ชมรมบ้านจัดสรร(ใหม่)

ผมมีประสบการณ์ในการอยู่บ้านมากคนหนึ่ง ในฐานะต้องอยู่บ้าน  ทำงานบ้าน และทำงานเลี้ยงชีพ ในสถานทีเดียวกันเกือบๆทศวรรษปีมานี้

 งานบ้านที่สำคัญของผมอย่างหนึ่ง  ก็คือการจัดการสวน ซึ่งมีมิติตั้งแต่การศึกษา หาความรู้เรื่องต้นไม้ การปลูก การดูแล รวมไปจนถึงการติดตาม ศึกษา เฝ้ามอง ชื่นชมฯลฯ 

 เรื่องราวและแนวคิดจากนี้เกิดขึ้นมาจากประสบการณ์ของตนเอง

 การเจริญเติบโตของบ้านจัดสรร เป็นสัญญาลักษณ์ของขยายตัวสังคมระดับกลางของสังคมเมือง  ในช่วงกว่า 3ทศวรรษมานี้ได้ก่อบุคลิกใหม่ในบางมิติในเมืองหลวงและเมืองใหญ่ทั่วไป

  การจัดสวนในบ้าน ส่วนใหญ่ดำเนินกันเอง  ตามกำลังทรัพย์  ได้ก่อปรากฏการณ์อย่างบังเอิญขึ้น นับได้ว่าเป็นโมเดลใหม่  แต่มีร่องรอยมาจากภูมิปัญญาชุมชนไทยที่สืบทอดมายาวนาน

 การเติบโตของพื้นที่เพาะปลูกไม้ผลบางชนิด โดยเฉพาะมะม่วง   ขนุน ฝรั่ง  ฯลฯ    แทรกในในสวนขนาดเล็กไม่กี่ตารางเมตร  โดยรวมกันทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑล   อาจกลายเป็นสวนขนาดใหญ่ตามแนวคิดดั่งเดิม    เป็นแนวโน้มการพัฒนาชุมชนเมืองในเชิงเศรษฐกิจอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ บางคนบอกว่าผลไม้เศรษฐกิจเหล่านี้ราคาไม่แพงขึ้นนัก  เพราะมีแหล่งเพาะปลูกตามบ้านจัดสรรเป็นแหล่งใหญ่อีกแหล่งหนึ่ง  ดีมานต์จึงลดลงไปพอสมควร

 ไม้ผลเหล่านี้ ควรจะกลับมาเป็นไม้ผลประจำครอบครัวอีกครั้งหนึ่ง หลังจากสังคมชุมชนเพื่อการเกษตรได้ลดบทบาทตนเองอย่างชัดเจนไปในสังคมไทยเมื่อ30ปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากการพัฒนาระบบราชการ  ภาคบริการ  และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่  รวมทั้งสวนผลไม้ชั้นดีหลายแห่งถูกทำลายไปพร้อมๆกับการเกิดขึ้นของบ้านจัดสรรในช่วงเศรษฐกิจพองเกินธรรมชาติ

 ชุมชนไทยดั้งเดิม  บริเวณบ้านมีไม้ผล พืชผักสวนครัว  ไม้ไทยที่สวยงาม ดอกหอมฯลฯ นอกจากเพื่อเป็นร่มเงา ความร่มรื่น  สวยงามแล้ว  ผู้อยู่อาศัยมีความรู้ทางการเกษตรกรรม ปลูกไม้ผล    พืชผักสวนครัว หรือสวนสมุนไพร เพื่อการยังชีพเป็นสำคัญ

บุคลิกชุมชนเดิมนั้น เป็นชุมชนมีเสน่ห์มากขึ้น สำหรับสังคมปัจจุบัน

 พืชพันธุ์ไม่ไทย  มีชนิดหลากหลาย  มีบุคลิกพิเศษ  โดดเด่น    สามารถพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่ม ก่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากมาย   นับว่าเป็นสินค้าชนิดหนึ่งทีมีความสำคัญของไทยเชิงยุทธ์ศาสตร์ระดับโลกมากขึ้นด้วย

 ระดับที่หนึ่ง-พืชพันธุ์ไทย  ไม่ว่าจะเป็น ไม้ผล ไม้ดอก หรือสวนครัวคู่บ้าน ทำให้สังคมบ้านมีการผลิตทดแทนการซื้อจากภายนอก นับเป็นกุศโลบายที่ดี ในการดำเนินชีวิตอย่างมีเหตุมีผลมากขึ้น   ในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 รัฐไทยเคยส่งเสริมให้ชาวนา ซึ่งทำสวนครัวไม่เป็น ทำสวนครัวกันขนานใหญ่ ช่วยลดภาระของครอบครัว ในยามข้าวยากหมากแพงไปได้ระดับหนึ่ง

 ระดับที่สอง-พืชพันธุ์ไทย มีหลากหลาย  เป็นผลผลิตของสังคมไทยที่มีคุณค่าอย่างมาก นอกจากจะเป็นอาหารต่อการดำรงชีวิตพื้นฐานแล้ว  พืชพันธุ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพร มีคุณสมบัติในในการเสริมสร้างสุขภาพ ป้องกันโรคและรักษาโรค เมื่อพืชพันธุ์ไทย เข้ามาอยู่ในบ้าน การศึกษาอย่างจริงจังอาจจะเกิดขึ้น    จากนั้นก็นำไปสู่การวิจัยและพัฒนา   สร้างผลิตภัณฑ์ไทยใหม่ๆเป็นสินค้ามีคุณค่าเพิ่มมากขึ้น

 ความรู้ ความชำนาญเหล่านี้  จะค่อยๆกลับคืนมา ในสังคมชุมชนและครัวเรือนอีกครั้งหนึ่ง ยิ่งคนอยู่บ้านเป็นคนที่มีความรู้  ย่อมมีโอกาสพัฒนาความรู้ทางเทคโนโลยี่การเกษตร  ซึ่งถือกันว่าเป็นเทคโนโลยี่ ที่มีอิทธิพลต่อโลกยุคต่อไป ต่อจากเทคโนโลยี่สารสนเทศ 

 ระดับสีสาม-การจัดสวนตามแนวคิดใหม่ ได้ก่อตัวขึ้นแล้ว    กลายเป็นบุคลิกเฉพาะ ของการจัดสวนในบ้านเรา ซึ่งใช้ความรู้มาจากภูมิปัญญาของสังคมไทยมาประสมประสาน    ปัจจุบันวิชาชีพจัดสวนส่วนใหญ่ เป็นเพียงการศึกษาการจัดสวนสไตล์ตะวันตก เน้นให้ความสวยงามมิติเดียวของไม้ตกแต่ง แม้ว่าจะเป็นสวนเขตเมืองร้อน(Tropical Garden) เราได้เรียนรู้จากฝรั่งมาอยู่ในเขตร้อนแล้วใช้พืชพันธุ์ในเขตนี้จัดสวนให้เข้ากับธรรมชาติ จึงกลายเป็นอีกสไตล์ที่สร้างบุคลิกการจักสวนให้ความรู้สึกตะวันออกสะท้อน คุณค่าใหม่ของงานภูมิสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ในระดับโลก  

 การใช้พื้นที่เล็กๆในบ้านจัดสรรที่เหลือรอบๆบ้านเพื่อการจัดสวน ทั้งสวยงาม   บริโภค และจัดเป็นกิจกรรมยามว่าง ในบ้านไปพร้อมๆกัน บ้านจึงเป็นสถานที่เป็นส่วนสำคัญของชีวิตมากขึ้น  เกิดแรงจูงใจให้ผู้คนอยู่บ้านมากขึ้น เข้าใจและมีความรู้ในการอยู่บ้านมากขึ้น

 บ้านในสังคมเมืองใหญ่   ควรมิใช่แหล่งบริโภคอย่างเดียว  ภารกิจใหม่ คือเป็นแหล่งผลิตสินค้า ที่มีมูลค่าสูงกว่าการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เป็นบุคลิกที่เป็นจริงเป็นจัง หนึ่งของสังคมไทย  

 บ้านจากนี้ไป  ไม่ใช้สิ่งก่อสร้างที่ดูแข็งทื่อ หากจะมีชีวิตมากขึ้น

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: