ว่าด้วยอุทกภัย(2) น้ำท่วมหาดใหญ่

ภาพสะท้อนของน้ำท่วมใหญ่หาดใหญ่(อีกครั้ง)ครั้งนี้    สร้างจินตนาการโครงสร้างทางความคิด ในมิติที่ทั้งกว้าง- ลึก และสำคัญ เกินกว่าวิกฤติการณ์น้ำท่วมโดยทั่วไปมากมายนัก

หนึ่ง—สะท้อนความเชื่อมโยงกับกรุงเทพฯ ทั้งบุคลิก และความสัมพันธ์

หาดใหญ่ แม้เพียงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลา แต่ในฐานะทางเศรษฐกิจเป็นเมืองที่มีระบบเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในภาคใต้  ที่สำคัญลักษณะทางเศรษฐกิจถือว่าเป็นภาพจำลองของกรุงเทพมหานคร มากกว่าเมืองใหญ่ใดๆในประเทศเสียด้วยซ้ำ

หาดใหญ่เป็นเมืองเก่าที่พัฒนาในหลายยุค เข้าสู่ยุคการค้าใหม่ ในฐานะศูนย์กลางทางเศรษฐกิจทางภาคใต้ เชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้าน   ในฐานะเมืองการค้าและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ

ปรากฏการณ์น้ำท่วมหาดใหญ่  มีลักษณะแตกต่างจากที่อื่นๆพอสมควร แม้ว่าจะอุบัติขึ้นอย่างรวดเร็วและรุนแรง เพียงประมาณ 3วันเท่านั้น แต่ก็ส่งผลกระทบเฉียบพลันในเชิงเศรษฐกิจ ระบบสาธารณูปโภคสำหรับเมืองการค้าสมัยใหม่ เมืองที่มีสิ่งก่อสร้างโดยเฉพาะศูนย์การค้ามากที่สุดในภูมิภาค  และมีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในภูมิภาค(เมื่อเปรียบเทียบเขตเทศบาล ระหว่าง หาดใหญ่ เชียงใหม่ และนครราชสีมาแล้ว ความหนาแน่นประชากรในหาดใหญ่มากที่สุด) ถูกตัดขาดค่อนข้างสิ้นเชิง ทั้งระบบไฟฟ้า ประปา สื่อสาร และการคมนาคม ธุรกิจของเมืองใหญ่หยุดชะงัก และจะต้องใช้เวลาพอควรในการฟื้นฟูให้เข้าภาวะปกติ หลายคนประเมินว่า ความเสียหายจากเมืองที่มีอาณาบริเวณไม่กว้างขวางเท่า น้ำท่วมภาคอีสานทั้งภาค แต่ความเสียหายทางเศรษฐกิจ(ไม่ได้ประเมินความเสียหายด้านอื่น เช่น สังคม การเมือง) อาจมากกว่า

บุคลิกสำคัญของหาดใหญ่ เป็นแหล่งธุรกิจที่มีตลาดกว้างและ กำลังซื้อมากพอสมควร ดังนั้นเครือข่ายธุรกิจสมัยใหม่ทีมีฐานอยู่ที่กรุงเทพฯ กระจายไปทั่วหาดใหญ่ หนาแน่นที่สุดนอกกรุงเทพฯ ( ธนาคาร ธุรกิจค้าหลักทรัพย์ 102 สาขา ในจังวัดสงขลา ส่วนใหญ่อยู่ในหาดใหญ่)   เครือข่ายค้าปลีก แฟรนไชส์ และกิจการสื่อสาร ฯลฯ

ภาพสะท้อนของหาดใหญ่ สร้างจินตนาการและเป็นบทเรียนถึงกรุงเทพฯ ที่ยังไม่มีประสบการณ์อย่างเข้มข้นในกรณีวิกฤติการณ์น้ำท่วมอย่างขนานใหญ่มานานเกือบร้อยปีแล้ว  ในเชิงเศรษฐกิจและธุรกิจ  โมเดลหาดใหญ่เป็นบทเรียนการบริหารความเสี่ยงประการสำคัญประการหนึ่งเลยทีเดียว

สอง–  เมืองขนาดใหญ่ที่สุดในหัวเมืองเผชิญหน้ากับปัญหาเดียวกันเดียวกัน  เป็นมิติที่ซับซ้อนของปัญหา และเป็นปัญหาทางยุทธ์ศาสตร์ระดับชาติ

จากข้อมูลที่มีอยู่ในช่วงสองทศวรรษมานี้ ประเทศไทยเผชิญปัญหาน้ำท่วมมาตลอด และแนวโน้มมีความถี่และรุนแรงมากขึ้น  พื้นที่ที่ประสบภัยใหม่ขยายวงไปเกือบทั่วประเทศ  แต่ที่ผ่านมาพื้นที่ส่วนใหญ่ยังเป็นพื้นที่หัวเมืองขนาดกลางและพื้นที่เกษตรกรรมในต่างจังหวัด   ซึ่งมีอาณาบริเวณกว้างขวาง ผู้ประสบภัยส่วนใหญ่อยู่ในระบบเศรษฐกิจเกษตร    เท่าที่ประเมินบทบาทหน่วยงานวางแผนของรัฐ ดูจะไม่กระตือลือล้นเท่าที่ควร  ในการวางแผนแก้ปัญหาทั้งระบบ หรือว่ายังคิดไม่ออกว่าจะทำอย่างไรก็ไม่ทราบได้  ขณะเดียวสูตรสำเร็จของการแก้ปัญหา หรือฟื้นฟูหลังน้ำท่วมดูเหมือนมีอยู่แล้วในลิ้นชัก   สืบทอดปฏิบัติกันมาอย่างเคร่งครัด

เริ่มต้นด้วยการจัดสรรเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย  เป็นค่าชดเชยความเสียหายจากเกษตรกรรม บ้านเรือนฯ   ซึ่งไม่มีระบบที่มีหลักประกันอย่างแน่ชัด ว่าจะถึงมือผู้ได้รับความเสียอย่างแท้จริง   จากนั้นบรรดาเจ้าหนี้ในระบบเกษตรกรรมหรือครัวเรือนของหัวเมืองและชนบท ก็ประกาศมาตรการเลื่อนการชำระออกไป

ว่าไปแล้ว การชดเชยเป็นเพียงกระบวนการที่แก้ปัญหาปลายเหตุในบางมิติเท่านั้น โดยเฉพาะการบรรเทาความเสียหายเพียงบางส่วน     รวมทั้งไม่สามารถชดเชยโอกาสที่เสียไปโดยเฉพาะเกษตรกรรม ซึ่งมีโอกาสในการผลิตมีจำกัด  โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับธุรกิจและการค้า

อย่างไรก็ตามหัวเมือง และพื้นที่เกษตรกรรมทุกวันนี้ มีโมเดลที่ซับซ้อนมากกว่าเดิม  การบรรเทาทุกข์ในสูตรสำเร็จเดิม ยิ่งจะเป็นการแก้ปัญหาอย่างมีผลน้อยลง

ในขณะที่เมืองใหญ่ประสบปัญหาน้ำท่วมเช่นเดียวกัน รัฐย่อมมีมาตรการที่ซับซ้อนช่วยเหลือ ภายใต้ความแตกต่างและเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และเสียงสะท้อน  การช่วยเหลือย่างเป็นธรรมจึงเป็นประเด็นที่สำคัญ   ที่สำคัญเกว่านั้น เป็นภาพสะท้อนของความเสียหาย ระดับประเทศที่เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอและคาดการณ์ได้มากขึ้นนี้  ส่งผลกระทบทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งในระสั้นและยาวแล้ว

วิกฤติการณ์น้ำท่วม กลายเป็นปัญหาระดับชาติไปอย่างแท้จริงแล้ว อาณาบริเวณของประเทศต้องเผชิญหน้าเกือบทุกปี มีระดับที่รุนแรงแตกต่างกัน  ฯลฯ   เป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง ที่ต้องมีการศึกษา วางแผน  มียุทธ์ศาสตร์  และกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ในระดับประเทศ อย่างมีเชื่อมโยงกันแล้ว  มิใช่ของบางหน่วยงาน  กลุ่มบุคคลที่ตั้งขึ้นมาเฉพาะกิจอีกต่อไป    มิใช่ภาระและหน้าที่แต่ละท้องถิ่น แก้ปัญหาเฉพาะส่วน หรือ เอาตัวรอด กันตามลำพังอีกต่อไป  ปัญหาวิกฤติการณ์น้ำท่วมในประเทศไทย ได้ขามพรมแดนภูมิศาสตร์ทางการปกครองท้องถิ่นไปแล้ว

สาม– พัฒนาการของเมืองใหญ่กับอดีตที่เจริญรุ่งเรือง กำลังเผชิญหน้าท้าทายสำหรับอนาคต

ตัวเมืองขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคของไทย  ทั้งเชียงใหม่  นครราชสีมา และหาดใหญ่  มีประสบการณ์น้ำท่วมใหญ่ในระยะใกล้ๆมาด้วยกันทั้งนั้น

เชียงใหม่เป็นเมืองเก่าแก่   การพัฒนาหลังยุคอาณานิคม  กับเจ้านายภาคเหนือ  การทำสัมปทานป่าไม้  และการค้า ไปสู่ฐานะเมืองศูนย์กลาของภาคเหนือที่มีความหลากหลายทั้งเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม   เป็นเมืองที่มีบุคลิกที่ดีเด่น เป็นจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวและพักผ่อนระดับโลก

นครราชสีมา แม้จะเป็นเมืองเก่าตั้งสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แต่ความเจริญเติบโตอย่างมากเพิ่งเริ่มต้นตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม การขยายถนนมิตรภาพ  และเครือข่ายคมนาคมทั่วภาคอีสาน  เมืองจึงกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจภาคอีสาน โดยเฉพาะยุคหลังสงครามอินโดจีน กิจกรรมทางเศรษฐกิจในย่านนี้คึกคักขึ้น  ท่ามกลางเกษตรกรรมรอบนอกที่หดตัว ตามการพัฒนาและขยายพื้นที่ของเมือง

เช่นเดียวกับหาดใหญ่(อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากเรื่อง หาดใหญ่ยุคของเจียกีซี ตอนท้ายบทความนี้)  เติบโตจากจุดเชื่อต่อสำคัญของเส้นทางรถไฟเชื่อมและข้ามไปมาเลเซีย ในยุคการค้าแรดีบุกเติบโตทั่วอาณาบริเวณภาคใต้   เมื่อกลายเป็นศูนย์การทางภาคใต้ที่พรมแดนติดต่อกับมาเลยเชีย  และแหล่งทองเที่ยวที่สวยงามอื่นๆในภาคใต้  จึงเป็นแรงดูดสำคัญในเมืองนี้เติบโตอย่างมากในช่วง สองสามทศวรรษมานี้

ทั้งสามเมืองเป็นชุมทางการเจริญเติบโตของแต่ละภูมิภาคในประเทศไทยมานับศตวรรษ  ภายใต้โครงสร้างทางภูมิศาสตร์เศรษฐกิจชุมชนเกษตรดั่งเดิม   อาจจะถึงบทสรุปสำคัญที่ว่า ไม่อาจจะรองรับการพัฒนายุคใหม่ดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ตามกลไกทางเศรษฐกิจทุนนิยม ที่ไม่การวางแผน

บทสรุปวงจรวิกฤติการณ์น้ำท่วมเมืองใหญ่(ขยายความจากตอนที่แล้วว่าด้วยอุทกภัย(1)ป่าไม้ เขื่อน ถนน แม่น้ำ )   หนึ่ง-พื้นที่ธรรมชาติแวดล้อมเมืองใหญ่ ไม่มีความสามารถในการรับน้ำ หรือซับน้ำ  น้ำจึงเคลื่อนที่ได้อย่างรวดเร็ว  สอง-แม่น้ำหรือแหล่งเก็บน้ำ ที่มีอยู่ไม่สามารถรับน้ำได้หมด  กลายเป็นที่สะสมน้ำจำนวนมาก  ถูกปล่อยออกมาตามเส้นทางที่จำกัด  ปริมาณและความเร็วของน้ำ  เคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและรุนแรงขึ้น สาม-  อาณาบริเวณรอบเมืองและตัวเมืองไม่มีพื้นที่รับน้ำ ไม่มีระบบระบายขนาดใหญ่ มีแต่เครื่องกีดกว้างทางน้ำ(ตึกและถนน) น้ำจึงถูกกักไว้  สี่- แม่น้ำสายหลักที่ผ่านตัวเมืองคือเส้นทางเดียวที่ไม่เพียงไม่สามารถรับภาระระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยังเป็นเส้นทางของการเร่งปัญหาน้ำท่วมด้วย

การบริหารจัดการเมืองสมัยมิใช่งานประจำ(Routine) อีกต่อไป การวางแผนพัฒนา และวางผังเมืองในความหมายเดิมก็อาจไม่เพียงพอ

ในเมื่อคุณเดินตามรอยเส้นทางเมืองในโลกสมัยใหม่  ควรเรียนรู้บทเรียนการพัฒนาเมืองในระดับโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   กระบวนการรื้อโครงสร้างของเมืองให้สอดรับกับอนาคต(สังคม เศรษฐกิจ และโครงสร้างทางกายภาคที่เปลี่ยนไปจากเดิมอย่างมาก)กำลังเป็นเรื่องใหญ่มาก ไม่ต้องอื่นไกล สิงคโปร์เสมือนเป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง ดำเนินปรับโฉมหน้าของเมืองขนานใหญ่    จากจุดเริ่มต้นความต้องการน้ำจืดจำนวนมากเพื่อรองรับกับการเติบโตของเมืองที่เป็นเกาะในทะเล  รวมทั้งวางแผนป้องกันน้ำทะเลสูงในอนาคตจากวิกฤติโลกร้อนด้วย เป็นแนวคิดเชิงบูรณะการ  ในยุโรปได้ดำเนินเรื่องนี้มาระยะหนึ่งแล้ว เรียกว่า City Regeneration  มหาวิทยาลัยในลอนดอนบางแห่งถึงกับเปิดการสอนวิชานี้ด้วย

แม้ว่าจะเข้าใจดีว่า แผนยุทธ์ศาสตร์ในระบบบริหารประเทศไทย เป็นกระบวนการดำเนินการอันยากยิ่ง  แต่ที่ยากยิ่งกว่า คือการเกิดขึ้นความคิดยุทธ์ศาสตร์ที่ชาญฉลาดและเหมาสม

 

 —————————————————————————————————————————————-

หาดใหญ่ยุคของเจียกีซี

“ประวัติศาสตร์การทางรถไฟของไทยมีสีสันพอควร ในช่วงต้นมีแบ่งเขตอิทธิพลของอาณานิคมด้วยขนาดของรางรถไฟ ซึ่งมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่ง   เขตเหนือใช้มาตรฐานฝรั่งเศส ส่วนเขตใต้ใช้มาตรฐานของอังกฤษ นอกจากนั้นประวัติศาสตร์ในยุคนั้น ยังบอกอีกว่าสยามกำลังผนวกระบบเศรษฐ์กิจที่กำลังเติบโตทางภาคใต้เข้ามา  หลังจาการค้าข้าวและสัมปทานไม้สักเริ่มจึงจุดอิ่มตัว  ส่วนการค้าแร่ดีบุกเพิ่งเริมต้น    ทั้งนี้มาจากแรงบีบจากอังกฤษซึ่งมีกิจการเหมืองแร่ในเขตปกครองทีมาเลเซียในขณะนั้นและกำลังเริ่มเข้ามาเมืองไทยด้วยเทคโนโลยีใหม่ ทดแทนการทำเหมืองแบบเก่าของเจ้าเมืองเชื้อสายจีน(หนังสือของ Capital Accumulation in Thailand 1855-1985 ของ Akira Suehiro กล่าวเรื่องนี้เอาไว้)”

“การออกพันธบัตรครั้งสำคัญเกิดขึ้นปลายรัชการที่5ในปี2448 และ2450 จำนวน3ล้านปอนด์สเตอริงเพื่อสร้างระบบสาธารณูปโภคแต่ก็ยังไม่เพียงพอ ในปี 2552จำต้องกู้เงินโดยตรงเพิ่มอีกก้อนหนึ่ง  เป็นการกู้เงินครั้งใหญ่ ผ่อนชำระยะยาวถึง40 ปี  จำนวน 4,630,000 ปอนด์ จาก Federation of Malay Straits(เขตปกครองหนึ่ง ของสหราชอาณาจักรในมาเลเซีย) เป็นการกู้เงินที่มีวัตถุประสงค์เจาะจงและเอื้อต่อเจ้าหนี้ด้วย  นั้นคือเพื่อสร้างทางรถไฟบริเวณแหลมมลายูในส่วนที่เป็นเขตแดนของสยาม   โดยใช้เส้นทางรถไฟเป็นหลักประกัน( อ่านเพิ่มเติมจากEconomic Handbook of the Pacific Area     Edited by Frederick V. Field for the Institute of Pacific Relations , Foreword by Newton D. Baker Doubleday, Doran & Company  Inc. Garden City, New York 1934  )

การสร้างทางเส้นทางภาคใต้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2444 เริ่มก่อสร้างจากธนบุรี บริเวณริมฝั่งเจ้าพระยา   สร้างถึงเพชรบุรีในปี2446   เงินไม่พอจึงหยุดสร้างไปหลายปี   หลังจากกู้เงินก้อนนี้แล้วจึงเริ่มสร้างต่อในปี2452   จนถึงสงขลา (2458)และปลายทางที่ปาดังเบซาร์(2461)” (อ้างจากเรื่อง    ศตวรรษหัวหิน  ของผู้เขียนเอง)

ในโครงเรื่องใหญ่นี้ มีตัวละครใหญ่น้อยผ่านเข้ามามากมาย  ตั้งแต่ฝรั่งผู้ค้นพบชายหาดหัวหิน ไปจนถึงชาวจีนโพ้นทะเล ผู้สร้างชุมชนเล็กๆ ต่อมาได้เป็นเมืองหาดใหญ่

เจียกีซี  หรือ ขุนนิพัทธ์จีนนคร ต้นตระกูลจิระนคร เป็นฟันเฟื่องหนึ่งการขบวนการสร้างรถไฟในช่วงต่อจากเพชรบุรี   ผ่านสงขลา หาดใหญ่  และปาดังเบซาร์   ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งผู้รับเหมาช่วงในการหักล้างถางป่า ตามเส้นทางรถไฟ  ถือเป็นการบุกเบิกที่บากลำบากมากทีเดียว   ขณะเดียวกันก็ถือเปิดโอกาสในการสะสมความมั่งคั่งขึ้นใหม่   และสร้างสายสัมพันธ์ของโอกาสที่เปิดขึ้นในเวลาเดียวกันด้วย

โอกาสที่สำคัญจากนั้นก็คือ อยู่ในกระบวนการเศรษฐกิจใหม่ในยุคนั้นที่ว่าด้วยแร่ดีบุก    ไม่มีข้อมูลแน่ชัดในตำนานของเขา แต่ก็พอสันนิฐานว่า จากบุกเบิกแผ้วทางป่านั้น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของแสวงหาและค้นพบแหล่งทำแร่ดีบุก ซึ่งอยู่อิทธิพลปลายทางของอาณานิคมอังกฤษ ครอบคลุมภูมิภาคแถบนี้

บริเวณภาคใต้ตอนนั้น ถือว่ามีพื้นที่กว้างขวางมาก ในแต่ละที่ได้ผลิตนักบุกเบิก และสร้างตำนานของแต่ละที่ไม่เพียงเจี่ยกีซีเท่านั้น  อาทิ พระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี  หรือคอซิมบี้  ต้นตระกูล ณ ระนอง  แห่งเมืองตรัง    แต่ในอาณาบริเวณรัศมีจากหาดใหญ่(ชื่อในปัจจุบัน) ครอบคลุมจังหวัด สงขลา ปัตตานี และยะลา  เป็นเขตอิทธิพลของเจี่ยกีซี

ด้วยมีประสบการณ์มองเห็นวิวัฒนาการอันน่าทึ่งของรถไฟ โดยเฉพาะสถานีรถไฟ  เจียกีซีได้กว้านซื้อบริเวณสถานีหาดใหญ่ ซึ่งถือว่าเป็นชุมทางสำคัญของภาคใต้เวลานั้น  เป็นแนวคิดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์คลาสสิกมากๆ ในการสร้างชุมชน พร้อมสร้างโอกาสทางธุรกิจ

แต่ภาพที่ตัดออกจากตำนานไปพอสมควร ก็คืออาณาบริเวณแถบนั้นแวดล้อมพื้นที่เกษตรกรรม ที่อาศัยแม่น้ำอู่ตะเภา ซึ่งหล่อเลี้ยงผู้คน หรือแม้แต่ เจียกีซีก็อาศัยทำเลริมแม่น้ำเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของเขาด้วย

หาดใหญ่ก็คงไม่แตกต่างจากเชียงใหม่ที่อาศัยแม่น้ำปิง และ  เช่นเดียวที่เมืองนครราชสีมาก็อาศัยลำตะคลอง    โดยไม่ได้ประเมินอย่างเหมาะสมชุมชนกับลุ่มน้ำมีความพึ่งพาอาศัยด้วยความเหมาะสม มีความหมายอย่างไร

เจียกีซี ก็คงไม่ได้คาดคิดว่า แม่น้ำที่เป็นจุดเริ่มต้นของยุทธ์ศาสตร์ในการสร้างเมืองหาดใหญ่เมือศตวรรษก่อน จะเป็นเส้นทางหลัก ของการรับน้ำจำนวนมาก อย่างเกินกำลัง เกิดกระบวนเร่งสปีดกระแสน้ำเข้าท่วมเมืองหาดใหญ่อย่างรวดเร็วและรุนแรงในปัจจุบัน

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: