อสนับสนุนธุรกิจและขยายอาณาจักรธุรกิจในเครือข่ายครอบครัวของผู้ถือหุ้นใหญ่ และพันธมิตรของตนเอง ครั้นเผชิญวิกฤติ จึงกลายเป็นวิกฤติที่ร้ายแรง  ปัจจุบันมีความคิดและแนวทางเกี่ยวกับยุทธ์ศาสตร์ระดับภูมิภาคแตกต่างกันไป  ซึ่งดูเหมือนต้องใช้เวลาเรียนรู้ และปรับตัวอีกพอสมควร เพื่อเข้าสู่แนวทางหรือแนวความคิดเกี่ยวกับยุทธ์ศาสตร์ที่กว้างขวางขึ้น

บางที่อาจเป็นภาพสะท้อนถึงยุทธ์ศาสตร์ใหญ่ของสังคมธุรกิจไทยด้วย

 

———————————————————————————————————————————————-

สถาบันการเงินไทยที่สำคัญ

ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

 

 ธนาคารพาณิชย์ไทย ‎(14)

ธ. กรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ธ. กรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ธ. กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ธ. กสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ธ. เกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

ธ. ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

ธ. ทหารไทย จำกัด (มหาชน)

ธ. ทิสโก้ จำกัด (มหาชน)

ธ. ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ธ. ธนชาต จำกัด (มหาชน)

ธ. นครหลวงไทย จำกัด (มหาชน)

ธ. ยูโอบี จำกัด (มหาชน)

ธ. สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

ธ. ไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย ‎(2)

ธ. ไทยเครดิต เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)

ธ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ เพื่อรายย่อย จำกัด (มหาชน)

ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารต่างประเทศ ‎(1)

ธ. เมกะ สากลพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

สาขาของธนาคารต่างประเทศ ‎(15)

ธ. เครดิต อะกริกอล คอร์ปอเรทแอนด์อินเวสเมนท์แบงก์

ธ. เจพีมอร์แกน เชส

ธ. ซิตี้แบงก์

ธ. ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น

ธ. ดอยซ์แบงก์

ธ. เดอะรอยัลแบงก์อ๊อฟสกอตแลนด์ เอ็น.วี.

ธ. บีเอ็นพี พารีบาส์

ธ. มิซูโฮ คอร์ปอเรต จำกัด

ธ. แห่งโตเกียว-มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ จำกัด

ธ. แห่งประเทศจีน จำกัด

ธ. แห่งอเมริกาเนชั่นแนลแอสโซซิเอชั่น

ธ. อาร์ เอช บี จำกัด

ธ. อินเดียนโอเวอร์ซีส์

ธ. โอเวอร์ซี-ไชนีสแบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

ธ. ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น จำกัด

สำนักงานผู้แทนธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ‎(25)

AUSTRALIA& NEW ZEALAND BANKING GROUP LTD.

BANK OFBARODA

CATHAYUNITED BANK

CHINATRUST COMMERCIAL BANK LIMITED

COMMERZBANK AKTIENGESELLSCHAFT

CREDIT INDUSTRIEL ET COMMERCIAL (CIC)

CREDIT SUISSE

DBS BANK LTD.

DEG – DEUTSCHE INVESTITIONS – UND ENTWICKLUNGSGESELLSCHAFT MBH

FIRST COMMERCIAL BANK

ICICI BANK LIMITED

ING BANK N.V.

JAPAN FINANCE CORPORATION

KfW IPEX-Bank GmbH

MERRILL LYNCH INTERNATIONAL BANK LIMITED

NATIXIS

RESONA BANK, LIMITED

THE BANK OFNEW YORK

The Bank ofNova Scotia

THE HACHIJUNI BANK, LTD.

The Hiroshima Bank Limited

THE SUMITOMO TRUST & BANKING CO.,LTD.

UBS AG

WELL FARGO BANK, NATIONAL ASSOCIATION

พงสะหวัน แบ๊งค์ ลิมิเต็ด

สถาบันการเงินเฉพาะกิจ ‎(8)

ธ. พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

ธ. เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

ธ. เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

ธ. ออมสิน

ธ. อาคารสงเคราะห์

ธ. อิสลามแห่งประเทศไทย

บรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย

บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

มติชนสุดสัปดาห์   9 กันยายน  2554

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: