อีกประเทศหนึ่งทีมีการศึกษาระบบอังกฤษที่ผูกพันกับสังคมไทยมายาวนาน และเป็นทางเลือกใหม่ สำหรับคนรุ่นใหม่ในสังคมที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังสงครามโลกครั้งที่2 เป็นต้นมา และมีแนวโน้มมากขึ้น ในช่วงเศรษฐกิจไทยเฟื่องฟูในสงครามเกาหลี กลุ่มคนที่เกิดขึ้นใหม่ในทางเศรษฐกิจ ในช่วงนี้หรือ แม้กระทั่งชนชั้นนำเดิมในยุคก่อนๆที่มีโอกาสน้อยลงที่จะส่งลูกหลานไปเรียนอังกฤษ หรือ สหรัฐ ก็หันมาที่นี่ ด้วยเหตุผลสำคัญที่ต้นทุนที่ถูกกว่า
เท่าที่ผมมีหลักฐานจะพบว่าคนแรกๆที่ผานโรงเรียนมัธยมในประเเทศออสเตรีเลย ก็คือชนชั้นนำหรือตระกูลที่เคยส่งลูกหลานไปเรียนที่อังกฤษมาเป็นทอดๆมา
ราชนิกูล
ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี ได้เข้าเรียนที่Geelong Grammar School*ในราวปี2490 ก่อนที่จะเดินทางไปเรียนที่อังกฤษ เช่นเดียวคนรุ่นก่อนของตระกูลเกษมศรี
Geelong Grammar School(GCS) เป็นโรงเรียนแห่งหนึ่งที่สำคัญที่ผูกกันกับคนไทยต่อเนื่องมาในปัจจุบัน เป็นนิยมของชนชั้นนำในปัจจุบันนี้ด้วย นอกจากม.ร.ว.เกษมสโมสร ซึ่งเป็นการนักทูต จนถึงปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และเคยร่วมรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน เป็นถึงรองนายกรัฐมนตรี แล้วก็ตามมาด้วย พชร อิศรเสนา ณ อยุธยา อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ ตามไปเรียนที่นี่ ในราวปี2492 และมาถึงเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา อดีตปลัดระทรวงวิทยาศาสตร์ บุตรชายหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ อดีตเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ต่อมาบทบาทในฐานะกรรมการบริษัทปูนซิเมนต์ไทย ในช่วงการเปลี่ยนแปลงสำคัญจากผู้บริหารต่างชาติมาเป็นคนไทย นอกจากนี้ยังเป็นองคมนตรีด้วย เป็นอีกคนในวงราชการ ที่เติบโตถึงขั้นสูงสุดของตำแหน่งข้าราชการประจำ มาเรียนที่โรงเรียนแห่งเดียวกันนี้ในราวปี2495
ทั้งนี้ยังรวมถึงสมาชิกในราชวงศ์ด้วย ท่านมุ้ยหรือหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล ผู้สร้างภาพยนต์ไทยเรื่องใหญ่ อย่าง สุริโยไท ก็ผ่านโรงเรียนแห่งนี้ รวมไปถึง มีชัย วีระไวทะยะ ซึ่งภรรยาเป็นราชนิกูล เขาเป็นศิษย์เก่าGCSคนสำคัญในปัจจุบัน ปัจจุบันGCSกลายเป็นโรงเรียนชั้นหนึ่งของออสเตรเลียที่เข้ายากมากขึ้น ว่ากันว่าหากใครต้องการส่งบุตรหลาน มีมีชัย แนะนำก็จะมีโอกาสมากขึ้น มีชัย วีระไวทยะ เข้าเรียนที่นี่เมื่ออายุ13ปีในปี2497 จากนั้นก็เข้าเรียนที่ University of Melbourne
โรงเรียนเจ้าฟ้า
ที่มีความหมายสำหรับการศึกษาระดับมัธยมศึกษาของคนไทยในประเทศออสเตรเลีย ปรากฏในเอกสารของสถานทูตที่ใช้เผยแพร่จะมีข้อความว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เคยทรงเข้าศึกษาระดับมัธยมที่King School ,Paramatta ในปี2513-2514 ก่อนจะทรงศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการทหารในประเทศเดียวกันนี้ต่อไป ทั้งนี้ก่อนนั้นประมาณ5ปี สมเด็จพระราชาธิบดีแห่งมาเลเซียทรงส่งพระโอรส3พระองค์มาศึกษาที่นี่ด้วย
ทุกวันนี้King School เป็นที่รู้จักกันดี ในผู้คนในสังคมไทย เพราะมีนักเรียนไทยค่อนข้างประจำในโรงเรียน อาทิ นาวี บุตรสุนทร บุตรชายคนเดียวของทวี บุตรสุนทร อดีตรองผู้จัดการใหญ่เครือซีเมนต์ไทย เคยมาเรียนเมื่อไม่นานมานี้ ก่อนจะเป็นเรียนวิศวกรรมการระดับปริญญาตรีที่University of Sydney และระดับปริญญาโทที่Stanford University ในสหรัฐ
ทายาทนักธุรกิจ
ในซีกของเอกชนไทยสนใจเรียนที่ออสเตรเลียในระยะใกล้เคียงกัน เท่าทีผมมีหลักฐาน เริ่มด้วยกิตติรัต ศรีวิสารวาจา บุตรชายของพระยาศรีวิสารวาจา ซึ่งเคยเป็นนักเรียนดีเด่นของDulwich College ของอังกฤษ และเป็นคนเอเชียคนแรกที่ได้ปริญญาเกียรตินิยมอันดับ1ของOxford ตัดสินใจส่งลูกมาเรียน Melbourne Grammar School** กิตติรัต ต่อมาได้เป็นผู้บริหารกิจการนำสินค้าสมัยใหม่เข้ามาขายในประเทศไทย นั่นคือบริษัทอินเตอร์เนชั่นแนล เอนยิเนียริง(ไออีซี)ต่อมาภายหลังกิจการนี้มีปัญหาได้ขายกิจการให้เครือซิเมนต์ไทย ต่อมาเครือซิเมนต์ก็ขายกิจการออกไป เพราะถือว่าไม่ใช่ธุรกิจสำคัญ กิติรัตเข้าเรียนในราวปี2491
สุกิจ ปัจฉิมสวัสดิ์ ผู้บริหารธุรกิจกลุ่มกมลสุโกศล มาเรียนที่เดียวกันนี้ในปี2505 กลุ่มกมลสุโกศล เป็นกลุ่มธุรกิจนำสินค้าต่างประเทศมาขาย โดยในปี2502ได้เป็นตัวแทนรถยนต์มาสด้า แห่งญี่ปุ่นเป็นเวลามาประมาณ40ปี จนถึงวิกฤติการณ์เศรษฐกิจในปี2540นี้ กิจการรถยนต์มาสด้าในประเทศไทย จึงตกอยู่ในการบริหารของต่างชาติ กลุ่มกมลสุโกศล ก่อตั้งโดยกมล สุโกศล(2456-2534) สุกิจ ปัจฉิมสวัสดิ์ เป็นลูกเขยของกมล ที่เข้ามามีบทบาทในการบริหารกิจการค้ารถยนต์มาสด้า
โรงเรียนอื่นๆที่สัมพันธ์กับสังคมธุรกิจไทยก็มี The Armidale School ซึ่งมีนิทรรศการมาหานักเรียนในประเทศไทยทุกปี สมบัติ พานิชชีวะ *มาเรียนในโรงเรียนแห่งนี้ในราวปี2498
สมบัติ พาณิชชีวะเป็นหลานของเกียรติ ศรีเฟื่องฟุ้ง ผู้แสวงหาโอกาสได้อย่างมากมายในช่วงหลังสงครามครั้งที่สอง ด้วยการร่วมมือกับผู้มีอำนาจทางการเมืองในขณะนั้น โดยเฉพาะกลุ่มราชครู สมบัติมีบทบาทในารบริการกิจการ่วมทุนกับญี่ปุนในการผลิตกระจกรายแรกของเมืองไทย นั่นคือบริษัทกระจกไทยอาซาฮี ในช่วงหลายปี ก่อนที่บุตรชายของเกียรติ จะจบการศึกษา จากนั้นสมบัติก็มาสร้างโครงการทางยกระดับบนถนนวิภาวดีรังสิต ในโครงการดอนเมืองโทลเวย์
ลูกๆส่วนใหญ่ชิน โสภณพนิช เติบโตขึ้นในยุคสร้างตัว สร้างธนาคารกรุงเทพใหม่ๆ หลายคนถูกส่งมาเรียนที่ออสเตรเลียในช่วงราวปี2500เป็นต้นมา เริ่มตั้งแต่ชาญ โชติ ชัย และชดช้อย ทั้งชาญ โชติ และชดช้อย ล้วนจบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ Sydney University เท่าที่มีหลักฐาน ชัย โสภณพนิช *** บุตรชายคนที่5เคยเข้าโรงเรียนมัธยมที่ Knox Grammar School ในปี2505 ก่อนจะข้ามไปเรียนจบปริญญาตรีที่สหรัฐอเมริกา ต่อมาชาญบอกกับผมว่า นอกจากเขาแล้วที่โรงเรียนนี้แล้ว ยังมีชาญ และโชติ พี่ชายของเขาด้วย ส่วยชดช้อยเรียนที่ออสเตรเลียเหมือนกันแต่เป็นโรงเรียนประจำผู้หญิง Ravenswood School for Girls ไม่ใกลจากโรงเรียนพี่ชายน้องชาย ชัยให้เหตุผลในการเลือกเรียนที่Knox Grammar Schoolว่า บิดาของเขา(ชิน โสภณพนิช) ได้รับคำแนะนำจากผู้บริหารCorrespondent Bank ของธนาคารกรุงเทพที่ออสเตรเลีย ส่วนลูกชายคนเล็ก เชิดชู โสภณพนิช เติบโตในช่วงบิดามีฐานะมั่นคง จึงถูกส่งไปเรียนที่สหราชอาณาจักร ในระดับมัธยมที่ Millfield School โรงเรียนชั้นนำโรงเรียนหนึ่งที่Somerset ในราวก่อนปี2510 ทำให้เขามีโอกาสเขาศึกษาระดับปริญญาตรีที่London School of Economics &Political Science อันมีชื่อเสียงด้วย
ปัจจุบันยังมีโรงเรียนที่เพิร์ท รัฐทางซีกตะวันตกของออสเตรเลียที่คนไทยนิยมไปเรียนในเนื่องจากเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้เมืองไทยมากที่สุด และภูมิอากาศก็คล้ายเมืองไทยมาก โดยเฉพาะ Guildford Grammar School โรงเรียนใหญ่แห่งหนึ่งที่มักจะมาแสดงนิทรรศการหาคนไทยไปเรียนอย่างสม่ำเสมอ อภิชาต จูตระกูล ก็ผ่านโรงเรียนแห่งนี้ก่อนจะไปเรียนระดับสูงต่อไปในสหรัฐ
อภิชาต จูตระกูลคือทายาทนักธุรกิจเก่าก่อนสงครามโลกครั้งสองที่สร้างกิจการค้าแร่ดีบุกในนามยิบอินซอย ด้วยการร่วมทุนกับตระกูลยิบอินซอย นอกจากนี้มีความสัมพันธ์เครือญาติกับตระกูลลำซ่ำด้วย เขามาบุกเบิกธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้ไม่นาน(กลุ่มบริษัทแสนสิริ)ก็ประสพอุปสรรคใหญ่หลวงจากวิกฤติการณ์ปี2540 ปัจจุบันกิจการของเขากลายเป็นกิจการอสังหาริมทรัพย์ที่ร่วมทุนกับต่างชาติรายแรกๆของเมืองไทย
ความจริงแล้วการศึกษาในออสเตรเลียในราว20-30ปีที่แล้วถูกมาก คนไทยบางส่วนที่เป็นข้าราชการหรือลูกจ้างระดับสูง แต่รายได้ไม่สูง มักจะส่งบุตรหลานมาเรียนที่นี่ เช่น นพพร พงษ์เวช บุตรชายของวารี พงษ์เวช อดีตผู้บริหารธนาคารแห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วารีมีประสพการณ์การเรียนในต่างประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่น นพพร พงษ์เวช ถูกส่งไปเรียนที่ บริสเบน รัฐควีนสแลนด์ของออสเตรเลีย ซึ่งถือว่าเป็นที่ที่ค่าครองชีพถูกกว่าที่เมืองใหญ่อื่นๆ อย่างซิดนีย์ เมนเบอร์น และแคนเบอร่า The Scots PGC College ซึ่งถือว่าเป็นโรงเรียนที่ดีแห่งหนึ่งในรัฐนี้ จากนั้นนพพร ข้ามน้ำข้ามทะเลไปเรียนมหาวิทยาลัยของรัฐชั้นดี ที่ค่าเล่าเรียนถูก University of Oregon, Eugene(ปัจจุบันค่าเล่าเรียนยังถูกว่ามหาวิทยาลัยเอกชนดังๆประมาณเท่าตัว) ในที่สุดนพพร ถือเป็นคนที่มีประสพการณ์ที่โชกโชนคนหนึ่ง เริ่มต้นด้วยในฐานะลูกจ้างคนไทยที่ก้าวหน้ามากในยุดนั้นของธนาคารซิตี้แบงก์ และมีโอกาสได้ทำงานโลดโผนมากมาย
นอจากนี้ คนกลุ่มคนไทยกลุ่มหนึ่งแสวงหาโอกาสที่ดีและเหมาะสมในการศึกษาในประเทศนี้ เมื่อประมาณ10ปีเศษมานี้ สนธิ ลิ้มทองกุล ชัยอนันต์ สมุทวนิช และกนก อภิรดี(ผู้อำนวยการใหญ่การบินไทย) ได้ส่งบุตรชายไปเรียนที่เมืองเล็กๆในตอนเหนือของรัฐควีนแลนด์ Whitsunday Anglican School อยู่ที่เมืองMackay ที่เป็นไร่อ้อย และชายฝั่ง อยู่ตรงแนวGreat Barrier Reaf โรงเรียนแห่งนี้ก่อตั้งมาเพียงประมาณ20ปีเท่านั้น แต่ถือเป็นโรงเรียนเอกชนที่ดีของย่านนี้ ที่สำคัญค่าเล่าเรียนยังถือว่าค่อนข้างถูกเมื่อเปรียบเทียบกับโรงเรียนเอกชนในออสเตรเลีย ปีละประมาณ20,000เหรียญ ออสเตรเลีย(ปี2005)
แม้แต่ยืนยง โอภากุลหรือแอ๊ด คาราบาว ซึ่งเป็นนักธุรกิจเพลงเพื่อชีวิตที่มีฐานะดีคนหนึ่ง ได้ส่งบุตรชายไปเรียนโรงเรียนมัธยมในกรุงเมลเบอร์น หลังจากเรียนชั้นต้นจากโรงเรียนนานาชาติในบ้านเรา เขาบอกว่า บุตรของเขากับเพื่อนๆหาโรงเรียนเอง ได้แก่ Westbourne Grammar school โรงเรียนเอกชน ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งที่มีผลการเรียนดีพอสมควร
เชิงอรรถ
*จากหนังสือ”ข้าราชการระดับริหาร “ โดยสมศักดิ์ ชูโต(ปี2530) ระบุไว้ว่า”Geelong Church of England Grammar School,Cario,Victoria” ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าเป็นโรงเรียนที่ประเทศไหน แต่มีความรู้อยู่ว่า Geelong Grammar School ที่ออสเตรเลียเป็นที่รู้จักของคนไทยมานาน จึงเริ่มหาข้อมูลจากตรงนั้น พบว่า โรงเรียนนี้ถือว่าเป็นโรงเรียนของChurch of England หรือAnglican อยู่ในรัฐVictoriaของออสเตรเลีย ส่วนชื่อCario เป็นCampus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปลาย
**จากหนังสือ”ภูมิหลังนักธุรกิจไทย “ โดยสีดา สอนศรี(ปี2531) ระบุไว้ว่า “เมลเบอร์น ไฮสกูล ประเทศออสเตรเลีย” ผมไม่ได้สอบถามข้อมูลโดยตรง โดยเข้าใจเองว่าน่าจะเป็นโรงเรียนที่ชื่อMelbourne Grammar School ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำด้วย
สมบัติ พานิชชีวะ
เกิด 1 เมษายน 2478 บิดา เจริญ มารดา เฮียง
การศึกษา
ประถมศึกษา โรงเรียนสารสิทธิ์วิทยา ราชบุรี
มัธยมศึกษา The Amidale School , New South Wales ,Australia
อุมดศึกษา B.Sc, Tasmania University, Australia
เขาเริ่มทำงานเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ที่ออสเตรเลีย จานั้นกลับประเทศไทย เป็นนายช่าง โรงกลั่นน้ำมันพลังงานทหารที่บางจาก ซึ่งโรงกลั้นต่อมากลายเป็นของบริษัทบางจากปิโตรเลี่ยม จนถึงปี2506 จึงเข้าทำงานในบริษัทกระจกไทยอาซาฮี ซึ่งเป็นกิจการร่วมทุนระว่างตระกูลศรีเฟื่องฟุ้ง กับญี่ปุ่น โดยที่เขาเป็นเครือญาติของศรีเฟื่องฟุ้ง ทำงานอยุที่นานจนเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมอายุทำงานบริษัทราว30ปี ก่อนจะออกมาสร้างและบริหารโครงการยกระดับดอนเมืองโทลเวย์
***ชัย โสภณพนิช เกิด 21 พฤศจิกายน 2486 เรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมตอนต้นที่โรงเรียนเซ็นต์คาเบรียล จนถึงอายุ11ปีหรือปี2496 จากช่วงนั้นไม่นานชิน โสภณพนิช ถูกการเมืองเล่นงานต้องจากเมืองไทยปบริหารธนาคารกรุงเทพที่ฮ่องกงช่วงหนึ่ง(2501-2507) ชัย โสภณพนิชถูกส่ง
เข้าโรงเรียนประจำที่ออสเตรเลีย นานถึง9ปี(2586-2505) จากนั้นไปเรียนบริหารธุรกิจที่ University of Colorado เขากลับมาเมืองไทย ในช่วงชิน โสภณพนิชกลับมาบริหารธนาคารกรุงเทพอย่างเต็มตัวอีกครั้ง ในช่วงที่ลุกๆเติบโตขึ้นและจบการศึกษา จึงเกิดกระบวนการแบ่งงานกันขึ้น เข้าเข้าดูแลในบริษัทกรุวงเพประกันภัย จากตำแหน่งผู้จัดการแผนกการลงทุนในปี2511 เขาใช้เวลาเพียง8ปี ก็เป็นกรรมการผู้จัดการ(ปี2519) และอีก2ปีถัดก็ควบตำแหน่งประธานกรรมการ ซึ่งเป็นช่วงชิน กำลังจะลุกเข้บริหารกิจการต่างอย่างเต็มตัว
หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
เกิด 29 พฤศจิกายน 2485
การศึกษา
มัธยมศึกษา Geelong Grammar School ,Australia
อุดมศึกษา UCLA วิชาโทภาพยนต์
เริ่มฝึกงานที่ Meriam V Cooper , Los Angeles ,USA กลับเมืองไทยเป็นช่างภาพ ให้กับละโว้ภาพยนต์ของพระองค์เจ้าอนุสรณ์มงคลการ พระบิดา พร้อมๆกับงานเขียนบทและกำกับละครโทรทัศน์ จนถึงปี2516 จึงเริ่มกำกับภาพยนต์เรื่องแรก “มันมาบความมืด”และ”เขาชื่อกานต์” ประสพความสำเร็จด้วยดี จากนั้นก็ทำ
งานนี้อย่างต่อเนื่อง จนถึงปี2544 กับภาพยนต์ยิ่งใหญ่”สุริโยไท”
Thank you for sharing krub.