เรื่องราวของปตท.จากนี้ไปจะเป็นที่สนใจของที่“ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย”มากขึ้น มากขึ้นเสียจนการดำเนินจากนี้ขององค์กรธุรกิจใหญ่ที่สุดในประเทศ จะเข็าสู่สถานการณ์ใหม่ที่มีแรงเสียดทานมากขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน
เริ่มต้นมาจากภาพความยิ่งใหญ่ของปตท.จับต้องได้มากขึ้นทุกวัน ขณะเดียวก็มี “ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย” มากขึ้นเป็นเงาตามตัว จากนั้นยุทธ์ศาสตร์การดำเนินธุรกิจเชิงขยายแนวนอน และความพยายามไม่อิง “ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย” รายหนึ่งรายใด ได้สร้างแรงปะทะมากขึ้น รุนแรงขึ้น ขยายวงมากขึ้น ภาพสำนักงานใหม่ที่ เรียกว่า Energy complexสะท้อนความยิ่งใหญ่ ทันสมัย หรูหรา และความเป็นองค์กรชั้นแนวหน้าด้วยมั่นใจอย่างมาก กลายเป็นสัญลักษณ์ “ภาพโดดเด่น”ที่ถูกเฝ้ามองรอบทิศทาง
“ปตท. ได้เข้าซื้อขายหลักทรัพย์ ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปลาบปี 2544 .ในช่วง ปีแรกราคาหุ้นก็ขยับขึ้นอย่างช้าๆ จนถึงปี 2547 สถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว”
“ในปี 2547 เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างชัดเจนจากวิกฤติครั้งใหญ่ที่ยืดเยื้อพอสมควร การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นในรอบสองทศวรรษ เช่นเดียวราคาน้ำมันเริ่มสูงขึ้น ปตท.ขยายตัวจากสินทรัพย์ระดับ 3แสนล้านบาทในปี2545 เพิ่มเป็น 9 แสนล้านบาทในปี2547 จากกำไรประมาณ 24,000 ล้านบาท ในปี2545 เพิ่มเป็นประมาณ 90,000 ล้านบาทในปี 2548-9 ขณะเดียวกันราคาหุ้นจากไม่ถึง 50 บาทในวันเข้าตลาดหุ้นในปลายปี 2545เพิ่มขึ้นทะลุ400 บาทในปี 2547
ปรากฏการณ์นี้บอกว่าความเป็นรัฐวิสาหกิจในความหมายเดิมที่ว่าด้วยยุทธ์ศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงาน กำลังเปลี่ยนไป กลายเป้นบริษัท และหลักทรัพย์ที่สร่างโอกาสอย่างมากให้กับนักลงทุนระดับกว้าง”
“อีกมิติหนึ่งโอกาสทางธุรกิจที่ว่าด้วยยุคทองของกิจการด้านพลังงานเปิดกว้างขึ้น จากผลประกอบการที่ดี ได้กระตุ้นและเปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์เดิมจากกิจการพลังงานที่ดูแลความมั่นคงในประเทศ ไปสู่ควทะเยอทะยานเป็นกิจการพลังงานระดับโลก เครือข่ายธุรกิจพลังงานครบวงจรภายใต้การสนับสนุนของรัฐ เป็นโมเดลของประเทศกำลังเติบโต น่าสนใจอย่างมากในเวลานั้น” จากตอนที่แล้ว (ปตท.ที่น่าทึ่ง ) ในการเข้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นการเดินทางสู่ปลายทางของวงจรอุสาหกรรมอย่างครบวงจร
ภาพใหญ่ของการเข้าสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ของปตท.มีเอสซีจีเป็นทั้งหุ้นส่วน(เอสซีจี ถือหุ้นประมาณ 20%ในปตท.เคมีคอล) และคู้แข่งสำหรับระเทศไทย แต่ในระดับท้องถิ่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมีของไทย ที่มีสองรายเป็นแกน มีความสามารถในการแข่งขัน
ในเชิงยุทธ์ศาสตร์แล้ว เอสซีจี ซึ่งมีธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่มีขนาดใกล้เคียงกับปตท.เคมีคอล โดยถือหุ้นจำนวนหนึ่งและมีกรรมกรรมจำนวน2 คนในปตท.เคมีคอล.ด้วย นับเป็น “ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย”ที่มียุทธ์ศาสตร์ที่ดี
ขณะเดียวกันปตท.ซึ่งมียุทธ์ศาสตร์ชัดเจนว่าด้วยการสร้างความยิ่งใหญ่ ด้วยไม่พยายามอิง “ผู้มีส่วนได้ส่วนใหญ่” รายหนึ่งรายใดเป็นการเฉพาะ ด้วยมีกิจการในเครืออีกแห่งหนึ่งที่ขนาดสินทรัพย์ใกล้เคียงด้วย นั่นคือกลุ่มไออาร์พีซี ทั้งนี้ปตท. (มหาชน)ถือหุ้นเอง ประมาณ 37% ถือเป็นคู่แข่งอย่างแท้จริงกับเอสซีจีก็ว่าได้
“บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ “ทีพีไอ”จดก่อตั้งเมื่อปี2521 โดยกลุ่มเลี่ยวไพรัตน์ จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน เมื่อปี 2537 และจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2538 เริ่มต้น ผลิตเม็ดพลาสติกเพื่อจำหน่ายในปี 2525 และได้ขยายสายการผลิตผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติกชนิดต่างๆเพิ่มขึ้นรวมทั้งขยายโรงงานและ สร้างสาธารณูปโภค พื้นฐานสำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร ต่อมาบริษัทฯประสบภาวะวิกฤตทางการเงิน หลังจากการลอยตัวค่าเงินบาท เมื่อปี 2540 บริษัทฯ เข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเมื่อปี 2543 และประสบความสำเร็จในการ ฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2549 ปัจจุบัน ไออาร์พีซี เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจรแห่งแรกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีโรงงานอยู่ที่ ระยอง ซึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทฯ พร้อมสาธารณูปโภค ที่สนับสนุนการดำเนินอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจร เช่น ท่าเรือน้ำลึก คลังน้ำมัน โรงไฟฟ้า” ( http://www.irpc.co.th )
ในอีกด้านมีความมุ่งมั่นการขยายตัวจากการค้าปลีก จากสถานีบริการ เข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มตัว ล่าสุดมีความพยายามใหม่ที่ดูอาจหาญมากขึ้นด้วยการเสนอซื้อเครือข่ายค้าปลีกระดับโลก
“ปตท. สร้างความประหลาดใจแก่วงการธุรกิจพอสมควรที่แสดงความสนใจซื้อกิจการนี้อย่างมากอีกรายนึ่ง
กลุ่มธุรกิจพลังงานของไทยขยายตัวทำลายสถิติการเจริญเติบโตชองธุรกิจอื่นใดในสังคมธุรกิจไทยในช่วงเพียงเพียงทศวรรษมานี้ พัฒนาจากรัฐวิสาหกิจผูกขาดการจัดหาน้ำมันและจัดการกลไกด้านพลังงานของรัฐ มาสู่กิจการรัฐถือหุ้นใหญ่(จดทะเบียนบริษัทจำกัดภายใต้กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจในปี2542) เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้น (ปี 2544) และยังคงเป็นผู้จัดการด้านพลังงานของรัฐ
การขยายตัวในทุกมิติ แม้ว่ามีความมุ่งมั่นเข้าสู่การวางรากฐานทั้งแนวและแนวนอนของกิจการพลังงาน เป็นกิจการที่เกิดขึ้นจากวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่สอง และเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งล่าสุด จนกลายเปิ่นธุรกิจขนาดใหญ่ติดอันดับโลก แซงกิจการใดๆที่เคยยิ่งใหญ่ในประเทศไปอย่างไม่เห็นฝุ่น พร้อมๆการลงทุนอย่างหนักในเชิงอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ขณะเดียวก้นเป็นเจ้าของเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันทีครองความยิ่งใหญ่มาตั้งแต่ปี2536 จากนั้นพัฒนารูปแบบและโมเดลไปอย่างมากมาย ถือว่าเป็นเจ้าของธุรกิจเครือข่ายค้าปลีกในรูปแบบหนึ่งก็ว่าได้ แม้กระทั่งเป็นเจ้าของเครือข่ายร้านกาแฟ ด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้ความพยายามเป็นเจ้าของเครือข่ายค้าปลีกตาโมเดล Carrefour ย่อมเป็นเรื่องเป็นไปได้มากทีเดียว” (เรื่องของ “รายใหญ่”)
ว่าไปแล้ว ปตท.ดำเนินธุรกิจค้าปลีกในตลาดแข่งขันเสรีและข้ามสายพันธุ์อย่างเข้มข้นมาแล้วอย่างน้อย3 ปีแล้ว โดยเฉพาะเริ่มต้นจากการซื้อเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันของ Conoco Phillips แห่งสหรัฐอเมริกา ในสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยไม่ใคร่มีคนสนใจนัก
ปี2550 เป็นปีแห่งความวุ่นวายทางการเมืองของไทย ภายใต้การบริหารของรัฐบาลมาจากการรัฐประหาร การยุบพรรคการเมืองใหญ่ที่ชนะการเลือกตั้ง ราคาน้ำมันสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ และค่าเงินบามทก็แข้งค่ามากด้วย เป็นช่วงเดียวที่ปตท.เติบโตอย่างมาก ไมว่าด้วยผลประกอบการที่ดีเยี่ยมและการข้าสู่ธุรกิจใหม่ ธุรกิจที่แข่งขันโดยตรงกับ “รายใหญ่” อย่างเอสซีจีโดยเฉพาะ—อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ครบวงจร ต้องฝ่าแรงเสียดทาน และลงทุนด้วยเงินจำนวนมาก เรื่องการซื้อสถานีบริการน้ำมัน ด้วยเงินประมาณ 7 พันล้านบาท จึงกลายเป็นเรื่องเล็ก
ConocoPhillips กิจการพลังงานครบวงจรถือเป็นกิจการของเอชนทีใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก ให้ฐานอยู่ที่ Houston สหรัฐอเมริกา ให้ความสำคัญธุรกิจค้าปลีกพอสมควร ด้วยมีเครือข่ายหลาย Brand อาทิConoco , Phillips 66 และ Union 76 ConocoPhillips เข้ามาดำเนินธุรกิจสถานีบริการในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2536 ด้วยการเปิดสถานีบริการน้ำมันJet โดยมีร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) ––Jiffy ถือเป็นโมเดลสถานีบริการน้ำมันทันสมัย กลายเป็นผู้กำหนดทิศทางใหม่ของสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทย ตามมาด้วยการปรับโฉมกันเป็นการทั่วไปครั้งใหญ่
ปตท.ซื้อสถานีบริการConocoPhillips เฉพาะในประเทศไทยจำนวน147 แห่ง ด้วยการตั้งบริษัทขึ้นมาใหม่ดำเนินการเฉพาะสถานีบริการในส่วนนี้ ส่วนที่เหลืออีกนับพันแห่งดำเนินโดยหน่วยงานอื่น ในช่วงเวลานั้นได้เริ่มกระบวนการปรับปรุงสถานีบริการดั้งเดิมนั้นด้วย
กระบวนการพัฒนาสถานีบริการของปตท.เป็นการรวมพลังจากพันธมิตรทางธุรกิจ แนวคิดเชื่อมโยงธุรกิจค้าปลีก มิใช่เรื่องใหม่ ปตท.ร่วมมือกับ7-Eleven(เครือข่ายค้าปลีกที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ของกลุ่มซีพี)มาระยะหนึ่งแล้ว ในบรรดาสถานีบริการประมาณ1,100แห่ง(ไม่รวมเครือข่าย Jiffy ) มีร้านค้า7-Eleven อยู่มากกว่า 820 แห่ง สำหรับ7-Eleven แล้วถือว่าเป็นเครือข่ายจำนวนพอสมควรที่ดำเนินการด้วยตนเอง(ไม่ใช่เครือข่ายของผู้รับแฟรนไชส์ ) จากเครือข่ายทั้งหมดประมาณ5,500 แห่ง ถือว่าในเครือข่าย7-Eleven ในสถานีบริการของปตท.มีความสำคัญพอสมควร
โดยเริ่มต้นมาเมื่อปี2546 จัดตั้งบริษัทรีเทล บิสสิเนส อัลไลอัล จำกัด บริหารร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ที่สถานีบริการ ปตท.ในฐานะ Franchisee และรับจ้างบริหารสถานีบริการปตท. บริษัทร่วมทุนนี้ปตท.ถือหุ้น49% ซีพีและทิพยประกันภัย ถือหุ้น31% และ 20% ตามลำดับ
เป็นเรื่องช่วยไม่ได้ว่า เมื่อสถานีบริการใหม่พร้อมด้วยรานสะดวกชื้อทั้งรูปแบบและเครือข่ายใหม่– Jiffyเกิดขึ้น มีความเป็นไปได้มากขึ้นว่า ปตท.กำลังเดินหน้าขยายเครือข่ายของตนเองอย่างไม่หยุดยั้ง คงจะให้ความสำคัญในโมเดลสถานีบริการใหม่ ขณะเดียวปตท.-Jiffy ได้มีการปรับปรุง พัฒนาขึ้นอย่างตั้งใจ อย่างครึกโครม พัฒนาร้านสะดวกซื้อสมัยใหม่ ตามแนวคิด“More than just a C-Store” หรือ “เราให้คุณมากกว่าร้านสะดวกซื้อทั่วไป” จะโดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เป็นการเผชิญหน้ากับ7-Eleven โดยตรง
การขยายครือข่ายมากขึ้น และการเกิดขึ้นของสถานีบริการแบบใหม่ ไม่เพียงจะถือจุดเริ่มต้นที่ปตท.เริ่มสร้างอาณาจักรธุรกิจค้าปลีกของตนเองย่างจริงจังเท่านั้น ยังมีความพยายามสร้างพันธมิตรรายสำคัญใหม่ๆด้วย เมื่อปลายปีที่แล้ว(กันยายน 2552) ปตท.บริหารธุรกิจค้าปลีก หรือ PTTRM ผู้บริหารเครือข่ายสถานีบริการใหม่ (PTT-Jiffy) ได้ทำสัญญากับบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัดบริษัทในกลุ่มเซ็นทรัล โดยกิจการในเครือเซ็นทรัล จะมาเป็นผู้บริหารการจัดซื้อสินค่าในเครือข่ายของ Jiffy ทั้งหมด
บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต โดยเฉพาะTops Market, Tops Super และ Tops Deli ถือว่าเป้นกลุ่มธุรกิจไทยที่มีประสบการณ์และโนวฮาวในเรื่องค้าปลีกมากที่สุดก็ว่าได้ สำหรับปตท.ถือเป็นขั้นตอนสำคัญอีกขั้นหนึ่งแสดงถึงความมุ่งมัน ในการเรียนรู้และพัฒนาธุรกิจค้าปลีก โดยหวังว่ากลุ่มเซ็นทรัลจะสามารถบริหารจัดซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคให้แก่ Jiffy ทุกแห่งในปัจจุบันอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการวางรากฐานรองรับการขยายกิจการในอนาคต
เป็นเรื่องบังเอิญ ทั้งซีพี และเซ็นทรัล ล้วนคู่แข่งในความพยายามซื้อกิจการ Carrefour แม้ว่าซีพีจะไม่มีลุ้นในรอบสุดท้าย แต่มิได้หมายความว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจากนี้ จะไม่มีผลกระทบต่อซีพี
ไม่กี่เดือนมานี้ ปตท.เพิ่งเปิดสำนักงานใหญ่ใหม่ เป้นกลุ่มอาการสูง ทันสมัยและหรูหรามากที่สุดแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ ด้วยแนวคิด“โครงการศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ได้รับการออกแบบให้เป็นอาคารยั่งยืน (Sustainable Building) มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีความปลอดภัยสูง และยังมีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์” “มุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยผสานกับการอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม … ระบบควบคุมส่วนต่างๆของอาคารจะถูกกำหนดให้เป็นระบบอัจฉริยะ” ( http://www.energycomplex.co.th/ ) เป็นอาคารที่ลงทุนประมาณหนึ่งหมื่นล้านบาท เป็นอาคารสำนักงานที่มีมูลค่าสูงสุดในเวลานี้ แต่เท่าที่สัมผัส เป็นความภาคภูมใจ ของพนักงานและผู้บริหารปตท.อย่างมาก
ในฐานะปตท.เป็นกิจการระดับโลก ติดอันดับบริษัทต้นๆในเอเชีย แต่ทว่า“ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย”หลายคนที่ผ่านไปมาอาคารนี้ มักจะคิดว่า ปตท.ลงทุนกับสิ่งที่เกินความจำเป็นไปบ้าง อาจะเป็นไปได้ว่า กลุ่มคนเหล่านั้นติดภาพรัฐวิสาหกิจดั่งเดิม
บางคนวิเคราะห์บุคลิกรัฐวิสาหกิจทั่วไปที่มีต้นทุนดำเนินการสูงเกินกว่าที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะต้นทุนว่าด้วยการดูแลชีวิตความเป้นอยู่พนักงาน ที่มากกว่าผลงานนั้น เป็นภาพที่ยังฝั่งแน่นตลอดมา บางทีอาจจะย้ายจากรัฐวิสาหกิจเดิม ในสู่กิจการที่เป็น”ทุนรัฐวิสาหกิจ” หรือย่างไร
แรงเสียดทานในการซื้อเครือข่ายค้าปลีกระดับโลก–Carrefour จากบทสนทนาที่พูดในแวดวงธุรกิจ คู่ค่าหรือคู่แข่ง กลายเป็นบทสนทนาที่จริงจังในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เป็นแรงกดดันที่หนักหนาเอาการ จนในที่สุดปตท.จำต้องตัดสินใจ ถอนตัว
ในถ้อยแถลงการณ์ถอนตัวนั้น ปตท.อรรถาธิบายว่า“เนื่องจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) สำคัญของ ปตท. หลายราย มีความเห็นว่า ปตท. ไม่ควรเข้าไปประมูลแข่งขันในครั้งนี้” แม้ว่าจะเป้นความหมายกว้างๆ แต่ที่แท้จริง ปตท.ให้ข้อมูล เหตุและผล ที่สามารถเชื่อมโยงไปสู่สาระได้
ความหมายที่ควรจะขยายความมากกว่านั้น แรงเสียดทาน มิได้เจาะจงเฉพาะกรณี มิได้เพิ่งเกิด หากสะสมต่อเนื่องมา ยกระดับเป้นพลังงานเสียดทานได้ระดับหนึ่งแล้ว