(แปลและเรียงเรียงมาจาก The “Dragon” Supply Chain in China ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกรณีศึกษา International Agribusiness in China: Charoen Pokphand Group, Harvard Business School, November 16, 2009) อ่านเพิ่มเติม “ห่วงโซ่อุปทาน “มังกร” ในประเทศจีน”
ป้ายกำกับ: Harvard case study
ธนินท์ เจียรวนนท์
หากถามผมว่า ผู้นำนักธุรกิจคนใด แสดงบทบาทเชิงตัวแทน การปรับตัวของธุรกิจไทย ในช่วง3-4ทศวรรษสำคัญที่ผ่านมาได้อย่างน่าทึ่ง ก็คงยกให้ ธนินท์ เจียรวนนท์
บทบาท
บางทีการศึกษาเรื่องราวของคนๆหนึ่ง จากข้อมูลพื้นๆ(ส่วนใหญ่เป็นสถิติหรือข้อมูลประวัติบุคคลสั้นๆ) ก็อาจจะมีมิติที่ลึกซ่อนอยู่ แม้ว่าผมจะติดตามเรื่องราวของธนินท์ เจียรวนนท์ มานาน เมื่อกลับมาพิจารณาข้อมูลพื้นๆ ก็ยังพบเรื่องราวที่น่าสนใจ
ธนินท์ เจียรวนนท์ ดำรงตำแหน่งผู้จัดการทั่วไปซีพีในวัยเพียง 25ปีเท่านั้น แม้ว่ามีการวิเคราะห์กันว่า ในการบริหารธุรกิจครอบครัว พี่ชายสามคน ย่อมมีอำนาจตัดสินใจมากกว่า โดยเฉพาะพวกเขามีบทบาทในการสร้างกิจการมาก่อน อย่างไรตาม บทบาทในตำแหน่งนี้มีความสำคัญมากน้อยขึ้นอยู่กับ การแสดงบทบาทของเขาเอง ผมคาดว่าจากประสบการณ์ในสหสามัคคีค้าสัตว์ และบทบาทในการบริหารงานอย่างแข็งขันด้วย ธนินท์ จึงเป็นผู้บริหารที่ได้รับการยอมรับพอสมควร แม้ว่ามีอายุน้อยที่สุดคนหนึ่ง ไม่เพียงมองจากซีพี ถือเป็นกิจการที่เติบโตพอสมควรในเวลานั้น หากในระดับสังคมธุรกิจไทยด้วย อ่านเพิ่มเติม “ธนินท์ เจียรวนนท์”
เครือเจริญโภคภัณฑ์ในมุมของฮาร์วาร์ด
หมายเหตุ
Harvard Business School ได้ศึกษาธุรกิจของซีพี และเขียนเรื่องราวเป็นกรณีศึกษาไว้ เนื้อหาจากนี้ไปก็คือ ข้อความที่เรียบเรียงบางส่วนมาจากเอกสารกรณีศึกษาซีพี ซึ่งมีขึ้นในราวปี 2535 ถือเป็นยุคข้อต่อของการเปลี่ยนแปลงซีพีได้อย่างดี เอกสารชิ้นนี้มีขึ้นเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2535
สภาพทั่วไปของกิจการ และความเป็นมา
Operating Groups
ซีพีมีธุรกิจอยู่ทั้งหมดแปดกลุ่มคือ การเกษตร การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เมล็ดพืช และปุ๋ย การค้าระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมการผลิตปิโตรเคมี การค้าส่ง และค้าปลีก และอสังหาริมทรัพย์ โดยแต่ละกลุ่มมีผู้บริหาร ที่เป็น แกนนำคือ President และเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส ซึ่งเป็นผู้สนับสนุน ตำแหน่งเหล่านี้มีการผลัดเปลี่ยนกันเป็นระยะ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาองค์กรและบุคลากร ในขณะที่กิจกรรมการดำเนินการของกลุ่มขยายตัวด้านกว้างครอบคลุมอุตสาหกรรมหลากหลายแขนง ทั้งหมดนี้มีหลักการนำทางเดียวกันคือ การผนวกประสานในแนวดิ่ง (Vertical integration) และเป็นรูปแบบหลัก ที่ซีพีพัฒนาขึ้นมาใช้ในการสร้างความมั่งคั่งในประเทศกำลังพัฒนา แม้ว่าจะเป็นหลักการกว้างๆ แต่สามารถสรุปแนวทางได้ดังต่อไปนี้ อ่านเพิ่มเติม “เครือเจริญโภคภัณฑ์ในมุมของฮาร์วาร์ด”