เครือข่ายแห่งเครือขาย

     

โครงสร้างธุรกิจธนาคารในประเทศไทยเปลี่ยนไปแล้ว  แต่ภาพที่น่าสนใจแล้วแต่ละมุมมอง  แม้ว่าผมๆได้เขียนถึงมาบ้าง แต่มิติสำคัญบางมิติยังจำเป็นต้องให้ภาพสำคัญเป็นพิเศษ

โดยเฉพาะบทบาทธนาคารหลักๆในประเทศไทยในระยะสำคัญในการเตรียมตัวเข้าระบบเศรษฐกิจระดับภูมิภาคที่กำลังหลอมรวมเข้าด้วยกันมากขึ้นในไม่ช้านี้

เครือข่ายธนาคารเดิม

ธนาคารในประเทศไทยขนาดใหญ่คือผู้อยู่รอดในระบบท่ามกลางวิกฤติการณ์ และปรากฏการณ์ของความผันแปรในช่วงกว่าทศวรรษมานี้ ธนาคารหลักๆของไทย ดูเผินๆยังสามารถครอบครองเครือข่ายในประเทศไว้ได้ แต่ความจริง มีเรื่องราวละเอียดอ่อนอย่างมาก

ธนาคารกรุงเทพ อาศัยความสัมพันธ์กับธุรกิจจีนแผนดินใหญ่พยุงตัวเอาตัวรอดและสามารถกลับมายืนอย่างมั่นคงอีกครั้ง  ด้วยความพยายามแสดงบทบาทใหม่ในฐานะธนาคารที่มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นและการบริหารภายใต้ยุทธ์ศาสตร์ของตนเองในการสร้างเครือข่ายในระดับภูมิภาคมากที่สุด

ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะผู้นำธนาคารที่แสงดบทบาทการบริหารตามาตรฐานตะวันตกมากที่สุดแห่งหนึ่ง  พยายามปรับระบบโครงสร้างองค์กร ภายใต้เครือข่ายและบทบาทที่กว้างขึ้น  โดยเริ่มจากประเทศไทย ทั้งมีความพยายามสร้างเครือข่ายในระดับภูมิภาคเป็นจุดๆ โดยให้จีนแผ่นดินใหญ่เป็นเป้าหมายสำคัญ แต่ความสำเร็จดูจะยังไม่ถึงตามที่ต้องการนัก

ธนาคารไทยพาณิชย์เอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์มาได้ด้วยมาตรการ 14 สิงหาคม โดยมีผู้คนวิจารณ์ถึงอำนาจพิเศษบางอย่างที่มาโอบอุ้มไว้ด้วยการเข้ามาถือหุ้นใหญ่ของผู้ถือเดิมด้วยวิธีน่าสนใจ   แต่ที่น่าสนใจจากนั้นธนาคารนี้มองยุทธ์ศาสตร์ในการสร้างเครือข่ายในภูมิภาคอินโดจีน มาก่อนวิกฤติการณ์ปี 2540 แต่ดูยังไม่มียุทธ์ศาสตร์จากนั้นอย่างแน่ชัด

เครือข่ายธนาคารภูมิภาค

ช่องทางที่เปิดกว้างครั้งใหญ่สำหรับธนาคารต่างชาติให้เข้ามาเป็นธนาคารท้องถิ่นของไทยนั้น ล้วนมาจากวิกฤติการณ์ทางการเงินโดยเริ่มต้นขึ้นในช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เมื่อปี  2540 เป็นต้นมา

ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย (เข้าซื้อกิจการธนาคารไทยซึ่งมาจากรวมกิจการธนาคารสหธนาคารที่มีปัญหากับบริษัทเงินทุนอีกหลายแห่ง)   ธนาคารยูโอบี (เริ่มต้นเข้าซื้อกิจการธนาคารแหลมทอง  ต่อมาชื้อกิจการธนาคารเอเชีย ซึ่ง ABN Amro แห่งเนเธอร์แลนด์เป็นผู้ถือหุ้นก่อนหน้านั้น มารวมกัน)     และธนาคารไอซีบีซี (ซื้อกิจการธนาคารสินเอเชียซึ่งเป็นธนาคารตั้งใหม่ในปี2547 โดยธนาคารกรุงเทพ)     ซึ่งสะท้อนบทบาทและยุทธ์ศาสตร์การปรับตัวของระบบธนาคารในภูมิภาค เพื่อรับการเปลี่ยนแปลง ถือว่าเป็นครั้งแรกๆที่เครือข่ายธนาคารระดับภูมิภาค สร้างเครือข่ายเข้าถึงผู้บริโภคไทยได้โดยตรง

ภาพสะท้อนแสดงความชัดเจน  คือความกระตือรือร้นของธนาคารในภูมิภาคเดียวกับไทย   มีแรงจูงใจมากเป็นพิเศษ  คือUnited Overseas Bank (UOB)แห่งสิงคโปร์ CIMB แห่งมาเลเซีย และ Industrial and Commercial Bank of China แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ธนาคารเหล่านี้ มีความเคลื่อนไหวอย่างคึกคักในช่วงทศวรรษในความพยายามเป็นธนาคารท้องถิ่นในภูมิภาคและถือว่าประสบความสำเร็จในการขยายเครือข่ายทั่วภูมิภาคนี้

เครือข่ายธนาคารระดับโลก

Standard Chartered Bank แห่งอังกฤษ ถือเป็นธนาคารต่างชาติที่ปักหลักในสังคมไทยมายาวนานตั้งแต่ยุคอาณานิคม (2437) และพยายามรักษาสาขาในเมืองไทยมาตลอด แม้หลังสงครามโลกครั้งที่สองในที่สุดเข้าถือหุ้นใหญ่ธนาคารเก่าแก่อันดับสองของไทย–ธนาคารหวั่งหลี (ก่อตั้งปี2476) ในช่วงวิกฤตการณ์ (2542) เปลี่ยนชื่อเป็น ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดนครธน ต่อมาเข้าถือหุ้นทั้งหมด (2548) แล้วเปลี่ยนชื่อเป็นธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย)

ธนาคารทหารไทย(เปลี่ยนชื่อเป็นทีเอ็มบีเมื่อปี  2548 ) ชื่อเดิมสามารถบอกที่มาได้ ก่อตั้งเพื่อเป็นธนาคารของทหารในยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แต่สถานการณ์บีบบังคับ ต้องใช้มืออาชีพบริหาร นับได้ว่าธนาคารแห่งนี้ดำเนินมาอย่างดีพอสมควร จึงสามารถเป็นฐานสำคัญในช่วงปรับโครงสร้างธนาคารไทยครั้งใหญ่ หลังวิกฤติการณ์มีการเข้าควบรวมสถาบันการเงินที่มีปัญหาเข้ากับธนาคาร  ภายใต้การปรับโครงสร้างครั้งใหญ่   ธนาคารทหารไทยมีการปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้นอย่างน่าสนใจ  เริ่มจาก DBSBank ธนาคารอันดับหนึ่งของสิงคโปร์ จากนั้นไม่นาน( 2550)มีธนาคารจากยุโรปเข้ามาเสริมความแข้งแกร่งด้วย ING Bank N V ธนาคารจากเนเธอร์แลนด์ เข้ามาถือหุ้นประมาณ 30%    โดยมีทีมงานเข้ามาอยู่ในการบริหารธนาคารตั้งแต่ระดับกรรมการ กรรมการบริหาร และทีมจัดการ  ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ว่าING จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นข้างมาก ด้วยความพยายามเจรจาซื้อหุ้นของกระทรวงการคลัง หากเป็นเช่นนั้นถือเป็นเครือข่ายธนาคารต่างชาติอย่างสมบูรณ์

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา แม้ดูมิได้เผชิญปัญหาและการเปลี่ยนแปลงมากมายนักในช่วงวิกฤติการณ์ แต่เนื้อแท้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายช่วง 3-4ปีมานี้    GE CAPITAL เข้ามาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ โดยถือหุ้นธนาคารมากกว่า 30% ที่สำคัญผู้บริหารในตำแหน่งสำคัญ( ประธานกรรมการบริหารและผู้จัดการใหญ่ )เป็นชาวต่างชาติ มีประสบการณ์จากGE CAPITALด้วย  เป็นทีทราบกันว่า GE CAPITAL  เป็นหนึ่งกิจการของ GE Group USA  เครือข่ายธุรกิจระดับโลก ขายสินค้าและบริการทางเทคโนโลยีอย่างหลากหลาย รวมทั้งบริการทางการเงินด้วย GE CAPITAL ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญการเงินรายย่อย  ในช่วงหลังการเข้ามาของ GE CAPITAL (ปี 2551-2 )   ธนาคารกรุงศรีอยุธยาได้เข้าซื้อกิจการหรือเพิ่มการลงทุนถือหุ้นในกิจการเช่าซื้อรถยนต์ และสินเชื่อรายย่อยของ GE CAPITALเดิมที่มีอยู่ในเมืองไทย  นอกจากนี้ยังซื้อธนาคารเอไอจีเพื่อรายย่อย และกิจการไม่โครไฟแนนช์ในกลุ่มAIGในประเทศไทยด้วย     ธนาคารกรุงศรีอยุธยาปัจจุบัน คือเครือข่ายการเงินเพื่อรายย่อยทีครบวงจรรายใหญ่ในประเทศไทย

ธนาคารธนชาต แม้เป็นธนาคารเกิดใหม่ในปี 2547แต่แรงบันดาลใจมีมากมาย ทั้งนี้ธนาคารแห่งนี้มีความเชื่อมโยงกับผู้ก่อตั้งคนสำคัญ–บันเทิง ตันติวิทย์ ถือเป็นมืออาชีพที่มีความเชี่ยวชาญทางการเงินในการเข้ามากอบกู้กิจการเงินเล็กๆจนแข็งแรงและพัฒนาไป และถือว่าในรุ่นเดียวกับบุคคลสำคัญๆในแวดวงทั้งผู้กำหนดนโยบายทางการเงิน และผู้กว้างขวางในสังคมการเงินไทย

The Bank of Nova Scotia ธนาคารชั้นนำของแคนาดาเข้าถือหุ้นในธนาคารธนชาต เมื่อปี2550โดยข้อผ่อนผันให้ถือหุ้นถึง49% มีตัวแทนของธนาคารแคนาดาเข้ามาเป็นกรรมการธนาคาร3 คน ก่อนหน้านั้นธนาคารธนชาตมีการปรับโครงสร้างรวมธุรกิจหลักทรัพย์ ประกันภัยและลิสซิ่งเข้าในเครือข่ายธนาคารด้วย ถือว่าเป็นช่วงเดียวกันกับ The Bank of Nova Scotia มีความเคลื่อนไหวอย่างจริงจังในย่านเอเชีย จากนั้นไม่นานได้เข้าซื้อกิจการธนาคารนครหลวงไทย หากนำเครือข่ายสาขาในประเทศทั้งสองแห่งมารวมกันจะมีมากกว่า600 สาขา

นี่เป็นเพียงการโหมโรงการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของระบบการเงินไม่เพียงของไทยเท่านั้น หากต้องมองภาพว้างระดับภูมิภาคขึ้นไป

———————————————————————————————————————————-

เครือข่ายธนาคารสำคัญในประเทศไทย

ธนาคารไทย

ธนาคารกรุงเทพ

-ธนาคาร

China

-Bangkok Bank (China)

เครือข่ายสาขา 4แห่ง Shanghai, Beijing, Xiamen, Shenzhen

Malaysia

— Bangkok Bank Berhad Head

เครือข่ายสาขา 4แห่งKuala Lumpur, Jalan Bakri,TamanMolek,

PenangAuto-City

-สาขา

Hong Kong (Hong Kong, Kowloon)

Indonesia– Jakarta

Japan Tokyo, Osaka

Laos– Vientiane

Singapore 

Taiwan -Taipei, Taichung, Kaohsiung

PhilippinesManila

VietnamHo Chi Minh City, Hanoi

United Kingdom   —London 

United StatesNew York

ธนาคารไทยพาณิชย์

ธนาคารร่วมทุน

Cambodiaธนาคารกัมพูชาพาณิชย์

เครือข่ายสาขา 4 แห่ง Phnom Penh, Battambang, Siem Reap, Sihanoukville

Vietnam -ธนาคารร่วมทุนวีนาสยาม

เครือข่ายสาขา 9 แห่ง  Ho Chi Minh City,Hanoi ,Sai Gon,Dong Nai,Da Nang,Binh Duong,Cho Lon, Thang Long, Gia Dinh

สาขา

Hong Kong

Laos– Vientiane

Singapore

ธนาคารกสิกรไทย

สาขา

ChinaShenzhen

Hong Kong

United StatesLos Angeles

Cayman Islands

ธนาคารภูมิภาค

MalaysiaCIMB –ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน)

เครือข่ายสาขาทั่วประเทศ  147แห่ง

Singapore –UOB–ธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน

เครือข่ายสาขาทั่วประเทศ 145 แห่ง

China –ICBC–ธนาคารไอซีบีซี (ไทย) จำกัด (มหาชน)

เครือข่ายสาขาทั่วประเทศ 19 แห่ง

TAIWAN–China Development Industry Bank (CDIB)

ถือหุ้นกว่า10%   ในธนาคารทิสโก้มีเครือข่ายสาขา14 แห่ง

ธนาคารระดับโลก

UK–Standard Chartered — ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)

เครือข่ายสาขาทั่วประเทศ 32 แห่ง

Canada–    Scotia bank

ถือหุ้น 49%ในธนาคารธนชาต มีเครือข่ายสาขาทั่วประเทศมากกว่า600 แห่ง

Netherlands ING

ถือหุ้น 30% ในธนาคารทีเอ็มบี มีเครือข่ายสาขาทั่วประเทศ 472 แห่ง

USA –GE CAPITAL

ถือหุ้น33%   ในธนาคารกรุงศรีอยุธยามีเครือข่ายสาขาทั่วประเทศ 529 แห่ง

 

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: