เมย์แบงก์ กิมเอ็ง

บางปรากฏการณ์ในสังคมธุรกิจไทย   สะท้อนมุมมองก้าวข้ามระบบเศรษฐกิจเดียว(ประเทศ)   และมองข้ามความขัดแย้ง ความสับสบวุ่นวายในบางเรื่องของสังคมที่เรามักหมกมุ่นกันอยู่

 

เรื่องราวของธนาคารมาเลเซียเข้าซื้อกิจการค้าหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหุ้นไทย ซึ่งเดิมถือว่าอยู่ในเครือข่ายธุรกิจสิงคโปร์ ถือว่ามีมิติความสัมพันธ์อย่างซับซ้อนพอสมควร ทั้งในแง่ความผันแปรของสังคมธุรกิจไทย และการก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคงของระบบที่ใหญ่กว่า

“2554 กลุ่มเมย์แบงก์ (Malayan Banking Berhad หรือ Maybank) ธนาคารอันดับหนึ่งของประเทศมาเลเซีย ได้เข้าซื้อกิจการจาก บริษัท กิมเอ็ง โฮลดิ้ง ประเทศสิงค์โปร์ ส่งผลให้บริษัทฯ เปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นกลุ่มเมย์แบงก์

‘ภายหลังการเข้าถือหุ้นของกลุ่มเมย์แบงก์ ส่งผลให้บริษัทฯ เปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ Maybank Kim Eng Securities (Thailand) Public Company Limited ชื่อย่อ MBKET และเปลี่ยนเว็บไซต์ใหม่เป็น http://www.maybank-ke.co.th ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2554” ข้อมูลทางการของบริษัท (http://www.kimeng.co.th/thai/cop_profile.asp?page=2 )

กรณีนี้ถือเป็นดีลใหญ่ระดับภูมิภาค  เริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อต้นปีที่แล้ว ระหว่าง Maybank ธนาคารอันดับหนึ่งของมาเลเซียกับ Kimeng Holding แห่งสิงคโปร์ โดยสร้างสั่นสะเทือนทางธุรกิจทั้งภูมิภาคก็ว่าได้

Kimeng Holding แห่งสิงคโปร์ แท้จริงแล้วถือเป็นธุรกิจค้าหุ้นเกิดใหม่   เติบโตจากการพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ใช้เวลาเพียง 2ทศวรรษ ก็กลายเป็นเครือข่ายธุรกิจขนาดใหญ่พอสมควร หลังจากก่อตั้งได้เพียงไม่ถึง 10 ปี สบโอกาสจากวิกฤติการณ์ในภูมิภาค สอดคล้องกับช่วงเวลาเดียวกันที่รัฐบาลสิงคโปร์ผลักดันภาคธุรกิจขยายกิจการสู้ภูมิภาค

จุดเริ่มต้นสำคัญมาจากประเทศไทย   ในปี 2541  Kimeng ประมูลซื้อหลักทรัพย์นิธิภัทธ (ก่อตั้งปี2533 เป็นสมาชิกตลาดหุ้นหรือโบรกเกอร์ปี 2537) ในช่วงเวลานั้นสถาบันการเงินไทยกำลังเผชิญวิกฤติการณ์อย่างหนักหน่วง จากนั้น Kimeng จึงขยายกิจการสู่อินโดนิเชีย มาเลเซียในปี 2543 และ ฟิลิปปินส์ในปี 2546

อีกครั้งจากเมืองไทยอีกนั้นแหละ  ในปี 2544Kimeng ก้าวกระโดดครั้งใหญ่ ด้วยการเข้าซื้อหลักทรัพย์หยวนต้าในประเทศไทย ถือเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมครั้งใหญ่ระหว่าง Kimeng Holdings และYuanta Financial Holdings แห่งไต้หวัน ตามยุทธ์ศาสตร์ขยายธุรกิจทั่วเอเชีย ด้วยเวลาอันรวดเร็ว

Yuanta Financial Holdings กิจการหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน มีเครือข่ายสำคัญในตลาดลูกค้าพูดภาษาจีน ทั้งในไต้หวัน ฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ ถือเป็นความร่วมมือและแบ่งเขตอิทธิพลระหว่างกันของ Kimeng และ Yuanta สำหรับตลาดหุ้นไทย แล้วเมื่อกิมเองซื้อกิจการหยวนต้าแล้ว ในทันทีก็ก้าวขึ้นเป็นโปรกเกอร์อันดับหนึ่งตั้งแต่นั้นมา

ข้อมูลที่น่าสนใจ  Maybankเข้าถือหุ้น Kimeng Holdings 44.6% ใช้เงินลงทุนประมาณ 1,800 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (หรือประมาณ 43,500ล้านบาท) โดยผู้บริหารคนสำคัญของ Kimeng ได้เงินจากการขายหุ้นในฐานะส่วนตัวกว่า600 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (หรือประมาณ 14,500ล้านบาท)  

อีกมุมหนึ่ง Maybank –ธนาคารใหญ่ที่สุดของมาเลเซีย มีบุคลิกความเป็นธนาคารระดับภูมิภาคเช่นเดียวกับธนาคารใหญ่ในอาเซียนอีกอย่างน้อย 5 แห่ง ธนาคารเหล่านี้ล้วนมีขนาดธุรกิจ (สินทรัพย์) ใหญ่กว่าธนาคารใหญ่ของไทย (ไมว่าธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย กสิกรไทยและไทยพาณิชย์ )โดยเฉพาะรวมทั้งธนาคารของสิงดโปร์และมาเลเซีย 4 แห่งที่มีเครือข่ายอย่างมั่นคงในประเทศไทยด้วย

DBS Bank ธนาคารใหญ่ที่สุดของสิงคโปร์ เข้าซื้อกิจการธนาคารไทยทะนุก่อนรายอื่นๆ หลังวิกฤติการณ์ในปี 2541เพียงเล็กน้อย จากนั้นในปีถัดมา ธนาคารอันดับสองของสิงคโปร์ ก็ตามติดเข้าซื้อกิจการธนาคารรัตนสิน (จากธนาคารแหลมทองอีกทอดหนึ่ง) — United Overseas Bank (UOB)

DBS Bank ถือหุ้นใหญ่โดย Temasek Holding   ในช่วงแรกดำเนินธุรกิจเชิงรุกอย่างมาก นับเป็นครั้งแรกที่ธนาคารต่างชาติเข้าถือหุ้นข้างมากในธนาคารพาณิชย์ไทย  แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงในปี 2547   ธนาคารดีเอสบีไทยทะนุ และไอเอฟซีทีต้องรวมกับธนาคารทหารไทย ภายใต้ชื่อธนาคารทหารไทย   DBS Bankแห่งสิงคโปร์ถือหุ้นลดลงจากประมาณ57% เหลือเพียง 18%    และจากนั้นในปี 2550 ธนาคารทีเอ็มบี(มีการ rebrand  เปลี่ยนชื่อจากธนาคารทหารไทย ในช่วงที่กองทัพไทยถือหุ้นลดลงเหลือเพียงประมาณ  1.5% )ก็ขายหุ้นจำนวน30%ให้ INGBANKแห่งเนเธอรแลนด์  DBS Bank จึงเหลือหุ้นเพียง6.8 %

ในขณะที UOB ก้าวไปอีกขึ้นใหญ่เข้าซื้อธนาคารเอเชียจาก ABN AMRO (รวมทั้งธุรกิจรายย่อยและหลักทรัพย์ด้วย) ดูเหมือนธนาคารพาณิชย์ไทยซึ่งถือหุ้นใหญ่และบริหารโดยเครือข่ายธนาคารสิงคโปร์เหลือเพียงแห่งเดียว แต่เมื่อพิจารณาระดับโครงสร้างพบว่า เครือข่ายธนาคารสิงคโปร์ยังคงบทมากกว่าธนาคารต่างชาติอื่นๆในประเทศไทยเช่นเดิม   ที่สำคัญมีบทบาทในธุรกิจทางการเงินในความหมายกว้างขึ้นกว่าธนาคารพาณิชย์ไทย ทั้ง DBS และ UOB เป็นผู้นำธุรกิจเกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นไทย

DBS   เริ่มต้นธุรกิจค้าหลักทรัพย์ในเมืองไทยอย่างจริงในฐานะซับโบรกเกอร์ ด้วยการประมูลสินทรัพย์ของบริษัทหลักทรัพย์ศรีธนาของตระกูลศรีวิกรมในช่วงหลังปี 2541   ต่อมาDBS ได้ขยายบทบาทมากขึ้น ด้วยการซื้อธุรกิจนายหน้าค้าหุ้นรายใหญ่ในสิงคโปร์ – Vickers Ballas (VB) ซึ่งมีใบอนุญาตค้าหลักทรัพย์ในเมืองไทยด้วย (จากVB เข้าซื้อกิจการหลักทรัพย์ของนวธนกิจมาในช่วง 2541-2542) ในชื่อ–นววิคเคอร์บัลลาส

ส่วน UOB ได้เข้าซื้อธุรกิจหลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์มหาสมุทรในปี 2543 ต่อมามีการควบรวมกิจการระหว่าง UOB Securities และKay Hian Holdings Ltd  ในสิงคโปร์  โดยอัตโนมัติจึงเข้าถือหุ้นเกือบ 100% ในกิจการในไทย–หลักทรัพย์ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) และในปีเดียวกันนั้น ยังได้ซื้อธุรกิจรายย่อยจาก บริษัทหลักทรัพย์บีเอ็นพี พาริบาส์ พีรีกรีน (ประเทศไทย)ด้วย

โดยรวมธุรกิจหลักทรัพย์หรือนายหน้าค้าหุ้นทั้ง DBSและ UOB ถือว่ามีเครือข่ายครอบคลุมระดับภูมิภาคอย่างแท้จริง

แม้ว่าเครือข่ายธนาคารมาเลเซียจะเข้ามาเมืองไทยช้ากว่าสิงคโปร์ แต่ก็มีบทเชิงรุกอย่างน่าสนใจ  เริ่มต้นจากกลุ่มซีไอเอ็มบี (CIMB Bank Berhad) –ธนาคารผู้ให้บริการทางการเงินอย่างครบวงจร มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของมาเลเซีย โดยมีเครือข่ายสำคัญทั้งในมาเลเซีย อินโดนีเซีย สิงคโปร์ ไทย   และอีก 9 ประเทศทั่วภูมิภาค

ปลายปี 2551 ซีไอเอ็มบี ได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของไทยธนาคาร (ธนาคารแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในปี2541 โดยเข้าสวมธนาคารสหธนาคาร –ก่อตั้งปี2492 และถูกทางการสั่งปิดในปี2541 โดยโอนไปรวมกับกิจการเงินทุนหลายแห่ง ก่อนมาจะมาเป็นธนาคารไทยธนาคาร) ในการซื้อกิจการธนาคารไทยครั้งนั้น มีธุรกิจหลักทรัพย์ พ่วงเป็นของแถมด้วย   ถือเป็นยุทธ์ศาสตร์ต่อเนื่อง จากก่อนหน้านั้น ซีไอเอ็มบี เข้ามาในตลาดหุ้นไทย ในฐานะผู้ค้าหลักทรัพย์ (บริษัทหลักทรัพย์ ซีไอเอ็มบี-จีเค)

เป็นไปได้ว่า ตามยุทธ์ศาสตร์ใหญ่ของ Maybank นี่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้น ในการก้าวสูเป้าหมายในการสร้างเครือข่ายการเงินครบวงจรในประเทศไทย

จากภาพใหญ่ข้างต้น สะท้อนตรงไปตรงมา ว่าธนาคารใหญ่ของไทยล้าหลังไปอย่างน้อย 2ก้าว หนึ่ง- ความพยายามสร้างเครือข่ายภูมิภาคดำเนินไปเชื่องช้า ไม่มีภาพยุทธศ่าสตร์ชัดเจน สอง-การปรับโครงสร้างธนาคารไทยหรือที่เรียกว่าปฎิรูปสถาบันการเงิน แม้เริ่มมาระยะหนึ่งแล้ว เครือข่ายการเงินอื่นๆของธนาคารไทย โดยเฉพาะธุรกิจการค้าหลักทรัพย์ เพิ่งจัดกระบวนเพียงแค่ในประเทศ เท่านั้น

หากมองว่าธนาคาร  มีฐานะบทบาทนำของสังคมธุรกิจ ถือว่าสังคมธุรกิจไทยอยู่ในภาวะล้าหลังและกำลังมีความเสี่ยง ในการสูญเสียโอกาสในช่วงเวลาสำคัญยิ่ง   ในจังหวะเวลาเริ่มต้นของระบบเศรษฐกิจกำลังก้าวข้ามพรมแดนตนเอง สู่ระดับภูมิภาค

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: