กรุงเทพฯ : แรงปะทะใหม่ (2)

เมืองหลวงปัจจุบัน-กรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ ในการค้นคว้า ศึกษากันอย่างจริงจัง  โดยเฉพาะมิติว่าด้วยความเชื่อมโยงกับอนาคต  กับสัญญาณเตือน อันเนืองมาจากวิกฤติการณ์นำท่วมครั้งล่าสุด 

ว่าไปแล้วกรุงเทพฯ มีความเชื่อมโยง และต่อเนืองมาจากเมืองหลวงเก่า—อยุธยา ในหลายๆมิติ วิกฤติการณ์นำท่วมครั้งใหญ่ ได้สะท้อนภาพความสัมพันธ์และบทเรียนทีซับซ้อนไว้อย่างน่าสนใจ

จากวิกฤติการณ์น้ำท่วม ภาพความเป็นไปของเมืองหลวงเก่า-อยุธยา ได้รับความสนใจขึ้นอย่างมาก พร้อมๆกับภาพที่กระจ่างชัดของการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่งค้นพบอย่างจริงจัง  ขณะที่เมืองหลวงปัจจุบัน-กรุงเทพ ยังเป็นภาพคลุมเครือ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ผมเคยตั้งปุจฉา วิสัชนาเรื่องความเปลี่ยนแปลงของอยุธยาไว้บ้าง  ด้วยจุดเริ่มต้นที่ขัดแย้งกับความเป็นจริงในปัจจุบัน—   ความอยู่รอดชุมชนเกษตรกรรมของภาคกลางอยู่ใกล้เมืองหลวงมากที่สุด   หลายๆคนเลยทึกทักว่า มาจากการพึ่งพิงเมืองหลวงเป็นสำคัญ  โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายแรงงานไปสู่เมืองหลวง รวมทังเป็นชุมชนดาวบริวารได้รับอิทธิพลว่าด้วยวิถีชีวิตของสังคมเมืองมากที่สุดด้วย

การขยายตัวทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ หลังสงครามเวียดนาม และสงครามในประเทศเพื่อนบ้าน  ชุนชนเกษตรกรรมลุ่มเจ้าพระยา จึงเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง  ด้วยปรากฏขึ้นของโรงงานญี่ปุ่นในพื้นที่จังหวัดอยุธยา ถือเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ธุรกิจญี่ปุ่นในประเทศไทย พร้อมกับสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเมืองหลวงเก่า

“ตามประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ญี่ปุ่นกับชุมชนเกษตรภาคกลาง มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ร่องรอยของหมูบ้านญี่ปุ่นซึ่งเป็นสถานทีท่องเที่ยวสำคัญในปัจจุบันเป็นหลักฐาน นอกจากนี้ในระยะใกล้เคียงกับการก่อตั้งและขยายตัวของโรงงานญี่ปุ่น  ด้วยความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่นได้ก่อตั้งศูนย์การศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาขึ้น    “นอกจากผังจำลองเมืองกรุงเก่าแล้ว พิพิธภัณฑ์ของศูนย์ศึกษานี้มีลักษณะที่พิเศษแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์อื่นในประเทศคือ การที่พยายามสร้างชีวิต สังคม วัฒนธรรมในอดีตให้กลับขึ้นมาใหม่ด้วยข้อมูลการวิจัย (Research Based Reconstruction)” บทสรุปของเรื่องราวที่ปรากฏขึ้น จากวิกฤติการณ์น้ำท่วมครั้งที่แล้ว เป็นภาพสะท้อนการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย  ซึ่งผมได้เคยสาธยายมาแล้ว  ร่วมทั้งมีภาพเล็กๆ บางภาพสะท้อนความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ด้วย (หนึ่งในภาพสะท้อน   พฤศจิกายน 2554)

ภาพของเมืองหลวงเก่า-อยุธยา ในสายตาของต่างชาติเปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน  เมื่อเร็วๆนี้ผมได้ชมรายงานของเครือข่ายทีวี  BBC เรื่อง Ayutthaya: One Square Mile of Thailand โดย Jonathan Head   (ผู้อ่านสามารถดูภาพและเรื่องราวย้อนหลังได้ที่ http://www.bbc.co.uk/news/world-radio-and-tv-19396855 ) ทั้งยังเชื่อว่าเป็นบทอรรถาธิบายพอรับได้ และถือว่าเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองไทย ในรายงานชิ้นนี้ (รวมทั้งคลิปวิดีโอในฐานข้อมูลย้อนหลังของ BBC) จึงปรากฏโฆษณาของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยไว้ในตอนต้นด้วย

แม้ภาพรวมรายงานของ BBC ได้สนับสนุนแนวคิดของเรื่องราวที่ผมนำเสนอมาก่อนหน้า แต่มีบางภาพเพิ่มเติมที่น่าสนใจ ควรพิจารณาเป็นพิเศษ

ในรายงานของBBC ให้ภาพใหม่ของเมืองเก่าแก่โดยไว้อย่างน่าสนใจ “เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรยิ่งใหญ่ของพุทธและฮินดูมา 400ปี แต่ในปัจจุบันกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสมัยใหม่ในระบบเศรษฐกิจโลก และเมื่อเผชิญน้ำท่วมครั้งร้ายแรงในปีที่แล้ว จึงส่งผลให้ supply chain ของบริษัทใหญ่ที่สุดในโลกบางแห่งต้องหยุดชะงัก” (สรุปความด้วยสำนวนของผมเอง)

ภาพเมืองหลวงในอดีตถูกวาดขึ้นอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่ เป็นเรื่องราวที่เราเองอาจไม่รู้หรือลืมไปแล้ว โดย Tim Curtis   เจ้าหน้าที่ UNESCO ในประเทศไทย “เป็นเมืองที่มีความทันสมัย   เต็มไปด้วยพ่อค้าชาวต่างชาติ โดยคลองรอบๆเมืองหลวง มีความพลุกพล่านตลอดเวลา   ในคริสศตวรรษที่17 อยุธยาถือเป็นเมือง ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่งเท่าๆกับปารีส” ขณะเดียวก็ให้ภาพปัจจุบัน ว่าด้วยการพัฒนาอย่างไม่เหมาะสม ทำลายความน่าสนใจของเมืองหลวงเก่าในสายตานักท่องเที่ยวไปพอสมควร พร้อมกับนำเสนอภาพวิถีชีวิตของคนกรุงเก่าที่สัมพันธ์กับการเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดของนิคมโรงงาน

BBC ให้ข้อมูลว่าในพื้นที่ราบลุ่มอยุธยามีโรงงานมากกว่า2, 000 แห่ง โดยมีการจ้างแรงงานท้องถิ่นประมาณ 200,000คน โดยอ้างอิงถึงเป็นพิเศษ กรณีโรงงานผลิตรถยนต์Honda ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 6 ของโลก ซึ่งสามารถผลิตรถยนต์ได้ปีละ 300.000คัน โดยก่อนหน้านี้ผมได้อ้างข้อมูลอย่างเฉพาะเจาะจงจากสำนักข่าว AP ระบุว่า “มีโรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และโรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ของธุรกิจญี่ปุ่นมากกว่า 300 แห่ง”

บทสนนทนาของ BBC กับผู้บริหารโรงงาน Honda แม้ดูธรรมดา แต่ผมตีความถึงการเปลี่ยนแปลงของอยุธยาไปอีกระดับ

หนึ่ง-ผู้ผู้บริหารHonda ยืนยันว่าขณะนี้ยังไม่ได้พิจาณาย้ายโรงงานออกจากพื้นที่อยุธยา แต่อาจมีการสร้างโรงงานเพิ่มเติมในพื้นที่อื่น (เป็นบทสนทนาสไตล์ญี่ปุ่นดูนุ่มนวล แต่ตีความถึงทิศทางใหม่ อย่างทีผมกล่าวไว้ในบทความชิ้นก่อนๆ) สอง-เขา (รวมทั้งบริษัทญี่ปุ่นอื่นๆ) บอกว่ากำลังติดตามการสร้างเขื่อนกันน้ำรอบๆนิคมโรงงานที่มีความยาวมาก77กิโลเมตร รวมทั้งติดตามแผนงานการป้องกันน่ำท่วมของรัฐบาลด้วย

นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนอย่างจริงจัง  ถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่รอบใหม่ของที่ราบลุ่มอยุธยา  ทั้งมาจากการก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค ป้องกันน้ำท่วม  เป็นแยกโรงงานออกจากวิถีชีวิตชุมชน  และแนวโน้มการเคลื่อนย้ายโรงงานไปสู่พื้นที่ใหม่

การเปลี่ยนแปลง(ซึ่งอาจใช้เวลาพอสมควร)ของเมืองหลวงเก่า  ย่อมส่งผลถึงเมืองหลวงปัจจุบันในที่สุด แต่ก่อนอื่นควรมองจากภาพใหญ่

เมืองหลวงเก่า-อยุธยา ล่มสลายไปเกือบๆ 250   ปี กลายเป็นชุมชนเกษตรกรรมที่พัฒนาไปอย่างเชื่องช้ามาช้านาน เพิ่งได้รับแรงกระตุ้นครั้งใหญ่เมือประมาณ 2 ทศวรรษที่ผ่านมานี่เอง ยังสามารถสร้างภาพความขัดแย้งอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ ขณะที่เมืองหลวงปัจจุบัน—กรุงเทพฯ   เป็นเมืองที่ไม่เคยหยุดนิ่งมาตลอดสองศตวรรษ สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติประมาณ 10 ล้านคนในแต่ละปี นับเป็นเมืองที่มีนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากที่สุดรองแต่เพียงกรุงลอนดอนเท่านั้น (อ้างจาก Euromonitor International’s top city destinations ranking2009)

เมื่อมองผ่านเหตุการณ์สำคัญ(จากข้อมูลประกอบ) สะท้อนทั้งความต่อเนื่อง และขัดแย้งอย่างมากมาย

และเป็นเหลือเชื่อเช่นกัน  เมื่อเมืองศิวิไลซ์กำลังวิตกกับความเคลื่อนไหวอันน่าระทึก  จากเหตุการณ์ทดสอบระบบป้องกันท่วม ด้วยการ “ปล่อยน้ำเข้ากรุง”ผ่านคลองซึ่งหลายคนไม่รู้จัก

มติชนสุดสัปดาห์วันที่  7 กันยายน 2555

เหตุการณ์สำคัญ

2325   สถาปนา กรุงเทพมหานคร

2326 สร้างพระบรมมหาราชวัง ประกอบด้วยพระราชมนเทียร พระมหาปราสาท เปลี่ยนเสาระเนียด จากเครื่องไม้เป็นก่อกำแพงอิฐ สร้างประตูรายรอบพระบรมมหาราชวัง ตลอดจนสร้างพระอารามในพระราชวังหลวง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

2380 ขุดคลองแสนแสบเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน

2404 ตัดถนนสายแรกในกรุงเทพมหานคร—ถนนเจริญกรุง

2433- 2448 สร้างระบบคลองรังสิต

บริษัทขุดคลองแลนาสยาม ได้รับสัมปทาน 25 ปี ก่อสร้างระบบคลอง ในบริเวณพื้นที่ราบฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เรียกว่า ทุ่งรังสิต โดยขุดคลองสายใหญ่–คลองรังสิตประยูรศักดิ์ เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงไปยังแม่น้ำนครนายก และขุดคลองหกวาสายบนกับคลองหกวาสายล่างควบคู่กันไปด้วย พร้อมกับการสร้างประตูระบายน้ำ ควบคุมการเก็บกักน้ำเพื่อการเพาะปลูก และการสัญจรทางเรือสัญจรตลอดทั้งปี   โครงการระบบคลองรังสิต ถือเป็นระบบสัมปทานครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งที่รัฐไทยทำกับชาวต่างชาติในยุคอาณานิคม

2439 เปิดการเดินรถไฟระหว่าง กรุงเทพถึงอยุธยา ระยะทาง71 กิโลเมตร

2442 ก่อสร้างพระราชวังดุสิต พร้อมๆกับการสร้างถนนราชดำเนิน (2444) และพระที่นั่งอนันตสมาคม (2451) ถือเป็นจุดเริ่มต้นศูนย์กลางของความทันสมัย หรือที่เรียกกันว่า Westernization of Siam การปรับโฉมหน้าของกรุงเทพฯ ด้วยการสร้างแลนด์มาร์คใหม่ ยังถือว่าเริ่มต้นยุคอิทธิพลสถาปัตยกรรมตะวันตก   โดยมีนัยยะสำคัญความเชื่อมั่นการก่อสร้างอาคารถาวรในพื้นที่น้ำท่วมไม่ถึง

เป็นช่วงเวลาเดียวกัน การก่อสร้างวังหรือที่อยู่อาศัยอย่างครึกโครม ของชนชั้นนำไทยด้วยสถาปัตยกรรมในยุคอาณานิคม อาทิ  วังปารุสกวัน(2446 )  วังลดาวัลย์(2449 )  วังพญาไท ( 2452)  วังจันทร์เกษม(2453)  วังเทวะเวสม์(2457 )  วังสระปทุม(2459)  วังศุโขทัย(246)

2457 เปิดท่าอากาศยานดอนเมือง

2479 เปิดใช้ถนนสุขุมวิทช่วงแรก (เดิมเชื่อ ถนนกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ) ปลายทางถึงตัวเมืองสมุทรปราการ

2483 ขยายถนนพหลโยธินถึงลพบุรี

2485 น้ำท่วมกรุงเทพครั้งใหญ่ ครอบคลุมทั่วพื้นที่ส่วนใหญ่ รวมทั้งชั้นในของกรุงเทพฯ รวมทั้งอุสาวรีย์ชัยสมรภูมิและพระที่นั่งอนันตสมาคม( จากภาพยนตร์ข่าว ของ แท้ ประกาศวุฒิสาร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปการแสดง –ผู้สร้างภาพยนตร์   เป็นคลิปในYou tube มีผู้ชมมากกว่าหนึ่งล้านคนแล้ว)

2493 เปิดใช้ถนนมิตรภาพช่วงแรกจาสระบุรี ถึงนครราชสีมา เป็นเส้นทางหลักเข้าสู่ภาคอีสาน

2493 ถนนเพชรเกษม เส้นทางสู่ภาคใต้

2514 รวมจังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพฯ

2515 จัดตั้งการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคมเพื่อสร้างระบบทางยกระดับ ในกรุงเทพฯ รวมทั้งเชื่อมกับเส้นทางสู่ต่างจังหวัด เริ่มต้นสายดินแดง-ท่าเรือ ระยะทางประมาณ 9กิโลเมตร เปิดให้บริการในปลายปี 2524

2521-2553 ก่อสร้างถนนกาญจนาภิเษก หรือ ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร) เป็นถนนสายสำคัญ มีเส้นทางเชื่อมต่อกันเป็นวงแหวนล้อมรอบตัวเมืองกรุงเทพฯ ตัดผ่านพื้นที่บางสวนของ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ และอยุธยาด้วย

 

2537  เปิดเส้นทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์ จากดินแดงถึงดอนเมือง

 

2549 เปิดสนามบินสุวรรณภูมิ

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: