ไม่น่าเชื่อว่าภาคเกษตรไทยที่หลายๆคนเชื่อว่าเป็นระบบเศรษฐกิจดั้งเดิมและมักมองข้ามไปนั้น อยู่ภายใต้เครือข่ายของธุรกิจระดับโลกอย่างฝั่งรากลึกมาช้านาน และนับวันจะมีอิทธิพลมากขึ้นๆ
ข้อมูลพื้นฐานว่าด้วยความเชื่อมโยงกับต่างประเทศของเกษตรกรรมไทย ที่สำคัญที่สุด คงเป็นการนำเข้าปุ๋ยเคมี และสารเคมีเพื่อเร่งผลผลิตอื่นๆที่เกี่ยวข้อง “ใน ปี2497การนำเข้าปุ๋ยยังอยู่ในระดับไม่เกิน 10,000ตัน แต่พอมาปี 2513กี่นำเข้าปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้นอย่างมากมายถึง265, 000 ตัน สว่าง เลาหทัย เป็นตัวอย่างของบ”ผู้มาใหม่”อีกรายของสังคมธุรกิจไทยที่เกิดขึ้นและขยายอาณาจักรธุรกิจใหญ่ขึ้นมาในช่วงนั้น ที่มาพร้อมกับการเติบโตของภาคเกษตรกรรมพื้นฐานของไทย ในฐานะผู้ดำเนินธุรกิจค้าปุ๋ยรายใหญ่ที่สุดในช่วงนั้น “ข้อมูลมาจากค้นคว้าในช่วงต้นๆ (จากหนังสือ “สุรางค์ ดำเนินชาญวนิชย์”อ้างไว้ในตอนที่แล้ว)
สว่าง เลาหทัย เป็นตำนานผู้สร้างตัวจากลูกจ้างในฐานะนักเรียนเก่าญี่ปุ่นเข้าทำงานกับ Nissho Iwai (หรือSojitz Corp ในปัจจุบัน) บรรษัทการค้าญี่ปุ่นในประเทศไทย (เข้ามาเมืองไทยปี2503) ก่อนมาอยู่กิจการนำเข้าเคมีภัณฑ์ ของถ้าแก่ดั้งเดิมของไทย จนก้าวเป็นเจ้าของกิจการ ในนาม กลุ่มศรีกรุงวัฒนา จุดเริ่มต้นสำคัญมาจากธุรกิจร่วมทุนกับ Nissho Iwai ก่อตั้งบริษัทไทยเซ็นทรัลเคมี ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยรายใหญ่ที่สุด พร้อมๆกับขยายกิจการสู่การค้าพืชไร้และอุตสาหกรรมกลายเป็นอาณาจักรธุรกิจที่ยิ่งใหญ่ ก่อนการลดค่าเงินบาทในช่วงปี2530 แต่จากนั้นดูเงียบหายไป
“บริษัทไทยเซ็นทรัลเคมีเดิมคือบริษัทปุ๋ยเคมีแม่เมาะของรัฐบาล เนื่องจากการบริหารงานเละเทะ บริษัทศรีวัฒนาจากเป็นผู้ถือหุ้นรายย่อยได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้งเชื่อเชิญบริษัทเซ็นทรัลกล๊าสและนิชโช-อิวายแห่งญี่ปุ่นถือหุ้นด้วยอาศัยโนฮาวของญี่ปุ่นทำให้บริษัทไทยเซ็นทรัลเคมีดำเนินไปด้วยดี คนที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จ คือสว่าง เลาหทัย ซึ่งช่วงนั้นเขาเป็นผู้จัดการทั่วไปของบริษัทนี้”(อ้างจากสว่าง เลาหทัย สงครามครั้งสุดท้าย งานเขียนคลาสิกชิ้นหนึ่งของผม เขียนเมื่อปี 2530 )
ดูเหมือนจะมีความสอดคล้องระดับหนึ่งกับข้อมูลทางการของบริษัท “โดยกระทรวงการคลัง และ บริษัท ศรีกรุงวัฒนา จำกัด ร่วมกับบริษัท นิชโช อีวาย คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ปัจจุบัน คือ บริษัท โซจิทสึ คอร์ปอเรชั่น) และบริษัท เซ็นทรัล กล๊าส จำกัด ประเทศญี่ปุ่น จึงได้พิจารณาร่วมลงทุนก่อตั้งบริษัท ไทยเซ็นทรัลเคมี จำกัด ขึ้นเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2516” (อ้างจาก http://www.tcccthai.com/ )
ไทยเซ็นทรัลเคมี เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยเคมีรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย (อ้างแล้ว) ทั้งนี้เป็นกิจการในตลาดหลักทรัพย์ (2534) โดยแสดงยอดขายปีล่าสุดไว้เกือบ 20,000ล้านบาท แม้ว่าโครงสร้างผู้ถือหุ้นต่างชาติที่แสดงไว้ ถือหุ้นไม่เกินกว่าครึ่งหนึ่ง แต่ก็เป็นเพียงไม่กี่บริษัทในตลาดหุ้นไทย ที่มีกรรมการและผู้บริหารเป็นคนญี่ปุ่นในตำแหน่งสำคัญๆ
รายงงานประจำปีล่าสุดของบริษัท ระบุว่าในปี2533 เมืองไทยต้องนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศมากกว่า 5ล้านตันแล้ว (ภาวะอุตสาหกรรมและการแข่งขัน รายงานประจำปี 2553) สอดคล้องกับข้อมูลกรมวิชาเกษตรทีมีสถิติเพียงปี 2552ระบุว่ามีการนำเข้าปุ๋ยเคมีประมาณ 3.8ล้านตัน มูลค่ากว่า40, 000ล้านบาท ในมุมมองของกรมวิชาการเกษตรถือว่าเป็นปัจจัยการผลิตที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ปุ๋ยทั้งหมดในปีเดียวกันปี2547 (เท่าที่ข้อมูลของกรมวิชาการเกษตรมี) ปรากฏกว่ามีมากว่าการนำเข้าประมาณ 200,000 ตัน (ใช้ประมาณ3.9 ล้านตัน นำเข้าประมาณ3.7 ล้านตัน)
นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรได้แสดงข้อมูลสำคัญบางอย่างที่เชื่อมโยงไปไกลมากทีเดียว —การนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชอีก( ปี 2552) มูลค่าประมาณ 17,000ล้านบาท มีความเชื่อมโยงกับการนำเข้า-ส่งออกเมล็ดพันธุ์ ซึ่งมีมูลค่ารวมกันอีกประมาณ4000 ล้านบาท
แม้ว่าจะไม่ได้แสดงภาพอย่างชัดเจน ที่ว่าด้วยการใช้สารเคมีเกษตรทั้งหมด เนื่องจากมีการผลิตบางระดับ บางขั้นตอนในประเทศ ส่วนธุรกิจเมล็ดพันธุ์ซึ่งกำลังเติบโตนั้น มีข้อมูลที่น่าสนใจใน2 มิติ หนึ่ง- มักเป็นความพยายามต่อยอดจากธุรกิจเคมีภัณฑ์เกษตร สู่เมล็ดพันธุ์ เป็นกระแสและแนวโน้มของธุรกิจระดับโลก สอง-ธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ไม่เพียงกำลังเติบโตในประเทศเท่านั้น ถือเป็นเครือข่ายระดับโลก สังคมเกษตรกรรมของไทยได้กลายเป็นฐานการพัฒนาและผลิตเมล็ดพันธุ์ของโลก ตัวเลขที่แสดงให้เห็นว่าการส่งออกมีมากกว่าการนำเข้าถึงสามเท่า ทั้งนี้ภาพที่ชัดเจนที่สุด คือปัจจัยการผลิตสำคัญและเชื่อกันว่าเป็นอนาคต มีความสัมพันธ์โดยตรงในฐานะส่วนหนึ่งในเครือข่ายธุรกิจระดับโลก
ความเคลื่อนไหวอย่างเอาการเอางานในประเทศไทยของ Monsanto Syngenta และ Pacific seedsจึงน่าสนใจ
Monsanto เครือข่ายยักษ์ใหญ่เคมีเกษตรและเมล็ดพันธุ์ระดับโลกของสหรัฐฯก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2444 เป็นกิจการทีมีเรื่องอื้อฉาวทั่วโลกในฐานะผู้นำด้านตัดต่อพันธุกรรม ที่พยายามนำไปใช้ในประเทศเกษตรกรรม แม้แต่ประเทศไทย ปัจจุบันเป็นผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ที่เป็นรู้จักของเกษตรกรไทย โดยเฉพาะแบรนด์ DEKALB และเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่าย Roundupแบรนด์สารกำจัดวัชพืชที่อ้างว่ามียอดจำหน่ายสูงสุดของโลก
“Monsanto เปิดสำนักงานในประเทศไทยเมื่อปี 2511 ต่อมาได้ควบกิจการบริษัท คาร์กิลล์ เมล็ดพันธุ์ และก่อตั้งบริษัท มอนซานโต้ เมล็ดพันธุ์ (ไทยแลนด์) ขึ้นในปี 2542 เพื่อพัฒนาและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพด
สำหรับทำอาหารสัตว์และจำหน่ายให้กับเกษตรกรในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย มีสถานีวิจัยและโรงงานผลิตเมล็ดพันธุ์ที่อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก”สรุปมาจากข้อมูลของมอนซานโต้ในประเทศไทย แสดงยุทธ์ศาสตร์ธุรกิจไว้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะธุรกิจเมล็ดพันธุ์
Syngentaเครือข่ายธุรกิจเคมีเกษตรจากสวิสเซอร์แลนด์ที่มีฐานในเมืองไทยมานาน ทั้งนี้มีการเปลี่ยนชื่ออย่างสับสนพอสมควร ภายใต้กระวนการควบรวมและซื้อกิจการในระดับโลก จากการควบรวมกิจการระหว่าง Novartis Crop Protection และ Zeneca Agrochemicals เมื่อปี 2543 โดยบริษัทแม่ตั้งอยู่ที่เมืองบาสเซิล สวิสเซอร์แลนด์
สำหรับในประเทศไทยนั้น ซินเจนทาเกิดจากการควบกิจการระหว่าง บริษัท โนวาร์ตีส ครอป โปรเทคชั่น (ประเทศไทย) และ บริษัท เซนเนก้า เกษตร เอเชียติ๊ก ในปี 2544 โดยใช้ชื่อว่า “บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น ”
โรงงานซินเจนทาบางปู ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมกราคม 2524 ในนามเดิมคือไอซีไอ เอเชียติ๊ก (เกษตร) เป็นบริษัทที่เกิดจากการควบกิจการระหว่างธุรกิจเคมีเกษตรของICI สหราชอาณาจักร และบริษัท อีสต์ เอเชียติ๊ก (ประเทศไทย) ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมบางปู สมุทรปราการ ดำเนินกิจการผลิต และจำหน่าย ผลิตภัณฑ์เคมีเกษตรภายในประเทศ และส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ โดยได้รับบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนด้วย
ส่วนธุรกิจเมล็ดพันธุ์เข้าใจว่าเริ่มทีหลัง –Syngenta Seeds โดยเฉพาะจากซื้อและควบรวมกิจการระดับโลกในปี 2548 ที่เมืองไทยมีผลิตภัณฑ์ แบ่งเป็น 2 กลุ่ม พืชไร่และพืชผัก โดยพืชไร่ คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม และพืชผัก คือ ข้าวโพดหวานลูกผสม, ข้าวโพดฝักอ่อนลูกผสม และพืชผักลูกผสมต่างๆ
Pacific seedsเป็นกิจการดำเนินธรกิจเมล็ดพันธุ์มายาวนานและฝั่งรากเข้ากับระบบเกษตรกรรมไทยอย่างดีมาแล้วเกือบ 4ทศวรรษ อาจถือได้ว่าเป็นผู้บุกเบิกและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกษตรกรรมไทย จากการคัดเลือกพันธุ์เองมาสู่การซื้อพันธุ์โดยเฉพาะข้าวโพด ข้าวฟ่างและทานตะวัน
“บริษัท แปซิฟิค เมล็ดพันธุ์ เป็นบริษัท ในเครือ ADVANTA มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Hyderabad ประเทศอินเดีย โดยบริษัท UPL (United Phosphorous Limited) ซึ่งเป็นบริษัทเคมีเกษตรขนาดใหญ่ที่มีเครือข่ายโรงงานผลิต และการตลาดทั่วโลกเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549 โดยUPL มีนโยบายขยายการลงทุนให้ครอบคลุมธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ที่เป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในกระบวนการเพาะปลูก เป้าหมายของกลุ่มบริษัท Advanta คือมุ่งเน้นขยายธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ข้าวโพดไร่ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน ทานตะวัน และข้าวฟ่างในภูมิภาคเขตร้อนชื้น โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค และ อเมริกาใต้ โดยมีการดำเนินธุรกิจและตั้งสำนักงาน ในประเทศ ไทย ออสเตรเลีย อินเดีย อาร์เจนตินา และสหรัฐอเมริกา”
ดูเหมือนจะเป็นกิจการต่างชาติรายเดียวมีพยายามให้ข้อมูลอย่างดี(http://www.pacthai.co.th/ ) โดยเฉพาะให้ภาพความผันแปรอย่างคึกคักของธุรกิจในระดับโลก โดยมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญอย่างน้อยสองครั้ง ปี 2532 จากกิจการของออสเตรเลียได้เข้าร่วมกลุ่มกับICI UK ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในวงการเมล็ดพันธุ์ระดับโลก และปี 2536 ICI ปรับโครงสร้างรวมธุรกิจเมล็ดพันธุ์ เวชภัณฑ์ เคมีเกษตรและธุรกิจทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพเข้าด้วยกันในนาม ZENECA โดยแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ในประเทศไทยก็ยังคงชื่อเดิม
ในเมืองไทยแปซิฟิคเมล็ดพันธุ์ เริ่มต้นอย่างจริงจังในปี 2518นำข้าวฟ่างพันธุ์ลูกผสมและเมล็ดพันธุ์ทานตะวันจากประเทศออสเตรเลีย มาทดลองที่อำเภอปากช่อง นครราชสีมา ระยะต่อมานำข้าวโพดลูกผสมมาทดลอง และขยายพื้นที่กว้างขึ้นในอำเภอพระพุทธบาท อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี และ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จากนั้น ปี 2526 เปิดโรงงานปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ ที่อำเภอพระพุทธบาท โดยได้รับการส่งเสริมการลงทุนด้วย
ปี 2532 – 33 ขยายเครือข่ายทั่วประเทศผ่านกลไกของสังคมไทย “การจัดตั้งศูนย์บริการเมล็ดพันธุ์ในภาคต่าง ๆ ร่วมกับ ธ.ก.ส. และศูนย์บริการในพื้นที่ส่งเสริมการปลูกข้าวโพดแบบครบวงจร โดยให้เกษตรกรเปลี่ยนมาใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมเป็นหลัก … และเริ่มพัฒนาตลาดเมล็ดพันธุ์ต่างประเทศโดยเฉพาะในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และใกล้เคียง เช่น เวียดนาม พม่า ศรีลังกา ปากีสถาน บังคลาเทศ มาเลเซีย และญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อพัฒนาพันธุที่เหมาะสมในแต่ละประเทศ”
ภาพความเคลื่อนไหวของธุรกิจระดับโลกที่ผูกโยงกับสังคมเกษตรกรรมของไทย เป็นดัชนีของความสำคัญของบางมิติที่ควรเพ่งมอง โดยเฉพาะธุรกิจเมล็ดพันธุ์ ซึ่งไม่เพียงกำลังเปลี่ยนระบบเกษตรกรรม เข้าสู่วงจรเครือข่ายระดับโลกมากขึ้นเท่านั้น หากสะท้อนว่า สังคมเกษตรไทยซึ่งเชื่อในเรื่องความสำคัญ “พื้นที่ทำกิน”ที่บางคนพยายามกำลังปกป้องไว้ กำลังกลายแหล่งเพาะความรู้และโนวฮาวระดับโลกที่เราเข้าถึงได้อย่างจำกัด
การตั้งคำถามอย่างจริงจัง ว่าด้วยยุทธ์ศาสตร์เกษตรกรรมไทย จึงมีความจำเป็น