ยุทธศาสตร์ธุรกิจขนาดใหญ่ ย่อมมีอิทธิพลต่อธุรกิจขนาดกลางมากเป็นพิเศษ แม้แต้ธุรกิจเล็กเองก็ได้รับการส่งต่อถึงไม่มากก็น้อย ยุทธศาสตร์การขยายตัวทางธุรกิจในช่วงทศวรรษมานี้ เป็นภาพใหญ่มีโครงสร้างเดียวกัน ที่ซ้อนกัน
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ปตท.เป็นองค์กรธุรกิจแห่งเดียวในประเทศ สามารถผลักดันตนเองเป็นธุรกิจเครือข่าย(Networked Businesses) ขนาดใหญ่ สามารถสร้างห่วงโซ่ (Value chain) ทางธุรกิจอันทรงพลัง และสามารถข้ามพรมแดน หลอมละลายสู่ธุรกิจอื่นๆได้อย่างมหัศจรรย์ ซึ่งกำลังเป็นกระแสลมพัดแรงขึ้นไปทั้งสังคมธุรกิจไทย
ปตท.–การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจ เป็นธุรกิจเต็มรูปแบบ ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ 2542 จากนั้นในปี 2544 ปตท.เข้าจดทะเบียนและซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ฯ ปี 2547 ถือเป็นจุดเปลี่ยนและก้าวกระโดดครั้งใหญ่
ในช่วงหลังวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ กลุ่มปตท. กลายเป็นธุรกิจที่มีพัฒนาการอย่างมหัศจรรย์ของสังคมธุรกิจไทย “ปรากฏการณ์นี้บอกว่าความเป็นรัฐวิสาหกิจในความหมายเดิมที่ว่าด้วยยุทธ์ศาสตร์ความมั่นคงด้านพลังงาน กำลังเปลี่ยนไป กลายเป็นบริษัทและหลักทรัพย์ที่สร้างโอกาสอย่างมากให้กับนักลงทุนระดับกว้างขึ้น แม้ว่ากระทรวงการคลังจะถือหุ้นข้างมาก ก็คงมองความเป็นไปของกลไกลอย่างที่ผ่านเลยไป ผลประโยชน์แม้อาจะมากขึ้นก็คงมาจากเงินปันผล ปตท.กลายเป็นแม่เหล็กหรือหุ้นบลูชิพ มีบทบาทนำในตลาดหุ้นในสถานการณ์หลังจากตลาดหุ้นตกต่ำมานานพอสมควร เป็นที่แน่ชัดว่าย่อมตามด้วยความคาดหมายของนักลงทุนที่สูงขึ้นๆ มีผู้เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ในนามนักลงทุนจำนวนมากขึ้นๆ วงจรว่าด้วยแรงกดดันเพื่อรักษาระดับราคาหุ้น กลายเป็นปัจจัยหนึ่งของการบริหารจัดการอย่างอัตโนมัติ”ผมเคยกล่าวมาก่อนหน้านี้
อีกมิติหนึ่งโอกาสทางธุรกิจของกิจการด้านพลังงานเปิดกว้าง ได้กระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์เดิมจากกิจการพลังงานที่ดูแลความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ ไปสู่ความทะเยอทะยานเป็นกิจการพลังงานระดับโลก เครือข่ายธุรกิจพลังงานครบวงจรภายใต้การสนับสนุนของรัฐ เป็นโมเดลของประเทศกำลังเติบโต น่าสนใจอย่างมากในเวลานั้น โดยเฉพาะความพยามหลอมรวมกับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีเดิมก่อร่างสร้างเมื่อสองทศวรรษที่แล้ว ภาพหลอมรวมในกลุ่มปตท. ยิ่งใหญ่ และน่าเกรงขาม เพียงแค่มองภาพบางส่วนในตลาดหุ้น พบว่าบริษัทที่มียอดขายและกำไรสูงอันดับต้นๆของประเทศ ถูกยึดครองแทบจะสิ้นเชิง โดยกลุ่มบริษัทปตท.
การขยายตัวในทุกมิติของปตท.มีทั้งความมุ่งมั่นเข้าสู่การวางรากฐานทั้งแนวตั้งและแนวนอนของกิจการพลังงาน เป็นกิจการที่เกิดขึ้นจากวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งที่สอง และเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงวิกฤติการณ์น้ำมันครั้งล่าสุดจนกลายเปิ่นธุรกิจขนาดใหญ่ติดอันดับโลก แซงกิจการใดๆที่เคยยิ่งใหญ่ในประเทศไปอย่างไม่เห็นฝุ่น พร้อมๆการลงทุนอย่างหนักในเชิงอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ขณะเดียวก้นเป็นเจ้าของเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันทีครองความยิ่งใหญ่มาตั้งแต่ปี2536 จากนั้นพัฒนารูปแบบและโมเดลธุรกิจไปอย่างมากมาย ถือว่าเป็นเจ้าของธุรกิจเครือข่ายค้าปลีกขนาดใหญ่ในความหมายทั่วไป ไปจนถึงเป็นเจ้าของเครือข่ายร้านกาแฟ
ปตท.ดำเนินธุรกิจค้าปลีกในตลาดแข่งขันเสรีและข้ามสายพันธุ์อย่างเข้มข้นมาตั้งแต่ปี 2550โดยเริ่มต้นอย่างสำคัญ จากการซื้อเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทยของConoco Phillips แห่งสหรัฐอเมริกา ในสถานการณ์ที่เหมาะสม โดยไม่ใคร่มีคนสนใจนัก
ConocoPhillips กิจการพลังงานครบวงจรของเอชนทีใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก เข้ามาดำเนินธุรกิจสถานีบริการน้ำมันในเมืองไทยตั้งแต่ปี 2536 ด้วยการเปิดสถานีบริการน้ำมันJet โดยมีร้านสะดวกซื้อ (Convenience Store) –Jiffy ถือเป็นโมเดลสถานีบริการน้ำมันทันสมัย กลายเป็นผู้กำหนดทิศทางใหม่ของสถานีบริการน้ำมันในประเทศไทย
ปตท.ซื้อสถานีบริการน้ำมันConocoPhillips เฉพาะในประเทศไทย147 แห่ง ส่วนสถานีบริการเดิมอีกนับพันแห่ง ก็ได้เริ่มกระบวนการปรับปรุงครั้งใหญ่ จากการ พัฒนาความรู้ ความเชื่อมโยงธุรกิจเดิมเข้ากับธุรกิจค้าปลีกมาก่อนหน้าระยะหนึ่ง โดยเฉพาะจากความร่วมมือกับ7-Eleven (เครือข่ายค้าปลีกที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศไทย ของกลุ่มซีพี) จากข้อมูลเบื้องต้น สถานีบริการน้ำมันของปตท.ประมาณ1, 100แห่ง (ไม่รวมเครือข่าย Jiffy) มีร้านค้า7-Eleven อยู่มากกว่า 800 แห่ง
การขยายครือข่ายมากขึ้น และการเกิดขึ้นของสถานีบริการแบบใหม่ ไม่เพียงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ปตท.สร้างอาณาจักรธุรกิจค้าปลีกของตนเองอย่างจริงจังเท่านั้น หากกำลังก้าวข้ามจากฐานะพันธมิตรในเครือข่ายธุรกิจค้าปลีก กลายเป็นผู้แข่งขันที่น่ากลัวอีกรายหนึ่งด้วย
แรงปะทะใหม่ของปตท.ส่งผลถึงธุรกิจใหญ่อื่นๆที่ในอดีตที่ผ่านมา มักมองว่ามีความพยายามขีดเส้นอาณาเขตของตนเองให้แยกออกจากกันอย่างชัดเจน
เครือซิเมนต์ไทย(เอสซีจี) ในฐานะผู้นำธุรกิจเคมีภัณฑ์ เผชิญแรงปะทะใหม่กับเครือข่ายที่ปตท. โดยเฉพาะในจุดที่อยู่ในช่วงการขยายลงสู่อุตสาหกรรมชั้นต้นของวงจรปิโตรเคมี แต่อย่างไรก็ตามเอสซีจีซึ่งปัจจุบันธุรกิจเคมีภัณฑ์เป็นธุรกิจที่เติบโตใหม่อย่างโดดเด่น และมีสวนแบ่งรายได้มากที่สุด มีความพยายามสร้างวงจรและห่วงโซ่ให้ครบถ้วนทรงพลัง และพยายามขยายสู่ระดับภูมิภาคมากขึ้น ถือเป็นความลดแรงปะทะกับปตท.ในประเทศ หรือในอีกความหมายหนึ่ง ก็สะท้อนให้เห็นถึงพลังของแรงปะทะของปตท.ได้อย่างชัดเจน
ซีพีเผชิญแรงปะทะกับปตท.มากพอสมควรเช่นกัน โดยเฉพาะธุรกิจเครือข่ายค้าปลีก
เครือข่ายค้าปลีกของปตท.มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นๆ ถือเป็นคู่แข่งของเครือข่ายค่าปลีกระดับเดียวกับ 7-Eleven ที่มีความพยายามกระจาย เข้าถึงชุมชน ในฐานะซีพี เป็นเจ้าของเครือข่ายค้าปลีกขนาดเล็กที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ แม้ว่าเครือข่ายค้าปลีกขนาดเล็กแบบ7-Eleven จะมีคู่แข่งมากขึ้นกว่าเดิมจากกลุ่มเซ็นทรัล –บิ้กซี หรือแม้แต้กลุ่มสหพัฒน์ฯ (ถือว่าเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ รายล่าสุด ที่มีความพยายามขยายเข้าสู่ธุรกิจเครือข่ายค้าปลีก ในฐานะเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ธุรกิจอาหารบางประเภทที่ซ้อนและแข่งขันกับซีพีด้วย) แต่ขณะนี้สำหรับ 7-Eleven และซีพีแล้ว เครือข่ายสถานีบริการน้ำมันของปตท. ซึงกำลังพยายามสร้างโมเดลุธุรกิจที่เสริมพลังอย่างสร้างสรรค์ ถือว่ากำลังกลายเป็นคู่แข่งในธุรกิจค้าปลีกที่น่าเกรงขามที่สุด แม้ว่าเวลานี้ถือว่าว่าเป็นพันธมิตรกันอยู่ก็ตาม
มองอีกระดับหนึ่ง สถานีบริการนำมันของปตท.กำลังขยายจินตนาการธุรกิจออกไปสู่เป็นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในฐานะศูนย์การค้าขนาดเล็ก สำหรับชุมชน ซึ่งถือเป็นคู่แข่งทางการค้าของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทนี้โดยทั่วไปด้วย และแนวโน้มศูนย์การค้าระดับชุมชน จะกลายเป็นสถานที่การค้าอาหารสำเร็จรูปที่ทรงอิทธิพลมากขึ้น ดังนั้นเมื่อซีพีซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจอาหาร มีแรงขับดันอย่างมาก สู่วงจรที่เข้าถึงผู้บริโภคมากขึ้น ด้วยผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปโดยซีพีเอฟ ย่อมเผชิญแรงกดดันทางอ้อม ในฐานะที่กำลังพยายามขยายเครือข่ายค้าปลีกอาหารกึ่งสำเร็จรูปอยู่ด้วย
การหลอมรวมทางธุรกิจทีมีทั้งแข่งขันและร่วมมือ แต่อย่างไรก็ตาม ความยิ่งใหญ่ และอิทธิพลเครือข่ายสถานีบริการน้ำมันของปตท.ต้องถือเป็นแรงเสียดทานระดับใดระดับหนึ่งของทั้งคู่แข่งขันและพันธมิตร
กลุ่มไทยเจริญ หรือทีซีซี กำลังก้าวเข้าสู่พรมแดนธุรกิจสำคัญเข้าสู่ธุรกิจการเกษตรสำคัญ ซึ่งสร้างปะทะโดยตรงกับซีพีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
“กลุ่มไทยเจริญได้เริ่มต้นอุตสาหกรรมเกษตรอย่างจริงจังระยะหนึ่ง แต่การเข้าสูธุรกิจข้าวอย่างจริงจังเพิ่งเริ่มต้น จุดเริ่มต้นของไทยเจริญ ดูเหมือนครึกโครมมากกว่า ซีพีพอสมควร แต่ก็มีเค้าโครงคล้ายคลึงกัน ด้วยเริ่มจากการขายพันธุข้าว แม้จะเริ่มต้นมิได้ผลิตและวิจัยด้วยตนเอง การลงทุนทำนาในพื้นที่ขนาดใหญ่ด้วยตนเอง และที่สำคัญประกาศโปรแกรมที่คิดว่าซีพีควรทำก่อน ว่าด้วย Contract-farming
เจริญ สิริวัฒนภักดี แห่งไทยเจริญเดินแผนรุกอย่างครึกโครม ผลกระทบเชิงกว้าง ธนินท์ เจียรวานนท์ แห่งซีพีเดินแผนเชิงลึก มองตลาดระดับโลกด้วย มองเผินๆ เป็นจุดเริ่มต้นการแข่งขันทางธุรกิจครั้งใหญ่ แต่ในอีกมิติเป็นภาพยุทธ์ศาสตร์แห่งความพยายาม ควบคุม และผลักดันการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่สังคมเกษตรไทยดูสอดประสานกัน” (จากเรื่อง “ธนินท์ กับ เจริญ” กลางปี 2553)
ขณะทีซีพีกำลังก้าวเข่าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหลวงอย่างเต็มที่(โปรดอ่านเรื่อง “โอกาสใหม่(1) ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์”) ก็เผชิญหน้ากับทีซีซีแลนด์ด้วยเช่นกัน
แต่อย่างไรก็ตาม แกนธุรกิจสำคัญของทีซีซียังอยู่ที่ธุรกิจเครื่องดื่มทั้งมีและไม่มีแอลกอร์ฮอล์ ซึ่งกำลังเร่งปรับตัว ปรับปรุง ทั้งความพยายามเพิ่มสายผลิตภัณฑ์ และระบบลอจิสติกส์ ผู้คนในสังคมธุรกิจกำลังเพ่งมองกลุ่มนี้อย่างใจจดใจจ่อ ว่าความพยายามสร้างเครือข่ายจัดจำหน่ายของตนเองอย่างเข้มข้น สุดท้ายแล้วจะเข้าสู่เครือข่ายค้าปลีกหรือไม่
แต่กว่าจะถึงจุดนั้น เครือข่ายสถานีบริหารน้ำมันของปตท. เป็นสิ่งเชื่อมโยง และแรงปะทะโดยอ้อมกับกลุ่มทีซีซี ในฐานะเป็นสถานที่จัดจำหน่ายใหม่ที่สำคัญมากขึ้นๆของสินค้าเครื่องดื่ม
ธุรกิจขนาดใหญ่ของไทยกำลังหลอมละลายข้ามพรมแดนเข้าหากัน ทั้งในฐานะธุรกิจเครือข่ายใหญ่ของประเทศ ในฐานะกำลังพยายามสร้างห่วงโซ่ทางธุรกิจให้มีพลังมากขึ้น แรงปะทะไม่เพียงเพิ่มแรงกดดัน เพิ่มการแข่งขันมากขึ้น หวังว่าคงเป็นเพียงปรากฏการณ์หนึ่ง การปกป้อง รักษาพื้นที่เดิม ด้วยการแข่งขันทางธุรกิจในประเทศมากขึ้น
แต่ในเวลาเดียวกัน ก็กำลังก้าวพยายาม เข้าสู่ยุดใหม่ ก้าวเข้าสู่พรมแดนธุรกิจใหม่ที่กว้างขึ้น มาจากการหลอมละลายมากขึ้น ในระดับภูมิภาค