กรณ์–ผู้มีโอกาสหลังวิกฤติการณ์ปี2540

  “สำหรับด้านการเงิน ผมบรรลุเป้าหมายที่เคยตั้งเอาไว้แล้วตั้งแต่ 5 ปีก่อนหน้า ตอนที่ผมขายหุ้นของบริษัทให้กับธนาคารเจพีมอร์แกนเชส หลังจากนั้นผมเพียงแต่สะสมเงินเดือนที่ต้องบอกว่า “สูงมาก” ในตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของธนาคารเจพีมอร์แกนเชส ประเทศไทย”   กรณ์   จาติกวณิช กล่าวไว้ในหนังสือประวัติของเขาตอนหนึ่ง

 บล.เจ.เอฟ.ธนาคมเป็นบริษัทหลักทรัพย์ เกิดจากความร่วมมือระหว่างผู้ถือหุ้นต่างชาติ คือ จาร์ดีน เฟลมมิ่ง 43% และผู้ถือหุ้นไทย คือ บง.เอกธนกิจ 31% ตระกูลจาติกวณิช 16% โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนสิงหาคม  2531

 ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์ฯระบุว่า เมื่อกลางปี2542 โครงสร้างผู้ถือหุ้นบล.เจ.เอฟ.ธนาคม เปลี่ยนเป็น จาร์ดีน เฟลมมิ่ง โฮลดิ้ง 40.38% บริษัทพีจีดับเบิลยู 25% ตระกูลจาติกวณิช 24.60% ผู้ถือหุ้นอื่นๆ อีก 10% ปี2543โครงสร้างนี้ได้เปลี่ยนไปโดยตระกูลจาติกวณิชลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือประมาณ 15 %( กรณ์ ซึ่งถือหุ้นในนามส่วนตัว 13.92%) โดยขายหุ้นคืนให้กับจาร์ดีน เฟลมมิ่ง

 ปี 2544 ขายหุ้น เจเอฟ ธนาคม ให้กับ JP Morgan Chase เป็นปีที่เขากล่าวว่า บรรลุเป้าหมายด้านการเงินที่ตั้งไว้ก่อน 5 ปี: ซึ่งไม่มีใครรู้แน่ชัดว่า เขาได้เงินครั้งนั้นมากเพียงใด จากนั้น.ในฐานะมืออาชีพในตำแหน่งประธาน บริษัทเจพี มอร์แกน ประเทศไทย   อีกประมาณ 5 ปีซึ่งเขาบอกในหนังสือของเขาว่าได้รับเงินเดือน”สูงมาก” และให้สัมภาษณ์ทางทีวีว่า 5 ล้านบาท

 “นับตั้งแต่ผมเป็นวาณิชธนากร ทำดีลมาแล้วไม่ต่ำกว่า 30-40 ดีล ผมคิดว่าดีลการขายกิจการ Retail Broking หรือตัวหลักทรัพย์รายบุคคลของ JP Morgan Securities (ชื่อของ เจ.เอฟ.ฯ หลัง JP Morgan Chase ซื้อเราไป) ให้กับธนาคารกรุงเทพ เป็นดีลที่งามที่สุด เพอร์เฟ็กต์ที่สุด ซึ่งดีลที่งามที่สุดในความหมายของผมคือ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ประโยชน์

 ผมถือว่าการขายหุ้นครั้งนี้เป็นโบนัส  ก็เลยตัดสินใจขายให้กับพนักงานเก่าของผมที่ไปอยู่กับบัวหลวงในราคาถูก ผมก็ถือว่าผมได้กำไรเหลือเฟือแล้ว และลูกน้องเก่าที่เคยทำงานด้วยกันมาก็ได้กำไร ถือเป็นการแชร์กำไรร่วมกัน” อีกตอนหนึ่งในหนังสือเล่มที่อ้างมาแล้ว

 เท่าที่ตรวจสอบข้อมูลราคาที่กรณ์ขายนั้นคือราคาเปิดครั้งแรกในตลาดหุ้น ได้เงินไปอีกก้อนหนึ่ง

 ควรจะกล่าวด้านธนาคารกรุงเทพฯบ้าง ธนาคารแห่งนี้ เอาตัวรอดจากวิกฤติการณ์ปี 2540 มาได้ โดยต้องยอมตัดแขนขาสำคัญคือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์สองแห่ง (ร่วมเสริมกิจ และสินเอเชีย) เมื่อวิกฤตการณ์คลี่คลาย ก็มองเห็นโอกาส   จึงลงทุนใหม่ในกิจการหลักทรัพย์—บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง

 ต่อมา กรณ์ จาติกวณิช ในฐานะรัฐมนตรีคลัง ได้ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน  ครั้งแรกเดือนมีนาคม 2551 ปรากฏว่า มีมากถึง  929, 258,733 บาท มากที่สุดในบรรดาคณะรัฐมนตรีทั้งชุด

 บทสรุปค่อนข้างแน่ชัดว่า เขามีฐานะทางการเงินเช่นนี้  มาจากการถือหุ้นและบริหารกิจการหลักทรัพย์  โดยเฉพา ะตรงกับสิ่งเขากล่าวไว้  ก็คือทรัพย์สินส่วนสำคัญ มากจากการขายหุ้นในเจเอฟธนาคมในปี  2544        

 การสะสมความมั่งคั่งของเขาในยุคหลังวิกฤติการณ์ปี2540 เปรียบเทียบกับยุคก่อนแล้ว เป็นเรื่องน่าสนใจทีเดียว

 ไม่มีข้อมูลน่าเชื่อถือเท่ากับข้อมูลแสดงบัญชีทรัพย์สินของนักการเมือง  โพธิพงษ์ ล่ำซำ  ในฐานะรัฐมนตรีพาณิชย์ ก็เคยแสดงในปลายปี2540   ดูเผินๆ เขามีทรัพย์สินมากกว่ากรณ์   จาติกวณิช ประมาณเท่าตัว  หากพิจารณารายละเอียดแล้ว  เฉพาะสินทรัพย์ที่เป็นรายได้  เงินฝาก   ดอกเบี้ย   หลักทรัพย์อื่นๆ    อยู่ในระดับใกล้เคียงกันประมาณ 600 ล้านบาท ส่วนทีมากกว่านั้น เป็นสินทรัพย์ประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง และทรัพย์สินอื่นๆ จำพวกเครื่องประดับ และของสะสม ต่างๆ

 ต้องยอมรับว่าตระกูลลำซำ สะสมความมั่งคั่งมายาวนานหลายรุ่น ตั้งแต่ก่อนสงครามโลก  สินทรัพย์ประเภทนี้จึงตกทอดกัน และมีจำนวนมาก แต่สินทรัพย์ที่แสดงถึงความสามารถเชื่อมโยงกับปัจจุบันอย่างแท้จริงนั้น ดูแล้วไม่แตกต่างกัน

 กรณ์  จาติกวณิช จึงเป็นอีกคนหนึ่ง ทีมีความสามารถสร้างโอกาสได้อย่างน่าทึ่ง

เชิงอรรถ

บริษัทหลักทรัพย์บัวหลวง

เริ่มต้นจากบริษัทเงินทุน ทักษิณธนากิจ จำกัด ( ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 97 เปอร์เซ็นต์) เข้าซื้อใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์จากบริษัทหลักทรัพย์ บีโอเอ จำกัด   .ในราวเดือนสิงหาคม ปี  2544

จากนั้นอีกประมาณ 3เดือน เปลี่ยนชื่อ เป็นบริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด  และเจรจากับบริษัทหลักทรัพย์ เจเอฟ ธนาคม จำกัด   เพื่อซื้อธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ลูกค้าบุคคล และธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีส่วนแบ่งตลาดติดอันดับหนึ่งในห้า ของธุรกิจนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์   และกองทุนมูลค่า 4 พันล้านบาท อยู่ภายใต้ การบริหารของธุรกิจการจัดการกองทุนส่วนบุคคล ก็เป็นหนึ่งในห้าของผู้นำตลาด

การรับโอนธุรกิจ  รวมถึงการโอนฐานลูกค้า พนักงานการตลาด เทคโนโลยี และ อุปกรณ์ขั้นพื้นฐาน (Infrastructure) ทั้งสำนักงานใหญ่และสาขา   โดยดำเนินเสร็จสิ้นในปลายปีนั้นเอง

ผู้เขียน: viratts

writer and farmer

ใส่ความเห็น

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  เปลี่ยนแปลง )

Connecting to %s

%d bloggers like this: