ลูกจ้างหมายเลขหนึ่ง

ไม่ว่าในสถานการณ์ใด
ผมสามารถแสวงหาโอกาสทำงานตามความคิดของตนเองได้เสมอ
แม้เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่งสั้นบ้างยาวบ้างหลายๆช่วงก็ตาม

 บทนำ INFORMATION ARCHITECT

แม้ว่าผมได้ทำงานใน “ผู้จัดการ”มาถึง 20ปี หลังจาก “ผู้จัดการ”นิตยสารรายเดือนเล่มเล็กเกิดขึ้นก่อนหน้าประมาณ 2ปี  วันนี้คงมีพนักงานรุ่นนั้นเหลืออยู่ไม่เกิน 3 คน จะว่าไปแล้ว บทบาทของผมในผู้จัดการที่มีส่วนรวมในกระบวนการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์กรในเชิงยุทธ์ศาสตร์อย่างต่อเนืองนั้น อาจจะเรียกได้อย่างเต็มปากว่าเป็น  “ลูกจ้างหมายเลข1”

แม้ว่าผมได้ทำงานในกองบรรณาธิการอย่างต่อเนื่องยาวนาน มีผลงานในการเขียนอย่างมากมาย โดยเฉพาะงานเขียนที่มีชื่อของตนเองอ้างอิงอยู่ประมาณ1000ชิ้นมากที่สุดใน “ผู้จัดการ”และอาจมากที่สุดในวงการหนังสือพิมพ์ธุรกิจในเวลานั้น

แม้ว่าผมทำงานด้านบริหาร มีส่วนสำคัญขั้นตอนในการพัฒนา “ผู้จัดการ” เป็นคนเดียวที่เป็นทั้งบรรณาธิการ “ผู้จัดการรายเดือน”   “ผู้จัดการรายสัปดาห์”    “ผู้จัดการรายวัน”   ซึ่งเป็นยุครุ่งโรจน์ที่สุดและถือเป็นBENCHMARK ไปแล้ว จะด้วยความสามารถหรือโชคช่วยก็ตามที   รวมทั้งการบุกเบิกสร้างระบบบริหารกองบรรณาธิการแบบใหม่

 รวมไปถึงเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัทบริการข้อมูลผู้จัดการ บุกเบิกบริการระบบข้อมูลออนไลน์ให้เกิดขึ้นครั้งแรกใน “ผู้จัดการ” โดยเฉพาะการบุกเบิกระบบข้อมูลออนไลน์ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ทแห่งแรกในสังคมไทยด้วย  

แม้ว่าในยุคล่าสุด ผมนำความรู้ตกผลึกมาฟื้นฟูนิตยสารผู้จัดการ สื่อสิ่งพิมพ์ฉบับแรกของกลุ่มผู้จัดการให้มีบุคลิกเฉพาะสอดคล้องกับยุคสมัย  ดีไซน์นิตยสารจากสื่อเก่า จากความคิดที่ผสมผสานและทันสมัยด้วยการใช้ทรัพยากรอย่างจำกัด เชื่อมเข้าสู่ยุคใหม่ ถือเป็นโมเดลของความผสมผสานอย่างกลมกลืนระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับอินเทอร์เน็ต

ผมก็ถือว่า เพียงทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในฐานะลูกจ้างหรือเรียกให้รู้สึกดีขึ้นว่าเป็นมืออาชีพคนหนึ่ง  ไม่ถือว่าเป็นผลงานหรือสิ่งอ้างอิงที่ยิ่งใหญ่  แต่มีความสำคัญสำหรับตนเอง  เป็น”แรงบันดาลใจ” ในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ

มีความหมายอีกบางมิติในช่วง20ปีใน “ผู้จัดการ” มิติแรก มีความใฝ่ฝันและตั้งใจ ซึ่งต้องยอมรับว่า บางครั้งเกิดขึ้นจากแรงบีบคั้นด้วย ในความพยายามสร้างสรรค์และผลักดันบางแนวทางให้เกิดขึ้นในวงการหนังสือพิมพ์ไทย  ด้วยความเข้าใจและเชื่อมั่นความเป็นอุตสาหกรรมของระบบผสมกับความเป็นช่าง(Craftsmanship)ของบุคคล เพื่อวางรากฐานที่ยั่งยืน ต่อเนื่องสู่สื่อยุคใหม่    ในที่สุดได้ข้อสรุปว่า เมื่อพ้นจากหน้าที่แล้ว ไม่ควรตั้งความหวังใดๆ

อีกมิติหนึ่ง บังเอิญผมมีคอลัมน์ประจำของตนเองมายาวนาน ตั้งแต่”ผู้จัดการรายสัปดาห์  “จนถึงคอลัมน์ที่ผู้คนอ่านกันทุกวันติดต่อกัน4ปีเต็ม ใน “ผู้จัดการรายวัน”  และล่าสุดใน “นิตยสารผู้จัดการ” ในที่สุดผมได้ค้นพบและเข้าใจได้ว่า สิ่งที่เกิดอย่างบังเอิญนี้ มีค่า เป็นแก่นสารสาระที่เหลืออยู่  กลายเป็นพลังชีวิตของมืออาชีพจนทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าในสถานการณ์ใด ผมสามารถแสวงหาโอกาสทำงานตามความคิดของตนเองได้เสมอ แม้เป็นช่วงระยะเวลาหนึ่ง สั้นบ้างยาวบ้าง หลายๆช่วงก็ตาม  นี่คือโชคอย่างหนึ่งของมืออาชีพ

มาอีกระยะหนึ่งเมื่อกิจการ “ผู้จัดการ”เปลี่ยนแปลงไป เป็นกิจการที่ผู้คนสนใจ เนื่องจากมีสีสันแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สุดในวงการก็ว่าได้   งานมิติแรกที่ผมเคยคิดว่าไม่มีค่านั้น หากนำมาเล่าสู่คนในวงการหรือผู้สนใจ   น่าจะเป็นประโยชน์และคงไม่สูญเปล่า เนื่องจากช่วงนั้นถือเป็นภาพสะท้อนพัฒนาการของสื่อธุรกิจ เป็นวงจร จากจุดเริ่มต้น สู่ภาวะรุ่งโรจน์ตามภาวะสังคมเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูเป็นฟองสบู่ที่พูดๆกัน  จนถึงภาวะตกต่ำอย่างรุนแรง  แล้วก็กลับมาสู่ยุคซึ่งพยายามฟื้นฟูใหม่

ผู้อ่านคงต้องยอมรับหลักการเบื้องต้นว่า เรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ ตั้งอยู่บนสมมุติฐาน ข้อจำกัดของ  ข้อมูล  ความรู้ความเข้าใจ ความจริงใจ ความเป็นธรรมที่คนชอบอ้างถึง หรือเรียกว่าเป็นไปตามข้อจำกัดความเป็นมืออาชีพหรืออคติของผมเอง

ถึงกระนั้นผมย่อมมีสิทธิ์อย่างชอบธรรมในการเขียนเรื่องราวนี้ขึ้นมา ในฐานะมืออาชีพคนหนึ่งที่ผมรักษาไว้ตลอดมา

ขอแสดงความนับถือ  /เมษายน 2548

 

content

preface -ลูกจ้างหมายเลขหนึ่ง

  Fundamental –Lesson learned,USA today,TheFinnacial Times, ดูงาน  ,ข่าวเจาะ  , บัญญัติสี่ประการ , มุมมองระดับโลก

National newspaper  —ศูนย์ข่าวภูมิภาค,Digitalization

Editorial system —   News monitoring system, Manager news network

  Information services  –Database house,Integration model, Internet technology,Finacial information provider

  New magazine — นิตยสารผู้จัดการใหม่  , positioning

  eCoporate archive

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: