
ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ทั้งยูเอ็มไอและอาร์ซีไอ ดำเนินไปอย่างที่ควรเป็น รวมทั้งสามารถ ผ่านช่วงเลวร้ายทางเศรษฐกิจมาได้ ในที่สุด มาสู่จุดพลิกผันอีกครั้ง จึงเป็นเรื่องที่ควรสนใจ
สถานการณ์ธุรกิจเซรามิก เริ่มต้นตื้นเต้นขึ้น ตั้งแต่ช่วงปี2530 เป็นต้นมา ธุรกิจเติบโตขึ้นและมีการแข่งขันอย่างเข้มข้น ในตลาดซึ่งมีผู้ผลิตหลายราย แต่ละรายมีกำลังการผลิตและความสามารถไม่แตกต่างกันนัก ช่วงนั้นเอสซีจีเพิ่งตั้งหลัก ปรับโครงสร้างธุรกิจในระดับหนึ่ง ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการขยายผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างไปมากกว่ากระเบื้องเซรามิกแล้ว จากนั้นในยุคชุมพล ณ ลำเลียง(เริ่มต้นปี 2536) ธุรกิจวัสดุก่อสร้างของเอสซีจีโลดโผนอย่างแท้จริง ด้วยการลงทุนในสหรัฐฯ อย่างจริงจังเป็นครั้งแรก แม้จะถือเป็นบทเรียนแห่งความล้มเหลว แต่ก็สะท้อนสถานการณ์ธุรกิจเซรามิคโดยรวม ว่าได้เปลี่ยนแปลงไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว
นั่นคือการแบ่งผู้เล่นออกจากกันอย่างชัดเจน ระหว่างผู้นำตลาดซึ่งเป็นรายใหญ่มากๆ กับรายเล็กๆที่อยู่ในตลาด ยูเอ็มไอกับอาร์ซีไออยู่ในกลุ่มหลัง
“ตลาดกระเบื้องเซรามิคมีการแข่งขันกันค่อนข้างรุนแรงต่อเนื่องมาหลายปี นอกจากจะเป็นการแข่งขันระหว่างผู้ผลิตภายในประเทศแล้ว ในช่วง 4 – 5 ปีที่ผ่านมา ยังมีกระเบื้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเข้ามาแข่งขันเพิ่มขึ้น ด้วยโดยเฉพาะกระเบื้องพอร์ซเลน (Porcelain Tile) จากประเทศจีนที่มีราคาต่ำมีบทบาทมากขึ้น เป็นลำดับ ตัวแทนจำหน่ายหลายรายได้หันมาเป็นผู้นำเข้ากระเบื้องโดยตรงแทนการสั่งซื้อจากผู้ผลิตภายในประเทศ ในขณะที่พฤติกรรมการซื้อกระเบื้องของผู้บริโภคปรับเปลี่ยนเป็นให้ความสำคัญกับเรื่องของราคามากขึ้น กว่าในอดีต ประกอบกับผู้ผลิตในประเทศส่วนใหญ่ที่มีกำลังการผลิตเกินกว่าความต้องการของตลาด จึงมีความต้องการระบายสินค้าของตนเองให้ออกไปสู่ท้องตลาด มีการลดราคาสินค้า ร่วมกับการให้ส่วนลดแก่ร้านค้าตัวแทนจำหน่ายในอัตราที่สูงขึ้น เพื่อส่งเสริมสินค้าของตน
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิคส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย จีน เยอรมนี และประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยยอดการส่งออกกระเบื้องปูพื้น บุผนังในปี 2554 มีการส่งออกลดลงเป็นอย่างมากในตลาดสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป จากผลกระทบของสภาวะเศรษฐกิจ”นี่คือสถานการณ์ปัจจุบัน (างมาจากความเห็นของที่ปรึกษาของผู้ถือหุ้นเกี่ยวกับคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ บริษัท โรแยล ซีรามิค อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)–บริษัท แคปปิตอล แอ๊ดแวนเทจ จำกัด แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ 31 พฤษภาคม 2555
ที่ปรึกษาทางการเงินรายนี้ ซึ่งว่าจ้างโดยอาร์ซีไอ ให้ความเห็นในประเด็นสำคัญไว้อย่างน่าสนใจ
–เกี่ยวกับอาร์ซีไอ ในขณะนั้นอยู่ในกระบวนการขายหุ้นประมาณ 40% ให้กับยูเอ็มไอ
“การที่กิจการประสบปัญหาขาดทุนสุทธิจากการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการดำเนินธุรกิจของกิจการ จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องพลิกฟื้นสถานการณ์และปรับแผนในการดำเนินธุรกิจโดยเร็วเพื่อมิให้ประสบผลขาดทุนจากการดำเนินงานเช่นที่ผ่านมา รวมทั้งล้างผลขาดทุนสะสมที่มีกว่า259.42 ล้านบาท และส่วนของผู้ถือหุ้นเหลือเท่ากับ 281.11 ล้านบาท โดยหากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นที่ผ่านมาและกิจการมิได้มีการเพิ่มทุนอาจจะส่งผลทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นติดลบภายในระยะเวลาไม่นานนัก ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ยิ่งเป็นการยากต่อการแก้ไขผลประกอบการมากกว่าการดำเนินการในช่วงนี้”
–ขณะเดียวกันก็ประเมินยูเอ็มไอในฐานะผู้เข้าซื้อกิจการอาร์ซีไอไว้ด้วย
“เมื่อพิจารณาถึงความสามารถการดำเนินธุรกิจในภาพรวมของผู้ทำคำเสนอซื้อ ซึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันผู้ทำคำเสนอซื้อมีผลประกอบการที่ดี โดยมีกำไรสุทธิต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2552 ซึ่งในช่วงดังกล่าวมีหลายๆ ปัจจัยภายนอกที่ส่งกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ และส่งผลต่อเนื่องมาสู่อุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมของผู้ทำคำเสนอซื้อและกิจการด้วย จึงถือได้ว่าผู้ทำคำเสนอซื้อเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่มีศักยภาพรายหนึ่งในอุตสาหกรรม อีกทั้งยังมีความเข้าใจถึงสภาพปัญหาของการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมนี้เป็นนอย่างดี”
อาร์ซีไอ—ในมุมมองของตระกูลสังขะทรัพย์ ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่และผู้บริหาร ย่อมถือเป็นธุรกิจสำคัญของตระกูลที่เหลืออยู่ ในฐานะครอบครัวธุรกิจเก่าแก่รายหนึ่งของสังคมไทย ขณะเดียวกันมีแนวโน้มไปทางเดียวกับธุรกิจอื่นๆทีมีอยู่ก่อนหน้านั้น –โรงเรียนสมถวิลราฃดำริโรงเรียนเก่าแก่ของกรุงเทพ มีศิษย์เก่ามีชื่อหลายคน เช่น กรณ์ จาติกวนิช ได้ปิดกิจการไปแล้วตั้งแต่ช่วงวิกฤติการณ์ ปี 2540 เช่นเดียวกับการเกิดขึ้นโครงการคอนโดมิเนียมชั้นดี ซึ่งเป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพียงโครงการเดียวทีเคยทำ
อย่างไรก็ตามผู้คนวิเคราะห์กันว่าอาร์ซีไอ มีความพยายามพอสมควรในการปรับปรุงกิจการ พิจารณาจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งประกอบไปด้วยผู้คนที่มีรู้ความสามารถในวงการธุรกิจ แต่เมื่อถึงจุดหนึ่งของสถานการณ์ หากประเมินในภาพรวม กรณีสินค้าจากจีนกับการเกิดAEC ควรจะเป็นสถานการณ์หัวเลี้ยวหัวต่อที่ควรพิจารณา เช่นเดียวกับบทเรียนของธุรกิจเก่าหลายรายที่ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้ เพราะทายาทมีความสนใจหรือตั้งใจดำเนินธุรกิจหรือกิจการอย่างอื่น แม้ว่าช่วงเวลา2ทศวรรษที่ไม่ค่อยราบรื่นของอาร์ซีไอ สะท้อนว่าการเรียนรู่ของบรรดาทายาทตระกูลสังขะทรัพย์ได้ใช้เวลาพอสมควรทีเดียว
ส่วนยูเอ็มไอ ถือเป็นกิจการของตระกูลธุรกิจเก่าแก่รุ่นเดียวกัน แต่มีทีมงานที่มีปีระสบการณ์ธุรกิจมาอย่างดี เป็นทีมผู้บริหารที่ต่อเนื่องอย่างมาก ภายใต้โครงสร้างที่มีบุคลิกเฉพาะ
ผู้บริหารปัจจุบัน โดยเฉพาะ ปวีณา เหล่าวิวัฒน์วงศ์ มีประสบการณ์ในยูเอ็มไอมายาวนาน ตั้งแต่ตำแหน่งสมุห์บัญชี จนถึงประธานกรรมการบริหาร อาจถือว้าในธุรกิจเซารามิกในประเทศไทย เธอคงเป็นคนเดียวที่มีประสบการณ์ยาวนานที่สุด มาอย่างน้อย3 ทศวรรษ ที่สำคัญ เธอสามารถก้าวผ่านจากประสบการณ์ในฐานะนักบัญชีต้นทุน ไปสู่การบริหารพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ และเธอก้าวผ่านจากมืออาชีพ มาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่อันดับสองรองจากตระกูลเพ็ญชาติ
ฝ่ายตระกูลเพ็ญชาติ เริ่มมีบทบาทบริหารมากขึ้น ตั้งแต่ในช่วงก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเป็นต้นมา
เศรณี เพ็ญชาติ เข้ามาดำรงตำแน่งประธานกรรมการ ถือเป็นการผสมผสานที่น่าสนใจ ในฐานะเขามีประสบการณ์การบริหารธนาคาร ที่สำคัญเขามีประสบการณท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างผู้ถือหุ้นสองฝ่าย เชื่อว่าเขาจะนำบทเรียนมาใช้ได้ดี ที่ยูเอ็มไอ ซึ่งมีโครงสร้างคล้ายกัน
เศรณี เพ็ญชาติ เป็นคนที่มีมุมมองและเข้าใจ ธุรกิจและสังคมอย่างกว้างขวาง แม้เป็นคนค่อนข้างเก็บตัว แต่ก็มีความสัมพันธ์กับวงการธุรกิจต่างๆอย่างดีทั้งแวดวงการเงินและต่างประเทศ
ผมค่อนข้างเชื่อว่า การประสานงานอย่างดี ระหว่างกลุ่มผู้ถือหุ้นสองกลุ่มใหญ่ ควรปัจจัยสำคัญของการดำรงอยู่ และในความพยายามสร้างธุรกิจในโมเดลที่เหมาะสม ในฐานะผู้ท้าทายอย่างน่าตืjนเต้น ภายใต้ภาวะที่มีการแข่งขันอย่างเข้มข้น ในพรมแดนที่เปิดกว้างขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นรายใหญ่เสมอไป
ผลประกอบการเปรียบเทียบ(ล้านบาท)
2549 2550 2551 2552 2553 2554
UMI
รายได้รวม 2,352 2,267 2,345 2,352 2,619 2,703
กำไรสุทธิ -151 -139 -115 126 215 118
RCI
รายได้รวม 1, 644 1,378 1,306 1,072 1,096 1,049
กำไรสุทธิ 100 -74 -156 -96 -125 -154