หัวเมืองและชนบท(1) ภาพใหญ่

ในช่วงหลังวิกฤติการณ์ปี 2540 เป็นต้นมา พื้นที่นอกกรุงเทพฯ ได้รับความสนใจมากขึ้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื่อว่าในช่วงจากนี้ ไป แรงกระตุ้นจะเพิ่มมากขึ้นอีกอย่างมหาศาล ระบบเศรษฐกิจหัวเมืองและชนบทไทย กำลังพัฒนาไปอย่างซับซ้อน และมีแรงดึงดูดมากกว่าครั้งใดๆ

ผมเคยเสนอความคิดว่าด้วยเรื่องหัวเมืองและชนบทมาเป็นระยะๆ  เป้นความพยายามเฝ้ามองเป็นพิเศษ  ตั้งแต่เริ่มเขียนบทความตลอด 3 ปีที่ผ่านมา   ภาพใหญ่จากนี้เป้นความพยายามอีกครั้งหนึ่ง เชื่อมโยงความคิดและปรากฏการณ์ต่างๆ

เกษตรกรรม

ระบบเศรษฐกิจในชุมชนเกษตรดั้งเดิมของไทย เริ่มต้นปะทะกับปรากฏใหม่อันน่าทึ่งในช่วงท้ายของยุคสงครามเวียดนาม แม้จะเป็นการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆเมื่อเปรียบเทียบกับอาณาบริเวณอันกว้างใหญ่  แต่ถือเป็นหน่อของวิวัฒนาการสำคัญ ของเศรษฐกิจใหม่ในชนบท

แม้ว่าระบบเศรษฐกิจเกษตรดั้งเดิมตั้งแต่ยุคหลังสังคมโลกครั้งที่สอง ในช่วงข้าวเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ ถือว่าเป็นช่วงของความพยายามพัฒนา   ด้วยการขยายพื้นที่เพาะปลูก และระบบชลประทาน แต่จากกรณี Contract farming เป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ว่าด้วยการจัดการ เทคโนโลยี่สมัยใหม่    ด้วยการขยายจินตนาการเกษตรกรรมให้กว้างขวางออกไปจากเดิม

แม้ว่าจากนั้นอีกเกือบสามทศวรรษ  Contract farming มีบทบาทอย่างจำกัดบทบาท แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป Contract farming จึงกลับมามีบทบาท และยกระดับขึ้นอีกขั้น ในฐานะแกนกลางของระบบการจัดการเกษตรกรรมสมัยใหม่กับพื้นที่ขนาดใหญ่ที่เรียกว่า plantation

กลุ่มไทยเจริญ ในฐานะผู้ครอบครองที่ดินจำนวนมาก รวมทั้งในพื้นที่การเกษตรเดิมด้วย มองเห็นโอกาสในการต่อยอดจากระบบครึ่งๆกลางๆ ในเป็นโมเดลใหม่ ด้วยการพัฒนาโมเดลมาจากประสบการณ์ของซีพี ในประเทศกำลังพัฒนา เข้ากับระบบเกษตรกรรมของประเทศทุนนิยม”จากเรื่อง ทิศทางปี2553/4(4)สังคมหัวเมืองและชนบทซับซ้อนมากขึ้น  ธันวาคม 2553

Plantationต้องการพื้นที่ทำการเกษตรจำนวนมาก ด้วยการควบคุมปัจจัยการผลิตพื้นฐาน สร้างระบบดึงดูดรายย่อยให้เข้ามาในวงโคจร โดยอาศัยContract farming เป็นระบบที่ใช้มานานแล้ว เป็นกลไกสำคัญในความพยายามดึงรายย่อยเป็นดาวบริวาร ด้วยระบบที่ซับซ้อนมากกว่าการรับซื้อและประกันราคา   เป็นความสัมพันธ์ที่แนบแน่นด้วยระบบธุรกิจสมัยใหม่ เพื่อให้รายย่อยต้องจ่ายเงินคืนที่ได้การขายสินค้า กับปัจจัยการผลิตที่ควบคุมจากเจ้าของระบบ ตั้งแต่ พันธุ์ ยาปราบศัตรูพืช ปุ๋ย แม้กระทั่งสินเชื่อ

ภาพเกษตรกรรมแปลงใหญ่ เป็นชิ้นส่วนชิ้นหนึ่งของภาพรวมสถานการณ์ใหม่ในชนบทไทย  กำลังเดินหน้าเข้าสู่ของระบบเศรษฐกิจพื้นฐานซับซ้อนขึ้น   ขณะเดียวกันในเชิงการผลิต  เกษตรกรรม กำลังพัฒนาโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจมากขึ้น  ด้วยความพยายามสร้างวงจรทีทอดยาวไปยังการผลิตเชิงอุตสาหกรรม  พร้อมกับความพยายามสร้างมูลค่าผลิตผลเพิ่มมากขึ้น   ว่าไปแล้วเป็นภาพขยายของ Contract farming     และ Plantationออกไปอีก โดยเฉพาะจากรากฐานพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน (โปรดอ่านบทความชุดเกษตรกรรมไทย   มกราคม-กุมภาพันธ์ 2555  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบทความชุดใหญ่–สังคมธุรกิจไทย( 2540-ปัจจุบัน))

กรณีข้าวหอมมะลิ เป็นบริบทใหม่ของเกษตรกรรมพื้นฐานของไทย ว่าด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย สร้างมูลค่าเพิ่มที่ไม่เชื่อมโยงกับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของเกษตรกรรมทำนาของประเทศที่ส่งข้าวออกมากที่สุด  แนวทางสายมูลค่าเพิ่มสายนี้ ได้ก้อให้เกิดกลุ่มการผลิตขนาดเล็ก หรือเกษตรกรรายย่อยที่พยายามสร้างที่ยืนของตนเอง ท่ามกลาง Contract farming      Plantation   และอุตสาหกรรมการเกษตร (โปรดอ่านแนวคิดและรายละเอียดจากเกษตรกรรมสองกระแส  มกราคม 2553)

อุตสาหกรรม

ระบบจ้างงาน และทักษะของผู้คนในหัวเมืองและชนบท   พัฒนาและผันแปรไปจากจุดเริ่มต้นการเคลื่อนย้ายและปรับตัวอย่างมาก ตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม     การเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเกษตรในชนบทมาสู่โรงงานในกรุงเทพฯและชานเมือง(บางส่วนออกไปทำงานในต่างประเทศด้วย)  ในยุคอุตสาหกรรมพื้นฐานของไทยขยายตัว มาจากกระบวนการโยกย้ายอุตสาหกรรมเก่าจากประเทศอุตสาหกรรม   โดยเฉพาะอุตสาหกรรมสิ่งทอ   ได้สร้างโอกาสใหม่ให้แรงงานจากภาคเกษตร ทั้งในแง่เศรษฐกิจและการพัฒนาทักษะใหม่

ถือเป็นประสบการณ์สำคัญของแรงงานภาคเกษตรในการทำงานในแตกต่างออกไปเดิม  สร้างความชำนาญใหม่กับการทำงานที่ระบบมากขึ้น   ถือเป้นกระบวนการพัฒนาแรงงานจากภาคเกษตร สู่อุตสาหกรรม และพัฒนาสู่ภาคบริการได้อย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง  ขณะเดียวกับแรงงานจากชุมชนชนบท ก็เริ่มคุ้นชินกับระบบการจ้างงานที่มีลักษณะถาวรมากขึ้น

ภาคอุตสาหกรรมการขยายตัวสู่หัวเมืองและชนบทอย่างเป็นกระบวนการมากที่สุด      ต่อเนื่องจากรัฐบาลได้ขยายเขตการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมของรัฐไปในขอบเขตทั่วประเทศ มากกว่า 35 แห่ง รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมของเอกชน ที่สร้างขึ้นสำหรับกิจการในเครือข่ายของตน ไม่ว่า กลุ่มสหพัฒน์ กลุ่มกระทิงแดง และเกษตรรุ่งเรือง ไปจนถึง อุตสาหกรรมรายย่อยนอกนิคมอุตสาหกรรมอีกจำนวนมาก

ชนบทไทยเปลี่ยนแปลงไปในเชิงสังคมครั้งใหญ่  จากอาชีพเกษตรกร  เริ่มเคลื่อนย้ายไปสู่ระบบการจ้างงานแบบอุตสาหกรรมมากขึ้น(หมายรวมถึงเกษตรกรรมแบบPlantation)  ในช่วงแรกๆ แรงงานจากชนบาท ต้องเคลื่อนย้ายเข้าสู่เมืองหลวงโดยตรง แต่จากนั้นมาในช่วงก่อนวิกฤติการณ์ปี2540 ทางเลือกมีมากขึ้น ไม่เพียงเคลื่อนย้ายไปสู่หัวเมือง หรือแม้กระทั่งอยู่ในชนบท ที่ถูกพัฒนาใหม่

ความสัมพันธ์ของสังคมเกษตรเดิมเปลี่ยนแปลงไป  โดยเชื่อมโยงกับภาคนอกเกษตรกรรมมากขึ้น ไม่เพียงประสบการณ์ ทักษะ  ระบบการจ้างงาน  ยังสะท้อนระบบเศรษฐกิจที่ดำรงอยู่อย่างอิสระมากขึ้น  ความพึ่งพิงเมืองหลวงเช่นอดีต กลายเป็นความสัมพันธ์ใหม่ที่น่าสนใจ

ภาพที่ชัดเจนได้สะท้อน  จากกรณีที่ราบลุ่มเจ้าพระยา เหนือกรุงเทพฯ  ซึ่งแต่เดิมเชื่อว่ามีความสัมพันธ์เชิงพึงพากรุงเทพฯอย่างมาก แต่จากรณีวิกฤติการณ์น้ำท่วมครั้งที่ผ่านมา ได้ให้ภาพใหม่ที่น่าสนใจ

 

ชุมชนเกษตรกรรมของภาคกลางอยู่ใกล้เมืองหลวงมากที่สุด   หลายๆคนเลยทึกทักว่า ความอยู่รอดของสังคมเกษตรภาคกลางปัจจุบัน มาจากการพึ่งพิงเมืองหลวงเป็นสำคัญ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่เมืองหลวง ซึ่งยอมรับกันต่อมาว่ามิใช่เพียงแรงงานราคาถูกเท่านั้น ยังรวมถึงแรงงานสมองของมนุษย์เงินเดือนที่เพิ่มจำนวนมากขึ้นด้วยนอกจากนี้ ชุมชนเหล่านี้ได้รับอิทธิพลว่าด้วยวิถีชีวิตของสังคมเมืองมากที่สุดด้วย

 

แต่ความจริงการเปลี่ยนแปลงของชุมชนเกษตรโดยเฉพาะภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง  ได้เปลี่ยนแปลงอย่างเงียบๆที่มากกว่านั้น ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรากฐาน โดยเฉพาะมีความเชื่อมโยงกับการการผลิตพื้นฐานในเชิงอุตสาหกรรมระดับโลก” จากเรือง หนึ่งในภาพสะท้อนพฤศจิกายน 2554

เครือข่ายค้าปลีก

จากธุรกิจนายหน้า หรือตัวแทนจำหน่ายสินค้าหลัก ๆ คือที่มาของกลุ่มธุรกิจใหญ่ในหัวเมือง เริ่มจาก  เอเย่นต์ปูนซีเมนต์ เอเย่นต์สุรา  รถยนต์ ในยุคเมื่อ 4-5ทศวรรษที่แล้ว จนมาถึงตัวแทนขายสินค้าคอนซูเมอร์   และสินค้าไลฟืไตล์ ในยุคต่อมาช่วงหนึ่ง

และแล้วเครือข่ายธุรกิจใหญ่จากเมืองหลวง ขยายกิจการด้วยตนเอง โดยไม่จำเป็นต้องอาศัย  “สายสัมพันธ์ท้องถิ่น” ขณะเดียวกลุ่มลูกค้าเดิมที่เน้นเฉพาะกลุ่มระดับบนในท้องถิ่นและชนบท เริ่มขยายฐานกว้างมากขึ้น จากนั้นไม่นาน คือยุคเริ่มต้นการคืบคลาน เติบโตอย่างเนื่องและขยายวงอย่างรวดเร็วของเครือข่ายการค้าสมัยใหม่

เครือข่ายการค้าปลีกขยายตัวทั่วประเทศ  เป็นตัวเร่งที่สำคัญมาก ของโฉมหน้าใหม่ของหัวเมืองและชนบท  แต่ทั้งนี้มาจากระบบเศรษฐกิจหัวเมืองและชนบทมีรากฐานมั่นคง เป็นอิสระจากเมืองใหญ่   มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม(รวมทั้งเครือข่ายและห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องของรายย่อย)ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น  ไม่ว่ามีการจ้างงานคนในท้องถิ่นเพิ่มมากขึ้น  มากกว่าระบบการจ้างในเครือข่ายกรุงเทพฯและปริมณฑลเดิม   ระบบภาษีที่จ่ายให้ท้องถิ่นเป้นกอบเป็นกำมากขึ้น การปรากฏขึ้นของธุรกิจรายย่อยในหัวเมือง และชนบท ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่ต่างๆของเครือข่ายค้าปลีกรายใหญ่    รวมทั้งระบบแฟรนไชส์ ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และมีจำนวนมากขึ้น

เครือข่ายค้าปลีกขนาดใหญ่ เริ่มต้นปักหลัก จากเมืองหลวงในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู ราวปี 2531เป็นต้นมา จากนั้นมาก็ค่อยๆคืบคลานสู่หัวเมือง

เพียง2 ทศวรรษจากนั้น เครือข่ายการค้าสมันใหม่ขนาดใหญ่มีมีความสัมพันธ์กับธุรกิจระดับโลก   โดยเฉพาะ Big C, Tesco Lotus ขยายตัวถึงระดับอำเภอ ขณะที่ 7-Eleven ขยายตัวถึงระดับตำบลสำคัญๆของประเทศ เครือข่ายค้าปลีกเหล่านี้ไม่เพียงนำสินค้าคอนซูเมอร์จับกลุ่มฐานกว้างเช่นเดียวกันทั่วประเทศ หากนำไปถึงผู้บริโภคหัวเมืองใหญ่กลางและเล็ก ในรูปแบบและระบบบริการมาตรฐานระบบเดียวกันที่บริการในเมืองหลวง

ไม่เพียงเท่านั้น เครือข่ายค้าปลีกเหล่านี้ได้นำบริการ นอกเหนือสินค้าคอนซูเมอร ไปสู่หัวเมืองและชนบทด้วย  ไม่ว่าเครือข่ายธนาคาร สินค้าสื่อสาร  เป็นต้น  ตามมาด้วยอย่างกระชั้นชิด  ปรากฏการณ์การขยายตัวเครือข่ายการค้าสมัยใหม่  พัฒนาไปอย่างเร่งรีบและรวดเร็วในระยะไม่กี่ปีมานี้  โดยเฉพาะเครือข่ายค้าปลีก—กลุ่มเซ็นทรัล สัญลักษณ์ผู้นำสินค้าไลฟ์สไตล์ในสังคมเมือง กระโจนเข่าสู่หัวเมืองอย่างครึกโครมและเป็นระบบ หลังจากกำแพงขวางกั้นทลายลง

ปุจฉาและวิสัชนาต่อจากนี้ ควรมีเรื่องที่น่าสนใจหลายเรื่อง

–ค้นหาปัจจัยและแรงกระตุ้นอย่างมากมาย  สร้างกระแสลมรุนแรง ในหัวเมืองและชนบาท ในระยะที่ผ่านมาและจากนี้ไป

–ธุรกิจใหญ่ในปัจจุบันมีเครือข่าย และการจ้างงาน ในพื้นที่นอกกรุงเทพฯมากว่าในกรุงเทพฯแล้ว ภาพสะท้อนนี้  สร้างแรงกระเพื่อมต่อการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจใหญ่กับสาธารณชนอย่างไร

–ปรากฏการณ์อันครึกโครมของทีวีดาวเทียม  สะท้อนความผันแปรของหัวเมืองและชนบทอย่างไร ควรศึกษากรณีตัวอย่าง  จากกลุ่มเนชั่น และแกรมมี่ด้วย

โปรดติดตามตอนต่อๆไปครับ

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: