ผมค่อนข้างเชื่อว่ากรุงเทพฯในช่วงอย่างน้อยทศวรรษจากนี้ ถือเป็นช่วงเวลาความอึดอัด กดดัน ทั้งนี้ไม่ไดตั้งใจจะพาดพิงถึงเรื่องการเมือง หากเป็นชีวิตความเป็นอยู่
ว่าไปแล้ว ผม “แตะ”ความเป็นไปของกรุงเทพฯมาหลายครั้ง จากข้อเขียนหลายตอนในช่วงที่ผ่านมา แต่ครั้งนี้พยายามเสนออย่างเป็นเรื่องเป็นราวมากขึ้น
ภาวะอันเลวร้ายและค่อนข้างเลวร้ายสำหรับบางคน กรณีนำท่วมครั้งใหญ่เมื่อปีที่แล้ว นอกจากเป็นประสบการณ์ของคนหลายรุ่นในเมืองเมืองหลวงที่ไม่เคยประสบมาก่อนแล้ว ยังเป็นสัญญาณเตือนให้เห็นความเป็นไปที่ไม่แน่นอนมากขึ้น สำหรับการดำเนินชีวิตในกรุงเทพฯ
ทั้งในฐานะปัจเจกซึ่งมีความหลากหลาย ตั้งแต่ในฐานะอยู่ในวัยเรียน ในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศที่กระจุกตัวมากเป็นพิเศษ ในฐานะวัยทำงานอยู่ที่ศูนย์กลางสำนักงานของคนหนุ่มสาวที่มีอนาคตในระบบเศรษฐกิจมากกว่าทุกทีในประเทศ และบางคนปักหลัก เป็นที่พำนักในฐานะคนสูงอายุ ในวัยเกษียณซึ่งมีจำนวนมากขึ้นมากกว่ายุคใดๆ
ในฐานะเป็นศูนย์กลางขององค์กรทั้งธุรกิจและไม่ใช่ ธุรกิจ โดยก่อนหน้านี้ ส่วนใหญ่เชื่อว่า กรุงเทพฯเป็นศูนย์กลางของความสะดวกสบายทั้งในการดำเนินกิจกรรมทางทั้งทางธุรกิจ มิใช่ธุรกิจ การบริหาร และการเมือง
การเติบโตของเมืองอย่างไม่มีแผนในภาพรวม และเมื่อเผชิญปัญหากลับกระทบเชื่อมโยงทั้งหมด
แนวโน้มการขยายตัวของที่อยู่อาศัย ดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่อง แต่มีบางประการที่น่าสนใจ
—การชะลอตัวของการขยายชุมชนออกสู่ชานเมือง แดนต่อแดนระหว่างกรุงเทพฯกับปริมณฑล ตลอดจนข้ามแดนไปสู่ปริมณฑลในเชิงภูมิศาสตร์ แต่เป็นส่วนต่อขยายโดยความเป็นจริงของกรุงเทพฯ
—ความหนาแน่นของชุมชนใจกลางเมืองหลวงมากขึ้น ด้วยโครงการอาคารสูงจะมีมากขึ้น กรุงเทพฯจะมีลักษณะ CBD (Central business district) อย่างชัดเจนมากขึ้น และจะกลายเป็นเมืองที่มีตึกสูงมากขึ้นๆ ด้วยความเชื่อว่าแนวทางการเชื่อมโยงที่ทำงานกับที่พักอาศัยให้เชื่อมโยงกันมากขึ้นจะเป็นระบบที่ดี ในมิติทางธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะถือเป็นโอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนือง
—พื้นที่ของการค่าขายขยายตัวมากขึ้น กำลังสร้างสัญลักษณ์ของเมืองสมัยใหม่ ด้วยรูปแบบศูนย์การค้าทันสมัยติดตามกระแสของโลกอย่างกระชั้นชิด ขณะที่พื้นที่สีเขียวกลับน้อยลงอย่างมาก
บ้าน-ที่ทำงาน
ปรากฏการณ์ทั้งสามประการ ที่นำเสนอข้างต้น มาจากแรงกดดันเดิมจากปัญหาเดิม–จราจร และมาซ้ำเติมจากความวิตกกังวลเกี่ยวกับน้ำท่วม แต่อย่างไรก็ตาม จะเกิดปัญหาอื่นๆที่ควรพิจารณาตามมา ไม่เพียงการเจรจาที่ติดขัดมากขึ้น ที่สำคัญปันหาจากภัยน่ำท่วม แม้ว่าหลายคนจะเชื่อว่า กรุงเทพฯชั้นในจะถูกปกป้องอย่างดี แต่กิจกรรมทั้งหลายทั้งปวง คงดำเนินไปได้อย่างบากลำบาก เพราะผู้คนรอบนอก ซึ่งเป็นพลังงานหลักของการทำงาน และอยู่เบื้องหลังพลังขับเคลื่อนกรุงเทพฯ ต้องเผชิญปัญหา ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติ
รถ –ถนน
ยิ่งการจราจรติดขัดมากขึ้น โดยจิตวิทยาและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง ระบบขนส่งหลักชานเมือง—การเดินทางด้วยรถเมล์ ต้องใช้เวลามากขึ้น ความพยายามมีรถยนต์ของตนเองก็จะมากขึ้นเป็นเงาตามตัว การจราจรโดยทั่วไปทั่วทั้งเมือง จะมีปัญหามากขึ้นเป็นวัวพันหลัก กว่าระบบขนส่งที่เชื่อว่ามีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะรถไฟฟ้ามหานครทั้งบนดินและใต้ดินจะเปิดบริการได้ ก็ต้องใช้เวลาอีกนานพอสมควร
ปัญหาของเมืองหลวงอันเกิดจากกรณีน้ำท่วม จะก่อปัญหาต่อเนื่องมาจากรถยนต์ในมิติที่น่าตกใจ รถยนต์กลายเป็นทรัพย์สินของคนเมืองที่มี่ค่า เวลาน้ำท่วม ปัญหาการดูแลทรัพย์สินที่มีมากจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก โดยต้องการพื้นที่การจดรถยนต์ที่พิเศษมากกว่าปกติ การจดรถยนต์กีดกว้างเส้นทางการจราจรในช่วงเวลานั้น กลายเป็นวิกฤติการณ์อย่างหนึ่ง ในช่วงเวลานั้นระบบจรจาติดขัดมากเป็นพิเศษอยู่แล้ว จากระบบจราจรไม่สามารถทำงานได้ตามปกติจากกรณีน่ำท่วม
ปรากฏการณ์ของการจดรถยนต์บนทางด่วนเหนือระดับน่ำท่วม เป็นเรื่องที่สั่นสะเทือน ความรู้สึกนึกคิดของผู้คนในเมืองหลวงอย่างมาก แม้จะเป็นเรื่องยากที่เข้าใจของคนนอก แต่เป็นภาพสะท้อน ความอ่อนไหวของกรุงเทพฯ
กรุงเทพ-ปริมาณมณฑล
ความเป็นดาวบริวารของกรุงเทพฯของเขตปริมณฑล การสร้างชุมชนทันสมัยใหม่ๆเพิ่มขึ้น สร้างระบบเศรษฐกิจของภาคบริการ เข้ามาแทนที่ระบบเศรษฐกิจเดิมของชุมชนเกษตร ในช่วงหลายทศวรรษมานี้ส่วนใหญ่มองเป็นบวก แต่เมือเผชิญปัญหาน้ำท่วมครั้งล่าสุด ความขัดแย้งระหว่างกรุงเทพฯและปริมณฑลปรากฏขึ้นอย่างชัดเขน ความพยายามปกป้องพื้นที่กรุงเทพชั้นใน สร้างความขัดแย้งมากมายหลายเหตุการณ์และกรณี จากนี้เมื่อมองถึงแผนการป้องกัน่น้ำท่วมระบบเศรษฐกิจสำคัญในใจกลางเมืองหลวง ซึ่งถือเป็นเรื่องจำเป็น ด้วยการสร้างระบบป้องกัน ระบบสกัดกั้นและบริหารจัดการเส้นทางน้ำ ดูจะเป็นเรื่องยากลำบากอย่างยิ่ง ไม่เพียงไม่สามารถขีดเส้นแบ่งอย่างชัดเจน เนื่องการการเติบโตของชุมชนเมืองกับระบบสาธารณูปโภค เชื่อมโยงปนเปอย่างแยกไม่ออก ถือเป็นเรื่องยากลำบากทางเทคนิค ทั้งนี้ไม่รวมความยากลำบากที่ดูเหมือนมีมากกว่าในทางสังคมด้วย
แม้เชื่อว่ากรุงเทพฯมีงบประมาณ มีกำลังมากพอจะลงทุนเพื่อสร้างการป้องกันน้ำท่วมอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กรณีในบางประเทศ ไม่ว่าลอนดอน หรือเมืองชายทะเลของเนเธอร์แลนด์ แต่ในทางเทคนิคและสังคม เป็นเรื่องยากลำบากอย่างยิ่ง จะต้องเป็นการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างอย่างจริงจัง ถือเป็นเรื่องระดับยุทธศาสตร์ของประเทศเลยทีเดียว
เมืองที่ไม่มีแผนการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ มีแต่ความพยายามตามแก้ปัญหาเฉพาะจุด
กรุงเทพฯเป็นเมืองที่มีระบบขนส่งมวลชนอย่างจำกัด และไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ความพยายามสร้างระบบขนส่งมวลชน ล้วนเกิดจากแรงกดันมาจากปัญหาหนักที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ใช่แผนการเพื่อเตรียมการ หรือวางแผนล่วงหน้า จากแรงกดดันเมืองของรถยนต์ที่มีความหนาแน่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ระบบขนส่งมวลชนระบบรางจึงเป็นโครงการใหญ่ที่วางแผนก่อสร้างอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า เป็นระบบที่ต้องลงทุนมาก แม้ว่าบางคนเห็นว่าเป็นแนวทางที่สร้างเมืองหลวงให้มีความแออัดมากขึ้น แต่เป็นเรื่องยุทธศาสตร์ที่ไม่มีเวลามาถกเถียง กลายเป็นโครงการใหญ่วิ่งตามแก้ปัญหา โดยไม่รู้ว่า เมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์สภาพปัญหาจะเปลี่ยนแปลงอย่างไรต่อไป
แล้วต้องมาเผชิญกับโจทย์ใหม่จากรณีน้ำท่วม ผมไม่แน่ใจว่าโครงการรถฟ้ามหานครได้นำปัจจัยสำคัญเหล่านี้ เข้าไปพิจารณาแก้ไขหรือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการออกแบบโครงสร้างที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาหรือไม่
ปัญหาที่น่าสนใจ คือ ระบบขนส่งมวลชนแบบใหม่จะอยู่ใต้ดิน เช่นเดียวกับระบบที่ที่มียืนมั่นคงแล้วในกรุงเทพฯ แต่เชื่อกันว่าจะมี่ความเสี่ยงจากปัญหาน้ำท่วม จะผลประทบรุนแรง และเสียหายอย่างมากหรือไม่อย่างไร หรือหากเป็นโครงข่ายขนส่งข่ายเหนือพื้นดิน จะเป็นโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนที่อัปลักษณ์ของเมืองศิวิโลซ์แห่งหนึ่ง เพื่อแลกกับการมีพื้นที่เพิ่มขึ้น ในกรณีน้ำท่วมใหญ่เช่นที่ผ่านมา
ปรับเมืองหลวงใหม่เพื่อบทบาทใหม่
เป็นแนวโน้มที่น่าสนใจมากขึ้น การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงพื้นที่ของเมืองใหญ่ เพื่อประโยชน์หรือบทบาทใหม่ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป แม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ เนื่องจากบางเมืองมีการปรับปรุงมาแล้วหลายครั้ง แต่ยุคนี้มีภาพเป็นขบวนมากขึ้น มาจากเมืองสำคัญๆ ทั่วโลก มีอายุมากขึ้น กำลังหรือเปลี่ยนบทบาทไปแล้ว จากสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง
Urban renewal เป็นคำที่ใช้เรียกกันในความหมายกว้างๆ หรือในสหราชอาณาจักรมักใช้คำว่า Regeneration ในการวางแผนการพัฒนาเมืองใหญ่ไปตามแนวทางจากบทวิเคราะห์ การเปลี่ยนแปลง แนมโน้มและโอกาสใหม่ ไม่ว่า Manchester Edinburgh หรือ Birmingham
สำหรับกรุงเทพฯ คงมีความเป็นไปได้ที่เขียนแผนอันสวยหรูขึ้น แต่การปรับเปลี่ยนบทบาทใหม่อย่างแท้จริงคงไม่ใช่เรื่องง่าย จากปัจจุบันกำลังเดินไปอย่างไร้ทิศทาง และขาดความสมดุล ระหว่างเมืองหลวงเกษตรกรรมเมื่อ 250 ปี กับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายเป็นเมืองสมัยใหม่โดยแทบไม่รู้ตัว ตั้งแต่เมื่อ4-5 ทศวรรษที่ผ่านมา
หากจะเป็นไปได้ โครงการย่อส่วน Bangkok regeneration ไปสู่บทบาทใหม่ ก็คือแผนการใหญ่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ ในฐานะผู้ถือครองที่ดินโดยเจ้าของเดียวมากที่สุดในกรุงเทพฯ และเป็นองค์กรที่ความสัมพันธ์และเป็นสัญลักษณ์ของกรุงเทพฯ รวมทั้งมีบุคคลากรมีความสามารถ
ยุทธศาสตร์ใหม่ –เริ่มต้นได้ง่าย เพียงลดบทบาทในฐานะองค์กรทางธุรกิจ จากที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
———————————————————————————————————————————-
ระบบขนส่งมวลชน
2519
จัดตั้ง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
เป็นรัฐวิสาหกิจ ประเภทกิจการสาธารณูปโภค สังกัดกระทรวงคมนาคม บริการ รถโดยสารประจำทาง ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง 5 จังหวัด คือ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และนครปฐม มีผู้ใช้บริการ ประมาณกว่า 3 ล้านคนต่อวัน
เท่าที่ติดตามไม่มีแผนการขยายเส้นทางสำคัญๆ มีแต่การขยายตัวของรถร่วมบริการ ความพยามเขียนแผนแก้ไขการการเงิน เพื่อลดการขาดทุนสะสมจำนวนมาก
2542
รถไฟฟ้าบีทีเอส สายแรกของประเทศไทยเปิดดำเนินการ
โดยบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นโครงการลงทุนโดยเอกชน เปิดให้บริการครั้งแรกใน 2 เส้นทาง คือสายสุขุมวิท ระยะทาง 17 กม.
— 2552 ได้เปิดให้บริการส่วนต่อขยายสายสีลม ระยะทาง 2.2 กม. จากสถานีสะพานตากสินถึงสถานีวงเวียนใหญ่ ระยะทางในการให้บริการรวม 30.95 กม.
—ปี 2554 ได้เปิดให้บริการส่วนต่อขยาย สายสุขุมวิท ระยะทาง 5.25 กม. จากสถานีอ่อนนุชถึงสถานีแบริ่ง และสายสีลม ระยะทาง 6.5 กม.
2547รถไฟฟ้ามหานคร ระบบขนส่งมวลขนแบบใหม่—รถใต้ดิน เปิดบริการเป้นครั้งแรก สายสีน้ำเงิน
ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ หลังจากองค์การรถไฟฟ้ามหานครก่อตั้งเมื่อปี2535
—ส่วนต่อขยายช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
— สายสีม่วง (บางใหญ่-ราษฎร์บูรณะ ช่วงบางใหญ่ – บางซื่อ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
แผนการ ซึ่งต้องใช้เวลาอีกอย่างน้อย 5 ปีจึงจะเริ่มเปิดบริการ
— สายสีส้ม (บางขุนนนท์-มีนบุรี) สายสีชมพู (ปากเกร็ด-มีนบุรี)
คุณคิดว่า..ผังเมืองกทม.แถบคลองสามวา หนองจอกจะสามารถเปลี่ยนจากเขตอนุรักษ์การเกษตรเป็นพื้นที่สีเหลืองหรือแดงได้หรือ…