กานต์ ตระกูลฮุน(5)

ตอนสุดท้ายของซีรีย์ชุด—กานต์ ตระกูลฮุน มุ่งพิเคราะห์แนวทางนวัตกรรม ที่เขาเป็นคนริเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง กับผลสะเทือนอย่างลึกซึ้งต่อเอสซีจี

 

นวัตกรรม( Innovation) เป็นแนวทางสำคัญของบริษัทขนาดใหญ่ (ซีพี ก็มีงานนวัตกรรมประจำปี) ตามกระแสของกิจการระดับโลก อ้างอิงกับแนวทางที่เป็นอุดมคติ ว่าด้วยการพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน

 

นวัตกรรมของเอสซีจียุคกานต์ ตระกูลฮุน ถือเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญ จากมาตรฐานอุตสาหกรรม สู่มาตรฐานธุรกิจระดับโลก   เริ่มต้นอย่างจริงจังมาตั้งแต่ยุคจรัส ชูโต ไปสู่เป้าหมายที่สมดุลมากขึ้น  มุมมองที่กว้างขึ้น

 

จากยุคเดนมาร์ก(2456-2517) เอสซีจีพัฒนาอุตสาหกรรมตามมาตรฐาน อ้างอิงกับเทคโนโลยีของ FL Smidth มาสู่ยุคคนไทย มีความพยายามเรียนรู้มาตรฐานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะจากญี่ปุ่น อาทิ QC, TQM     ยุคกานต์ ตระกูลฮุนเองได้สืบทอดและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอ้างอิงกับ Deming prize และ Dow Jones Sustainability Indexes (DJSI)

 

ในอีกด้านหนึ่ง การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของเอสซีจีที่ดูโดดเด่นและสูงกว่ามาตรฐานธุรกิจไทยทั่วไป  มาตั้งแต่ยุคเดนมาร์กตอนปลาย   เริ่มต้นการคัดเลือกคนที่มีคุณภาพได้  เพราะค่าจ้างแรงงานสูงกว่าบริษัทอื่นๆ ด้วยเทียบเคียงกับมาตรฐานชาวเดนมาร์กในยุคอาณานิคม   เมื่อมาถึงยุคจรัส ชูโต ท่ามกลางการขยายตัวทางธุรกิจ และการพัฒนามาตรฐานระบบอุตสาหกรรม   ผู้บริหารระดับสูงของเอสซีจีกลายเป็นสัญลักษณ์ของมืออาชีพรุ่นใหม่  ถายใต้ระบบการพัฒนาบุคคลกร ที่จำกัดตามหลักสูตรการบริหารทั่วๆไป และให้ความสำคัญกับผู้บริหารระดับสูงมากเป็นพิเศษ  โดยส่งไปศึกษาวิชาการด้านบริหารสมัยใหม่จากสหรัฐฯ

 

นวัตกรรมยุคกานต์ ตระกูลฮุน มีความสัมพันธ์กับการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ในมิติที่กว้างและลึกอย่างน่าสนใจ

 

–โครงสร้างบุคคลกรใหม่ โดยเฉพาะกรณีสัมพันธ์กับการปรับโครงสร้างล่าสุด—ธุรกิจซีเมนต์และผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง (เมษายน 2556)  ซึ่งมีจำเป็นอย่างมาก ต้องสร้าง แสวงหาหรือฝึกใหม่ บุคคลกรของเอสซีจี ให้มีประสบการณ์โดยตรงกับผู้บริโภค   ทั้งการพัฒนาสินค้าระดับผู้บริโภคมากขึ้น  แนวทางการพัฒนาบุคลากรจึงมีเป้าหมายโฟกัส และเชื่อมไปสู่กระบวนการนวัตกรรม ว่าด้วยสินค้าและบริการ บุคลากรยุคใหม่จึงมีโปร์ไฟล์หลากหลายมากกว่าที่เคยเป็นมา พนักงานระดับต่างๆมีส่วนร่วมกับอนาคตเอสซีจีมากขึ้น ดัชนีความอยู่รอดและเติบโตของเอสซีจีจึงเชื่อมโยงกับความสามารถพนักงานระดับกลางมากขึ้นกว่าอดีต

 

บุคคลากรด้าน R&D     เชื่อว่ามีอย่างน้อย 2 ทีม ทีมหนึ่ง มีความต่อเนื่อง เชื่อมต่อ และร่วมมือเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการสำหรับผู้บริโภค โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง  อีกทีมหนึ่งให้ความสำคัญเรื่องเทคโนโลยีและกระบวนการผลิต   โดยเฉพาะธุรกิจเคมีภัณฑ์และกระดาษ  แม้ว่าเป้าหมายยิ่งใหญ่เพื่อสร้างนวัตกรรมระดับโลกด้วยตนเอง  แต่เวลานี้ไม่ใช่เรื่องง่าย (โปรดพิจารณาลำดับเหตุการณ์การลงทุนเพื่อสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (HVA)   สวนใหญ่เป็นความร่วมมือ และอาศัยเทคโนโลยีของผู้ร่วมทุนต่างชาติ)  ถือเป็นเรื่องมองการณ์ไกล การสร้างทีมงาน เพื่อเรียนรู้และสะสมประสบการณ์  ในกระบวนการพัฒนา R&D ที่มีหลายมิติ  ทั้งการคัดเลือกและเรียนรู้จากผู้ร่วมทุน รวมทั้งแสวงหาโอกาสเข้าถือครองเทคโนโลยี่ระดับโลก โดยผ่านM&A   ก่อนจะไปถึงขั้นการพัฒนา R&D ของตนเองอย่างเต็มรูปแบบ

 

บางเส้นทางมีเป้าหมายชัดเจน มองเห็นลู่ทางสู่ความสำเร็จ บางเส้นทางจำเป็นต้องใช้เวลา  กานต์ ตระกูลฮุนได้ ทำสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และวางรากฐานไว้อย่างมั่นคง

 

ในฐานะซีอีโอ  กำลังนำพาเอสซีจีก้าวขึ้นสู่ศตวรรษใหม่  ผมคิดว่ากานต์ ตระกูลฮุน สอบผ่าน

 

—————————————————————————————————-

 

การลงทุนที่สำคัญเพื่อสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA)   

2551

ธุรกิจเคมีภัณฑ์ ลงทุนในโครงการผลิต Specialty Elastomers โดยร่วมทุนกับ The Dow Chemical Company แห่งสหรัฐฯ  ในสัดสวน 50:50  ด้วยเงินลงทุนทั้งหมด 4,800 ล้านบาท Specialty Elastomers เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ใช้เป็น Sealant Layer ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์และเป็นสารเพิ่มความตานแรงกระแทก (Impact Modification) ในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยใช้วัตถุดิบจาก Naphtha Cracker แหงที่ 2 ซึ่งเป็นการรวมทุน ระหว่างเอสซีจีกับ Dow Chemical ในสัดสวน 67:33  มาใช้ในการผลิต

 

2552

ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง โครงการร่วมทุนผลิตและขายบ้านสำเร็จรูประบบโมดูลาร์

ร่วมทุนกับ Sekisui Chemical Co., Ltd. แห่งญี่ปุ่น ในสัดส่วน 49:51 เฟื้อการผลิตและจำหน่ายบ้านระบบโมดูลาร์ Sekisui Chemical ดำเนินธุรกิจหลัก 3 ประเภท–ธุรกิจสร้างบาน (Housing Business) ธุรกิจผลิตภัณฑ์ในงานสาธารณูปโภคและสิ่งแวดลอม (Urban Infrastructure & Environmental Products) และธุรกิจพลาสติกคุณสมบัติพิเศษ (High Performance Plastics)

 

2553

ธุรกิจเคมีภัณฑ์  SCG Chemicals เข้าถือหุน 25% ในGTC ด้วยเงินลงทุนประมาณ 280 ลานบาท (ประมาณ 8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์มูลคาสูง GTC เป็นธุรกิจ Technology Licensing ที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีระดับสูงของธุรกิจเคมีภัณฑ์ และบริการทางวิศวกรรมในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและโรงกลั่น สำนักงานใหญ่ตอยู่ที่ Houston, Texas มีเครือข่าย อยู่ในสหรัฐฯ เกาหลีใต้   จีน เม็กซิโก สิงคโปร์และสาธารณรัฐเช็ก

 

2555

ธุรกิจเคมีภัณฑ์  SCG Chemicalsร่วมลงทุนกับ Mitsui Chemicals Tohcello, Inc. (MCTI) ในการผลิตฟิล์มพลาสติกทีมีความแข็งแรงสูง มูลค่าเงินลงทุนรวม 1,400 ล้านบาท โดย มีสัดส่วน 45:55   ฟิล์มพลาสติก LLDPE (เครื่องหมายการค้า T.U.X.) เป็นฟิล์มพลาสติกชนิดพิเศษ ซึงส่วนใหญ่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์อาหาร

 

ธุรกิจกระดาษ SCG Paperบรรลุขอตกลงในสัญญารวมทุนกับ Nippon Paper Group (NPG) แห่งญี่ปุ่นในสัดส่วน 45:55ในโครงการผลิตกระดาษ Machine Glazed มูลคาลงทุนประมาณ 2,200 ลานบาท กระดาษ Machine Glazed เป็นกระดาษที่มีความมันวาวและมีความบาง 20 – 80 แกรม สวนใหญ่ใช้ในการผลิตบรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมทางการแพทย์

 

2556

ธุรกิจผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ลงทุนผลิตแผ่นหินประดิษฐ์ขนาดใหญ่ (MG Stone-Slabs) ด้วยมูลค่าการลงทุน 1,500 ล้านบาท   ถือเป็นสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (HVA) นับเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่เอสซีจีได้ค้นคว้าและพัฒนาขึ้น ้เอง

 

ธุรกิจกระดาษ SCG Paper ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับ Nippon Paper Industries Company Limited (NPI) แห่งญี่ปุ่น เพื่อการร่วมทุนในสายธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับเยื่อกระดาษและกระดาษพิมพ์เขียน (Fibrous Chain) ของ SCG Paper ในการร่วมทุน NPI จะเข้ามาถือหุ้นใน Fibrous Chainของ SCG Paper ประมาณ30% การร่วมทุนระหว่าง SCG Paper และ NPI จะก่อให้เกิดพลังแห่งความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต การพัฒนาสินค้าใหม่ การตลาด และช่องทางการจัดจาหน่าย

 

Fibrous Chain ของ SCG Paper ประกอบด้วยธุรกิจ สวนป่า เยื่อกระดาษ และกระดาษพิมพ์เขียน NPI เป็นผู้ผลิตกระดาษรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่นที่เป็นผู้นาด้านเทคโนโลยีและมีเครือข่ายการจัดจำหน่ายที่แข็งแกร่งทั่วทวีปเอเชีย ประกอบด้วยธุรกิจเยื่อกระดาษ กระดาษพิมพ์เขียน กระดาษสาหรับงานเฉพาะ พลังงาน ชีวเคมี ฯลฯ ปัจจุบัน NPI และ SCG Paper มีโครงการร่วมทุนผลิตกระดาษ Machine Glazed ในประเทศไทย ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงาน คาดว่าจะเริ่มผลิตได้กลางปี 2557

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: