เกษตรกรรมไทย(4) เทคโนโลยี


ผมเคยเสนอความคิดว่าด้วยเกษตรกรรมของไทยในบางมิติไว้เมื่อ
10 กว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า สังคมเกษตรไทยมีสิ่งมีค่าเพียง2สิ่ง ที่ดินจำนวนมากกับพืชพันธุ์ที่ถือว่าปลูกได้เจริญงอกงาม เฉพาะพื้นที่นี้ นอกนั้นต้องพึงพิงจากต่างประเทศ โดยเชื่อว่าความรู้ด้านเกษตรกรรมของสังคมไทยหยุดนิ่งมาหลายทศวรรษ

แม้ว่าดูเผินๆอาจเป็นความคิดที่พอมีตรรกะอยู่บ้าง แต่เมื่อติดตามสถานการณ์ในช่วงเวลาต่อเนื่องประมาณครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา  ได้แสดงภาพพลวัตรและมิติใหม่ๆที่มากกว่าความสรุปอย่างง่ายๆเช่นนั้น

 เครื่องจักรการเกษตร

“งานแสดงสินค้าต่างประเทศครั้งแรกในประเทศไทยในปี 2509 เป็นจุดหักเหทำให้กิตติ-สุรางค์ ดำเนินชาญวนิชย์  หันไปดำเนินธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับการค้าพืชไร่อยู่พักหนึ่ง โดยเข้าไปเป็นเอเยนต์ขายรถไถเดินตามยี่ห้อYanmar( 2509-2512 )”  จากหนังสือสุรางค์    ดำเนินชาญวนิชย์(2545 )  ซึ่งเป็นที่รู้กันภายในครอบครัวดำเนินชาญวนิชย์ว่า  ผมเป็นคนเรียบเรียงขึ้นจากบทสนทนาหลายสิบชั่วโมง หลายครั้งหลายหน กับกิตติ ดำเนินชาญวนิชย์ และคนในครอบครัว รวมทั้งผู้คนเกี่ยวข้องจำนวนนับสิบ  จากบทสนทนา สู่การค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม มีบางประเด็นเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้

กิตติ-สุรางค์คือผู้ก่อตั้งกิจการค้าพืชไร่(กลุ่มเกษตรรุ่งเรือง)อันดับต้นๆของประเทศและเป็นผู้ริเริ่มการปลูกยูคาลิปตัสหลายหมื่นไร่ ตามรูปแบบPlantationอย่างเป็นระบบในพื้นที่ขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศก็ว่าได้       เพื่อเชื่อมต่อกับการสร้างโรงงานกระดาษพิมพ์เขียนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และเป็นสร้างสนค้ากระดาษให้เป็น Consumer productแบรนด์ Double Aครั้งแรกในเมืองไทย ซึ่งมีบางเรื่องจะกล่าวถึงอีกครั้ง

เครื่องยนต์ญี่ปุ่นเพื่อประกอบเป็นอุปกรณ์เกษตรกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย เริ่มต้นอย่างจริงจังเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว ในยุคการค้าข้าวส่งออกเริ่มต้นขยายตลาดมากขึ้น“ดำเนินมาได้จุดหนึ่ง ได้ค้นพบว่าธุรกิจนี้มีปัญหาด้วยตัวเอง ในเรื่องเทคโนโลยีไม่สูงนัก ขายได้ดีเพียงระยะหนึ่ง เมื่อรถไถเดินตามของไทยที่ประกอยเอง มีราคาถูกกว่าของYanmarมาก หากจะสามารถแข่งขันได้ คงต้องลงทุนผลิตในเมืองไทย” กิตติเคยเล่าให้ผมฟัง สะท้อนถึงการปรับตัวของธุรกิจขนาดเล็กของไทยที่สามารถปรับตัวและพัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานในเกษตรสมัยใหม่ได้อย่างชัดเจน และถือว่ายังมีบทบาทอย่างแข็งขันในภาคเกษตรกรรายย่อยจนทุกวันนี้

ในราวปี 2522 Yanmarได้ลงทุนตั้งโรงงานประกอบเครื่องยนต์เพื่อการเกษตร ต่อมาในปี2531 จึงลงทุนผลิตเครื่องยนต์ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ด้วยร่วมทุนกับชุมพล พรประภา (ปัจจุบันชุมพลถือหุ้นเพียง 10%) ซึ่งถือเป็นเวลาไล่เลียกับ Kubota ร่วมทุนกับเครือซิเมนต์ไทยหรือเอสซีจี ดูเหมือนดำเนินธุรกิจอย่างจริงจังและเข้มข้นมากกว่า

บริษัท สยามคูโบต้าดีเซลก่อตั้งในปี2522 ไม่เพียงเป็นกิจการที่ดำเนินด้วยความสำเร็จยังถือเป็นจุดเริ่มต้นความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างธุรกิจญี่ปุ่นกับเอสซีจี ที่สำคัญในภาคเกษตรกรรมสะท้อนภาพการการเริ่มต้นของความสัมพันธ์ระหว่างเกษตรกรรมดั่งเดิมของไทยกับเทคโนโลยี่การผลิตสมัยใหม่

ความเคลื่อนไหวของเทคโนโลยีการเกษตรพื้นฐานเหล่านั้น เป็นดัชนีการเปลี่ยนแปลงรากฐานเกษตรกรรมไทยด้วย โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีมานี้

แม้ว่าหลังจากเผชิญวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540  เอสซีจีได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นในสยามคูโบต้า กลายเป็นผู้ถือหุ้นข้างน้อย( 40% )ก็ตาม ถือเป็นเวลาเดียวกับที่กิจการก้าวกระโดดอีกครั้ง  ด้วยการก่อตั้งกิจการเช่าซื้อ(2549)  และลงทุนใหม่สร้างโรงงานผลิตแทรกเตอร์(2550)  ถือเป็นแนวโน้มของเกษตรกรรมใหม่ของไทย ได้รับแรงกระตุ่นครั้งใหญ่จากระบบplantation และธุรกิจขนาดใหญ่ แม้แต่ Yanmarในประเทศไทยก็เดินตามแนวทางนี้ แม้ว่าในระยะก่อนหน้าโฟกัสการผลิตเครื่องยนต์เพื่อให้ประโยชน์มากกว่าเกษตร  ได้เปิดธุรกิจเช่าซื้อเช่นกัน( 2552 )ที่สำคัญหันมาผลิตรถแทรกเตอร์รุ่นใหม่ อ้างว่าเป็นการเปิดตัวครั้งแรกในโลกที่ประเทศไทย( กรกฎาคม 2554 )  ถือเป็นกระบวนการเรียนรู้และประยุกต์ขอเจ้าของเทคโนโลยีระดับโลกจากสังคมไทยด้วย

นอกจากKubota และYanmar เจ้าของเทคโนโลยีการเกษตรจากญี่ปุ่นที่พัฒนามานานกว่าศตวรรษ ถือว่าเป็นคู่แข่งรายสำคัญและผู้ครอบครองตลาดการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรในเมืองไทยแล้ว ล่าสุด Satake เจ้าของเทคโนโลลี่การผลิตเครื่องจักรอุตสาหกรรมอาหารจากญี่ปุ่น ก็มาเมืองไทยด้วย ก่อตั้ง Satake International Bangkok ในปี2550 ด้วยความพยายามพัฒนาเทคโนโยลี่การเกษตรในมิติที่มละเอียดอ่อนมากขึ้น ด้วยการศึกษาการประยุกต์เข้ากับสังคมไทยและใกล้เดียงด้วยความร่วมมือกับธุรกิจท้องถิ่น –ซีพี ถือ เป็นกระบวนแชร์ความรู้ซึ่งกันและดัน

“บริษัท ซาตาเก้ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างซีพีและ Satake Corporation ประเทศญี่ปุ่น ผลิตเครื่องจักรโรงสีข้าว (Rice Processing Machinery) และชิ้นส่วนเครื่องจักรโรงสีข้าว สำหรับขายทั้งในและต่างประเทศ “เป็นเครื่องจักรโรงสีข้าวที่มีประสิทธิภาพสูง ใช้เนื้อที่ในการติดตั้งน้อย สีข้าวได้เปอร์เซ็นต์ข้าวต้นสูง  ขบวนการผลิตเป็นระบบปิดป้องกันการปลอมปนการปลอมปนและ  ลดมลภาวะ  สามารถพัฒนาระบบการควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์มาเสริมในขบวนการแปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสาร”  (ข้อมูลของ  กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร  ซีพี)

วิจัยและพัฒนา

ไม่ว่าบางคนจะยอมรับหรือไม่ว่าเกษตรกรรมไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก  แม้บางคนยังต้องการให้กรรมสิทธิ์ที่ดินสัก50 ไร่กับเกษตรรายย่อยเพื่อเป็นฐานสังคมต่อไป แต่เมือมองอีกด้าน เกษตรกรรายย่อยไม่สามารถรวมตัว หรือสะสมทุนมากพอจะมีปัจจัยการผลิตสมัยใหม่   สามารถสร้างงานวิจัยและพัฒนาได้ เพื่อการดำรงอยู่อย่างยั่งยืน แม้เป็นที่ทราบกันว่ารัฐดูแลงานวิจัยและพัฒนาด้วยงบและกำลังคนไม่น้อย แต่ยังไม่มีการประเมินว่า สามารถตอบสนองการพัฒนาความสามารถของเกษตรกรรายย่อยอย่างไรหรือไม่ และดูเหมือนผลงานวิจัยหรือความสัมพันธ์ของหน่วยงานนี้ของรัฐ มีอย่างแนบแน่นกับธุรกิจ

เฉพาะที่ว่าด้วยการจัดการเกษตรกรรมพื้นที่ขนาดใหญ่  งานบริหารจัดการอย่างเป็นระบบมีความหมายมากขึ้น ความพยายามควบคุมขั้นตอนต่างๆ ที่สำคัญมองไปที่ผลตอบแทนในปลายทาง  ได้สร้างปรากฏการณ์ใหม่ๆพอสมควร   ในตอนนี้เจาะจงกล่าวถึงงานวิจัยและพัฒนา

สวนกิตติ กิจการในกลุ่มเกษตรรุ่งเรืองเกิดขึ้นกว่าสองทศวรรษ โดยครอบครองพื้นที่ป่ายูคาลิปตัสมากที่สุดในประเทศไทย จากการศึกษาบทเรียนทั่วโลก จึงตั้งโรงเพาะชำพันธุ์จากเนื้อเยื่อขึ้นอย่างตั้งใจในปี2533   จากการปรับปรุงพันธุ์ยูคาลิปตัสเพื่อใช้เชิงพาณิชย์ จากการผลิตเพื่อใช้ในสวนกิตติ ขยายไปสู่เกษตรกรในเครือข่าย ซึ่งแต่ปีละสามารถผลิตกล้าได้มากกว่า 100ล้านต้นต่อปี (อ้างจาก http://www.suankitti.com)

การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์ของสวนกิตติ อาจถือเป็นโครงใหญ่โครงการแรกๆ ของระบบเกษตรสมัยใหม่ของไทย    ถือเป็นบุกเบิกการปลูกยูคาลิปตัสเพื่อตอบสนองอุตสาหกรรมกระดาษ   เป็นห่วงโซ่สำคัญของอุตสาหกรรมกระดาษของตนเอง  โดยใช้เวลาเริ่มต้นพอสมควร เป็นโมเดล ดูเหมือนคล้ายกันกับกรณีกลุ่มไทยเจริญหรือทีซีซีที่เคยเสนอเรื่องราวมาบ้างแล้ว  หากพิจารณาลงลึก มีขั้นตอนที่แตกต่างกันบ้าง

กลุ่มพรรณธิอร ของเครือทีซีซีมีเป้าหมายเช่นเดียวกับกลุ่มสวนกิติและกระดาษ AA   ตรงที่มองธุรกิจครบวงจร สวนกิตติให้ความสำคัญห่วงโซ่หลักประกันวัตถุดิบสำคัญและต้นทุนการผลิตหลัก—ต้นยูคาลิปตัส ขณะที่ซีซีมองเกษตรกรรมครบวงจร ด้วยการนำเสนอปัจจัยการผลิตหลากหลายเพื่อควบคุมวงจร ควบคุมต้นทุนและการตั้งราคา ตั้งแต่ระบบจัดการน้ำ ปุ๋ย   ส่วนพันธ์พืช เป็นลักษณะทำการตลาด (จาพันธุ์ข้าวของรัฐ) มากกว่าการวิจัยและพัฒนาโดยตรง ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นขั้นตอนต่อไป

อีกโมเดลหนึ่งที่น่าสนใจสำหรับพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย  การวิจัยและพัฒนา จากการประยุกต์ และเรียนรู้จากประสบการณ์หรือห้องทดลองของตนเอง  ก้าวไปสู่การสร้างธุรกิจใหม่ตามแนวทางของกิจการเครือข่ายธุรกิจระดับโลก นั้นคือการครอบครองตลาดการวิจัยและพันธุ์พืช ซึ่งถือว่าเป็นธุรกิจที่มีอนาคต(จะกล่าวถึงในตอนหน้าซึ่งเป็นตอนสุดท้ายของเรื่องเกษตรกรรมไทย)

ซีพี  เป็นตัวอย่างของบทเรียนที่ตกผลึกจากประสบการณ์ข้ามธุรกิจ ข้ามสาขา  มาที่กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี2522 ด้วยการวิจัย พัฒนาและส่งเสริมใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพด  –พันธุ์ข้าวโพดลูกผสม เบอร์ 888 ทั้งตราดอกบัวและตราใบโพธิ์ของซีพี   เป็นสินค้าหนึ่งในตลาดที่มีคู่แข่งจากเครือข่ายธุรกิจระดับโลกที่ทำตลาดกับเกษตรกรรายย่อยของไทย

จากนั้นจึงเข้าสู่โอกาสและตลาดที่กว้างใหญ่ ซีพีพัฒนาพันธุ์ข้าว(C.P.304) เกิดขึ้นจากงานวิจัยเมื่อ ปี 2545เพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวลูกผสม โดยทำการวิจัยที่ฟาร์มกำแพงเพชร นอกจากนี้มีผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพ (ปุ๋ยอินทรีย์น้ำวีโก้, น้ำส้มไม้วูการ์) มาเป็นสินค้าทางเลือกทดแทนปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลง สอดคล้องกับภาพรวมยุทธ์ศาสตร์สำคัญของซีพีในความพยายามอ้างอิงและแข็งขันกับคู่แข่งระดับโลกในเมืองไทย

อีกกรณีหนึ่งที่โฟกัสมากกว่า ในปี 2549 ยูนิวานิชเปิด ห้องปฏิบัติการเพาะเนื้อเยื่อจากปาล์มน้ำมันเป็นแห่งแรกในประเทศไทย เป็นงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันของประเทศไทย นอกจากใช้ปลูกทดแทนในสวนดั้งเดิมของบริษัท ที่สำคัญจำหน่ายในตลาดวงกว้าง สอดรับสถานการณ์การปลูกยางพารากำลังขยายตัวทั่วประเทศ

ปรากฏการณ์ที่น่าสนใจที่ควรกล่าวถึงปิดท้าย — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยชั้นนำแห่งเดียวที่ไม่มีวิทยาเขตในต่างจังหวัด ไม่ว่าชานเมือง หรือหัวเมืองใหญ่ ขณะเดียวกันก็เป็นมหาวิทยาลัยไทย ไม่มีการเรียนการสอนวิชาการด้านเกษตรกรรม  ทั้งๆที่มีหลักสูตรสำคัญอื่นครบถ้วน มีความเคลื่อนไหวล่าสุด ด้วยการเปิดการศึกษาในหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ที่เพ่งเริ่มต้นในปี2553ที่ผ่านมา (รายละเอียด ที่ http://www.ocare.chula.ac.th )

เมื่อพิจารณา แนวคิด  เป้าหมาย และหลักสูตร อย่างคราวๆ  จุฬาฯจะพยายามเน้นคำจำกัดความใหม่   “เจ้าของกิจการด้านการเกษตร (Agricultural entrepreneur) ซึ่ง เป็นแนวทาง ประหนึ่งโฆษณาที่น่าสนใจ   แต่อีกด้านหนึ่งดูเหมือนสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวอันคึกคักของเครือธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ในช่วงเวลานี้อย่างมากเช่นกัน

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: