กรุงเทพฯสมัยใหม่(1) จิ๊กซอร์

กรุงเทพฯเดินหน้าอย่างเต็มกำลัง  สร้างบุคลิกความเป็นศูนย์กลางการจับจ่ายใช้สอย(Shopping paradise) ถือเป็นโมเมนตัมที่มีพลัง ในความผันแปรวิถีชีวิตและเมืองหลวงสมัยใหม่ มีขึ้นพร้อมๆกับกับการต่อสู้ของพลังสังคมดั้งเดิม

จากจิ๊กซอร์เหล่านี้  จะสร้างเป็นภาพรวมของสังคมและเศรษฐกิจหลากหลายมิติ  โดยเฉพาะมองผ่านความเคลื่อนไหวที่มีความต่อเนื่อง คึกคักที่สุด  และได้รับตอบรับด้วยความคุ้นเคยอย่างดี –การเกิดขึ้นและพัฒนาของศูนย์การขนาดใหญ่ใจกลางเมือง

2505  

สยามสแควร์เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เป็นการพัฒนาที่ดิน ประมาณ 63 ไร่ บริเวณสี่แยกปทุมวัน ริมถนนพระรามที่ 1 และ ถนนพญาไท ให้เป็นศูนย์การค้า เชิงแบบและเปิดโล่ง พื้นที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยอาคารพาณิชย์ สูง 3-4ชั้น ประมาณ 610 คูหา มีอาคารขนาดใหญ่บ้าง เช่น โรงภาพยนตร์ โรงโบว์ลิ่ง”   (http://www.property.chula.ac.th/)

2516 

สยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าทันสมัยแห่งแรกของเมืองไทยเปิดบริการ เป็นอาคารขนาดใหญ่  สูง4 ชั้น ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามสยามสแควร์ ด้านถนนพระราม 1 ออกแบบโดย Robert G Boughey สถาปนิกชาวอเมริกัน เปิดบริการ ซึ่งถือเป็นโครงการต่อเนื่องจากInterContinental Hotel ก่อนหน้านั้นกว่า 10 ปี

“จุดเริ่มต้นของเรื่องราวเกิดขึ้นยุคจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี ในยุคสหรัฐฯเริ่มเข้ามาบทบาทในภูมิภาคนี้  โดยInterContinental Hotel ได้เสนอสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาว ขนาด 400 ห้องในพื้นที่ใจกลางกรุงเทพฯ ขณะนั้นInterContinentalอยู่ในเครือข่าย Pan American Airline สายการบินระดับโลกของอเมริกา ซึ่งมีบทบาทในช่วงสงครามเวียดนาม ข้อเสนอที่ไม่อาจปฏิเสธได้ จึงเป็นที่มาของบริษัทบริษัทบางกอกอินเตอร์คอนติเนนตัลโฮเต็ลส โดยรัฐเข้าถือหุ้นใหญ่ ร่วมกับเอกชนไทยบางส่วนและ InterContinental      ทั้งนี้โดยมีหน่วยงานท่องเที่ยวของไทยเป็นเจ้าภาพ  พลโทเฉลิมชัย จารุวัสตร์ในฐานะผู้ดูแลการท่องเที่ยวและเป็นคนสนิทของจอมพลสฤษดิ์ จึงเข้ามามีบทบาทตั้งแต่ตอนนั้น”  จากเรื่อง   สยามพิวรรธน์( 1)6 เมษายน 2555

2517

เซ็นทรัลสาขาชิดลม  เปิดตัวขึ้น ห่างจากสยามเซ็นเตอร์ ตามแนวถนนพระราม 1 ต่อถนนเพลิงจิตรเพียงประมาณ 2 กิโลเมตร

2527    

อัมรินทร์พลาซ่า  โครงการศูนย์การค้าและอาคารสำนักงานแห่งใหม่  ริมถนเพลินจิตร ฝั่งตรงข้ามเยื้องๆกับ เซ็นทรัลชิดลม

2528

“MBK เริ่มต้นจากกลุ่มธุรกิจการบริหารศูนย์การค้าแห่งแรก ซึ่งเป็นศูนย์การค้าครบวงจร ที่สามารถตอบสนองความต้องการผู้บริโภคแบบ “One-stop-shopping”ภายใต้ชื่อ ศูนย์การค้ามาบุญครอง โดยเปิดให้บริการในปี 2528 ต่อมาในปี 2543 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์การค้า MBK Center พร้อมเปลี่ยนโลโก้ใหม่เพื่อให้สอดคล้องรับกับรูปโฉมใหม่ของตึก MBK Center (http://mbk-th.listedcompany.com/ )

โครงการใหม่ศูนย์การค้ามาบุญครอง ถือเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯในเวลานั้น  สร้างบนที่ดินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   โดยกลุ่มธุรกิจภายใต้การนำของศิริชัย บูลกุล  แม้เริ่มต้นไม่เป็นตามแผนการ  ต้องชะลอไปช่วงหนึ่ง แต่ก็สร้างเสร็จเปิดดำเนินการได้  ในช่วงเดียวกันกับสังคมธุรกิจไทย ต้องเผชิญกับการปรับตัวจากวิกฤติเศรษฐกิจ  เนื่องจากเป็นโครงการลงทุนจำนวนมากด้วยเงินกู้ทั้งในและต่างประเทศประมาณ3000 ล้านบาท เป็นเหตุให้มาบุญครองต้องดิ้นรนอยู่เกือบสิบปี ในที่สุดเจ้าหนี้ (พัฒนาเป็นกลุ่มเอ็มบีเคในปัจจุบัน) เข้ายึดกิจการส่วนใหญ่ไปราวปี2530-2

2532

ห้างสรรพสินค้าเซน ตั้งอยู่ในศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ แยกราชประสงค์ เป็นอีกห้างหนึ่งที่เซ็นทรัลรีเทลตั้งใจให้เป็นที่สำหรับวัยรุ่น นำเสนอสินค้าและบริการตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนเมืองอย่าง” (http://www.centralretail.com/ )

“ที่ดินผืนใหญ่ย่านราชประสงค์เนื้อที่ประมาณ 65 ไร่   เดิมเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑานุชธวาดิลก  กรมขุนเพชรบูรณ์อินทราชัย พระน้องยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 6 มีชื่อว่า “วังเพชรบูรณ์”  เมื่อสิ้นพระชนม์ วังเพชรบูรณ์ตกทอดถึงทายาท  ต่อมาที่ดินแปลงนี้ถูกนำไปเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันเงินกู้ธนาคารศรีนคร  เพื่อดำเนินธุรกิจสายการบินพาณิชย์แอร์สยาม แต่แล้วก็ประสบปัญหาอย่างหนักจนต้องปิดกิจการ  ธนาคารศรีนครจึงยึดที่ดินแปลงนี้ไป  สำนักงานทรัพย์สินฯได้ตัดสินใจซื้อที่ดินผืนนี้เป็นกรณีพิเศษ   ในปี 2526  บริษัท วังเพชรบูรณ์ จำกัด ของตระกูลเตชะไพบูลย์(เจ้าของธนาคารศรีนครนั่นเอง) เป็นผู้เช่าเพื่อสร้างศูนย์การค้าขนาดใหญ่   แต่การดำเนินงานมีอุปสรรคและความขัดแย้งมากมาย เป็นตำนานหน้าหนึ่งที่ระทึกใจ   แม่ว่า  “เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์”   เปิดตัวได้อีกหลายปีถัดมา  แต่ปัญหายิ่งพอกพูนขึ้น

 เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นก่อน ดร.จิรายุ จะเข้ามาเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ  แต่การแก้ปัญหาจบสิ้นในยุคของเขา  ปี 2545 “ตระกูลจิราธิวัฒน์” แห่งกลุ่มเซ็นทรัล ได้เป็นผู้พัฒนาและบริหาร ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย” (จากข้อเขียนของผมเรื่อง “อาจารย์จิรายุ”  มิถุนายน 2553) ซึ่งมีการปรับโฉมใหม่แล้วเปิดตัวอีกครั้งในปี 2549

2539

เพลินจิต เซ็นเตอร์

2540

ศูนย์การค้าเอ็มโพเรียม– ศูนย์การค้าที่เป็นแรงดึงดูดใหม่ แม้ตั้งห่างจากศูนย์การค้าสยาม ประมาณ 5 กิโลเมตร ตามแนวถนนพระราม 1 เพลินจิตรและต่อเนื่องกับถนนสุขุมวิท เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างกลุ่มเดอะมอลล์กับซีตี้เรียลตีในสัดส่วนใกล้เคียงกัน แต่ในการบริหารศูนย์การค้า กลุ่มเดอะมอลล์มีบทบาทมากเป็นพิเศษในฐานะผู้เชี่ยวชาญ

2540

—โครงการเอราวัณ แบงค็อก ของเอราวัณกรุ๊ป

สยามดิสคัฟเวอรี่ ศูนย์การค้าที่ต่อเนื่องทั้งในแง่ภูมิศาสตร์และความเป็นเจ้าของจากสยามเซ็นเตอร์  เปิดตัวท่ามกลางวิกฤติการณ์เศรษฐกิจ

2546

เกษรพลาซ่า  เกิดขึ้นริมถนนพระราม1 ตัดกับถนนราชดำริ ตรงข้ามกับอัมรินทร์พลาซ่า

2548

สยามพารากอน   เปิดบริการในพื้นที่ต่อเนื่องจากสยามเซ็นเตอร์ และสยามดิสคัฟเวอรี่    ขณะเดียวกันถือเป็นช่วงการปรับโครงสร้างกิจการครั้งใหม่ มาเป็นสยามพิวรรธน์

บริษัท สยามพิวรรธน์   เป็นชื่อใหม่เปลี่ยนมาจากบริษัทบางกอกอินเตอร์คอนติเนนตัลโฮเต็ลส (Bangkok InterContinental Hotels Company Limited หรือ BIHC) ซึ่งก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี2502 เพื่อพัฒนาที่ดินบริเวณวังสระปทุม อีกกว่า4ทศวรรษ (ประมาณปี2546) มีการปรับโครงสร้างบริษัทครั้งสำคัญ   พร้อมๆกับการเปิดโครงการขนาดใหญ่

“โครงสร้างผู้ถือหุ้นก่อนหน้านั้น ส่วนใหญ่ เป็นสถาบัน อันได้แก่ กระทรวงการคลัง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์  ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงเทพ  ธนาคารทหารไทย ธนาคารกสิกรไทย  บริษัท อินเตอร์ คอนติเนนตัล โฮเต็ลส คอร์ปอเรชั่น  และบริษัท บุญรอดบริวเวอรีโครงสร้างผู้ถือหุ้นก็มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย โดยเฉพาะไม่ปรากฏชื่อกระทรวงการคลัง บริษัท อินเตอร์ คอนติเนนตัล โฮเต็ลส คอร์ปอเรชั่น และสำนักงานทรัพย์สินฯ แต่มีเอกชนรายใหม่ๆเข้ามาแทน ที่น่าสนใจ คือตระกูลศรีวิกรม์ ผู้บริหารศูนย์การค้าเกษรพลาซ่า อยู่บริเวณแยกราชประสงค์ และบริษัทเอ็ม บี เค แห่งศูนย์การค้ามาบุญครองซึ่งอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน อ้างจากข้อเขียนชิ้นหนึ่งของผมที่เขียนเมื่อต้นปีที่แล้ว เกี่ยวกับกลุ่มธนชาติและเอ็มบีเค โดยตั้งใจไม่กล่าวกล่าวผู้ถือใหญ่บ่างราย ที่เป็นราชนิกูล

2556

สยามเซ็นเตอร์  เปิดตัว  หลังจากปิดปรับปรุงครั้งใหญ่ ด้วยการลงทุนถึง 600 ล้านบาท

กำหนดเปิด—เซ็นทรัล เอ็มบาสซี ตั้งอยู่บนถนนเพลินจิต บนพื้นที่ส่วนหนึ่งของสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย ติดกับเซ็นทรัลชิดลม

บทวิเคราะห์ จากมุมมองทางธุรกิจ สู่เศรษฐกิจและสังคมจะตามมาในตอนต่อๆไป

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: