ผู้เล่นสำคัญ( 2)

กรณ์ จาติกวณิช

ภาพสะท้อนตลาดหุ้นไทย นอกจากสะท้อนโอกาสที่เปิดช่องขึ้นครั้งสำคัญของระบบเศรษฐกิจไทย สำหรับคนหน้าใหม่ๆ แม้ว่าจะต้องเผชิญความผันแปร ความเสี่ยง และการแข่งขันอันเข้มข้นแล้ว   ขณะนี้ได้ก้าวเข่าสู่ภาพใหญ่ระดับภูมิภาคอย่างรวดเร็ว

“ในช่วงตลาดหุ้นไทยขยายตัวอย่างมาก่อนปี2540   มีบริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์จำนวนมากทีเดียวถึง 44 ราย ตามแนวคิดของบทความนี้สามารถแบ่งอออกเป็นสองกลุ่มใหญ่ กลุ่มที่หนึ่ง– กิจการในเครือหรือมีความสัมพันธ์กับธนาคารใหญ่ของไทย กลุ่มที่สอง–กลุ่มเอกธนกิจ ภายใต้การบริหารของปิ่น จักกะพาก”อ้างจากตอนที่แล้ว

ปัจจุบันมีบริษัทสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ 38 ราย เป็นโครงสร้างที่แตกต่างจากก่อนปี 2540 อย่างมากมาย ที่สำคัญในโครงสร้างใหม่กิจการหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทยจำนวนมาก อยู่ภายใต้เครือข่ายกิจการเงินต่างประเทศอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้งนี้มีความชัดเจนอย่างหนึ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่ง คืออิทธิพลอย่างมากมายของเครือข่ายธุรกิจการเงินและหลักทรัพย์ระดับภูมิภาค

ข้อมูลจากนี้มาจากข้อมูลที่มีความจงใจเปิดเผยต่อสาธารณะเท่านั้น โดยไม่รวมการเข้ามาถือหุ้นอย่างเคลือบแคลง หรือถือหุ้นข้างน้อยในกิจการหลักทรัพย์ไทยอื่นๆอีกจำนวนหนึ่ง

เครือข่ายระดับภูมิภาค

–สิงคโปร์

ตอนที่แล้ว(ผู้เล่นสำคัญ(1)) ผมเสนอภาพความสำคัญของเครือข่ายธุรกิจการเงินสิงคโปร์ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามสร้างเครือข่ายธุรกิจสิงคโปร์ในระดับภูมิภาค เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคที่กำลังมาถึงในไม่ช้า โดยรวมเมืองไทยซึ่งเป็นฐานสำคัญไว้ในยุทธ์ศาสตร์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับสมาชิกตลาดหุ้นไทย หรือที่เรียกว่ากิจการหลักทรัพย์นั้น มีเครือข่ายของสิงคโปร์ทั้งจำนวนกิจการและบทบาทในตลาดหุ้นในอย่างมีนัยยะ ถือว่าเป็นผู้นำตลาดอย่างแท้จริง

ทั้ง DBS และ UOB ธนาคารใหญ่ของสิงคโปร์เข้าสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นไทยในยุคที่ธนาคารไทยยังสาละวนแก้ปัญหาธุรกิจหลักของตนเอง   รวมทั้งเครือข่ายทรงอิทธิพลของสิงคโปร์ในตลาดหุ้นไทย โดยเฉพาะผู้ค้าหลักทรัพย์ที่เอาการเอางานที่สุดในตลาดหุ้นไทย– บริษัทหลักทรัพย์กิมเอ็ง  เครือข่ายธุรกิจสิงคโปร์ ต่อมาได้ผนึกประสานกับธุรกิจหลักทรัพย์ใต้หวัน  ใช้เวลาเพียง 4-5 ปีสามารถก้าวขึ้นผู้ค้าหลักทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของตลาดหุ้นไทย   และPhillip Brokerage   อีกกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์ (ต่อมาขายเครือข่ายบริการการเงินกว้างขวางขึ้นนาม Phillip Capital) ก่อตั้งที่ประเทศสิงคโปร์สองทศวรรษ  สามารถขยายเครือข่ายธุรกิจหลักทรัพย์ทั่วโลก โดยเน้นตลาดเอเชีย

–มาเลเซีย

เครือข่ายการเงินประเทศนี้มีความพยายามเช่นเดียวกับสิงคโปร้ แม้ว่าระดับยังไม่เข้มข้นเท่า แต่ก็น่าสนใจ

กลุ่มซีไอเอ็มบี  เป็นธนาคารผู้ให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร (Universal Bank) โดยมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศมาเลเซีย และอันดับ 5 ของภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้   ปัจจุบัน มีเครือข่ายสำคัญทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย   และอีก 9 ประเทศทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   กลุ่มซีไอเอ็มบี ถือหุ้นโดย Bumiputra – Commerce Holdings Bhd ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์มาเลเซีย ด้วยมูลค่าตลาด (Market Capitalization) เกือบ 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

กลุ่มซีไอเอ็มบีเข้ามาเมืองไทยอย่างเต็มตัว  ด้วยซื้อกิจการธนาคารไทยไม่นานมานี้ โดยมีกิจการหลักทรัพย์ซึ่งเป็นเครือข่ายแถมไปด้วย   ทั้งนี้ก่อนหน้าเข้ามามีบาทในตลาดหุ้นไทยในกิจการหลักทรัพย์ก่อนแล้ว(บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี-จีเค)

ปลายปี 2551 กลุ่มซีไอเอ็มบี โดย CIMB Bank Berhad ได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดในไทยธนาคาร ธนาคารแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี2541 โดยเข้าสวมธนาคารสหธนาคาร (ก่อตั้งปี2492) ที่มีปัญหาและถูกทางการสั่งปิดในปี2541 ซึ่งโอนไปรวมกับกิจการเงินทุนหลายแห่ง ก่อนมาจะมาเป็นธนาคารไทยธนาคาร มีกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่

 –อื่นๆ

ในจำนวนนี้ มีเครือข่ายระดับภูมิภาคที่ดำรงบทบาทในตลาดหุ้นไทยมาช้านานและเงียบๆ  ตั้งแต่ยุคก่อตั้งตลาดหุ้น และยังไม่ยอมให้ต่างชาติเข้าถือหุ้นข้างมากในกิจการหลักทรัพย์ 

บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน มาจากความร่วมมิระหว่างหลักทรัพย์ญี่ปุ่นกับธนาคารกรุงเทพ  ครั้นเมื่อระบบธนาคารไทยเผชิญวิกฤติการณ์    ผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นหลักทรัพย์ใหญ่ของญี่ปุ่น และมีเครือข่ายระดับโลก—Nomura Securities จึงเข้ามาถือหุ้นใหญ่ในกิจการร่วมทุนแห่งนี้ อย่างไรก็ตามความเอาการเอางานในตลาดหุ้นไทยดำเนินเช่นเดิม

ที่น่าสนใจมาก เป็นเครือข่ายเดิมของชาวจีนโพ้นทะเลอื่นๆ   นอจากกล่าวไว้แล้วในตอนต้น( สิงคโปร์ มาเลเซียและใต้หวัน)  มีความเชื่อมโยงกับเครือข่ายจีนแผ่นดินใหญ่ คือ  KGI ซึ่งถือเป็นหลักทรัพย์สำคัญของฮ่องกง ที่เข้ามีบทบาทอย่างทันท่วงทีในตลาดหุ้นไทย ช่วงหลังวิกฤติและมีกิจกรรมที่เอาการเองงานค่อนข้างมาก

ส่วนผู้มาใหม่อาจจะเรียกว่ามีความสัมพันธ์กับกระแสสังคมผู้บริโภคยุคใหม่ของคนไทยรุนหนุ่มสาว—กระแสเกาหลีใต้

KTB Investment & Securities(เครือข่ายในเมืองไทย–บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์)  ถือเป็นกิจการเงินและหลักทรัพย์แห่งเกาหลีใต้ที่เอาการเอางานในตลาดเอเชียและสหรัฐ  แม้ว่าเพิ่งเริมก่อตั้งกิจการมาประมาณ30 ปีเท่านั้น  โดยเริ่มต้นมีเครือข่ายในสหรัฐ ก่อนจะมาพุ่งในเอเชียโดยเฉพาะในจีนแผ่นดินใหญ่และญี่ปุ่นเมื่อทศวรรษที่แล้ว  โดยเริ่มออกนอกสองประเทศนั้น มาที่ตลาดหุ้นไทย(2551 )และสิงคโปร์(2553 )ในเวลาต่อมา

ที่ควรกล่าวอีกรายหนึ่งทีอาจรวมเข่าในเครือข่ายระดับภูมิภาคได้ด้วยในแง่ภูมิศาสตร์ และยุทธ์ศาสตร์ระดับประเทศของออสเตรเลียเอง     เครือข่ายการเงิน Macquarie Bank แห่งออสเตรเลีย ซึ่งเริ่มต้นจากกิจการวาณิชธนกิจในเครือข่ายของอังกฤษเมื่อ 3-4 ทศวรรษที่แล้ว จากนั้นพัฒนาสู่กิจการหลักทรัพย์ และการเงินในความหมายกว่างมากขึ้น โดยให้ความสำคัญในเครือข่ายเอเชียแปซิฟิกและยุโรป เป็นสำคัญ   ได้เข้ามาในเมืองไทยในปี 2548

 เครือข่ายระดับโลก

 ในมิติเพ่งมองไปที่บทบาทของเครือข่ายการเงินและหลักทรัพย์ที่มีอิทธิพลในตลาดหลักของโลกโดยเฉพาะในสหรัฐและยุโรป โดยมีเครือข่ายกว้างใหญ่  ว่าไปแล้วเครือข่ายเหล่านี้ มีบทบาทในตลาดหุ้นไทยมาก่อนหน้านี้ตั้งแต่ช่วงตลาดหุ้นเติบโตและบูมสุดขีดเมื่อสองทศวรรษ ก่อนจะเผชิญปัญหา เพียงแต่เครือข่ายหลักทรัพย์รายใหญ่เหล่านี้ ดำเนินธุรกิจผ่านเครือข่ายหลักทรัพย์ไทยอีกทอดหนึ่ง

หลังจากหลอมอละลายของสถาบันการเงินของไทย ประตูบานใหญ่จึงจำเป็นต้องเปิดรับเครือข่ายระดับโลกเหล่านี้เข้ามาอย่างเต็มตัว

 ควรกล่าวเพียงบางรายเป็นกรณีสะท้อนภาพรวม

Merrill Lynch ซึ่งเป็นสถาบันการเงินชั้นนำแห่งหนึ่งของโลก คงพยายามรักษาบทบาทในเมืองไทย ท่ามกลางความผันแปรของทั้งตลาดหุ้นไทยและกิจการตนเอง โดยเริ่มต้นเข้ามาเกี่ยวข้องกับกิจการหลักทรัพย์ในเครือข่ายธนาคารกสิกรไทย ในช่วงเวลาวิกฤติการณ์—บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด เป็นสมาชิกตลาดหลักทรัพย์ ก่อตั้งขึ้นภายใต้นโยบายแยกธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ออกจากกัน(และอาจจะรวมแผนแสวงหาโอกาสแยกขายกิจการในยามจำเป็น)ของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ เพื่อดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ปี 2540 และมีบริษัทเงินทุน ภัทรธนกิจ (ซึ่งมีธนาคารกสิกรไทย เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่) ถือหุ้นเกือบ100%

ในปี 2541 Merrill Lynch เข้ามาถือหุ้นบริษัทหลักทรัพย์ ภัทร ในช่วงหนึ่งประมาณ5 ปี ก่อนจะขายหุ้นไป และกลับมามีโอกาสแยกก่อตั้งกิจการหลักทรัพย์ต่างหากในช่วงต่อมา เป็นเวลาเดียวกันที่ Merrill Lynch เริ่มมีปัญหากิจการระดับโลก เมือเผชิญวิกฤติการณ์ทางการเงินในสหรัฐ จึงต้องขายกิจการทั้งหมดมาอยู่ในเครือข่าย Bank of Americaในปี 2551

อีกเครือข่ายใหญ่ที่มีเรื่องราวที่น่าสนใจ– JP Morgan Chase ในปี 2544เข้าซื้อกิจการหลักทรัพย์ เจเอฟธนาคม ซึ่งเป็นมรดกมาจากความร่วมมือระหว่าง Jardine Fleming เอกธนกิจ และกรณ์ จาติกวณิช ตั้งแต่ปี 2531 โดยกรณ์ จาติกวณิช ดำรงตำแหน่งประธานบริษัทใหม่–เจพี มอร์แกน ประเทศไทย อยู่ 5 ปี   เป็นเรื่องราวตื่นเต้นของ คนคนหนึ่งที่มีโอกาสและสร้างความมั่งคั่งอย่างรวดเร็วในช่วงหลังวิกฤติการณ์ ก่อนจะเข้าสู่การเมือง และมีโอกาสเป็นรัฐมนตรีคลังต่อจากนั้น

โอกาสที่เปิดกว้าง

บทเรียนของกรณ์ จาติกวณิช(อ่านกรณ์–ผู้มีโอกาสหลังวิกฤติการณ์ปี2540สะท้อนโอกาสที่เปิดกว้างของธุรกิจไทย เมื่อพิจารณาภาพสะท้อนอย่างจริงจัง ผ่านกิจการหลักทรัพย์ในตลาดหุ้นไทย

ความพยายามแสวงหาโอกาสที่เปิดกว้างทั้งธุรกิจดั้งเดิมและผู้มาใหม่  เมื่อพิจารณากิจการหลักทรัพย์ในเครือข่ายธนาคารไทย ซึ่งก่อรูปร่างชัดเจนมาหลังวิกฤติ มาพร้อมกับการปฏิรูปสถาบันการเงินไทยให้มีบริการการเงินครบวงจร แต่กว่าธนาคารไทยจะแก้ปัญหากิจการหลักและเริ่มต้นปรับโครงบริการใหม่ต้องใช้เวลาพอสมควร ว่าไปแล้ว ส่วนใหญ่เพิ่งเริ่มต้น หลังจากเครือข่ายต่างชาติส่วนใหญ่หาเหรดเข้าตลาดหุ้นไทยมาแล้วประมาณ 5 ปี

หากพิจารณาต่ออีก ธุรกิจหลักทรัพย์รายอื่นๆที่แสดงเครือข่ายไม่ชัดเจน แต่ให้ภาพบางภาพได้เช่นกัน บางกิจการมาจากมืออาชีพในวงการนี้มานาน เช่นกรณี กรณ์ จาติกวณิชหรือก้องเกียรติโอภาสวงการ   บางรายก็เป็นเจาของธุรกิจอื่นๆที่โนเนม หรือเจ้าของธุรกิจใหญ่บางรายควักเงินส่วนตัวมาถือหุ้นข้างน้อยในกิจการหลักทรัพย์ไทย

ความหลากหลายของธุรกิจหลักทรัพย์รายย่อยเหล่านี้ คือโอกาสที่เปิดกว้างและรอคอย

 กิจการหลักทรัพย์สำคัญในเครือข่ายต่างประเทศ

 สิงคโปร์

บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

บริษัทหลักทรัพย์ ยูบีเอส (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

มาเลเชีย

บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี-จีเค (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด

สหรัฐฯ

บริษัทหลักทรัพย์ ซี แอล เอส เอ (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทหลักทรัพย์ เจพีมอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด

บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินช์ (ประเทศไทย) จำกัด

สวิสเซอร์แลนด์

บริษัทหลักทรัพย์เครดิต สวิส (ประเทศไทย) จำกัด

ญี่ปุ่น

บริษัทหลักทรัพย์ โนมูระ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)

เกาหลีใต้

บริษัทหลักทรัพย์ ฟาร์อีสท์ จำกัด

ฮ่องกง

บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ออสเตรเลีย

บริษัทหลักทรัพย์ แมคควอรี (ประเทศไทย) จำกัด

มติชนสุดสัปดาห์   2 กันยายน  2554

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: