หมวดหมู่: -environment
กรุงเทพฯ : แรงปะทะใหม่ (2)
เมืองหลวงปัจจุบัน-กรุงเทพฯ เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ ในการค้นคว้า ศึกษากันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะมิติว่าด้วยความเชื่อมโยงกับอนาคต กับสัญญาณเตือน อันเนืองมาจากวิกฤติการณ์นำท่วมครั้งล่าสุด อ่านเพิ่มเติม “กรุงเทพฯ : แรงปะทะใหม่ (2)”
เขตอุตสาหกรรมลุ่มเจ้าพระยา(2)
ผลสะเทือนอันลึกซึ้งของวิกฤติการณ์นำท่วมใหญ่ คือการค้นพบ “ความเสี่ยงใหม่”ของที่ราบลุ่มเจ้าพระยา และกรุงเทพฯ เป็น“ความเสี่ยง”ระดับยุทธศาสตร์ มีพลังผลักดันก่อเกิดกระบวนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และโฉมหน้าของชุมชนเมืองในที่สุด อ่านเพิ่มเติม “เขตอุตสาหกรรมลุ่มเจ้าพระยา(2)”
กรมชลประทาน
ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจใหม่
น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้เป็นสถานการณ์ที่ผันแปรอย่างมาก ขณะที่มุมมองว่าด้วยยุทธ์ศาสตร์จะเป็นเรื่องใหญ่และต้องถกเถียงกันอีกมากในระยะต่อไป เบื้องต้นจากการศึกษา วิเคราะห์กันอย่างเข้มข้น เพื่อติดตามสถานการณ์ ได้ภาพภูมิศาสตร์ทางเศรษฐกิจใหม่ที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงอย่างสับสน
กรุงเทพฯไม่เหมือนเดิม
ผมมีความจำเป็นต้องเขียนถึงวิกฤติการณ์น้ำท่วมที่ราบลุ่มเจ้าพระยาครั้งใหญ่ ทั้งๆที่ดูเหมือนแยกออกซีรีย์ชุดที่กำลังนำเสนอต่อเนืองมา ในฐานะผู้เกี่ยวข้องโดยตรง นอกจากจะเป็นคนลุ่มน้ำเจ้าพระยาโดยกำเนิดแล้ว เมื่อปีที่แล้วในช่วงเดียวกันนี้ ผมได้เสนอเรื่องราวชุดหนึ่ง ว่าด้วยวิกฤติการณ์น้ำท่วมมาแล้วด้วย อ่านเพิ่มเติม “กรุงเทพฯไม่เหมือนเดิม”
ทิศทางปี2553/4(5)ระบบเศรษฐกิจถนน-แม่น้ำลำคลอง
แม้ว่าค่อนข้างประหลาดใจบ้าง บทความว่าด้วย วิกฤติการณ์น้ำท่วม 2 ตอน (“ป่า เขื่อน ถนน แม่น้ำ ลำคลอง” แล “น้ำท่วมหาดใหญ่”) มีคนสนใจอ่านกันมาก (อ้างจากจำนวนครั้งที่อ่านในBlog ส่วนจาก “มติชนสุดสัปดาห์”ไม่มีข้อมูล) จึงพอจะทึกทักได้ว่า แนวความคิดอย่างคร่าวๆที่เสนอว่าด้วยโครงสร้างปัญหาน้ำท่วมนั้น น่าจะเป็นกระแสเล็กๆกระแสหนึ่งที่สร้างแรงกระตุ้นระดับกว้างพอสมควร อ่านเพิ่มเติม “ทิศทางปี2553/4(5)ระบบเศรษฐกิจถนน-แม่น้ำลำคลอง”
ทิศทางปี2553/4(4)สังคมหัวเมืองและชนบทซับซ้อนมากขึ้น
ว่าไปแล้ว ว่าด้วย “หัวเมืองและชนบท” ไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่เป็นความพยายามปะติดปะต่อความคิด จากข้อเขียนหลายชิ้น ต่างกรรมต่างวาระ จากความคิดค่อนข้าง “กระจัดกระจาย”ในช่วงที่ผ่านมา ให้อยู่ในภาพเดียวกัน รวมทั้งอาจปรับเปลี่ยนความคิดของตนเองให้เข้ากับภาพรวมและแนวโน้มด้วย อ่านเพิ่มเติม “ทิศทางปี2553/4(4)สังคมหัวเมืองและชนบทซับซ้อนมากขึ้น”
ว่าด้วยอุทกภัย(2) น้ำท่วมหาดใหญ่
ภาพสะท้อนของน้ำท่วมใหญ่หาดใหญ่(อีกครั้ง)ครั้งนี้ สร้างจินตนาการโครงสร้างทางความคิด ในมิติที่ทั้งกว้าง- ลึก และสำคัญ เกินกว่าวิกฤติการณ์น้ำท่วมโดยทั่วไปมากมายนัก อ่านเพิ่มเติม “ว่าด้วยอุทกภัย(2) น้ำท่วมหาดใหญ่”
ว่าด้วยอุทกภัย(1)ป่าไม้ เขื่อน ถนน แม่น้ำ
อุทกภัยครั้งใหญ่ครั้งนี้ บางคนบอกว่าเป็นสัญญาณเตือนภัยโลกร้อน บางก็ว่า“นำท่วมข่าวมากกว่านำท่วมจริง” แล้วการแจกถุงยังชีพก็เป็นข่าวครึกโครมทางทีวี ตามมาด้วยมาตรการเยียวยา การผ่อนชำระหนี้ ของรัฐและบรรดาเจ้าหนี้ การรณณรงค์บริจาคเงิน สิ่งของช่วยเหลือของสื่อต่างๆ ดำเนินไปชุลมุนพอสมควร นักวิเคราะห์ประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจตามระเบียบอย่างน่าตกใจ บางรายระบุอย่างน้อย 2- 3 หมื่นล้านบาท ตบท้ายด้วย ผู้นำรัฐบาลสำทับว่าจะต้องว่างแผนแก้ปัญหาระยะยาวทั้งระบบ ซึ่งอาจจะหมายถึง อีก2-3 เดือนข้างหน้า เรื่องจะค่อยๆเงียบลงไปอีกครั้งหนึ่ง
ผมเป็นคนหนึ่ง นั่งดูข่าวน้ำท่วมทางทีวีในกรุงเทพฯ บางคนอีกนั่นแหละ บอกว่าเราอยู่สุขสบายเพราะคนต่างจังหวัดรับภาระไว้ แม้มีความสับสนพอประมาณกับปรากฏการณ์นี้ แต่ก็สัมผัสได้ว่ามิติของเรื่องขยายออกไปมากกว่าครั้งใดๆ
เรื่องของป่าไม้ เขื่อน ถนน และ แม่น้ำ ผุดขึ้นมาเป็นเรื่องหยาบๆ ของภาพกว้าง แม้เป็นเรื่องแต่ละเรื่องแยกออกจากกัน ทว่ามีมิติเชื่อมโยงกันเป็นระบบ เช่นเดียวกับวิกฤติการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้น รุนแรงขึ้นนั้น แท้จริงอยู่ในระบบใหญ่ที่มีปัญหา อ่านเพิ่มเติม “ว่าด้วยอุทกภัย(1)ป่าไม้ เขื่อน ถนน แม่น้ำ”