ว่ากันว่ายุทธศาสตร์พื้นฐานธุรกิจพลังงาน จะต้องลงลึกธุรกิจขั้นต้น(Up stream) อย่างถึงราก และขยายจินตนาการอย่างกว้างไกลในธุรกิจขั้นปลาย (Down stream) ดูเหมือนปตท.ก็มีความพยายามเช่นนั้น
จากประสบการณ์ยากลำบากในยุคต้นๆของปตท. ในบทบาทและความพยายามในฐานะกลไกขอวงรัฐ ในการแสวงหาพลังงาน(โดยเฉพาะน้ำมัน)เพื่อใช้ในประเทศ ซึ่งมีความผันแปรตามสถานการณ์ เมื่อปตท.ก้าวไปอีก 2ก้าวสำคัญ แรงขับเคลื่อนใหม่ จึงมีมากเป็นพิเศษ
—วางรากฐานธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยมในประเทศ ถือเป็นยุทธศาสตร์ค่อยเป็นค่อยไป ในสถานการณ์ที่ธุรกิจระดับโลกครอบงำ ในที่สุดเมื่อกว่าทศวรรษผ่านไป กิจการจึงมีความมั่นคงและก้าวหน้าขึ้นมาก
—ขยายธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยมสู่ต่างประเทศ แม้ว่าจะอยู่ในระยะเริ่มต้นเป็นส่วนใหญ่ ก็มีความมุ่งมั่นอย่างมาก ด้วยการขยายการลงทุนอย่างกว้างขวางทั่วโลกประมาณ 30 โครงการ ดังที่กล่าวมาในตอนที่แล้ว
ถือเป็นยุทธศาสตร์ลงสู่รากฐานธุรกิจพลังงานอย่างแท้จริง รากฐานธุรกิจพลังงานที่ว่าอยู่ในช่วงของราคาพลังงานคงอยู่ระดับสูงอย่างต่อเนื่องที่สุดในประวัติศาสตร์ ย่อมเป็นธุรกิจที่ได้รับผลตอบแทนที่ดี โปรดพิจารณาตารางผลประกอบบทความ(ขออนุญาตนำมาพิจารณาประกอบอีกครั้ง) จะพบว่าสถิติ ผลประกอบการของปตท.สผ.(PTTEP) มีอัตราส่วนที่น่าสนใจ ถือเป็นบริษัทสำคัญที่มีผลกำไรสูงที่สุดในกลุ่มปตท. (รายได้น้อยกว่าปตท.นับสิบเท่า แต่กำไรสูงถึงประมาณครึ่งหนึ่งของปตท.)ก็ว่าได้
หากมองภาพรวม การสร้างฐานธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยมอย่างมั่นคงในขอบเขตทั่วโลก นอกจากสะท้อนแนวคิดและแรงบันดาลใจของความเป็นธุรกิจระดับโลกในแง่โอกาสและความสัมพันธ์ ยังสะท้อนถึงวิสัยทัศน์ที่อ้างอิงกับระดับโลกด้วย
เมื่อไม่นานมานี้ ผมเพิ่งได้ฟังอย่างคร่าวๆ –การอภิปรายของดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ผู้จัดการใหญ่ ปตท.คนปัจจุบัน เกี่ยวกับแนวโน้มของพลังงานโลก มีบทสรุปที่น่าสนใจ อันเนืองมาจากพัฒนาการใหม่ของเทคโนโลยีการสำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยม ที่เรียกว่า Shale gas (เทคโนโลยีใหม่ในการผลิต จากการระเบิดหินดินดาน เรื่องนี้ดร.วีรพงษ์ รามางกูร— ได้นำเสนอในบทความของเขาด้วย–เศรษฐกิจไทย ปี 2556 หนังสือพิมพ์ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับต้นปีนี้) นำไปสู่แนวโน้มใหม่ที่ว่าด้วย การปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญของการใช้พลังงานในระดับโลก จากเดิม—ถ่านหิน สู่น้ำมันปัจจุบัน และเชื่อว่ากำลังปรับไปสู่การใช้ก๊าซธรรมชาติ
จากแนวโน้มนี้ เชื่อว่าการพัฒนาแหล่งปิโตรเลี่ยมของปตท.ในขอบเขตทั่วโลก ซึ่งอยู่ในการสำรวจเป็นส่วนใหญ่ ก็คงดำเนินไป ด้วยจังหวะก้าวที่สอดคล้องกับความเป็นไปของทิศทางพลังงานโลกมากขึ้น
หากมองภาพรวมเฉพาะธุรกิจในกลุ่มปตท. ธุรกิจขั้นต้น(Up stream) จะเป็นรากฐานสำคัญของบธุรกิจต่อเนื่อง ตั้งแต่การค้าปลีกน้ำมันในปัจจุบัน ถือเป็นเครือข่ายธุรกิจสถานีบริการนำมันที่ใญ่ที่สุดในประเทศและกำลังขยายตัวสู่ภูมิภาค แม้ว่าผลตอบแทนทางธุรกิจในธุรกิจค้าปลีกนำมันไม่มากนัก แต่ก็สามารถจินตนาการใช้เครือข่ายค้าปลีกน้ำมันไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ซึ่งปตท.พยายามทำอยู่ อย่างได้ผล ทั้งนี้เชื่อว่าจะขยายตัวด้วยแนวคิดทำนองเดียวกัน สู่เครือข่ายสถานีบริการพลังงานทีมาจากก๊าซธรรมชาติในไม่ช้า
ที่สำคัญมากในเชิงยุทธ์ศาสตร์ เป็นภาพต่อเนื่องไปสู่ธุรกิจขั้นปลาย( Down stream) ซึ่งกำลังเริ่มต้นขึ้นอย่างครึกโครม
ในตอนที่แล้วผมเสนอว่า “ทั้งPTTEP และ PTTGC ถือธุรกิจสองกลุ่มใหม่ข้ามผ่านจากความเป็นองค์กรพื้นฐานจากความเป็นกิจการพลังงาน ที่มีความสัมพันธ์ระดับโลกสองขั้นตอน” (ธุรกิจที่พึ่งพิงแหล่งพลังงานและเทคโนโลยีระดับโลก) แต่เนื่องด้วยพื้นที่จำกัด จึงเสนอได้เพียงเฉพาะเรื่องราวและยุทธศาสตร์ของปตท.สผ. (PTTEP )เท่านั้น
พีทีที โกลบอล เคมิคอล(PTTGC ) เป็นกลุ่มธุรกิจใหม่ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว แม้ว่าการก้าวเข้าสู่ธุรกิจจะแตกต่างจากเครือซิเมนต์ไทยหรือเอสซีจี แต่ก็มีบางยุทธ์ศาสตร์ที่ศึกษาบทเรียนจากเอสซีจี(เรื่องราวและภูมิหลังของ PTTGC เขียนไว้หลายตอนก่อนหน้านี้ จึงไม่ขอนำมาเสนอซ้ำอีก ) นั่นคือมุ่งสู่อุตสาหกรรมผลิตสารตั้งต้น ซึ่งถือว่ายังอยู่ธุรกิจขั้นต้น(Up stream)โดยเฉพาะอะโรเมติกส์ ทั้งนี้ถือเป็นกิจการที่ทั้งปตท.และเอสซีจี ต้องเป็นผู้ควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จ แต่จากนั้นในอุตสาหกรรมขั้นต่อเนื่องที่มีมูลค่าสูงขึ้น ที่ตนเองไม่มีเทคโนโลยี จึงจำเป็นต้องพึ่งพิงกับเจ้าของเทคโนโลยี่ ตั้งกิจการร่วมทุนขึ้นในประเทศไทย เป็นแนวทางที่เอสซีจีเดินมาก่อน ปตท.ก๋เดินตาม
จนมาถึงความร่วมมือกันระหว่างปตท.กับเอสซีจีในการสร้างอุตสาหกรรมพื้นฐาน(Up stream) ในต่างประเทศ ในแง่มุมนี้ ปตท.แต่เอสซีจีไม่เพียงมีฐานะเป็น คู่แข่งหากเป็นพันธมิตรด้วย เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ที่ปตท.ก้าวเข้าสู่ธุรกิจปิโตรเคมีครบวงจรในประเทศ พื้นที่ว่างสำหรับเอสซีจีซึงถือเป็นรายใหญ่มาก่อนหน้าย่อมแคบลง แต่มุมมองที่กวางขึ้น เป็นธุรกิจระดับโลกที่มีคู่แข่งรายใหญ่ที่น่ากลัวมากมาย ในเวที่กว้างขึ้นกว่าประเทศไทย การร่วมมือระหว่างปตท.กับเอสซีจี อาจเป็นเรื่องจำเป็น เป็นการผนึกกำลังที่สามารถสร้างตำแหน่งที่สำคัญในเวทีโลกได้ เช่น โครงการในอิหร้าน
แต่ปตท.มีหลายสิ่งหลายอย่างทีแตกต่างออกไปจากเอสซีจี
–ปตท.มีห่วงโซ่ทางธุรกิจขั้นต้นยาวสู่พื้นฐานมากกว่า ในฐานะเจ้าของสัมปทานแหล่งก๊าซธรรมชาติทั้งในและต่างประเทศ ร่วมทั้งเป็นคู่สัญญารายเดียวในฐานะตัวแทนของรัฐกับเจ้าของสัมปทานต่างชาติในระเทศไทย
–ในส่วนธุรกิจขั้นปลายที่ในหลายกรณีร่วมทุนกับเจ้าของเทคโนโลยี ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ปตท.ก้าวไปไกลกว่าเอสซีจี อีกขั้น คือการเข้าร่วมทุนกับกิจการระดับโลก โดยมองภาพใหญ่ที่กว้างขึ้น
“พฤษภาคม 2555 —บริษัท PTTGC (Netherlands) ซึ่งเป็นบริษัทที่บริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 100 ผ่านทางบริษัท PTT Chemical International Private Limited ได้ดำเนินการเข้าซื้อหุ้นร้อยละ 51 ของหุ้นทั้งหมด ในบริษัท Perstorp Holding France SAS จากผู้ถือหุ้นเดิม พร้อมกันนี้ยังได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อจากบริษัท Perstorp Holding France SAS เป็น VENCOREX Holding “รายงานทางการของ PTTGC( http://www.pttgcgroup.com ) ระบุอีกว่า “บริษัทมีความสามารถผลิตภัณฑ์พิเศษที่มีมูลค่าเพิ่มสูง สร้างสรรค์จากนวัตกรรมล้ำหน้าที่ตอบสนองตอบสนองความต้องการและรูปแบบการใช้ชีวิตของผู้บริโภค เพื่อเพิ่มโอกาสในการขยายตลาดให้กับบริษัท”
Perstorp Group เป็นกิจการ แห่งเนเธอรแลนด์ ซึ่งมีก่อตั้งมาแล้วถึง 130 ปี เป็นเจ้าของเทคโนโลยีขั้นสูงที่ต่อเนื่องจากปิโตรเคมี่ มีผลิตภัณฑ์ที่ใช้ใน อุตสาหกรรมการบิน เดินเรือ เคมีภัณฑ์ พลาสติก วิศวกรรม และการก่อสร้าง รวมทั้ง อุตสาหกรรมรถยนต์ อาหารสัตว์ บรรจุภัณฑ์อาหาร สิ่งทอ กระดาษ และอุปกรณ์ไฟฟ้า โดยมีเครือข่ายการผลิตส่วนใหญ่ อยู่ในยุโรป ส่วนในเอเชีย มีที่จีน อินเดีย และสิงคโปร์
ในภาพยุทธ์ศาสตร์ของปตท.ที่นอกจากปิโตรเคมี(ปัจจุบันมักเรียก เคมีภัณฑ์) ในฐานะกิจการระดับโลกมองภาพพลังงานไปสู่อนาคตพอสมควร ไม่ว่าการลงทุนสิ่งที่มีความเชื่อมโยงอย่างเป็นไปได้ กรณี “—บริษัท PTTGC International (USA) Inc. ซึ่งเป็นบริษัทที่บริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 100 ผ่านทางบริษัท PTT Chemical International Private Limited ได้ร่วมลงทุนร้อยละ 50 ในบริษัท NatureWorks LLC. ประเทศสหรัฐอเมริกา(2555)
กลุ่มผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี ผลิตภัณฑ์จากไขมันพืชและสัตว์ เป็นกลุ่ม ไบโอเคมิคอล ได้แก่ แฟตตี้แอลกอฮอล์ สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมยา เครื่องสำอาง และอนามัยส่วนบุคคล และ เมทิลเอสเตอร์จากวัตถุดิบธรรมชาติ สำหรับผสมในไบโอดีเซลเพื่อ ใช้เป็นเคมีภัณฑ์ทดแทน” รายงานของ PTTGC อีกชินหนึ่ง
หรือที่ไปไกลกว่านั้น กรณี PTTGE (พีทีทีกรีนเอนเนอยี่ บริษัทในเครือปตท.โดยตรง) จัดตั้งขึ้นในประเทศสิงคโปร์ในปี 2550 มีเพื่อการลงทุนในธุรกิจปาล์มน้ำมันในขั้นต้น—ลงทุนพัฒนาสวนปาล์มในอินโดนีเซีย โดยอ้างว่าเพื่อเป็นแหล่งพลังงานทดแทนให้ประเทศ ตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน เท่าที่ตามข่าวปัจจุบันได้ปลูกปาล์มไปแล้วประมาณ 2 แสนไร่ โดยให้ผลิตแล้วประมาณ 40,000 ไร่ รวมทังมีการตั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มไปแล้ว 1 แห่ง
กรณีลงทุนในธุรกิจปาล์มน้ำมัน ถือว่าอยู่ในช่วงจังหวะการรุก “อย่างกระจัดกระจาย” ในช่วงคาบเกี่ยวกับกรณีซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมัน ConocoPhilipps และพยายามซื้อ Carrefour ซึ่งได้สร้างกระแสข้อสงสัยอย่างกว้างขวาง จนถึงวันนี้ผ่านมาแล้วประมาณ 5ปี ยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่า และมีการประเมินบทบาทความเชื่อมโยงกับยุทธ์ศาสตร์ใหญ่ของปตท.อย่างไร
โปรดติดตามปตท.ตอนจบในฉบับหน้า
ข้อมูลทางการเงินสำคัญของกลุ่มปตท.
(ล้านบาท)
สินทรัพย์ปี 2552 2553 2554 2555ไตรมาส3
PTT 1,103,589 1,249,147 1,402,412 1,603,200
PTTEP 300,710 342,219 447,842 532,060
PTTGC 372,966 424,737
รายได้
PTT 1,622,078 1,943,858 2,475,494 2,097,408
PTTEP 120,338 147,572 173,449 158,745
PTTGC 106,775 423,909
กำไร
PTT 59,547 83,087 105,296 81,953
PTTEP 22,153 41,738 44,748 43,547
PTTGC 2,113 23,613
จาก ตลาดหลักทรัพย์ฯ