รถไฟความเร็วสูง(2)

สิ่งแรกๆที่ควรพิจารณา ดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง  ถือเป็นเรื่องใหญ่มากเรื่องหนึ่ง  ความพยายามวิเคราะห์ความเป็นไปของสังคมไทย  โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างเมืองหลวง เมืองใหญ่ หัวเมืองและชนบท  จากนั้นควรข้ามผ่านปัญหาทางเทคนิคและงบประมาณ  สู่การออกแบบตอบสนองสังคมในภาพรวม

 

ผมเคยนำเสนอพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงหัวเมืองและชนบท โดยพยายามเชื่อมโยงกับเมืองหลวง มองผ่านกิจกรรมหลักทางเศรษฐกิจ  เกษตรกรรม อุตสาหกรรม  และการค้าปลีกอย่างคร่าวๆ ซึงความจริงไม่สามารถมองภาพที่แยกออกจากนั้นเช่นนั้น   ควรขยายเป็นภาพความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนที่เชื่อมโยงไปสู่โอกาสใหม่ของผู้คน

 

สถานการณ์

ระบบเศรษฐกิจในชุมชนเกษตรดั้งเดิมของไทย เริ่มต้นปะทะกับปรากฏใหม่อันน่าทึ่งในช่วงท้ายของยุคสงครามเวียดนาม แม้เป็นการเริ่มต้นจากจุดเล็กๆเมื่อเปรียบเทียบกับอาณาบริเวณอันกว้างใหญ่  แต่ถือเป็นหน่อของวิวัฒนาการสำคัญ ของเศรษฐกิจใหม่ในชนบท

ภาพเกษตรกรรมแปลงใหญ่ เป็นชิ้นส่วนชิ้นหนึ่งของภาพรวมสถานการณ์ใหม่ในชนบทไทย  กำลังเดินหน้าเข้าสู่ของระบบเศรษฐกิจพื้นฐานซับซ้อนขึ้นในเชิงการผลิต  เกษตรกรรม กำลังพัฒนาโมเดลธุรกิจที่น่าสนใจมากขึ้น  ด้วยความพยายามสร้างวงจรทีทอดยาวไปยังการผลิตเชิงอุตสาหกรรม

ขณะเดียวกันเกษตรกรรมรายย่อยก็เติบโตด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้รับแรงกระตุ้นจากตลาดที่มีความต้องการมากขึ้น ทั้งจากเมืองใหญ่และประเทศใกล้เคียง โดยเฉพาะผลไม้ และพืชผัก ซึ่งนับวันจะเป็นสินค้าที่มีความต้องการมากขึ้น ต้องผลิตจำนวนมากขึ้นและต้องการเข้าถึงตลาดอย่างรวดเร็วมากขึ้น

กรณีข้าวหอมมะลิ เป็นบริบทใหม่เพียงบริบทเดียวของเกษตรกรรมพื้นฐานของไทย แต่สะท้อนภาพใหม่ว่าด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างหลากหลาย สร้างมูลค่าเพิ่มที่ไม่เชื่อมโยงกับการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของเกษตรกรรมทำนาของประเทศที่ผลิตข้าวเพื่อการส่งออกมากที่สุดประเทศหนึ่งของโลก   แนวทางสายมูลค่าเพิ่ม ก่อให้เกิดกลุ่มการผลิตขนาดเล็ก หรือเกษตรกรรายย่อยที่พยายามสร้างที่ยืนของตนเอง

เมือมองจากภาคอุตสาหกรรมการขยายตัวสู่หัวเมืองและชนบทอย่างเป็นกระบวนมากที่สุด      ต่อเนื่องจากรัฐบาลได้ขยายเขตการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมของรัฐไปในขอบเขตทั่วประเทศ มากกว่า 35 แห่ง รวมทั้งนิคมอุตสาหกรรมของเอกชน ที่สร้างขึ้นสำหรับกิจการในเครือข่ายของตน ไม่ว่า กลุ่มสหพัฒน์ กลุ่มกระทิงแดง และเกษตรรุ่งเรือง ไปจนถึง อุตสาหกรรมรายย่อยนอกนิคมอุตสาหกรรมอีกจำนวนมมาก

ภาพการเกิดขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นของชุมชนรอบๆเขตอุตสาหกรรมเป็นเรื่องใหม่และน่าตื่นเต้น ขณะเดียวการผลิตการเกษตรอย่างเป็นระบบที่มีส่วนผสมการผลิตของหัตถกรรมและอุตสาหกรรมสมัยใหม่บางระดับ ซ่อนตัวอย่างเงียบๆในชุมชน   สินค้าที่มีคุณค่าเชิงวัฒนธรรมและสะท้อนบุคลิกชุมชน  และสร้างสรรค์ทางประวัติศาสตร์ของสังคมหัวเมืองและชนบท ได้กลับมามีชีวิต มีการฟื้นฟูขึ้นอีกครั้ง  เป็นภาพที่ขัดแย้งระหว่างอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยี่สมัยใหม่  กับความรับรู้และเข้าถึงคุณค่าทางวัฒนธรรมของชุมชนดั้งเดิมที่พยายามสืบสานต่อมา

เครือข่ายการค้าปลีกขยายตัวทั่วประเทศ  เป็นตัวเร่งที่สำคัญมาก ของโฉมหน้าใหม่ของหัวเมืองและชนบท ทั้งนี้มาจากระบบเศรษฐกิจหัวเมืองและชนบทมีรากฐานมั่นคง เป็นอิสระจากเมืองใหญ่มากขึ้น   มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม(รวมทั้งเครือข่ายและห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องของรายย่อย) การปรากฏขึ้นของธุรกิจรายย่อยในหัวเมือง และชนบท ที่อยู่ในระบบห่วงโซ่ต่างๆของเครือข่ายค้าปลีกรายใหญ่    รวมทั้งระบบแฟรนไชส์ ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง และมีจำนวนมากขึ้น

เครือข่ายค้าปลีกขนาดใหญ่ เริ่มต้นปักหลัก จากเมืองหลวงในยุคเศรษฐกิจเฟื่องฟู ราวปี 2531เป็นต้นมา จากนั้นมาก็ค่อยๆคืบคลานสู่หัวเมือง

เครือข่ายค้าปลีกได้นำบริการ นอกเหนือสินค้าคอนซูเมอร ไปสู่หัวเมืองและชนบทด้วย  ไม่ว่าเครือข่ายธนาคาร สินค้าสื่อสาร  ตามมาด้วยอย่างกระชั้นชิด  ปรากฏการณ์การขยายตัวเครือข่ายการค้าสมัยใหม่  พัฒนาไปอย่างเร่งรีบและรวดเร็วในระยะไม่กี่ปีมานี้  ขณะเดียวชุมชนเกษตรกรรมและหัตกรรมริมทางหลวง  ได้สร้างตลาดย่อยขึ้นจำนวนมากเช่นกัน   รวมทั้งระบบหาบเร่ยุคใหม่(ด้วยรถปิคอัพหรือรถพุ่มพวง) ก็เป็นเครือข่ายค้าปลีกที่มีจำนวนมากในหัวเมือง และชนบท โดยสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากที่สุด เป็นปรากฏการณ์ย่อยๆที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะในแง่มุมการเกิดขึ้นของผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมาก   และระบบอาชีพหลากหลาย( Multi-career) ขึ้นอย่างน่าสนใจ

การเปลี่ยนแปลงข้างต้นได้สร่างระบบการจ้างงานจำนวนมากขึ้นตามหัวเมืองและชนบท การเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่เมืองหลวง ควรจะอยู่ในภาวะไม่ขยายตัวเช่นแต่ก่อน ขณะเดียวกันส่วนผสมของประชากรตามหัวเมืองและชนบทค่อยๆเปลี่ยนแปลงไป  นอกจากการเกิดขึ้นของเครือข่ายการผลิตสมัยใหม่ทั้งการเกษตรแปลงใหญ่ อุตสาหกรรม การค้าและบริการ  ผู้บริหารระดับกลางของธุรกิจมีความจำเป็นต้องมีบทบาทในหัวเมืองและชนบทมากขึ้น  ยังรวมถึงการเปลี่ยนแปลงประชากรที่น่าสนใจ อีกสองกลุ่ม  หนึ่ง-กลุ่มคนในยุค Baby boom กำลังเกษียณตนเองจากระบบงานประจำ   ประชากรกลุ่มนี้มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าผู้เกษียณในยุคก่อน การเคลื่อนย้ายสู่หัวเมืองและชนบท กำลังกลายเป็นกระแสที่เติบโตอย่างเงียบๆ ผู้คนเหล่านี้ยังมีพลังในระบวนการทางเศรษฐกิจใหม่ระดับใดระดับหนึ่ง เช่นเดียวกับเขยฝรั่งซึ่งกระจุกตัวภาคอีสาน

 

แรงกระตุ้น

ปัญหาของเมืองหลวงมีมากขึ้น รวมทั้งความเสี่ยงใหม่ที่เกิดจากน้ำท่วม  เป็นผลพวงจากประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจข้ามผ่านด้วยต้นทุนที่สมเหตุสมผล จากเมืองหลวงของระบบเศรษฐกิจเกษตรเมื่อกว่าสองศตวรรษที่แล้ว เข้าสู่เมืองหลวงของระบบเศรษฐกิจใหม่ นำโดยภาคบริการ

จากสถานการณ์ใหม่ และโดยธรรมชาติของระบบทุนนิยม มีแรงบีบคั้นจากโอกาส จะมีการปรับตัวอย่างรวดเร็ว สิ่งที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้น  ดำเนินไปเป็นทางแยก ไปสุดขั้วข้างใดข้างหนึ่ง

ด้านหนึ่ง-การสร้างระบบสาธารณูปโภคใหม่ ด้วยการลงทุนขนาดใหญ่ เพื่อลดผลกระทบจากวิกฤตการณ์ต่างๆ รวมทั้งมากจากวิกฤติการณ์น้ำท่วม   แต่ทั้งนี้ดูเหมือนจะมุ่งไปที่ลดความเสี่ยงในเชิงเศรษฐกิจและธุรกิจมากกว่าปัญหาสังคม  การวางแผนและการดำเนินการอย่างเร่งรีบ อาจจะกลายเป็นปัญหาภาพรวมที่ซับซ้อนมากขึ้น

อีกด้านหนึ่ง-ภาคการผลิต บริการของระบบเศรษฐกิจมีการเคลื่อนย้ายของจากพื้นที่ราบลุ่มเจ้าพระยา  ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงทางธุรกิจที่มากขึ้น จะเป็นภาพสั่นสะเทือนที่มีต่อเนื่อง และขยายวงต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง  สู่การค้นคิด ปรับตัวในเชิงธุรกิจระดับต่างๆอีกมากมาย

เช่นเดียวผู้คนที่มีทางเลือกทั้งหลายคงต้องประเมินและปรับตัวเพื่อเตรียมลดความเสี่ยงในหลายรูปแบบ  รวมทั้งการเคลื่อนย้ายสู่พื้นที่ใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นครั้งแรกที่เกิดปรากฏการณ์ใหม่

แนวทางหนึ่ง

ผมเคยเสนอแนวคิดหนึ่งที่(ตนเอง)เชื่อว่ามีความสำคัญกับเรื่องนี้อยู่บ้างไม่มากก็น้อย  อาจเป็นสิ่งที่อ้างอิงในบางระดับ (บทความเรื่อง  ยุทธ์ศาสตร์ถนน ) พยายามนำมาประยุกต์เข้ากับโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งเชื่อว่าเป็นโครงการมีความหมายที่สำคัญมาก มากกว่าเครือข่ายทางบก ทางน้ำ และแม้กระทั่งทางอากาศที่มีอยู่เดิม

เครือข่ายรถไฟความเร็วสูง    สร้างระบบการเดินทาง  เข้าถึงอย่างรวดเร็ว มากกว่าเครือข่าระบบถนนเดิมทั้งมวล  เป็นระบบที่ตรงเวลา และมีจุดแวะ เชื่อมต่อกับระบบอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างทั่วถึงทั้งสังคม  ทั้งเป็นบริการสาธารณะที่ผู้คนเข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม  

–โอกาสและสายสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมเกิดขึ้นจากการพบปะ สนทนา มีกิจกรรมต่างๆร่วมกันโดยตรง  ความสัมพันธ์นี้เป็นพื้นฐานของสังคม  แม้วาปัจจุบันแม้ว่าจะมีโทรศัพท์มือถือ  มี Social network เกิดขึ้นเชื่อมผู้คนทั้งโลกเข้าด้วยในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  แต่เครือข่ายใหม่ที่มีชีวิต   ย่อมเป็นพื้นฐานสนับสนุนและเสริมการเชื่อมผู้คนเข้าด้วยกันอย่างเป็นจริงเป็นจัง   ถือเป็นความสัมพันธ์ในการสร้างพลัง และโอกาสทางอุดมคติมากมาย ในทุกมิติ ไม่ว่ารัฐศาสตร์ เศรษฐ์ศาสตร์หรือธุรกิจ

การสร้างกลุ่มพลังทางการเมือง    กลุ่มการจัดการทรัพยากรชุมชนด้วยตนเอง   การเรียนรู้และแลกเปลี่ยนบทเรียนซึ่งกันและกัน  เป็นตลาดของกันและกัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว ชุมชน ฯลฯ    แม้ว่าผู้ใช้ประโยชน์จากเครือข่ายคมนาคมมากที่สุด คือผู้ที่มีโอกาสมากอยู่แล้วในสังคม   การสร้างโอกาสที่เท่าเทียมมากขึ้น  ควรเป็นเรื่องอุดมคติที่ควรพยายามอีกครั้งให้เกิดขึ้นเป็นจริง

–เป้าหมายทางสังคมและชุมชน

การออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูง จึงไม่ควรเป็นเพียงแบบแผนเกี่ยวกับเทคนิคเป็นสำคัญ ควรให้สำคัญในเรื่องเกี่ยวกับสังคม(Social context)

แผนการโครงข่ายขนส่งและคมนาคม  เป็นข้อมูลที่มีค่ามากสำหรับนักค้าที่ดินและเจ้าของโครงการอสังหาริมทรัพย์มาช้านาน  เราควรศึกษาวิจัย และสังเกตการณ์(Research and Observation)กันอย่างจริงจัง ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงในมิติที่กว้าง กระทบต่อผู้คนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะในชุมชนในบริเวณเส้นทางตัดผ่าน การศึกษาวิถีชีวิต ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย   โอกาสทางเศรษฐกิจ ฯลฯ การออกแบบเพื่อตอบสนองกิจกรรมต่างๆ ถืองานเป็นออกแบบที่ท้าทาย

ยุทธศาสตร์การสื่อสาร

ขบวนรถไฟ(ทั้งภายในและภายนอก)และเส้นทาง(รวมทั้งจุดแวะพัก)ได้เปิดพื้นที่อย่างเต็มที่ในการสร้างสรรค์  นอกจากโอกาสทางธุรกิจแล้ว   ถือเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างระบบสื่อสารกับกลุ่มคนต่างๆ  ทั้งผู้โดยสาร  ผู้ผ่านทาง  และสาธารณชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การจัดการระบบข้อมูล เป็นทั้งจุดเชื่อมต่อและมีความจำเป็นด้วยตัวเอง  โดยเฉพาะจากข้อมูลท้องถิ่น ที่ว่าด้วยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม โบราณสถาน หัตถกรรม เกษตรกรรม แหล่งทองเที่ยว ฯลฯ สะท้อนบุคลิกชุมชนอย่างสำคัญ แล้ว การบริหารการสื่อสารอย่างเป็นระบบ สามารถรวบรวบข้อมูลเครือข่ายขนส่ง คมนาคมทั่วประเทศ(รวมทั้งเครือข่ายประเทศเพื่อนบ้านที่ควรมีต่อไป)เป็นฐานข้อมูลใหญ่ขึ้นอย่างอัศจรรย์  รวมไปจนถึงจุดเชื่อมกับการค้าระบบออนไลน์ด้วย

ความคิดและแผนการที่จับต้องได้บางส่วนของผู้เกี่ยวข้องนำเสนอในตอนต่อไป

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

2 ความเห็นบน “รถไฟความเร็วสูง(2)”

  1. คุณคิดว่าประเทศไทยจะมีรถไฟความเร็วสูงเมื่อไหร่ คิดว่าในรุ่นคุณและฉันจะมีโอกาสได้สัมผัสมันหรือปล่าว…

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: