กรุงเทพฯสมัยใหม่(5)จุดเปลี่ยน

DSC_0096 DSC_0098ศูนย์กลางแห่งใหม่สะท้อนบุคลิกสำคัญของเมืองยุคใหม่   แม้เป็นความสำเร็จของธุรกิจรากเหง้าของกรุงเทพ  แต่บางภาพในเชิงยุทธศาสตร์ อาจไม่ใช่เช่นนั้น

“I’ve overseen seven renovations here, this was not a renovation, it was a rebirth.”

ชฎาทิพย์ จูตระกูล ผู้จัดการใหญ่บริษัทสยามพิวรรธน์  ในฐานะเจ้าของสยามเซ็นเตอร์กล่าวไว้ตอนหนึ่งในรายงานของนิตยสารระดับโลก MONACLE, April 2013 ในฉบับได้นำเสนอรายงานชุดใหญ่ Monacle Style Survey โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษ กรณีสยามเซ็นเตอร์ เปิดตัวอย่างคึกโครมหลังปิดปรับปรุงครั้งล่าสุด อยู่ในลิสต์อันดับหนึ่งในหมวด New Opening

ชฎาทิพย์ จูตระกูล เป็นบุตรสาวของพลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์  นายทหารผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้งบริษัทร่วมทุน(Bangkok InterContinental Hotel หรือ BICH) กับ InterContinental Hotel เพื่อสร้างโรงแรมทันสมัยแห่งแรกของกรุงเทพฯ–โรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล พลเอกเฉลิมชัย จารุวัสตร์ เป็นคนสนิทของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีในยุคนั้น และเป็นผู้อำนวยการองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) คนแรก (ต่อมาเป็น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย –ททท.)

“จากนั้นการพัฒนาที่ดินแปลงที่ดีที่สุดแปลงหนึ่งใจกลางกรุงเทพฯดำเนินมาตลอด จากโรงแรมสยามอินเตอร์คอนติเนนตัล มาถึงสยามเซ็นเตอร์ ศูนย์การค้าแห่งแรกของกรุงเทพฯ ตามมาด้วย สยามดิสคัฟเวอร์เซ็นเตอร์ และสยามทาวเวอร์   สองโครงการหลังเกิดขึ้นในช่วง 20 ปีมานี้    ซึ่งเป็นทีรู้กันว่าบริหารโดยตระกูลจารุวัสตร์ ซึ่งกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายสำคัญรายหนึ่งในเวลาต่อมา พร้อมกับการส่งต่อบทบาท จากพลโทเฉลิมชัย จารุวัสตร์มาถึงบุตรี—ชฎาทิพย์ จูตระกูล” ผมเคยเรื่อง ที่มาของ สยามพิวรรธน์ ไว้เมื่อต้นปีทีแล้ว ให้ภาพต่อเนื่องไว้

ชฎาทิพย์ จูตระกูล เข้าทำงานที BICH ตั้งแต่ปี 2529 โดยใช้เวลา 10 ปีก่อนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ประสบการณ์กว่า 2 ทศวรรษถือเป็นช่วงของการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   จนมาถึงการช่วงการปรับโครงสร้างครั้งสำคัญ เมื่อ BICH กลายมาเป็นสยามพิวรรธ์น์ในช่วงปี 2546 (รายละเอียดเรื่อง  ได้กล่าวมาแล้วหลายครั้ง)   แม้เธอยังดำรงตำแหน่งเดิม แต่คงมีบางอย่างแตกต่างออกไป    ก่อนหน้านั้นแม้ว่าตระกูลจารุวัสตร์ไม่ได้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่ก็มีอำนาจบริหารเต็มที่ คล้ายๆกับธุรกิจครอบครัว แต่จากนี้เมื่ออยู่ภายใต้โครงสร้างอันเข้มแข็ง เครือข่ายมืออาชีพของสำนักงานทรัพย์สินฯ  อำนาจอาจน้อยลง ขณะที่เดินตามยุทธศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ขึ้น

ผมคิดว่าคำว่า Rebirth ที่กล่าวไว้ข้างต้น จึงควรมีความหมายกว้างขึ้น

–การเกิดใหม่ของกลุ่มธุรกิจศูนย์การค้าที่มีตำแหน่งทางธุรกิจที่ดีสุดในกรุงเทพพฯ—สยามพิวรรธรน์

–การเกิดขึ้นใหม่อย่างพลิกโฉมของธุรกิจค้าปลีก อาจถือว่าเป็นธุรกิจใหม่ของเครือข่ายสำนักงานทรัพย์สินฯ ก็ย่อมได้   สถาบันทางธุรกิจสำคัญของกรุงเทพฯ ประกอบเครือข่ายธุรกิจสำคัญ–เอสซีจี ธนาคารไทยพาณิชย์    ธุรกิจประกับภัย และ สยามสินธร (ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่เน้นอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัย) ภายใต้ Portfolio อันครบถ้วน จิ๊กซอร์ สยามพิวรรธน์ จึงมีความสำคัญ เป็นธุรกิจใหม่ที่แตกต่างออกไป และสามารถเกิดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ในเวลาอันสั้น

ว่าไปแล้ว มีภาพใหญ่กว่านั้น เป็นวิวัฒนาการสร้าง “บุคลิก”เมืองหลวง ภายใต้เนื้อในธุรกิจในระบบ “ค่าเช่า” เก่า สู่ภาพใหม่

สำนักงานทรัพย์สินฯ ในฐานะเจ้าของที่ดินหนึ่งในสามของกรุงเทพฯ และอยู่ในทำเลธุรกิจสำคัญนั้น ซึ่งผู้เช่ามีความหลากหลายอย่างน่าสนใจ ตั้งแต่ อาคารสำนักงานสมัยใหม่ ที่ทำการราชการ ศูนย์การค้า โรงแรม ไปจนถึงตึกแถว อาคารพาณิชย์ ตลาดสด และชุมชนผู้มีรายได้น้อย” ผมเคยสรุปภาพสำคัญไว้ (จากเรื่อง อาจารย์จิรายุ  มิถุนายน 2553) โดยอ้างอิงถึงบทบาทของดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินฯ คนปัจจุบัน ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี2530

“การดำเนินงานในช่วงนี้ เป็นไปอย่างกระฉับกระเฉงมากขึ้น โดยเฉพาะการจัดการกับธุรกิจเช่าที่ดิน ซึ่งเป็นธุรกิจเก่าที่ล้าหลังมากๆ  สำนักงานทรัพย์สินฯมีที่ดินมาก และกลับได้ประโยชน์จากที่ดินน้อยมาก ในขณะที่ราคาที่ดินและธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของไทยในขณะนั้นกำลังบูม    สิ่งที่ผู้อำนวยการสำนักงานฯคนใหม่ดำเนินแผนการนั้น ดูเหมือนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า เป็นการก้าวเข้าสู่ธุรกิจอสังหาริมทรัีพย์สมัยใหม่เต็มรูปแบบ”  (อ้างแล้ว) เป็นที่เข้าใจกันว่า การพัฒนาระบบค่าเช่าเดิม จากสิ่งก่อสร้างมีคุณค่าทางธุรกิจต่ำ จาก ค่าเช่าที่ดิน ตลาดสด อาคารพาณิชย์  ควรไปสู่ สิ่งก่อสร้างที่มีความซับซ้อนและมีคุณค่ามากขึ้น   โดยอ้างอิงกับสถานการณ์ การก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในเชิงเศรษฐกิจของเมืองหลวง   รวมทั้งการพัฒนาของ “บุคลิกผู้เช่า”ด้วย

–เริ่มก่อสร้างอาคารสินธร  เพื่อเป็นศูนย์กลางของธุรกิจในตลาดหุ้นไทยซึ่งถือเป็นช่วงเติบโตอย่างมาก

—จากตลาดมิ่งเมือง สู่ ดิโอลด์สยามพลาซ่า ถือเป็นระบบคัดเลือกที่เข้มข้นพอสมควร จึงมีแรงเสียดทานมากทีเดียว

กรณีสยามเซ็นเตอร์  สะท้อนพัฒนาการที่น่าสนใจมากขึ้น

ผมเคยกล่าวในตอนก่อนๆว่า สยามเซ็นเตอร์เป็นส่วนต่อขยายและพัฒนามาจากสยามสแควร์  “อาคารพาณิชย์ สูง 3-4ชั้น ประมาณ 610 คูหา มีอาคารขนาดใหญ่บ้าง เช่น โรงภาพยนตร์ โรงโบว์ลิ่ง มีการวางผังอาคาร ถนน ที่จอดรถและระบบสาธารณูปโภคไว้อย่างดี ธุรกิจที่เข้ามาเปิดดำเนินการหลากหลายอาทิเช่น ร้านหนังสือ ร้านเสื้อผ้า ร้านตัดผม และร้านอาหาร ส่วนใหญ่ย้ายมาจากย่านธุรกิจอื่น เช่น วังบูรพา สุลวงค์ สีลม…” (http://www.property.chula.ac.th/)   ซึ่งก็คือธุรกิจค้าปลีกรายย่อยทั่วไปในยุคนั้น โมเดลเดียวกับผู้เช่าอาคารพาณิชย์และตลาดของสำนักงานทรัพย์สินฯที่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ

สยามเซ็นเตอร์ เป็นศูนย์การค่าทันสมัยแห่งแรก(2516)เริ่มต้นด้วยผู้เช่าที่พัฒนาขึ้นอีกระดับจากโมเดลของสยามสแควร์   แต่เมื่อสยามพารากอนเกิดขึ้น ภาพใหญ่ได้เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง

“โครงการแห่งความภูมิใจของคนไทย มีความสง่างามและมาตรฐานสูงสมศักดิ์ศรีของที่ดินอันเป็นส่วนหนึ่งของ “วังสระปทุม” มุ่งหมายให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิถีชีวิตของคนไทย ช่วยยกระดับกรุงเทพมหานครให้เป็น “World-class Shopping Destination” อันมีส่วนช่วยสร้างเสริมเศรษฐกิจของชาติ และสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน” ( http://www.siamparagon.co.th  ) คำอธิบายของสยามพารากอน พยายามเชื่อมโยงมิติทางสังคม ขณะเดียวกันเมื่อพิจารณาจากฐานะ “ผู้เช่า”  ภาพใหม่ในโมเดลธุรกิจจึงปรากฏขึ้น

ดีกรีของการพัฒนาจากสยามเซ็นเตอร์  สยามดิสคัฟเวอรี  สู่สยามพารากอน ที่ยกระดับขึ้นเป็นขั้นๆ  ก็คือ อัตราส่วนผู้เช่าที่มาจากฐานผู้ค้า-ผู้เช่ารากฐานเดิมเมื่อ 2-3 ทศวรรษลดลงอย่างมากๆ จากเหลือน้อย(สยามเซ็นเตอร) น้อยมาก(สยามดิสคัฟเวอรี) และแทบไมเหลือเลย(สยามพารากอน)      สยามพารากอน ได้สร้างจุดเปลี่ยนที่สำคัญ  กลายเป็น “World-class Shopping Destination”   ศูนย์รวมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯและสังคมไทย ของ ผู้เช่า– ธุรกิจระดับโลก ที่มีแบรนด์อันทรงพลังอย่างยิ่ง (โปรดพิจารณาข้อมูลผู้เช่าทีปรากฏใน http://www.siamcenter.co.th/ http://www.siamdiscovery.co.th  และ  http://www.siamparagon.co.th)

 

แม้ว่าการเปิดตัวครั้งใหม่ของสยามเซ็นเตอร์ พยายามสร้างรอยเชื่อมต่อกับประวัติศาสตร์ในแนวทางเดิม  “We are creating something both very Thai and very international” (MONACLE, April 2013) แนวทางธุรกิจข้างต้น อาจมาจากฐานเดียวกันกับแนวความคิดเชิงสังคมของผู้มีอิทธิพลดั้งเดิม

“MONACLE COMMENT: Siam will have to work hard to remain bijou. If it wants to be a haven for innovative Thai start-ups it must make sure big competitors don’t undercut homespun talent”

ความเห็นของ MONACLE ต่อความเป็นไปของสยามเซ็นเตอร์ จึงเป็นเรื่องน่าสนใจติดตาม 

 

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: