ในฐานะบทความชุดยาวที่เขียนต่อเนื่องหลายเดือน บทสรุป ให้ภาพรวบรัด มีความจำเป็นในบางช่วงบางเวลา โดยเฉพาะเกี่ยวกับสัญลักษณ์พัฒนาการสังคมธุรกิจไทย
แม้ว่าบทความชุดปตท.ยังจะมีอักสัก 2-3 ตอนถึงจะจบอย่างที่ควรจะเป็น แต่การนำความและภาพต่อที่สำคัญจากบทความทั้งหมด มาเชื่อมต่อให้ภาพคมชัด ย่อมเป็นเรื่องที่ควรสำหรับการทบทวนความคิดของผู้อ่านในช่วงเวลาสิ้นสุดปีเกาและกำลังต่อด้วยปีใหม่
องค์กรธุรกิจโตเร็วที่สุด
“ปี 2521 (29 ธันวาคม) จัดตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ในฐานะรัฐวิสาหกิจใหม่ภายใต้สถานการณ์อันยุ่งยากอย่างต่อเนื่อง สังคมไทยเผชิญวิกฤติการณ์น้ำมันถึงสองครั้งในช่วงไม่ถึง 10 ปี ด้วยการควบรวมกิจการรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ คือองค์การเชื้อเพลิง และ องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย” (จาก ปตท. (1) ภาพกว้าง )
ปตท.กลายเป็นองค์กรธุรกิจที่เยาว์วัยที่เติบโตอย่าวงเร็ว แม้ว่าในระดับโลก โดยเฉพาะจีนแผ่นดินใหญ่มีปรากฏการณ์องค์กรที่เคยเป็นของรัฐ แล้วก้าวเขาสู่ธุรกิจยุคใหม่เติบโตอย่างบมหัศจรรย์ แต่สำหรับประเทศไทย กรณีทำนองเดียวกับปตท.ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
“ปตท.มีรายได้ทะลุหลักล้านล้านบาทเป็นกิจการแรกของไทย เป็นการเติบโตประมาณ10 เท่าเพียงทศวรรษเดียว ไม่เพียงเป้นความมหัศจรรย์หากถือว่าเป็นจังหวะก้าวกระโดดสำคัญ ในการขยายตัวด้วยโมเมนตัมแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ปตท.สามารถระดมทุนผ่านตลาดทุนอีกมาก” (อ้างแล้วข้างต้น)
ฐานมาจากผู้นำค้าปลีกน้ำมัน
ปตท.ใช้เวลาเพียงประมาณทศวรรษเดียว ก็บรรลุเป้าหมายสำคัญได้
ทีมผู้บริหารยุตทองฉัตร หงส์ลดารมภ์ เป็นทีททราบกันดีว่า หลายคนมีประสบการณ์ในธุรกิจคาปลีกน้ำมันของบริษัทต่างชาติ พวกเขาจึงมองธุรกิจสถานีบริการเป็นยุทธศาสตร์สำคัญมาก โดยดำเนินตามแผนการที่น่าสนใจ ควรกล่าวถึง 3 ขั้นตอน
หนึ่ง—สร้างแบรด์ใหม่ ย้อนกลับไปถือว่า เป็นเรื่องคลาสสิตทางการตลาดมากเรื่องหนึ่ง ในความพยายามเปลี่ยนภาพลักษณ์จาก “สามทหาร” –สถานีบริการขององค์การเชื้อเพลิงภายใต้การดูแลของทหาร ซึ่งเป็นแบรด์เก่า ล้าสมัย และสะท้อนภาพของความพ่ายแพ้ทางการตลาด สู่สัญลักษณ์ปตท.ใหม่ ซึ่งยังใช้ในปัจจุบัน ที่สำคัญเริ่มต้นโฆษณาครั้งใหญ่ครั้งแรก เชื่อมโยงกับความเป็นไทย
สอง-หัวเมืองล้อมเมือง ความได้เปรียบจากการเริ่มต้นจากต่างจังหวัดนั้น เป็นทีทราบกันดีว่า มาจากความได้เปรียบของระบบลอจิสติกส์ของกิจการน้ำมันแห่งชาติ ปตท.ได้สร้างคลังน้ำมันในต่างจังหวัดไว้มากกว่าคู้แข่งอย่าง Shell Esso และ Caltex เพื่อตอบสนองนโยบายความมั่นคงของรัฐและมุ่งกระจายน้ำมันให้ทั่วถึง
สาม-คุณภาพผลิตภัณฑ์ ถือเป็นความภาคภูมิใจของผู้บริหารปตท.เป็นพิเศษ ว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันกิจการต่างประเทศ ความสามารถในเรื่องนี้แยกไม่ออกจากบทบาทปตท. ในฐานะผู้นำในการลงทุนโรงกลั่นน้ำมัน จึงมีความได้เปรียบในการบริหาร ทั้งต้นทุนและการผลิตนำมันสูตรต่างๆ
จากความเป็นผู้นำในธุรกิจค้าปลีกปลีกน้ำมัน(โดยเฉพาะสถานีบริการ) ปตท.สร้างจินตนาการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง ไปสู่สถานีบริการโมเดลใหม่ มองออกไปสู่ธุรกิจอื่นไม่ใช่น้ำมัน เหตุการณ์สำคัญที่ควรกล่าวถึงคือ ปตท.เข้าซื้อเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทยของ ConocoPhillips ไม่เพียงเป็นการขยายเครือข่ายสถานีบริการในประเทศไทยอย่างก้าวกระโดด ยังถือว่าสืบทอดและพัฒนาโมเดลธุรกิจคาปลีกน้ำมันใหม่ไปไกลกว่าคู่แข่งที่เป็นต่างชาติ รวมทั้งความพยายามสร้างเครือข่ายในระดับภูมิภาค (อ่านเพิ่มเติมจาก ปตท. (4) ผู้นำค้าปลีกน้ำมัน )
โอกาสเริ่มต้นจากตลาดหุ้น
ผมเคยอรรถาธิบายผลพวงของวิกฤตการณ์ตลาดหุ้นในช่วงปี 2540 ประหนึ่งคลื่นที่ซัดกระหน่ำสังคมธุรกิจไทย แบ่งเป็น 3 ละลอกคลื่น คลื่นลูกแรก– กระทรวงการคลังสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินจำนวนมากในปลายปี 2540
คลื่นต่อมา—เป็นครั้งแรกธนาคารหลายแห่งมีอันเป็นไป ถือเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างธนาคารครั้งสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์ และคลื่นลูกหลัง—การล้มละลายกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มที่พัฒนามาจากกิจการอื่นๆ และกลุ่มการค้าเก่าแก่ของไทย ได้แก่ วิทยาคม อี๊สต์เอเซียติ๊ก และเคี่ยนหงวน
ในปีที่ปตท.เข้าตลาดหุ้น มีสถานการณ์ระดับโลกที่ไม่เอื้อ ปีนั้น( 2544) นับเป็นครั้งที่ 4ในรอบ 30 ปี ที่เศรษฐกิจโลกมีอัตราการเจริญเติบโตต่ำกว่า 2.5% ต่อปี และหลังจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 ราคาน้ำมันดิบปรับตัวลดลงอย่างรวดเร็ว อยู่ระดับที่ต่ำกว่า 20 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล เป็นครั้งแรกในรอบ26 เดือน
และแล้วสถานการณ์โลกพลิกผันอย่างรวดเร็งในอีก 3 ปีต่อมา ในปี 2547 เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากวิกฤติครั้งใหญ่ที่ยืดเยื้อพอสมควร การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นในรอบสองทศวรรษ เช่นเดียวราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้น ปตท.ขยายตัวจากสินทรัพย์ระดับ 3แสนล้านบาทในปี2545 เพิ่มเป็น 9 แสนล้านบาทในปี2547 จากกำไรประมาณ 24,000 ล้านบาท ในปี2545 เพิ่มเป็นประมาณ 90,000ล้านบาทในปี 2548-9 ขณะเดียวกันราคาหุ้นจากไม่ถึง 50 บาทในวันเข้าตลาดหุ้นในปลายปี 2545เพิ่มขึ้นทะลุ400 บาทในปี 2547
แม้ว่าปี 2547 ตลาดหุ้นไทยมีท่าที่ดีขึ้นบ้าง แต่สถานการณ์สังคมธุรกิจไทยโดยรวม ยังอยู่ในภาวะต้องแก้ปัญหากันต่อไป
จากปัจจัยราคาน้ำมันในตลาดโลกทะยานเป็นประวัติการณ์ ไม่เพียงเป็นแรงต้านการปรับตัวฟื้นตัว สำหรับธุรกิจอื่นๆเท่านั้น หากส่งผลให้ผลประกอบการขอปตท.ปี 2547 ออกมาดีเกินคาด อย่างสวนกระแส ปตท. ในช่วงนั้นจึงมีความพร้อมมากกว่าใครๆในการแสวงหาโอกาสใหม่ๆ (อ่านร่ายละเอียดเพิ่มเติมจากเรื่อง ปตท.(7) เข้าตลาดหุ้น )
ยุทธศาสตร์ใหญ่พลิกผัน
สังคมธุรกิจไทยในยุค “โชติช่วงชัชวาล”มอง Petrochemical Complex เป็นเรื่องยุทธศาสตร์ที่น่าสนใจ ในมิติและความหมายที่กว้างขวางขึ้น
ภาพนั้นถูกกำกับอย่างตั้งใจ มาตลอดช่วงยุครัฐบาลเปรม ติณสูลานนท์(3 มีนาคม 2523- 4 สิงหาคม 2531 ) โดยมีดร.จิรายุ อิศรางกูร เป็นรัฐมนตรีกำกับยุทธศาสตร์อย่างเข้มข้นและใกล้ชิดด้วย (รัฐมนตรีช่วยว่าการอุตสาหกรรม11 มีนาคม 2524- 19 กันยายน 2528 รัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม 19 กันยายน 2528- 11 สิงหาคม 2529 และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 11 สิงหาคม 2529-27 กรกฎาคม 2530) โดยไม่คาดคิดว่าในช่วงอีกเกือบสองทศวรรษต่อจากนั้นมา จะพลิกผันอย่างเหลือเชื่อ
ภาพนั้น มองจากความเคลื่อนไหวอันคึกคักของบริษัทร่วมทุนในกิจการปิโตรเคมีตั้งต้น กิจการทั้งหลายเข้าสู่สนามการแข่งขันเพื่อเขาร่วมอุตสาหกรรมต่อเนื่องจำนวนมาก เป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ(International bidding) เป็นเหตุการณ์ใหญ่มากของสังคมธุรกิจในช่วงปลายรัฐบาลเปรม (ปี 2529-2531) ผลที่ออกให้ภาพที่น่าสนใจ
หากไม่นับรวมผู้บุกเบิกธุรกิจปิโตรเคมีมาก่อนหน้า ยังได้ปรากฏโฉมหน้าของกลุ่มธุรกิจอิทธิพลดั้งเดิมของสังคมไทยร่วมวงด้วย โดยเฉพาะธนาคารกรุงเทพ ในยุคชาตรี โสภณพนิช กับซีพี เข้าร่วมวงด้วยในฐานะผู้ร่วมทุนกับต่างชาติ ในช่วงเริ่มต้นการเรียนรู้ธุรกิจใหม่ บุตรชายคนสำคัญของเขาเข้ามาเกี่ยวข้องโดยตรง
แต่ความชัดเจนทั้งมวล ควรเพ่งมองไปที่เอสซีจี ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มีบทสรุปที่ชัดเจนมาก ธุรกิจเคมีภัณฑ์ซึ่งมีโครงสร้างธุรกิจเฉพาะหลายรูปแบบ ทั้งเอสซีจีมีสัดส่วนถือหุ้น 100% และบริษัทร่วมทุนกับผู้นำในอุตสาหกรรมระดับโลก อาทิ Mitsui Chemicals Mitsubishi Rayon แห่งประเทศญี่ปุ่น Dow Chemical แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ธุรกิจเคมีภัณฑ์ของเอสซีจีได้กลายเป็นธุรกิจที่มียอดขาย มากกว่าครึ่งของทั้งทั้งเครือ หลังจากก่อตั้งขึ้นมาเพียงไม่ถึง2 ทศวรรษ (อ่านเพิ่มเติมจาก ปตท. (5) ฐานความมั่งคั่งใหม่ )
และแล้วผมได้นำเสนอบทสรุปที่สุ่มเสี่ยงประการหนึ่ง –ความอ่อนไหวของสังคมไทย ต่อกรณีทักษิณ ชินวัตร มีความเชื่อมโยงโดยตรง จากกรณีการสะสมความมั่งคั่งจ่ากกลุ่มชินคอร์ป รวมมาถึงกรณียุทธศาสตร์ปิโตรเคมีพลิกผัน โดยปตท.อยู่ในศูนย์กลางของของความผันแปร(รายละเอียด อ่านจากเรื่อง ปตท.(8) ความอ่อนไหว )
เรื่องราวและจังหวะก้าวของ ปตท. จึงมักข้ามพรมแดนทางธุรกิจ เศรษฐกิจ สู่มิติทางสังคมและกาเมืองได้อย่างง่ายดาย
——————————————————————–
ข้อมูลทางการเงินปตท.(2542-2554)
(ล้านบาท)
2542 2543 2544 2545 2546 2547 2548
สินทรัพย์ 199,156 229.854 391,216 298,988 324,331 487,226 651,223
รายได้ 234,921 375,527 386,415 396,551 489,713 644,693 926,269
กำไร -6,260 12,280 21,565 24,352 37,580 62,666 85,521
2549 2550 2551 2552 2553 2554
สินทรัพย์ 753,192 891,524 885,193 1,103,590 1,229,109 1,402,412
รายได้ 1,213,985 1,508,129 2,000,815 1,586,174 1,898,682 2,428,164
กำไร 95, 582 97,800 51,705 59,548 101,504 125,225
ที่มา : รายงานประจำปี
ผู้บริหารปตท.
ผู้ว่าการการ
ทองฉัตร หงส์ลดารมภ์
2522-2530
อาณัติ อาภาภิรม
2530 -2533
เลื่อน กฤษณกรี
2533 รักษาการผู้ว้าการ
2534-2538
พละ สุขเวช
3538-2542
——————————-
วิเศษ จูภิบาล
2542 – 2544 ผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
2544 – 2546 กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
——————————
กรรมการผู้จัดการใหญ่
ประเสริฐ บุญสัมพันธ์
2546-2554
ไพรินทร์ ชูโชติถาวร
2554-