ภูษณ ปรีย์มาโนช

                                                     (1)

ทฤษฎีว่าด้วย”สายสัมพันธ์”ของวงการธุรกิจ กับ ความสำเร็จทางธุรกิจ อย่างหยาบๆ ที่ถูกอรรถาธิบายเรื่องต่างๆในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา บางครั้ง เป็นสิ่งไม่แฟร์สำหรับคนหลายคน

 คนๆหนึ่งนั้นคือ ภูษณ ปรีย์มาโนช  ซึ่งผู้คนในสังคม อยากจะรู้จักเขามาก ในเวลานี้

 ขาเป็นลูกจ้างธรรมดา ๆคนหนึ่งที่ทำงานด้วยความจริงจัง  ด้วยความอดทนมายาวนานกับบริษัทเล็กๆบริษัทหนึ่งเกือบ20ปี  จนวันดีคืนดีบริษัทนี้  ก็เติบโตอย่างกระฉูดจากยอดขายระดับสิบล้านบาท/ปีเป็นพันๆล้าน จาการสะสมกำไรเล็กๆน้อยเป็นโบนัส กลายนเป็นพรีเมียม จากการที่กิจการเข้าตลาดหุ้นเป็นพันๆล้านบาท

 ความจริงเรื่องทำนองนี้  เกิดขึ้นเสมอในสังคมเศรษฐกิจที่หลากหลาย และเปิดกว้างกว่านี้  ยอมรับความคิดสร้างสรรค์ทางธุรกิจ  เช่น สหรัฐอเมริกา

 เรื่องราวที่ดูคลาสสิคแล้ว  ก็คือบิลล  เกตต์แห่งไมโครซอฟท์   สร้างกิจการพัฒนาซอฟท์แวร์เล็กๆ ที่ตลาดเริ่มยอมรับ สามารถเข้าตลาดหุ้น ก็รวยมหาศาล ภายในเวลาไม่กี่ปี

หรือ อย่างคู่แข่งขันคนสำคัญจากเน็ทเคปฯ ในวงการอินเตอร์เน็ตซึ่งเพิ่งเกิดใหม่ปีสองปีมานี้   ผลิตซอฟแวร์อินเตอร์เน็ตมาตัวหนึ่ง ก็สามารถเข้าตลาดหุ้น ระดมเงิน จากกิจการเล็ก กลายเป็นกิจการใหญ่ได้

 เศรษฐีเงินล้าน   จากกการปั้นกิจการเล็กจนใหญ่ มีมากในสังคมอเมริกัน ซึงเป็นของจริง

ผมคิดว่าสังคมไทย กำลังให้ความสำคัญ ในความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น  โดยเฉพาะในยุคจากนี้ไป

ภูษณ ต่างกับมืออาชีพในวงการธุรกิจไฟแนนซ์ อย่างสิ้นเชิง

 หลายคนที่จบเอ็มบีเอ  ทำงานธนาคารได้เงินเดือนเพียงเดือนละหมื่นกว่าบาท ข้ามมาอยู่ไฟแนนซ์ สัก2-3ปี กลายเป็นCEO เงินเดือนปีละ15ล้านบาท เพราะสามารถสร้างเอกสารนำกิจการเข้าตลาดหุ้นได้เท่านั้น

 ภูษณ กับกลุ่มยูคอม(โดยเฉพาะบุญชัย เบญจรงคกุล) เป็นโมเดลที่น่าสนใจมากกว่าที่คิด  ในยุคผู้ประกอบการยุคใหม่กำลังจะมาถึงในไม่ช้า ของสังคมธุรกิจไทย

ด้วยพื้นความรู้ทางวิืศวกรรม ที่แข็งเอาการ เนื่องจากจบการศึกษา  ซึ่งเป็นวิชาชีพระดับปริญญาโท(ปริญญาตรีจากเกษตรศาสตร์ ปริญญาโทจากอังกฤษ) เริ่มต้นทำงานพื้นๆในยุคที่ราชการ เพิ่งสัมผัสกับเทคโนโลยี เมื่อ20ปีที่แล้ว  ด้วยการขายระบบตู้โทรศัพท์

อาจจะเรียกได้ว่า เขามีอาชีพตั้งแต่วันแรกที่ทำงาน   จนถึงวันนี้ คือ เชลล์แมน

เขาต่างกับทักษิณ ชินวัตร ซึ่งก็ถือว่า  เป็นเชลล์แมนขายสินค้าเทคโนโลยี่เช่นเดียวกัน ตรงที่ทักษิณ เป็นเจ้าของกิจการมาแต่ต้น แต่เขา เป็นเพียงลูกจ้างธรรมดาๆ

ยูคอม ขายสินค้าเทคโนโลยี่การสื่อสาร   โดยเฉพาะยี่ห้อโมโตโรล่าของสหรัฐให้กับหน่วยราชการ ว่าไปแล้ว สินค้าพวกนี้ เอกชนไม่ใช้กันหรอกในช่วงนั้น เพราะไม่จำเป็นและแพง และหน่วยราชการที่ซื้อ ก็มักจะเป็นหน่วยงานว่าด้วยการสื่อสารของรัฐ ดูก็ธรรมดาๆมากในยุคนั้น

 ยูคอมโชคดีมากในเรื่องหนึ่ง ก็คือ โมโตโรล่าเติบโตเป็นระยะๆ สินค้ามีความแข็งแกร่งในตลาดโลกมาก   พวกเขาจึงได้เรียนพัฒนาการทางธุรกิจ   ว่าด้วยเทคโนโลยี่ไปพร้อมๆกับการสะสมความชำนาญในการขาย ซึ่งก็คือการผูกมิตรอย่างแน่นเฟ้นกับคนมีอำนาจในระบบราชการ            

ภูษณ  มีความต่อเนื่อง  กับการทำงานเป็นลูกจ้าง  ที่ยาวนานมากกับกิจการที่เป็น ระบบครอบครัว ซึ่งถือเป็น  กรณีพิเศษพอประมาณ  ที่คนมีการศึกษาในยุคนั้นจะทำเช่นนี้

ความต่อเนื่องและความพิเศษนี้เอง ที่เขายอมไม่เสียใจเลยในวันนี้

 ข้อต่อสำคัญก็คือ การที่ทายาทยูคอม  ซึ่งผ่านการศึกษาจากต่างประเทศมารับช่วงกิจการ  ในช่วงไล่เลี่ยกันที่ภูษณ เข้าทำงาน ซึ่งเป็นคนรุ่นใกล้เคียงกัน  ระบบครอบครัวแบบเดิม  จึงไม่ครอบภูษณไว้เช่นกิจการอื่นๆ

 เมื่อยุคสัมปทานแบบใหม่เกิดขึ้น  ในสังคมไทย  พร้อมๆกับพัฒนาเทคโนโลยี่การสื่อสารระดับโลก  ซึ่งทักษิณ ชินวัตร เป็นผู้บุกเบิกสำคัญ   ภูษณ ในฐานะลูกจ้างก็มองเห็นโอกาสเช่นเดียวกัน ก็ผลักดันให้กิจการยูคอมเติบโต  อย่างก้าวกระโดด  เคียงคู่กับชินวัตร โดยที่ทั้งสองกลุ่ม  ยึดหน่วยงานการสื่อสารของหน่วยงานของรัฐไว้เป็นฐาน   ชินวัตรกับองค์การโทรศัพท์ ยูคอม กับการสื่อสารฯ

กิจการเล็กๆ ของทั้งชินวัตร และยูคอมก็ก้าวกระโดด  นับร้อยเท่า กับธุรกิจบริหารระบบโทรศัพท์มือถือต่างระบบ  ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในสังคมไทย  ที่ต้องการระบบสื่อสารที่ดีขึ้น

ชินวัตรโตมาก เสียจนต้องใช้มืออาชีพจากภายนอก วันนี้ชินวัตร กลายเป็นที่ชุมนุมศิษย์เก่า ของบางบริษัท ซึ่งเป็นความต่อเนื่อง ที่ขลุกขลักพอสมควร

ขณะที่ยูคอม มีบุญชัย ทายาทจากเจ้าของกิจการ และภูษณ มืออาชีพในฐานะลูกจ้างประสานเป็นฐานพัฒนาที่ค่อนข้างกลมกลืนมาก

เมื่อกิจการเติบโต การแข่งขันในธุรกิจนี้ดุเดือด  เวทีกว้างขึ้นระดับโลก การระดมทุนหนักเกิดขึ้น  จึงเป็นที่ทดสอบความแข็งแกร่ง ความสำเร็จ  มากกว่า”สายสัมพันธ์”์อย่างแน่นอน

ผมคิดว่าโมเดล บุญชัย-ภูษณ ผสมผสานมากทีเดียว  ระหว่างสายสัมพันธ์ กับ ความคิดสร้างสรรค์ ในเชิงธุรกิจ

ผมคิดว่า ภูษณ ปรีย์มาโนช เป็นคนเดียวในสังคมธุรกิจ  ที่ได้รางวัลของผลงานที่คุ้มค่าที่สุด  ในฐานะลุกจ้างธุรกิจไทย

 4 มิถุนายน 2540

 (2)

มาวันนี้  ภูษณ ปรีย์มาโนช  ถือเป็นผู้ประกอบการเต็มตัว

ขณะเดียวกัน ก็ถือว่า เขามีความสร้างสรรค์ทางธุรกิจมากที่สุด แต่บังเอิญเป็นความคิดสร้างสรรค์  อยู่ในแวดวงของการจัดการ”สายสัมพันธ์”เป็นหลัก

ความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องนี้ อาจจะมองได้ว่า  มีเป้าหมายทางธุรกิจมากเกินไป โดยไม่คำนึงถึง  กติกาที่ถูกสร้างโดยกลุ่มธุรกิจเก่า  หรือกติกาที่สร้างโดยระบบการเมืองแบบเดิม ดังนั้นถือว่า  เป็นคนที่มีความสร้างสรรค์ที่กล้าหาญเอาการ

เมื่อปี2534 TAC (โทเทิล แอกเซส คอมมูนิเกชั่น) กิจการในเครือยูคอม ได้รับสัมปทานระมือถือ800จากการสื่อสาร ซึ่งถือเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ ของกลุ่มยูคอมและภูษณ ที่สำคัญมาก

จากนั้น  คือการเติบโตอย่างก้าวกระโดด   ยูคอม เข้าตลาดหุ้นไทยปี2537 และ แทคเข้าตลาดหุ้นสิงคโปร์  ปี2538  การระดมเงินครั้งนั้น  คงนับหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว

หากไม่มีแทค ภายใต้การบริหารโดยตรงของภูษณ ปรีย์มาโนช สิ่งเหล่านี้  คงยากที่จะเกิดขึ้น

ซึ่งผมเข้าใจว่า ในแทคนั้น เขาคงมีหุ้นอย่างน้อย10% อันเป็นสัญญาลักษณ์บอกว่า เขาได้เปลี่ยนสภาพ  จากลูกจ้าง เป็นเจ้าของกิจการ  หรือผู้ประกอบการไปมากแล้ว

แต่สิ่งนั้น คงไม่สำคัญเท่ากับ  บทบาทการเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในปัจจุบัน

ผมไม่ให้ความหมายสำคัญ ในตำแหน่งการเมือง  ทว่าบทบาทของเขาในเรื่องนี้ มีความชัดเจน  อยู่ประการหนึ่งก็คือ

 ภูษณ ปรีย์มาโนช  เป็นผู้กำหนดแผนงานยุทธ์สาสตร์ และกำกับการเดินแผนการนั้น ด้วยตนเอง  ในระดับเข้มข้นมากทีเดียว  ของกลุ่มยูคอม

มีคนวิเคราะห์กันว่า บทบาทของเขา ในการเข้าไปอยู่ในกลไกของภาครัฐ โดยเฉพาะในกลไกลในการผลิตนโยบายที่ว่าเทคโนโลยี่สารสนเทศ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อกิจการยูคอม  ซึ่งผลที่ออกก็เป็นเช่นนั้นจริงๆ

ผมก็เชื่อเช่นนี้

มื่อเป็นดังนี้ เขาก็จึงเป็นผู้ที่มีอิทธิพลที่สุดคนหนึ่ง   ที่ว่าด้วยนโยบายสารสนเทศของรัฐ

ปรากฏการณ์นี้ มีความสำคัญแก่ การอรรถาธิบายมากทีเดียว

หนึ่ง-มิติของการบริหารสายสัมพันธ์กับอำนาจรัฐ   ปัจจุบัน อำนาจรัฐแตกกระจาย กระบวนการอนุมัติโครงการ  มีขั้นตอนหยุมหยิมและยุ่งยาก  และที่สำคัญมีความยากลำบากมากขึ้น  ที่จะผลักดันโครงการต่างๆในยุคที่อำนาจแตกกระจาย  รัฐมนตรีไม่สามารถสั่งการที่มีพลังเช่นแต่ก่อน การวิ่งเต้น ลอบบี้ ไม่อาจทำอย่างฉาบฉวย

การที่เขาเข้าไปอยู่ในกระบวนการตัดสินใจ ผลักดัน ติิดตาม ย่อมเป็นการสร้างมิติใหม่  ของการวิ่งเต้นที่ลกซึ้งอย่างไม่เคยมีมาก่อนในสังคมไทย

โดยเฉพาะในเรื่อง  เทคโนโลยี่สารสนเทศ ซึ่งรัฐมนตรี หรือข้าราชการประจำ มีความรู้ค่อนข้างจำกัด เลยมีปัญหา 2ด้าน  การผลักดันโครงการต่างๆ เป็นไปอย่างยาดลำบาก  หรือไม่ก็สามารถผลักดันบางสิ่งบางอย่างเกิดขึ้นได้โดยง่าย   เพราะคนของรัฐตามไม่ทัน

สอง-คนที่ประสพความสำเร็จทางการงาน มักจะมุ่งไปสู่อำนาจทางการเมืองเป็นสูตรสำเร็จ  ของมืออาชีพ หรือผู้ประกอบการเมืองไทย ผมเชื่อว่า  ภูษณ เป็นนักเล็งผลเลิศ หรือทำงานหวังผลค่อนข้างมาก การเข้าสู่ตำแหน่งที่กำกับกลไกเบื้องต้นของรัฐ จึงมีความหมายสำคัญมากกว่าคนอื่นๆในอดีต

ทั้งเป็นการเข้ามาอย่างค่อยเป็นค่อยไป

ผมหวังว่า ถ้าโมเดลนี้เป็นจริง เขาควรจะผลักดัน   ให้รัฐให้มีความสามารถเชิงประยุกต์   ในการใช้เทคโนโลยี่เพื่อการผลิตทางสังคมให้มีประสิทธิพลในการแข่งขันในระดับโลก    มิืใช่เป็นการต่อท่อให้กับธุรกิจใหญ่ในสหรัฐ เช่น  ยูคอมทำให้โมโตโรล่ามาแล้วเท่านั้น

ในสังคมไซเบอรสเปช  สินค้าไทยที่มีเอกลักษณ์และมูลค่าเพิ่ม  จะต้องส่งออกได้นำเงินเข้าประเทศ มากกว่า การซื้อสินค้าจากต่างประเทศ  โดยเฉพาะสินค้าเทคโนโลยี่  เช่นที่ยูคอมเป็นนายหน้า มานานจนฝั่งสายเลือด มากว่า35ปี

นี่คือ จุดท้าทายในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ที่สุด ซึ่งมีสาระสำคัญที่สุด ของภูษณ ปรีย์มาโนช

สาม-เชลล์แมน ที่แท้จริงนั้น ต้องขายตนเองในที่สุด ในฐานะทางการเมือง เช่นนี้ โอกาสของเขา  ย่อมมีมากกว่า  เชลล์แมนคนอื่นๆ

อันอาจจะเป็นจุดเริ่มต้น  ที่สำคัญอีกก้าวหนึ่ง  อย่างก้าวกระโดด ที่เข้าจะก้าวขึ้นเป็นผู้ประกอบการ  ขึ้นมาอย่างเต็มรูปโดยไม่จำเป็น ต้องอิงกับกลุ่มยูคอม  อีกต่อไป

 คนที่เพิ่งอายุ40เศษทำได้แค่นี้ ก็ถือว่า  มาไกลแล้ว

5 มิถุนายน  2540

 หมายเหตุ

ภูษณ  เคยเรียนที่ปีนัง ในช่วงสงครามกลางเมืองระหว่างจีนและมลายู  จากนั้นก็กลับเมืองไทย เรียนที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากนั้นก็สอบเข้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาได้

 เรียนจบระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ก่อนไปเรียนปริญญาโท ที่อังกฤษ  บางคนบอกว่าไม่มีชื่อเขาในทำเนียบวิศวฯ  เคยเข้าป่าต่อสู้กับรัฐบาล ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ในปี2519

ทำงานครั้งแรกที่ฝ่ายคอมพิวเตอร์ ธนาคารกรุงไทย บริษัทล็อกซเล่ย์ และGENERAL ELECTRIC ในเมืองไทย จากนั้นจึงมาทำงานที่กลุ่มยูคอม

ปลายปี2539 เข่าล่าออกจากกลุ่มยูคอม เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมือง ในตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ต่อมาเมื่อ 15  ตุลาคม 2540    ก็เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ดูแลกรมประชาสัมพันธ์และ อสมท. อยู่ในตำแหน่งได้เพียง10  กว่าวัน ก็ต้องพ้นตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก  ต่อมามีตำแหน่งเป็นรองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่

จาก หนังสืออำนาจธุรกิจใหม่ 2541

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: