
การแสวงหาจุดยืนในตำแหน่งที่มั่นคงทางธุรกิจของปตท. ถือเป็นยุทธศาสตร์สู่การรุกขยายอาณาจักรธุรกิจครั้งใหญ่ มาจากธุรกิจต้นน้ำ(Up Stream) โดยใช้เวลากว่าทศวรรษกว่าจะเป็นรูปเป็นร่าง
บริษัทบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือปตท. สผ. ก่อตั้งขึ้นในปี 2528 ถือเป็นจุดเริ่มต้นยุทธศาสตร์สำคัญของกลุ่มปตท. โดยได้เข้าสู่ “แก่น”ของความเชื่อมั่นเกี่ยวกับการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ก่อนจะมองเห็นโอกาสที่กวางขึ้น
Union Oil Company of California หรือ UNOCAL ก่อตั้งขึ้นในสหรัฐฯตั้งแต่ปี 2433 เข้ามาเมืองไทยในปี2505 ยุคแผ่อิทธิพลของสหรัฐ ฯในระยะต้นของสงครามเวียดนาม ถือเป็นบริษัทแรกที่ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมจากรัฐบาลไทย เริ่มต้นบนบกบริเวณที่ราบสูงโคราช แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาในปี 2511 UNOCAL ได้รับสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมในทะเลอ่าวไทย โดยใช้เวลา 5ปี (2516) จึงประสบความสำเร็จ ค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติปริมาณเชิงพาณิชย์แหล่งแรกของประเทศ (แหล่ง “เอราวัณ”)
UNOCAL ในปัจจุบันคือ Chevron มาจากการชื้อและควบรวมกิจการในปี 2548 ในเมืองไทยนอกจากกิจการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติแล้ว Chevron มีกิจการอื่นๆอีก ที่สำคัญคือ ธุรกิจค้าปลีกน้ำมัน–Caltex และโรงกลั่นน้ำมัน– Star Petroleum Refining
ทางการไทยใช้เวลาพอสมควรเพื่อรับสถานการณ์ใหม่ที่ไม่เคยพบมาก่อน ล่วงไปในปี 2520 จึงจัดตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย เพื่อบริหารจัดการกับการค้นพบแหล่งก๊าซธรรมชาติ ทั้งสัญญาสัมปทาน ไปจนถึงการลงทุนสร้างท่อลำเลียงก๊าซจากอ่าวไทยขึ้นฝั่ง แต่ยังไม่ทันได้ดำเนินไปอย่างที่ควรจะเป็น เป็นจังหวะเดียวกับการก่อตั้งปตท.ขึ้นตามแนวติดทีมองภาพยุทธศาสตร์พลังงานกว้างขึ้น องค์การก๊าซธรรมชาติฯที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเพียงปีเดียว จึงต้องมารวมแป็นส่วนหนึ่งของปตท.
นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องขาดแคลนพลังงานแล้ว การก่อตั้งปตท.มียุทธศาสตร์เชื่อมโยงกับการค้นพบก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยมาแต่ต้น
ขณะเดียวกันสถานการณ์บนบกในเวลานั้นก็น่าตื่นเต้นด้วย เป็นพลังบวก”โชติช่วงชัชวาล”เพิ่มขึ้นอีก
“เชลล์ได้เริ่มกิจกรรมสำรวจหาปิโตรเลียม ในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ. 2522 โดยจัดตั้งบริษัท ไทยเชลล์เอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดักชั่น จำกัด ขึ้นมาเป็นผู้ดำเนินการ และในปี พ.ศ. 2524 ก็ได้มีการค้นพบแหล่งน้ำมันในเชิง พาณิชย์ แห่งแรกของประเทศไทย ที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และได้รับพระราชทานนามว่า “แหล่งน้ำมันสิริกิติ์” น้ำมันดิบที่ผลิตจากแหล่งน้ำมันสิริกิติ์นี้ ได้ชื่อว่า “น้ำมันดิบเพชร” ตามชื่อของจังหวัด การปฏิบัติงานในแหล่งน้ำมันสิริกิติ์เป็นไปใน ลักษณะกิจการร่วมทุนระหว่าง ไทยเชลล์ กับบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.”ข้อมูลของShellเอง (http://www.shell.co.th/ )
แต่ก่อนจะมีการร่วมทุนกับปตท.สผ. ตามข้อมูลข้างต้นที่รวบรัดเกินไป ควรกล่าวถึงตำนานการก่อตั้งปตท.สผ.ในปี 2528 อย่างเจาะจงด้วย จากหนังสือ “ทรัพยากรแห่งธรณี”เล่าเรื่องประวัติศิววงศ์ จังคศิริ (เรียบเรียงโดยบินหลา สันกาลาคีรี จัดพิมพ์ในปี 2550) ให้ข้อมูลลงลึกว่า ปตท.ขอเจรจากับShellเพื่อเข้าเป็นผู้รับสัมปทานร่วมจากกรณีข้างต้นในราวปี 2527 ซึ่งขณะนั้น ศิววงศ์ จังคศิริ เป็นอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี
“ในฐานะผู้อนุมัติสัมปทาน ผมไม่สมารถอนุญาตได้ เพราะมันผิดกฎหมาย พระราชบัญญัติปิโตรเลียม ระบุว่าผู้เสนอตัวรับสัมปทานจะต้องเป็นบริษัทจำกัดเท่านั้น แต่ปตท.ไม่ใช่ ปตท.เป็นรัฐวิสาหกิจ อย่างไรก็ตามกฎหมายก็มีช่อง ไม่ได้ห้ามรัฐวิสาหกิจตั้งบริษัท”
ด้วยเหตุนั้นปตท.จึงตั้งกิจการใหม่ขึ้นมาในรูปบริษัทเอกชน–บริษัทบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม โดยปตท.ถือหุ้น 100%
“กำหนดนโยบายชัดเจนใน ปตท.สผ. ตอนที่ตั้ง ปตท.สผ. ขึ้นมา ไม่ใช่เพื่อต้องการกำไร ในตอนแรกต้องการให้เป็นบริษัทน้ำมันที่ต้องทำ Up stream ให้ได้ แล้วจึงถ่ายโอนเทคโนโลยีมาให้สามารถยกระดับตัวเองได้ เพื่อเป็นตัวผลักดันบริษัทน้ำมันแห่งชาติ และเพื่อเข้าไปจัดการลงทุนทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ เพราะแทนที่จะให้ฝรั่งทำทั้งหมดเราก็เข้าไปทำเองบ้าง” วิเศษ จูภิบาล ผู้นำคนสำคัญของปตท.กล่าวถึงแนวทางดำเนินธุรกิจใหม่ไว้ ในฐานะผู้บทบาทสำคัญในการบริหารปตท.สผ. (อ้างจากบทสัมภาษณ์ “โครงการศึกษาวิจัยและจัดทำประวัติการพัฒนาพลังงานของประเทศไทย”กระทรวงพลังงาน 2544)
ความสำเร็จของปตท.สผ. ในยุควิเศษ จูภิบาลไม่เพียงเป็นผลงานสำคัญ เชื่อว่าส่งผลให้เขาก้าวขึ้นเป็นผู้นำปตท.ในช่วงต่อเนืองต่อมา บทเรียนทางธุรกิจของปตท.สผ.เองได้กลายเป็นสิ่งอ้างอิงสำคัญในยุทธศาสตร์ใหม่ของปตท.ในเวลาต่อมาด้วย
วิเศษ จูภิบาล เข้ามาอยู่ปตท.ตั้งแต่วันแรกที่ปตท.เกิดขึ้น แต่เขาไม้ได้อยู่ในรายชื่อในฐานะทีมงานยุคบุกบิกอย่างโดดเดนเช่นหลายคนที่กล่าวถึงมาแล้วในตอนก่อนๆ แต่บทบทสำคัญในฐานะกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ในช่วงปี2535 – 2538 ทำให้เขาโดดเด่นขึ้นในจังหวะที่เหมาะสมทีเดียว
จาก Partnerกลายเป็น Operator
จากยุทธศาสตร์ร่วมทุนในฐานะหุ้นส่วน เริ่มจากจากกรณี Shell ที่กล่าวมาแล้วในตอนต้นกับUNOCAL (หรือ Chevron ในปัจจุบัน) ปตท.สผ.ไม่เพียงเป็นคู่สัญญารับซื้อก๊าซธรรมชาติเท่านั้น หากในแหล่งผลิตต่างๆ ที่UNOCAL เป็นoperator ปตท.สผ. พยายามเข้ามีส่วนร่วมในฐานะผู้ถือสิทธิ์หรือPartner ในแต่ละแหล่งผลิตอย่างเหมาะสมด้วย กับรายอื่นๆอีกหลายรายก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน
การร่วมทุน และมีบทบาทในฐานะ Partner ซึ่งไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการ (operator) เป็นขั้นตอนสำคัญเบื้องต้นในความพยายามเรียนรู้ธุรกิจสำรวจ ผลิต และพัฒนาแห่ล่งพลังงานให้มากที่สุด จาก operator หลายราย เกิดขึ้นจากแรงบันดาลใจของกิจการท้องถิ่น ในความพยายามก้าวไปเป็นกิจการพลังงานระดับโลก
ปตท.สผ.ผ่านระยะการเรียนรู้และก้าวกระโดดครั้งสำคัญในช่วงแรกๆ โดยใช้เวลาไม่นานนัก ในสายตาของศิววงศ์ จังคศิริ ประธาน ปตท.สผ.(2531-2538) ช่วงต้นๆช่วงหนึ่ง คือสามารถเจรจาซื้อสัมปทานแห่ล่งหลังงานสำคัญคืนจากกิจการต่างประเทศ โดยเฉพาะแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย จาก Texas Pacific ,USA และทั้งอ่าวไทยและบนบก( อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี)จาก BP ,UK
ความภาคภูมิใจเป็นพิเศษของปตท.สผ. เรื่องหนึ่งที่ควรกล่าวถึงต่อจากนั้น เกิดจากความพยายามที่ใช้เวลาถึง 13 ปี
วันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ปตท.สผ.สามารถเข้าเป็นผู้ดำเนินการ (operator) ในโครงการบงกชอย่างเต็มรูปแบบ ต่อจากTOTAL (หรือ Total S.A. กิจการพลังงาน (Oil and Gas) ระดับโลกของฝรั่งเศส) ถือเป็นย่างก้าวทางยุทธศาสตร์ครั้งสำคัญ
โครงการบงกชเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ปตท.สผ.เซ็นสัญญา ร่วมทุนกับTotalผลิตก๊าซธรรมชาติในปี 2533 โดย ปตท.สผ.ถือหุ้นประมาณ 40% สัญญาร่วมทุนครั้งนั้น ระบุว่าในช่วง 5 ปี หลังเริ่มการผลิตTotalจะต้องถ่ายทอด เทคโนโลยี และฝึกอบรมบุคลากร ปตท.ให้พร้อมเข้ารับช่วงเป็น operator
เหตุการณ์ครั้งนั้นเกิดขึ้นจากช่วงวิเศษ จูภิบาลเป็นผู้จัดการใหญ่ ปต่ท.สผ. และช่วงต่อเนื่องในตำแหน่งผู้ว่าการปตท.
แนวทางดังกล่าวดำเนินการต่อมาคล้ายๆกันอีก เช่นกรณีShell “เชลล์ได้ขายหุ้นของเชลล์ทั้งหมดในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย ให้แก่ บริษัท ปตท.สผ. (จำกัด) มหาชน โดยมีการลงนามในสัญญาซื้อ-ขายหุ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2546” (http://www.shell.co.th/ ) จนมาถึงช่วงในต้นปี 2551ซึ่งถือบรรลุเป้าหมายที่สูงขึ้นไปอีก.
โครงการอาทิตย์ เป็นโครงการแรกที่ ปตท.สผ. ซึ่งเป็นบริษัทไทย เป็นผู้ดำเนินการเองทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสำรวจ พัฒนา จนกระทั่งเริ่มการผลิตได้ โดยปตท.สผ.ทั้งในฐานะผู้ดำเนินการ(Operator) และถือสิทธิในโครงการอาทิตย์มากที่สุดในสัดส่วนถึง 80% ในขณะที่ Chevron ที่เคยเป็น operator ในโครงการต่างๆก่อนหน้านั้น ถือสิทธิ์เพียง16% (MOECOหรือMitsui Oil Exploration หุ้นส่วนรายเล็กขาประจำของ Chevron ถืออีก 4%)
โครงการอาทิตย์ถือเป็นความภาคภูมิใจของ ปตท.สผ. เนื่องจากเป็นแหล่งที่มีแท่นผลิตขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากผลิตก๊าซธรรมชาติแล้ว ยังสามารถผลิตคอนเดนเสตได้ด้วย
เข้าตลาดหุ้น
บทบาทในฐานะบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก ปตท.สผ.จึงแสวงหาทางออกด้วยการนำกิจการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ตั้งแต่ปี 2536 ถือว่าเป็นจังหวะที่ดีที่เดียว แต่มีเหตุการณ์สำคัญที่ควรกล่าวถึงเป็นพิเศษ เกิดขึ้นในปี 2539 แม้ว่าอยู่ในสถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่สัญญาณวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งสำคัญมาเยือนอย่างชัดเจนแล้ว การroad- show เพื่อขายหุ้นให้กับนักลงทุนต่างประเทศ ในช่วงวิกฤติค่าเงินนั้น กลับปรากฏว่าหุ้น ปตท.สผ. ได้รับความสนใจอย่างมาก กลายเป็นDealใหญ่ที่สุดที่ประสบความสำเร็จในภาวะที่ประเทศไทยกำลังเผชิญวิกฤติการณ์
วิเศษ จูภิบาล เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ.ในช่วงนั้น เป็นระยะต่อเนื่องก่อนที่เขาก้าวมาเป็นผู้ว่าการปตท. ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ(2542 – 2544) ในช่วงการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจเป้นบริษัทจำกัด และกลายเป็นผู้จัดการใหญ่บริษัทปตท. คนแรก(2544 – 2546) ในช่วงนำเข้าขดทะเบียนในตลาดหุ้น และกลายเป็นหุ้นที่มีน้ำหนักมากที่สุดตั้งแต่นั้นมา
วิเศษทำงานอยู่กับปตท. ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ตลอดเวลากว่า 25 ปี เขาได้เห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างมากมาย การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ในสายตาของเขา ที่ถือว่ามีความหมายต่ออนาคตของ ปตท. เกิดขึ้น 2 ครั้ง
ครั้งแรก คือเมื่อ ปตท.สผ. บริษัทลูกของ ปตท.ได้เข้าเป็นผู้ดำเนินการ (Operator) เต็มรูปแบบในโครงการบงกช ในอ่าวไทย เมื่อกลางปี 2541 และครั้งที่ 2 เมื่อ ปตท.ได้เข้าไประดมทุนจากตลาดหลักทรัพย์ ในปลายปี 2544
บทบาทและยุทธศาสตร์ใหม่ของปตท.ได้พลิกผันจากแนวคิดเดิมในยุคก่อตั้ง เกิดขึ้นจากบัดนั้นมา