จังหวะก้าวของปตท.ต่อไปนี้ จะถูกจับตามากขึ้น ทั้งบทบาทในสังคมไทย และสังคมธุรกิจโลก ท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างบุคลิกที่แปรเปลี่ยน กับประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจหลีกหนี
เรื่องต่อเนื่อง
ปตท.(1) ภาพกว้างปตท. (2)วิกฤติกับโอกาส
ปตท.(3)ทีมบุกเบิกปตท. (4) ผู้นำค้าปลีกน้ำมัน
ปตท.(5)ฐานความมั่งคั่งใหม่ ปตท.(6) สู่ธุรกิจต้นน
ปตท.(7) เข้าตลาดหุ้น ปตท.(8) ความอ่อนไหว
ปตท.(9) ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ปตท.(10) ไพรินทร์ ชูโชติถาวร (ต่อ)
ปตท.(11) เติบโตและพลิกผัน ปตท.(12)ธุรกิจระดับโลก
จากรัฐวิสาหกิจ สู่บริษัทในตลาดหุ้น
ปตท.มีประวัติศาสตร์ไม่นานเกินไป จะข้ามผ่านจุดเริ่มต้นเมื่อเมื่อกว่าสามทศวรรษที่แล้ว-การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (29 ธันวาคม2521 )รัฐวิสาหกิจใหม่จัดตั้งขึ้นในสถานการณ์อันยุ่งยาก สังคมไทยเผชิญวิกฤติการณ์น้ำมันถึงสองครั้งในช่วงไม่ถึง 10 ปี ความเป็นไปในช่วงก่อตั้งค่อนข้างฉุกละหุก เนื่องจากประเทศไทยไม่สามารถนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้เพียงพอกับความต้องการ ทั้งๆที่กิจการน้ำมันทั้งหมดเป็นของบริษัทต่างชาติ
ความคาดหวังอย่างสูงในฐานะองค์กรของรัฐที่มีบทบาทสำคัญ จึงเกิดขึ้นตั้งแต่บัดนั้น เชื่อว่าเป็นมรดกทางความเชื่อ ถูกส่งทอดมาสู่สาธารณะชนในปัจจุบัน แม้ว่าปตท.ได้กลายเป็นบบริษัทจำกัด ตามกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 และต่อมาก้าวไปอีกขั้นด้วยการเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทย(2544) แล้วก็ตาม
ความคาดหวังมาจากความเป็นองค์กรลักษณะพิเศษที่มีอภิสิทธิ์ของรัฐซ่อนอยู่ด้วย โดยเฉพาะปตท.ยังคงบทบาทในฐานะผู้จัดหาพลังงาน(น้ำมันดีเซลและก๊าซธรรมชาติ)ให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ เพื่อทำหน้าที่อันศักดิ์สิทธิในการรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของสังคมไทย และปตท.ในฐานะคู่สัญญารับซื้อปิโตรเลี่ยมจากผู้รับสัมปทานต่างชาติทุกรายในประเทศไทย
ประสบการณ์กรณีมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภคยื่นฟ้องรัฐบาลต่อศาลปกครอง( 31สิงหาคม 2549) ขอให้เพิกถอน พระราชกฤษฎีกา การแปลงสภาพปตท. เป็นบริษัทจำกัด แม้ผลสรุปไม่ทำให้ปตท.เสียศูนย์ แต่ปตท.ก็ไม่ได้ทุกอย่าง (ต้องคืนทรัพย์สินบางส่วนให้รัฐ) มาจนถึงกรณีปัจจุบัน ความเคลื่อนไหวอันเข้มข้นมากขึ้นๆของเอ็นจีโอ สร้างแรงกดดันโดยตรงต่อราคาน้ำมัน อันเนื่องมาจากการผลิตน้ำมันในประเทศไทยมีมากขึ้น เชื่อว่าบทสรุปก็คงต้องทำให้ปตท.มีความยืดหยุ่นมากขึ้น มีมุมมองเชิงสาธารณะมากขึ้น ขณะเดียวกันก็มีความเกี่ยวข้องกับทางการเมืองมากขึ้น
ในทางการเมือง ในฐานะปตท. เป็นบริษัทจำกัดที่มีรัฐบาล—กระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แม้จะเข้าตลาดหุ้นแล้ว แต่สัดส่วนการถือหุ้นข้างมากเป็นของรัฐ บทบาทในเชิงนโยบายยังคงกำกับโดยรัฐ ผ่านรัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน ปรากฏการณ์ความเชื่อมโยงทางการเมืองมีมติติที่น่าสนใจ เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความสัมพันธ์ที่สำคัญ จากระบบการเมืองแบบราชการ โดยมีผู้คนที่อยู่ข้างหลังระบบมีบทบาทมาช้านาน สู่การเมืองที่มีนักการเมืองเปลี่ยนหน้าอยู่เสมอ ความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน เริ่มขึ้นตั้งแต่ปตท.เปลี่ยนตัวเองด้วยกฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ และการเข้าตลาดหุ้น
ปรากฏการณ์ที่จับต้องได้ มาจากบทสนทนาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวในกรณีการจัดสรรหุ้นในช่วงเข้าตลาดหุ้น ว่ามีความโน้มเอียงให้นักการเมืองแบบหลังได้ประโยชน์ ไปจนถึงบุคคลที่เป็นกรรมการปตท. มักมีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง บางคนอาจรวมไปถึงกรณีอดีตผู้บริหารปตท.มักมีบทบาททางการเมืองเมื่อพ้นตำแหน่ง
อีกด้านหนึ่ง ในฐานะกิจการในตลาดหุ้นไทย มีความหมายและผลกระทบมากกว่าที่หลายคนคิด และถือเป็นความขัดแย้งโดยตรงในบางกรณี กับมิติความเชื่อมโยงกับสาธารณะชนและการเมือง
“ในปี 2544 นอกจากจะได้รับการบันทึกเป็นปีแห่งประวัติศาสตร์ของการพัฒนาขององค์กรแล้ว (ยังเป็นปีแห่งความสำเร็จระดับชาติ เมื่อปตท.สามารถระดมทุนจากตลาดทุนทั้งในและต่างประเทศได้ตามเป้าหมาย กว่า 30,000 ล้านบาท และไดรับการประกาศให้ได้รับรางวัลการกระจายหุ้นยอดเยี่ยมแห่งปี หรือ The Best IPO of the Year โดยกี่สำรวจของนิตยสารไฟแนนซ์เอเชีย” สารจากประธานกรรมการปตท. ( มนู เลียวไพโรจน์ จาก รายงานประจำปี 2544) กล่าวถึงความสำเร็จในการเข้าตลาดหุ้น ซึ่งมีความหมายที่แท้จริง คือการระดมเงินจากนักลงทุน จากการกระจายหุ้นประมาณ 49% ให้กับนักลงทุน โดยกำหนดให้นักลงทุนต่างชาติถือหุ้นได้ไม่เกิน 30%
บทบาทของนักลงทุนต่างชาติ ไม่อาจมองเพียงการถือหุ้นไม่เกินเพดาน 30% หากมีอิทธิพลอ้างอิงในหลายด้าน นอกจากได้สร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนชาวไทย ที่มีต่อหุ้นปตท.แล้ว โอกาสการระตมจากต่างประเทศในรูปแบบอื่นก็ตามมาอีก (ปตท.ได้ระทุนผ่านตราสารกับนักลงทุนต่างชาติมาแล้วนับแสนล้านบาท) ขณะเดียวกันความเป็นไปของปตท. ต้องอยู่ภายใต้กฎกติกาของตลาดทุนโลก โดยเฉพาะอิทธิพลของกลุ่มนักลงทุนตะวันตก หรือที่ผู้บริหารเครือซิเมนต์ไทย หรือเอสซีจีใช้คำว่า Market driven
“ตอนที่เราไป road show สิ่งที่นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจมาก และตอนนี้ก็ได้พิสูจน์แล้วว่า หนึ่ง-ในเรื่องราคาน้ำมัน รัฐบาลจะไม่เข้ามาแทรกแซง และ สอง-รัฐบาลไม่สามารถมากำหนดให้เราไปลงทุนอะไรที่มันไม่เป็นเหตุเป็นผล ซึ่งคณะรัฐมนตรีก็มีมติออกมาแล้วว่าในการลงทุนให้เป็นไปตามหลักของ ปตท.เอง แต่ถ้ามีโครงการไหนที่รัฐบาลอยากให้เราไปลงทุนเป็นพิเศษ รัฐต้องช่วยสนับสนุน” วิเศษ จูภิบาล ผู้บริหารปตท.ในช่วงเข้าตลาดหุ้น(ผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย(2542 – 2544 และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 2544 – 2546 )กล่าวถึงเงือนไขสำคัญ ซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบ (บทสนทนาอ้างมาจากนิตยสารผู้จัดการ กรกฎาคม 2546 ผมเป็นบรรณาธิการในขณะนั้น และเป็นผู้ร่วมสนทนาอยู่ด้วย)
จากบริษัทไทยยักษ์ใหญ่ สู่บริษัทระดับโลกของไทย
“ความใหญ่ เป็นอันตราย” พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ผู้จัดการใหญ่เอสซีจีเมื่อทศวรรษที่แล้ว (2528-2535) เคยกล่าวไว้นานแล้ว ถือเป็นบทเรียนสำคัญของปตท.ในยุคปัจจุบันด้วย
เวลานั้นถือเป็นช่วงการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมไทย เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ เอสซีจีขยายตัวอย่างมาก โดยเฉพาะด้วยวิธีเข้าครอบงำกิจการ( Merger & Acquisition) หลายแขนง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นธุรกิจใหม่ทีออกจากฐานธุรกิจเดิม แม้ว่าแรงเสียดทานครั้งนั้นไม่ได้ทำให้เอสซีจีหยุดขยายตัว หากดูเหมือนจำต้องปรับยุทธศาสตร์ใหม่ จากการเข้าครอบงำกิจการไทยที่กำลังล้มละลาย สู่การร่วมทุนธุรกิจใหม่ๆที่ย้ายฐานมาจากญี่ปุ่น
โอกาสการขยายตัวทางธุรกิจของปตท.มาจากวิกฤติการณ์ครั้งต่อมา โดยเฉพาะการเข้าสู่ธุรกิจเคมีภัณฑ์ในสถานการณ์เอื้ออำนวย เนื่องจากเกิดขึ้นในช่วงชุลมุน ต่อเนื่องจากวิกฤติการทางเศรษฐกิจ และทางการเมือง แต่กรณีแรงต้านอย่างแข่งขันกรณีปตท.พยายามเข้าซื้อ Carrefour เครือข่ายค้าปลีกยักษ์ใหญ่สัญชาติฝรั่งเศสในช่วงปี2553นั้น สถาการณ์แตกต่างออกไป นอกจากเกิดขึ้นในช่วงปตท.ก้าวขึ้นเป็นกิจการใหญ่อันดับหนึ่งของไทยอย่างไม่มีใครเทียบได้แล้ว ยังถือเป็นการส่งสัญญาณทางสังคม เชื่อมโยงไปถึงบทเรียนของเอสซีจีเมือสองทศวรรษที่แล้ว
แม้ว่าปตท.พยายามอรรถาธิบายถึงความเชื่อมโยงกับธุรกิจค้าปลีกน้ำมันซึ่งพัฒนาโมเดลทางธุรกิจไปมาก แต่ก็จำต้องถอนตัว(หากสนใจสามารถหาอ่านถ้อยแถลงของปตท.เรื่องPTTRM จะไม่เข้าร่วมประมูลซื้อกิจการห้างคาร์ฟูร เมื่อ 21 ก.ย. 2553) ภายใต้สถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกกำลังแข่งขันกันอย่างหนัก ทั้งการขยายตัวและหลอมรวมในประเทศไทย และถือเป็นเรื่องโชคดีที่เครือข่ายร้านกาแฟ ไมได้อยู่ในกลุ่มธุรกิจใหญ่ของไทย Cafe’ Amazonของปตท.จึงยังเป็นธุรกิจแปลกใหม่ที่มีสีสันของธุรกิจพลังงานระดับโลก
ปตท.มีรายได้ทะลุหลักล้านล้านบาทเป็นกิจการแรกของไทย เป็นการเติบโตประมาณ10 เท่าเพียงทศวรรษเดียว ไม่เพียงเป็นความมหัศจรรย์ หากถือว่าเป็นจังหวะก้าวกระโดดสำคัญ ในการขยายตัวด้วยโมเมนตัมแล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ถือเป็นกิจการแรกกิจการเดียวของไทยที่เข้าทำเนียบบริษัทใหญ่ระดับโลก
โดยอ้างอิงกับ Fortune Global 500 (จัดทำโดยนิตยสารธุรกิจของอเมริกัน พิจารณาจากรายได้และกำไรของแต่ละบริษัท) โดยปีล่าสุด(2012 หรือ 2555) ปตท.อยู่อันดับที่ 95 มีรายได้และกำไร ถึง 79,690 และ 3,456 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ แม้ว่าจะเล็กกว่า Petronas ของมาเลเซียเพื่อนบ้าน ซึ่งอยู่ในอันดับ 68 มีรายได้และกำไรถึง 97,355 และ21,915 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับก็ตาม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทระดับโลกอีกหลายแห่งที่คนไทยรู้จักอย่างดี ก็ถือว่าปตท.ใหญ่กว่า อาทิ Toshiba และ Mitsubishi แห่งญี่ปุ่น Hyundai Motor(เกาหลีใต้) Deutsche Bank(เยอรมนี ) หรือแม้กระทั้ง PepsiCo แห่งสหรัฐฯ
ถือเป็นความภูมิใจของปตท. ถึงขึ้นกำหนดเป็นเปาหมายทางธุรกิจว่า จะพยายามก้าวเข่าสู่ทำเนียบ Fortune Global 100 ในยุคประเสริฐ บุญสัมพันธ์ (ผู้จัดการใหญ่ ช่วงปี 2546-2554)
ในฐานะผู้ติดตามปตท.คนหนึ่ง เชื่อว่ายุทธศาสตร์สร้างความสมดุลระหว่าง บริษัทไทยยักษ์ใหญ่ กับ บริษัทระดับโลกของไทย เป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น เท่าที่ติดตามหลังจากผ่านปรากฏการณ์ Carrefourไปแล้ว ปตท.มีความพยายามการขยายตัวในต่างประเทศมากขึ้น ไม่เพียงเพื่อเตรียมพร้อมในฐานะบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของไทย เข้าสู่สถานการณ์ใหม่ของภูมิภาค ที่กำลังหลอมรวมระบบเศรษฐกิจอย่างพลิกโฉมเท่านั้น หากต้องก้าวไปสู่ความเป็นกิจการพลังงานระดับโลก ซึ่งต้องมองไปไกลกว่านั้น
การลงทุนอย่างมีจังหวะก้าว เริ่มต้นจากธุรกิจขั้นต้น(Up stream) จึงเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้น โดยเฉพาะบทบาทของปตท.สผ. ซึ่งถือว่าเป็นกิจการมี่ประสบการณ์ระดับโลกมานาน ไปสู่การสร้างฐานธุรกิจเคมีภัณฑ์ ด้วยยุทธศาสตร์สร้างValue chain อย่างลงลึกมากขึ้น ครอบคลุมภูมิศาสตร์ที่กว้างขึ้น ทั้งสองธุรกิจหลักทั้งสำรวจ-ผลิตปิโตรเลียมและเคมีภัณฑ์ โดยธรรมชาติเป็นธุรกิจที่เกื้อกูลกัน เป็นธุรกิจระดับโลกอย่างแท้จริง แม้ว่าจะไม่อยากเป็น ก็จะถูกบังคับให้ต้องเป็นไป
ปตท.ได้ก้าวออกจากเกราะกำบังอันแข็งแกร่งมานานพอสมควรแล้ว คงไม่มีใครไม่สามารถดึงรั้งให้ปตท.ถอยหลังกลับไป