ดีลแบบซีพี

ping an Bเรื่องราวซีพีกับดีลครั้งใหญ่ครั้งใหม่ในจีน  เป็นเรื่องที่ชวนให้มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ และคาดเดากันอย่างมีสีสัน

สำนักงานข่าวระดับโลกพร้อมใจกันเสนอข่าว  ซีพีซื้อหุ้น 15.6% จาก HSBC ซึ่งถือหุ้นในบริษัทประกันอันดับสองของจีน ด้วยจำนวนเงินถึง 9.38 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ถือเป็นดีลแห่งปีที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับสองของเอเชีย

นักวิเคราะห์หุ้นบางรายที่ฮ่องกงซึ่งควรรู้จักซีพีดี ยังแสดงความงุนงงเกี่ยวกับแผนการใหม่ของซีพี   ถึงกับกล่าวติดตลกทำนองว่า “ซีพีอาจมีนโยบายแถมไก่ทอดให้กับผู้ถือหุ้นบริษัทประกัน”

ฮ่องกงถือเป็นฐานสำคัญของซีพีมี C.P. Pokphand บริษัททำหน้าที่ลงทุนในจีนแผ่นดินใหญ่และเวียดนาม จดทะเบียนที่ตลาดหุ้นฮ่องกงมาตั้งแต่ปี 2531 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่ PING AN INSURANCE ก่อตั้งขึ้นที่Shenzhen   

Ping An Insurance (Group) Company of China, Ltd. เป็นกลุ่มบริษัทที่มีเครือข่ายธุรกิจครอบคลุมทั้งธุรกิจประกัน และบริการทางการเงินครบวงจร ถือว่าเป็นกิจการที่เติบโตอย่างรวดเร็ว กลายเป็นบริษัทประกันใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง มีลูกค้ามากถึง74 ล้านราย มีพนักงานมากกว่า 175,000 คน รวมทั้งตัวแทนอีกประมาณ500,000คน

สำนักข่าวรอยเตอรส์(Thai group buys $9.4 billion Ping An stake from HSBC—Reuters Wed Dec 5, 2012) รายงานว่า ดีลการซื้อหุ้นครั้งนี้เป็นดีลที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของเอเชีย เป็นรองแค่กรณี บริษัทน้ำมันของจีน (CNOOC) เข้าซื้อกิจการในแคนาดา     ข้อมูลที่สำคัญอีกเรื่องที่ควรรู้ ตามสัญญาซื้อขายหุ้น กำหนดให้ซีพีต้องถือหุ้นไว้อย่างน้อยเป็นเวลา6 เดือน

หากไม่เป็นดีลใหญ่ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์อันห้าวหาญธุรกิจใหญ่ของไทยในช่วงเวลานี้  ภาพความเคลื่อนไหวของซีพี  อาจจะไม่ตื้นเต้นเป็นพิเศษ

ยุทธศาสตร์ใหม่ของธุรกิจใหญ่ของไทย วาดขึ้นโดยสื่อต่างประเทศเช่นเดียวกัน –ทุนไทยฮุบกิจการต่างประเทศ เป็นอันดับ 3 ของโลก เป็นรองแค่ ญี่ปุ่นและจีน  ในปี 2555 ธุรกิจได้เข้าซื้อกิจการต่างประเทศรวมกันเป็นมูลค่าถึง  25,000ล้านเหรียญสหรัฐ  หรือ  775,000 ล้านบาทมากว่า12 ปีที่ผ่านมารวมกัน  โดยบริษัทไทยเบฟเวอเรจ(ของเจริญ สิริวัฒนภักดี)พยายามซื้อ กิจการF&Nแห่งสิงคโปร์   ปตท. ซื้อ Cove energy (ธุรกิจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอาฟริกา)โดยรวมเข้ากับรวมกับกรณีซีพีซึ่งกำลังกล่าวด้วย (มุมมองของสำนักข่าว Bloomberg)

ซึ่งทั้งกรณีไทยเบฟฯ และปตท.ได้แสดงยุทธศาสตร์ทางธุรกิจอย่างชัดเจน แต่กรณีซีพีไม่เป็นเช่นนั้น  อย่างไรก็ตาม หากติดตามความเป็นไปของซีพีอย่างต่อเนื่อง ก็พบว่า การซื้อและขายกิจการต่างๆดำเนินไปตามโอกาสที่เกิดขึ้น   หลายกรณีไม่ได้ผูกติดกับกับภาพธุรกิจแกน(Core competent) เสมอไป

กรณี C.P. Pokphand ในฮ่องกงเองมีพอร์ตลงทุนธุรกิจที่ออกแนวทางหลักอยู่แล้ว  อาทิ ในกิจการร่วมทุนกับรัฐบาลจีนผลิตผลิตชินส่วนรถยนต์  และ รถจักรยานยนต์แบรนด์ Dyang  หรือธุรกิจเป็นตัวแทนจำหน่ายเครื่องจักร Caterpillar

เรื่องราวทำนองเดียวกัน ดำเนินไปหลายกรณีในเมืองไทย  ตั้งแต่กรณีร่วมทุนกับปิ่น จักกะพาก ในยุคเริ่มต้นการสร้างอาณาจักรธีกิจ—เอกธนกิจ   จากการพื้นฟูกิจการเงินทุนเล็กๆจากบริษัทเงินทุนยิบอินซอย มาเป็นเอกธนกิจเมื่อราวปี2530   ซีพีร่วมทุนในฐานะผู้ถือหุ้นในยุคหัวเลี้ยวหัวต่อในช่วงก่อนเข้าตลาดหุ้นไทย เมื่อเอกธนกิจเข้าตลาดหุ้น  ซีพีก็ขายหุ้นอออกไป   เช่นเดียวกับกรณีธุรกิจค้าปลีก จากLotus มาเป็น Tesco Lotus   ด้วยการร่วมทุนในฐานะผู้ถือหุ้นข้างน้อยกับ Tesco แห่งสหราชอาณาจักร   ถือเป็นเหตุการณ์ที่จำเป็นในช่วงวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2540  หลังจากนั้นซีพีก็ทยอยขายหุ้นออกไปแทบจะหมดสิ้นในปัจจุบัน      และล่าสุดกรณีร่วมทุนกับธุรกิจประกันระดับโลกอย่าง Alliance    ซึ่งดำเนินมานานประมาณทศวรรษ  ซีพีเพิ่งขายหุ้นที่ถืออยู่ทั้งหมดออกไปเมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ว่าไปแล้วกรณีร่วมทุนกับAlliance ถือว่าเป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกัน แต่ก็ประสบการณ์เพียงบางส่วนในฐานะผู้ร่วมทุน มากกว่าการบริหาร    จึงถือได้ว่าซีพีไม่มีประสบการณ์โดยตรงกับธุรกิจใหม่ที่กำลังเข้าไปสัมผัสอย่างกล้าหาญ นักวิเคราะห์ทั้งหลายจึงไม่สามารถมองภาพยุทธ์ศาสตร์ได้อย่างชัดเจน

“หลังจากการหารือกับธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) แล้ว เครือเจริญโภคภัณฑ์เข้าทำสัญญาซื้อหุ้นจำนวนประมาณ 15.57% ในบริษัท PING AN INSURANCE จำกัด มูลค่าประมาณ 9.39 พันล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา หรือเทียบเท่า 2.88 แสนล้านบาทจากกลุ่มธนาคาร HSBC โดยได้รับการสนับสนุนทางการเงินจาก China Development Bank สาขาฮ่องกง ดังที่ปรากฏในสื่อทั่วไป เครือเจริญโภคภัณฑ์ขอเรียนชี้แจงว่า การซื้อขายดังกล่าวยังต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ของสำนักงานประกันของรัฐบาลจีน ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องจะทำการเปิดเผยข้อมูลต่างๆ ผ่านตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกงต่อไปให้แก่ผู้ที่สนใจรับทราบ ” ข้างต้นคือเนื้อหาสำคัญของถ้อยแถลง จากสำนักงานใหญ่ซีพีที่กรุงเทพ แม้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อย แต่ก็พอมีประเด็นใหม่ๆให้มีการคาดเดาเกิดขึ้นอีก

—ธนาคารไทยพาณิชย์ มี่ความเกี่ยวข้องกับดีลใหญ่ครั้งนี้ ในฐานะที่ปรึกษา  จากข้อมูลที่เปิดเผย  ธนาคารแห่งนี้ดำเนินธุรกิจในฮ่องกงมานาน ตั้งแต่เป็น Siam Commercial Finance Ltd.ในปี 2522   ต่อมายกระดับขึ้นเป็นสาขาในปี 2533      เท่าทีทราบในช่วงที่ผ่านมา ซีพีได้ปรับโครงสร้างธุรกิจในจีน  ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพ มีส่วนสนับสนุนอย่างมากทั้งในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และสนับสนุนทางการเงินจำนวนนับหมื่นล้านบาท

อีกด้านหนึ่งธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธนาคารหนึ่งในประเทศไทยที่มียุทธศาสตร์เชิงรุก(โดยเฉพาะภายใต้การนำของคณะกรรมการชุดปัจจุบัน) ในความพยายามการเข้ามีบทบาทในระดับภูมิภาคมากขึ้น ต่อเนื่องจากที่เคยวางรากฐานไว้เมื่อ2ทศวรรษที่แล้ว     เช่นเดียวหากมองภาพใหญ่ธุรกิจของ Ping An Insurance  พบว่ามีธุรกิจทางการเงินครบวงจร(โปรดพิจารณาแผนภูมิประกอบ) ก็มีความเป็นไปได้เช่นกันที่ซีพีจะร่วมมือกับธนาคารในประเทศไทย บุกเบิกธุรกิจใหม่ๆในจีน

–เกี่ยวข้องกับ C.P. Pokphand   ซึ่งถือเป็นกิจการแห่งเดียวของซีพี ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นฮ่องกง ความเคลื่อนไหวที่อ้างว่า จะรายงานผ่านตลาดหุ้นฮ่องกง ก็ย่อมมีความหมาย มีความเชื่อมโยงกับความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น C.P. Pokphand ด้วย

ผมพยายามติดตามความเคลื่อนไหวที่อ้างจะรายงานผ่านตลาดหุ้นฮ่องกง แต่ขณะนี้(ที่ปิดต้นฉบับ)ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Twitter picture

You are commenting using your Twitter account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: